Baan Jompra
ชื่อกระทู้:
ช้างปัจจัยนาเคนทร์
[สั่งพิมพ์]
โดย:
Metha
เวลา:
2014-2-21 00:00
ชื่อกระทู้:
ช้างปัจจัยนาเคนทร์
ช้างปัจจัยนาค เป็นตัวละครประกอบอยู่ในวรรณคดีเรื่องร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดกปรากฏในกัณฑ์หิมพานต์ กัณฑ์มหาราช และนครกัณฑ์เป็นช้างคู่พระบารมีของพระเวสสันดร มีชื่อเรียกต่างๆกัน เช่น ช้างปัจจัยนาเคนทร์ ช้างต้นมงคลเศวตไอยรา เศวตคชาคเชนทรปัจจัย และพระคชินทเรศเศวตคชาพิเชียรพิชัยปัจจัยนาค
ในกัณฑ์หิมพานต์กล่าวถึงเมื่อพระนางผุสดีประชวรพระครรภ์และประสูติพระราชกุมารกลางพระนคร ณตรอกพ่อค้า โดยได้รับการถวายพระนามว่า “เวสสันดร” ได้มีนางช้างตระกูลฉัททันต์ชื่อ “กเรณุ” พาลูกช้างสีขาวบริสุทธิ์มาไว้ในโรงช้างต้น ลูกช้างนี้มีชื่อว่า “ปัจจัยนาค”เป็นช้างแก้วอุดมด้วยมงคลลักษณะอันเลิศยิ่งนัก ไม่ว่าจะไปยังพื้นที่แห่งใดก็จะบันดาลความอุดมสมบูรณ์มายังพื้นที่นั้นๆขณะนั้นเมืองกลิงคราษฎร์เกิดวิบัติข้าวยากหมากแพง ฝนแล้ง ประชาชนยากแค้นแสนสาหัส แม้ว่าเจ้าเมืองกลิงคราษฎร์จะพยายามบำเพ็ญพิธีกรรมต่างๆเพื่อให้ฝนตกก็ไม่สำเร็จ จึงได้ให้พราหมณ์ ๘ คนมาขอพระราชทานช้างปัจจัยนาค พระเวสสันดรก็พระราชทานให้เป็นเหตุให้พระเวสสันดรถูกปัพพาชนียกรรมออกจากเมือง และในกัณฑ์มหาราชกล่าวถึงเมื่อชูชกขอสองพระกุมารจากพระเวสสันดรและพาเดินทางผ่านเข้ามาหน้าพระที่นั่งพระเจ้ากรุงสญชัยพระองค์จึงได้ไถ่พระชาลีและพระกัณหาแล้วรับสั่งให้เตรียมทัพเพื่อไปรับพระเวสสันดรกลับคืนพระนคร ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่พราหมณ์เมืองกลิงคราษฎร์ทั้ง ๘ คนได้นำช้างปัจจัยนาเคนทร์มาถวายคืนพระเจ้ากรุงสญชัยจึงให้เป็นช้างทรงของพระชาลีไปยังเขาวงกