Baan Jompra
ชื่อกระทู้: นกเค้า [สั่งพิมพ์]
โดย: Metha เวลา: 2014-3-5 07:20
ชื่อกระทู้: นกเค้า
จากคู่มือดูนกเมืองไทย ของหมอบุญส่ง เลขะกุล ระบุว่า ประเทศไทยมีนกตระกูลเค้าอยู่ 20 ชนิด ดังนี้
1. นกแสก
2 .นกแสกทุ่งหญ้า
3. นกแสกแดง
4. นกเค้าแมวหูสั้น
5. นกเค้าเหยี่ยว แยกเป็น 2 ชนิด คือ Northern Boobook (ชื่อวิทยาศาสตร์ Ninox japonica อพยพมาหน้าหนาว พบตามสวน ) กับ Brown Boobook (ชื่อวิทยาศาสตร์ Ninox scutulata เป็นนกประจำถิ่น พบตามป่า
6. นกเค้าหน้าผากขาว
7. นกเค้าแดง
8. นกเค้าภูเขา
9. นกเค้าหูยาวเล็ก
10. นกเค้ากู่,นกฮูก
11. นกเค้าใหญ่พันธุ์เนปาล
12. นกเค้าใหญ่พันธุ์สุมาตรา
13. นกเค้าใหญ่สีคล้ำ
14. นกทึดทือพันธุ์เหนือ
15. นกทึดทือมลายู
16. นกเค้าป่าหลังจุด
17. นกเค้าป่าสีน้ำตาล
18. นกเค้าแคระ
19. นกเค้าโมง,นกเค้าแมว
20. นกเค้าจุด
ในบรรดานกเค้าทั้ง 20 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นประจำถิ่น คือ อาศัยหากินในเมืองไทย ยกเว้น นกเค้าแมวหูสั้นที่เป็นนกอพยพหรืออพยพผ่าน หายากมาก ส่วนนกเค้าเหยี่ยว และนกเค้ายาวหูเล็ก มีสถานภาพเป็นทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพ ขณะที่นกเค้าใหญ่สีคล้ำนั้น ข้อมูลของนกเมืองไทย ฉบับหมอบุญส่ง ระบุว่า อาจเป็นนกประจำถิ่น ข้อมูลมีน้อย และหายากมาก
ปัจจุบัน นกในตระกูลเค้ามีสถานภาพไม่ต่างไปจากนกชนิดอื่น ๆ คือ ถูกคกคามอย่างหนักและมีจำนวนลดลงในธรรมชาติ บ้างก็เนื่องจากป่าซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยถูกทำลายลงอย่างต่อเนื่อง จนบางชนิดต้องหันมาปรับตัวอยู่ในสังคมเมือง
บ้างก็ตายเพราะกินหนูที่ตายเพราะโดนสารเคมี
บ้างก็ตายเพราะถูกไล่ล่าจากความเชื่องมงาย
บ้างก็ตกเป็นอาหารของสัตว์นักล่าอย่างมนุษย์อีกด้วย
เกิดเป็นนกก็ลำบากยากเย็นในการดิ้นรนเพื่อให้มีชีวิตรอดอยู่แล้ว มนุษย์ไม่ควรไปซ้ำเติม ทำให้เขาเดือดร้อนเพิ่มขึ้นไปอีกเลย
ไม่ได้เป็นนกผี นกปิศาจที่คร่าชีวิตมนุษย์ หรือนำความโชคร้ายมาสู่มนุษย์ตามที่สื่อไร้คุณภาพเล่นเป็นข่าวใหญ่โต นกแสกเป็นเพียงนกหากินกลางคืนเพื่อจับหนูเป็นอาหารเท่าน
ทราบแล้วเปลี่ยน !!!
ที่มา http://www.oknation.net/blog/print.php?id=501525
โดย: Metha เวลา: 2014-3-5 07:21
ข้อมูลนกฮูก นกเค้าแมว และนกแสก ...
นก 3 ชนิดในตระกูลนกเค้าที่พบบ่อยในประเทศไทย
# นกเค้าโมง,นกเค้าแมว (Asian Barred Owlet)
เป็นนกขนาดกลาง หัวและลำตัวด้านบนมีลายขวางสีน้ำตาลอ่อน ไม่มีหูยื่นออกไป อกและสีข้างมีลายน้ำตาลแดงคล้ำ ท้องขาว คิ้วสีขาว มีแถบสีขชาวคาดใต้ปาก ตาสีเหลือง ปากสีเทา ขาสีเทาเข้ม
พฤติกรรม : มักพบออกหากินในช่วงกลางวันชอบเกาะตามกิ่งไม้โล่ง ๆ เพื่อรอสัตว์เล็ก ๆ ผ่านมาตามพื้นดินให้จับกิน บินเป็นรูปคลื่น โดยกระพือปีกเร็วๆ และร่อนลงต่ำสู่ที่หมาย
เสียงร้อง : "อวู้ อุอู้ อุอู้ อุอู้ อุอู้ อุอู้..." ช่วงท้ายรัวเร็วขึ้น
ถิ่นอาศัย : ป่าดิบค่อนข้างโปร่ง ป่าโปร่ง สวนผลไม้ ที่ราบถึงความสูง 1,980 เมตร
นกประจำถิ่น : พบบ่อยมาก ยกเว้นนภาคใต้
โดย: Metha เวลา: 2014-3-5 07:22
# นกเค้ากู่,นกฮูก (Collared Scops-Owl)
ตาน้ำตาลแดงเข้ม คิ้วสีเนื้อตัดกับหน้าผากสีน้ำตาลคล้ำ ขนหูยาวเด่นและจะตั้งชันขึ้นเวลาที่นกตื่นตกใจ ตื่นกลัว หรือใช่ขู่ศัตรู ขนลำตัวสีน้ำตาล รอบคอสีน้ำตาลแกมเหลือง ลำตัวด้านล่างมีลายขีดดำเป็นเส้นบาง ๆ ปากและขาสีเหลืองอ่อน ในธรรมชาติมักสังเกตุเห็นได้ยาก
พฤติกรรม : กลางวันมักเกาะบนต้นไม้ร่มครึ้ม กลางคืนออกมาดักจับเหยื่อที่ผ่านมาตามพื้นดิน
เสียงร้อง : "ปู้ว" หรือ "วู้" คล้ายคนกู่ร้อง
ถิ่นอาศัย : ป่าดิบ ป่าโปร่ง สวนผลไม้ และสวนสาธารณะ ที่ราบถึงความสูง 2,200 เมตร
นกประจำถิ่น : พบบ่อยมาก พบได้ทั่วประเทศ
โดย: Metha เวลา: 2014-3-5 07:50
# นกแสก (Barn Owl)
นกล่าเหยื่อกลางคืน ขนาดปานกลางถึงใหญ่ วงหน้ารูปหัวใจสีขาวขอบน้ำตาลแดง ตาน้ำตาลแดงคล้ำ ลำตัวด้านบนน้ำตาลแกมเหลืองแซมด้วยสีเทา มีจุดสีขาว และน้ำตาลแดงเข้มกระจาย ลำตัวด้านล่างขาวมีจุดสีเทาและน้ำตาลแดงกระจาย นกบางตัวหน้าอกสีน้ำตาลแดง แข้งยาวมีคนปกคลุมเล็บตีน ขายาวสีเหลืองคล้ำและมีขนสีขาวปกคลุม
พฤติกรรม : กลางวันเกาะพักตามต้นไม้หรือสิ่งปลูกสร้างที่ร่มครึ้ม ช่วงกลางคืนจะออกมาเกาะรอเหยื่อในที่โล่ง
เสียงร้อง : แหลม โหยหวน "แซ็ก"
ถิ่นอาศัย : พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ใกล้แหล่งชุมชน มักหลับนอนและทำรังตามหลังคาบ้านและวัดที่ไม่มีคนรบกวน ที่ราบถึงความสูง 1,220 เมตร
นกประจำถิ่น : พบไม่บ่อย
โดย: Metha เวลา: 2014-3-5 07:59
เป็นนกแสกขนาดกลาง โดยเฉลี่ยมีความใหญ่กว่านกแสก (T. alba) เล็กน้อย มีความยาวจากจะงอยปากจรดปลายหาง 35-38 เซนติเมตร มีความยาวของขายาวกว่า ทำให้เวลาบิน ขาและกรงเล็บของนกแสกทุ่งหญ้าจะโผล่มาให้เห็นพ้นหาง ขณะที่นกแสกจะไม่พ้นหาง มีลักษณะขนแตกต่างกัน โดยที่นกแสกทุ่งหญ้ามีขนที่ใบหน้าสีขาวปลอด และรูปใบหน้ายาวรีกว่า ขนโดยรวมสีเข้มกว่านกแสก กระหม่อมมีสีน้ำตาลเข้มแบบสีช็อคโกแล็ต บริเวณอกกว้างมีสีน้ำตาลอ่อนตัดกับพื้นสีขาว ประด้วยจุดสีดำ ขนคลุมใต้ปีกสีขาวประด้วยจุดสีดำเหมือนพื้นท้อง ปลายปีกโดยเฉพาะขนปลายปีกชั้นนอกมีแถบสีดำ บนปีกและบนหางมีแถบสีดำขวางตัดกับสีน้ำตาลอ่อนของเส้นขน ขนคลุมบนปีกสีน้ำตาลเข้ม ในอดีตไม่เคยปรากฏการพบในประเทศไทย จนกระทั่งในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2549 มีผู้ถ่ายรูปนกแสกทุ่งหญ้าได้ 1 ตัวที่ทุ่งหญ้าแบบพรุน้ำท่วม ที่อำเภอแม่จันจังหวัดเชียงราย และจากการศึกษาที่มากขึ้น ทำให้ในปัจจุบันได้ถูกยอมรับว่าเป็นนกประจำถิ่นอีกชนิดหนึ่งของไทย โดยคาดว่ามีฤดูวางไข่ประมาณเดือนธันวาคมถึงมีนาคมโดยที่มีชื่อเรียกโดยคนท้องถิ่นว่า "นกเก๊าจ๊าง
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/นกแสกทุ่งหญ้า
โดย: Metha เวลา: 2014-3-5 08:00
นกแสกแดง (อังกฤษ: Oriental bay owl; ชื่อวิทยาศาสตร์: Phodilus badius) เป็นนกล่าเหยื่ออยู่ในวงศ์นกแสก (Tytonidae) มีรูปร่างโดยทั่วไปคล้ายนกแสกธรรมดา (Tyto alba) แต่มีขนาดที่เล็กกว่า เมื่อโตเต็มที่จะมีความสูงประมาณ 28-29 เซนติเมตร ลำตัวด้านบนมีสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลเหลือง อันเป็นที่มาของชื่อ มีลายจุดสีน้ำตาลเหลืองหรือสีเนื้อ ด้านล่างลำตัวและใบหน้าสีเนื้อแกมชมพู มีลายแต้มสีออกม่วง ตาสีน้ำตาลเข้ม มีขนสีน้ำตาลยื่นยาวเล็กน้อยออกไปทางด้านข้างของรูหูเป็นพุ่ม ในขณะที่บินจะเห็นปีกค่อนข้างสั้น จัดเป็นนกที่บินได้เก่งมาก และอาจส่งเสียงร้องไปในขณะที่บิน โดยที่นกแสกชนิดนี้จะพบได้เฉพาะในป่าดิบและป่าเบญจพรรณ ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง 2,200 เมตร จากระดับน้ำทะเล ออกหากินในตอนกลางคืน ตอนกลางวันส่วนใหญ่จะหลบซ่อนตามโพรงของต้นไม้ จึงทำให้พบเห็นตัวค่อนข้างยาก มีฤดูผสมพันธุ์ตลอดทั้งปี โดยทำรังตามโพรงต้นไม้ ซึ่งเป็นโพรงที่เกิดตามธรรมชาติ หรือโพรงที่สัตว์อื่น ๆ ทำทิ้งเอาไว้ รังมักจะอยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 2-5 เมตร หรือมากกว่า นกมักจะใช้โพรงเดิมเป็นประจำทุก ๆ ปี นอกเหนือจากโพรงเหล่านั้นถูกนกหรือสัตว์อื่น ๆใช้ และนกแสกแดงไม่สามารถที่จะขับไล่ออกไปได้ ปรกติไม่มีวัสดุรองรังอีก รูปร่างของไข่เป็นรูปไข่ค่อนข้างกลม ขนาดโดยเฉลี่ย 30.0 x 34.5 มิลลิเมตร เปลือกไข่มีสีขาว ผิวเรียบ ในแต่ละรังมีไข่ 3-4 ฟอง บางรังก็มี 5 ฟอง ตัวเมียตัวเดียวที่ทำการฟักไข่ โดยเริ่มฟักหลังจากที่ออกไข่ฟองแรก ทั้ง 2 เพศช่วยกันเลี้ยงลูกอ่อน การพัฒนาของลูกอ่อนไม่แตกต่างไปจากนกแสกธรรมดามากนัก
โดย: Metha เวลา: 2014-3-5 08:22
นกเค้าแมวหูสั้น
อีกหนึ่งนกเค้าแมวที่มีสถานะเป็นนกอพยพ
แถมยังอพยพแบบไม่สม่ำเสมออีกด้วย
ทำให้น้อยคนนักจะได้มีโอกาสเห็นตัวนกเค้าหากินกลางวันตัวนี้
เป็นนกเค้าขนาดกลาง
ขนาด 34–43 ซม.
น้ำหนัก 206–475 กรัม
ขนาดปีก 85 - 103 ซม
ที่มา http://www.siamfalconry.com/t361-topic
โดย: Metha เวลา: 2014-3-6 17:33
นกเค้าเหยี่ยว แยกเป็น 2 ชนิด คือ Northern Boobook (ชื่อวิทยาศาสตร์ Ninox japonica อพยพมาหน้าหนาว พบตามสวน ) กับ Brown Boobook (ชื่อวิทยาศาสตร์ Ninox scutulata เป็นนกประจำถิ่น พบตามป่า
ที่มา http://www.bcst.or.th/forum/index.php?topic=1744.0
โดย: Metha เวลา: 2014-3-6 17:47
นกเค้าหน้าผากขาว
ที่มา http://www.flickr.com/photos/28869065@N02/8392655903/
โดย: Metha เวลา: 2014-3-6 17:58
Otus rufescens
นกชนิดนี้เป็นนกในวงศ์นกเค้าตัวยาวประมาณ ๑๙ เซนติเมตร ขนสีน้ำตาลเหลืองกระจายทั่วตัว หัวมีจุดประใหญ่ อาศัยอยู่ตามป่าที่ราบต่ำ (Lowland Forest) ปัจจุบันหาพบได้ยาก (Rare Species) พบเฉพาะที่ป่าพรุโต๊ะแดง และพื้นที่ป่าในจังหวัดนครศรีธรรมราชเท่านั้น ชอบทำรังในกอต้นข้าหลวงหลวงหลังลาย (Asplenium nideus) ที่เกาะตามต้นสีหรอ (Ilex cymosa) สูงจากพื้นดินประมาณ 4 เมตร วางไข่ในฤดูร้อน ไข่มีลักษณะค่อนข้างกลม เปลือกสีขาว
ที่มา http://web.ku.ac.th/nk40/nk/data/32/ki2-7.htm
โดย: Metha เวลา: 2014-3-6 17:59
นกเค้าภูเขา
ที่มา http://www.fotorelax.com/forum/index.php?topic=32292.0
โดย: Metha เวลา: 2014-3-6 18:01
นกเค้าหูยาวเล็ก
นกเค้าหูยาวเล้กมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Otus Sunia เป้นนกเค้าขนาดเล็ก อยู่ในจีนัสกับนกฮูกหรือนกเค้ากู่ (Collared Scop Owl, Otus bakkamoena) ซึ่งเราคุ้นเคยกว่า นกเค้ากูเป้นเจ้าของเสียง "ฮู้ววว... ฮู้ววว..." ที่เราได้ยินตอนกลางคืนนั่นเอง แต่นกเค้าหูยาวเล็กที่พบทำให้เราประหลาดใจเนื่องจากไม่เคยได้ยินเสียงเขาเลย (เคยได้ยินแต่เสียงนกเค้ากู่) แต่อย่างไรก็ตามเขาก็เป็นนกตัวเล็กที่น่ารักมากตัวหนึ่งเลยครับ
ที่มา http://burongtani.oas.psu.ac.th/blog/892
โดย: Metha เวลา: 2014-3-6 18:06
นกเค้าใหญ่พันธุ์เนปาล
ชื่อสามัญ Forest Eagle Owl
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bubo nipalensis
นกเค้าใหญ่พันธุ์เนปาลมีถิ่นกำเนิดในอินเดีย จีน พม่า เทือกเขาตะนาวศรี ไทย เขมร เวียดนาม ตังเกี๋ย และลาว ในประเทศไทยมีทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ และภาคใต้
ตัวผู้และตัวเมียเหมือนกัน นกเค้าชนิดนี้มีขนาดใหญ่ ตัวยาวประมาณ 60 ซม. ปากมีสีเหลือง เหนือตาทั้งสองข้างมีขนยาวเป็นกระจุกพุ่งขึ้นไปคล้ายเขา ขนบนด้านหลังมีสีน้ำตาลแก่และมีจุดเลอะๆ สีขาวและสีเนื้อคละกันทั่วไป
ขนที่ปีกมีทางขาวๆ อยู่ 5-6 ทาง ทางด้านท้องมีสีขาว และมีลายขวางสีนํ้าตาลเป็นรูปพระจันทร์เสี้ยวตลอดคอ อก และท้อง นกเค้าชนิดนี้ชอบอาศัยอยู่ตามป่าดงดิบตามภูเขา และตามป่าใกล้ลำธารใหญ่ๆ ชอบอยู่ตัวเดียว หากินตั้งแต่ตอนพลบค่ำและตลอดคืน อาหารได้แก่หนู ค้างคาว และนกต่างๆ
ที่มา http://www.thaikasetsart.com/นกเค้าใหญ่/
โดย: Metha เวลา: 2014-3-6 18:07
นกเค้าใหญ่พันธุ์สุมาตรา
ชื่อสามัญ Barred Eagle Owl
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bubo sumatranus
นกเค้าใหญ่พันธุ์สุมาตรามีถิ่นกำเนิดในเกาะซุนดาส์ เทือกเขาตะนาวศรี ไทย และ มาเลเซีย สำหรับในประเทศไทยมีเฉพาะทางภาคใต้ นกเค้าตัวผู้และตัวเมียเหมือนกัน มีลักษณะคล้ายกับนกเค้าใหญ่พันธุ์เนปาล แต่ตัวเล็กกว่า และขนด้านบนของตัวมีลายขวางเล็กๆ สีเหลืองซีด ส่วนด้านล่างของตัวก็มีลายขวางเล็กๆ สีนํ้าตาลบนพื้นขาว ชอบอยู่ตามป่าดงดิบ ซึ่งอยู่ไม่สูงนัก ชอบอยู่ตัวเดียวในขณะที่บินมักส่งเสียงร้องไปด้วย อาหารได้แก่สัตว์เล็กๆ เช่น หนู กระรอก เป็นต้น
ที่มา http://www.thaikasetsart.com/นกเค้าใหญ่/
โดย: Metha เวลา: 2014-3-6 18:07
นกเค้าใหญ่สีคล้ำ
ชื่อสามัญ Dusky Eagle Owl
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bubo coromandus
นกเค้าใหญ่สีคล้ำมีถิ่นกำเนิดในอินเดีย จีน พม่า เทือกเขาตะนาวศรี ไทย และมาเลเซีย ในประเทศไทยมีเฉพาะทางภาคใต้เท่านั้น ตัวผู้และตัวเมียเหมือนกัน นกเค้าชนิดนี้ตัวค่อนข้างใหญ่ตัวยาวประมาณ 52 ซม. เหนือตามีขนเป็นกระจุกขาวเลยหัวออกไป คล้ายมีเขาทั้งสองข้าง ขนด้านบนของตัวมีสีน้ำตาลปนเทา บนปีกมีแถบสีขาวอยู่ 6 แถว ทางด้านล่างของตัวมีสีเทาอมสีเนื้อ และมีลายเป็นขีดเล็กๆ สีดำอยู่ทั่วไป
ชอบอาศัยอยู่ตามป่าที่ราบซึ่งอยู่ใกล้นํ้า นกนี้หากินในเวลากลางวัน ค่อนข้างปราดเปรียวมากเมื่อเวลาใกล้ค่ำ ในตอนกลางวันถ้าวันใดมีแดดจัดหรืออากาศร้อนมากมักจะเกาะอยู่เฉยๆ ไม่ชอบอยู่ในบริเวณที่แห้งแล้ง
เป็นนกแข็งแรงและค่อนข้างดุ อาหารได้แก่นกต่างๆ แต่ที่ชอบมากได้แก่อีกา นอกจากนกกินสัตว์เล็กอื่นๆ และสัตว์เลื้อยคลานด้วย ฤดูผสมพันธุ์ประมาณเดือนพฤศจิกายน -กุมภาพันธ์ เมื่อจะวางไข่มักใช้รังของนกใหญ่อื่นๆ ซึ่งทิ้งรังไปแล้ว บางครั้งก็จะสร้างรัง เองหรือไม่ก็จะอาศัยวางไข่ตามโพรงไม้ของดต้นไม้ใหญ่ๆ ปกติวางไข่ครั้งละ 1 ฟอง แต่บางครั้งอาจมี 2 ฟอง
ที่มา ที่มา http://www.thaikasetsart.com/นกเค้าใหญ่/
โดย: Metha เวลา: 2014-3-6 18:15
นกเค้าป่าหลังจุด Spotted Wood Owlชื่อวิทยาศาสตร์ / Scientific name | Strix seloputo
|
ลำดับ / Order | Strigiformes
|
วงศ์ / Family | นกเค้า Owls :Strigidae
|
ชุดขน / Plumage | Adult
|
สถานที่ / Location | Tai moeng, Pang-nga
|
ที่มา http://www.birdsofthailand.org/photo/1477
โดย: Metha เวลา: 2014-3-6 18:16
นกเค้าป่าสีน้ำตาล
นกเค้าป่าสีน้ำตาล Strix leptogrammica ( Brown Wood Owl ) เป็นนกเค้าหัวกลมๆอีกชนิดหนึ่ง มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางราว 47-53 เซนติเมตร สีโดยรวมเป็นสีออกน้ำตาลๆ วงหน้ามีสีน้ำตาลแกมเหลือง สีอ่อนกว่าบริเวณหัวและหน้าผากซึ่งเป็นสีน้ำตาลเข้ม มีขนสีเกือบขาวลากจากโคนปากด้านบนขึ้นไปทางหัวตาดูคล้ายคิ้ว นกทั้งสองเพศคล้ายคลึงกัน
ที่มาhttp://www.bloggang.com/mainblog ... roup=4&gblog=60
โดย: Metha เวลา: 2014-3-6 18:19
นกเค้าแคระ Glaucidium brodiei (collared owlet) เป็นนกเค้าที่มีขนาดเล็กที่สุดในประเทศไทย มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางเพียง 15 เซ็นติเมตรเท่านั้น และมีสีสันลวดลายกลมกลืนไปกับกิ่งไม้ทำให้สังเกตเห็นตัวได้ค่อนข้างยาก
นก เค้าแคระมีรูปร่างน่ารักน่ากอดเพราะมีลำตัวอวบอัด มีขนหนานุ่มปกคลุมอย่างหนาแน่น บริเวณคอก็มีขนอยู่อย่างหนาแน่นทำให้ดูเหมือนหัวอยู่ติดกับตัวโดยไม่มีคอ และมีหัวที่กลมโต หน้าแบน ตากลมโตสีเหลืองอยู่ด้านหน้าของใบหน้า ปากสั้นและปากบนโค้งงุ้มแหลมลงมาใช้สำหรับฉีกเหยื่อเป็นชิ้นๆ มีขนเส้นเล็กๆคล้ายหนวดแมวอยู่รอบๆโคนปากทำหน้าที่เป็นเรดาห์นำทาง มีปีกกว้างแต่ปลายปีกมน ขนหางยาวกว่านกเค้าอื่นๆ มีขาสั้นแต่เข็งแรงสีเหลืองนิ้วเท้าค่อนข้างใหญ่และแข็งแรง มีนิ้วเท้าสี่นิ้วเวลาเกาะกิ่งจะอยู่ด้านหน้า2ด้านหลัง2นิ้ว เล็บสีดำ
นก เค้าแคระทั้ง 2 เพศมีลักษณะและสีสันเหมือนกัน เมื่อมองจากด้านหลังนกเค้าแคระจะมีสีน้ำตาลเข้มสลับสีน้ำตาลอ่อนเป็นลายขวาง ขนหางก็สีสลับแบบนี้ดูเป็นบั้งๆ ด้านหน้ามีสีขาวและมีลายสีน้ำตาล หัวสีน้ำตาลมีลายจุดเล็กๆสีอ่อนเต็มไปหมด ด้านหลังของหัวนกเค้าแคระ จะมีเส้นสีเข้มพาดเป็นลักษณะเหมือนหน้าของนกเค้าทำให้ดูเหมือนกับว่าเป็น หน้าอีกหน้าหนึ่ง ช่วยหลอกตาศัตรูให้คิดว่าหันหน้ามาทางตัวเองได้
นก ตัวเล็กๆเป็นศัตรูกับนกเค้าแคระตัวจิ๋วนี้ เพราะอาหารของนกเค้านอกจากพวก กิ้งก่า หนู สัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก จั๊กจั่น ด้วง และ ตั๊กแตน แล้ว ก็เป็นเหล่านกเล็กๆนี่เอง เมื่อเจอนกเค้าแคระที่ไหน นกเล็กๆจึงมักมารุมกันไล่จนบ่อยครั้งต้องขยับบินหนีไปเรื่อยๆ และไปเกาะซุ่มในกิ่งที่ชิดลำต้นเพื่อหาที่ซ่อนตัว ดักจับนกเล็กๆที่หลงเข้ามา นกเค้าแคระสามารถจับเหยื่อที่มีขนาดตัวพอๆกันหรือโตกว่าเล็กน้อยได้ด้วยกรง เล็บที่แข็งแรง โดยจะหาอาหารในช่วงกลางวันเป็นส่วนใหญ่ หากหากินกลางคืนก็มักเป็นคืนที่พระจันทร์เต็มดวงส่องสว่าง
ที่มา http://monster212.blogspot.com/2012/07/blog-post_1514.html
โดย: Metha เวลา: 2014-3-6 18:21
นกเค้าจุด |
ชื่ออังกฤษ | Spotted Owlet |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Athene brama (Temminck, 1821) |
วงศ์ (Family) | Strigidae (วงศ์นกเค้า) |
อันดับ (Order) | Strigiformes (อันดับนกเค้า) |
เมื่อพูดถึงนกกลางคืน ชื่อแรกๆที่คนทั่วไปมักนึกถึงคือ นกฮูกและนกเค้าแมว อุปนิสัยหากินยามค่ำคืนของพวกมัน ผนวกกับใบหน้าแบนๆและตาสองข้างที่ใช้มองไปในทิศทางเดียวกันเหมือนมนุษย์เรา เป็นลักษณะร่วมของนกเค้า (owls) ที่ดูหลอนดีชอบกล นกเหล่านี้มักถูกเรียกกันรวมๆด้วยชื่อ “นกฮูก” (ที่ตั้งตามเสียงร้องของ Collared Scops Owl) หรือ “นกเค้าแมว” (ที่น่าจะมีที่มาจากม่านตาสีเหลืองที่ชวนให้นึกถึงแมวของ Asian Barred Owlet) ซึ่งทั้งสองชื่อล้วนถูกตั้งเฉพาะเจาะจงชนิดชัดเจน ชื่อกลุ่มอย่างเป็นทางการที่ควรจะเรียกกันคือ“นกเค้า”ต่างหาก
แต่จะว่าไปแล้ว คำว่า“นกเค้า”ก็น่าจะมาจาก“นกเค้าแมว”อีกทีหนึ่ง (งงไหมล่ะครับ?) เพราะฉะนั้นต่อให้เรียกนกกลุ่มนี้ว่า“นกเค้าแมว”ก็ไม่ผิดเสียทีเดียว เพราะ Short-eared Owl ก็ได้ชี่อไทยอย่างเป็นทางการว่า“นกเค้าแมวหูสั้น”แทนที่จะเป็น“นกเค้าหูสั้น” ทั้งๆที่หน้าตามันไม่ได้เหมือน Asian Barred Owlet เลย
แม้เราจะคุ้นเคยกับชื่อนกฮูกกับนกเค้าแมว นกเค้าชนิดที่เป็นที่คุ้นเคยที่สุดสำหรับคนเมืองในแถบ กทม. น่าจะเป็นนกเค้าจุด (Spotted Owlet) มากกว่า เพราะเป็นนกเค้าที่ปรับตัวเก่ง ชอบอาศัยอยู่รวมกันเป็นครอบครัวตามทุ่งและสวนสาธารณะ แม้แต่ตามตึกร้างหรือสิ่งก่อสร้าง แถมขณะหากินยังชอบออกมาเกาะโล่งๆ ในเวลากลางวันก็เห็นตัวได้ไม่ยาก จัดเป็นนกเค้าขนาดเล็ก ขนาดตัวไล่เลี่ยกับนกฮูกและนกเค้าแมว
ที่มา http://www.oknation.net/blog/plains-wanderer/2013/09/01/entry-1
โดย: Metha เวลา: 2014-3-6 18:23
นกทึดทือพันธุ์เหนือ
Brown Fish-Owl
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Ketupa zeylonensis |
ลักษณะ | เป็นนกขนาดใหญ่ ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกัน ขนลำตัวด้านบนมีสีน้ำตาลแดง ด้านล่างมีสีอ่อนกว่า บริเวณเหนือตามีขนยาวยื่นออกไปทั้งสองข้าง ขนตรงท้องมีสีเนื้อ แต้มด้วยลายขีดสีน้ำตาลแก่ นอกจากนี้ยังมีลายตามขวางเป็นเส้นบางๆ สีน้ำตาลอ่อน มีตาสีเหลืองกลมโต |
ถิ่นอาศัย - อาหาร | พบในทวีปเอเชียแถบประเทศจีน ไต้หวัน มาเลเซีย ในประเทศไทยพบอยู่ทุกภาค ยกเว้นภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงใต้ อาหารได้แก่ สัตว์เลื้อยคลาน นก และแมลงขนาดใหญ่ |
พฤติกรรม - การขยายพันธุ์ | ชอบอาศัยอยู่ตามป่าใกล้ลำธาร ทะเลสาบและใกล้ท้องทุ่งนา มักออกหากินเพียงตัวเดียวทั้งกลางวันและกลางคืน หรือเป็นคู่ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ นกทึดทือพันธุ์เหนือเริ่มผสมพันธุ์ในช่วงเดือนธันวาคม - มีนาคม นกชนิดนี้ไม่ทำรังแต่จะวางไข่ตามซอกหินบริเวณหน้าผาหรือตามโพรงไม้ สูงจากพื้นไม่เกิน 30 เมตร วางไข่ครั้งละ 1-2 ฟอง มักทำรังที่เดิมทุกปี |
สภาพปัจจุบัน | เป็นนกประจำถิ่นตามธรรมชาติ หาพบได้น้อยเกือบทุกภาค ยกเว้นภาคตะวันออก และภาคใต้ จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 |
ที่มา http://www.chiangmaizoo.com/web2 ... phura-nycthemera-55
โดย: Metha เวลา: 2014-3-6 18:25
นกเค้าแมวพันธุ์มลายู หรือ นกฮูกมลายู หรืออีกชื่อหนึ่ง…นกทึดทือมลายู (Buffy Fish Owl) ถิ่นกำเนิดพบครั้งแรกที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย กระจายพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และหมู่เกาะซุนดาใหญ่ เมื่อสำรวจไปทั่วโลกพบว่ามี นกเค้าแมวพันธุ์มลายู 4 ชนิดย่อย ในประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อย คือ Ketupa ketupu aagaardi neumann
โดยพบครั้งแรกที่ จังหวัดนราธิวาส
นกเค้าแมวมลายู มีลักษณะหน้าตาคล้ายแมว เป็นนกขนาดกลาง 49-50 ซม. ปีกสั้นกว่า 40 ซม. ดวงตาสีเหลืองจนถึงเหลืองแกมทอง มีขนเหนือคิ้วเป็นแผง ยาวออกไปด้านข้างทั้งสองด้าน ส่วนขนบริเวณเหนือโคนปากเป็นสีขาว ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลมีลายสีจางกระจาย ด้านล่างสีเนื้อแกมน้ำตาลเหลือง มีลายขีดสีดำ เมื่อหุบปีกจะเห็นลายแถบสีน้ำตาลจางสลับสีเข้มบริเวณปลายปีก ขาสีเขียว มีเล็บโค้งแหลม และมีปากงุ้มแหลม
ผสมพันธุ์ ในช่วงฤดูหนาวต่อฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเมษายน จากนั้นจึงพากันไปทำรังอยู่ในโพรงไม้ หรือใช้รังเก่าของนกอื่น ๆ มักอาศัยอยู่ตามป่าดิบแล้ง ป่าดงดิบชื้น ตั้งแต่ระดับพื้นราบ จนกระทั่งความสูง 800 เมตรจากระดับน้ำทะเล ใกล้แหล่งน้ำ ลำธารในป่า และบริเวณใกล้ฝั่งทะเล ส่วนใหญ่หากินในเวลากลางคืน ชอบจับสัตว์เล็ก ๆ กิน โดยอาหารของมันจะเป็น ปลา กบ ปู ค้างคาว นก และสัตว์เลื้อยคลานเกือบทุกชนิด
ที่มา http://www.siamfalconry.com/t705-topic
โดย: Metha เวลา: 2014-3-6 18:29
ตระกรุดนกทืกทือ
http://baanjompra.com/webboard/f ... =151&highlight=ตะกรุด
ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/) |
Powered by Discuz! X3.2 |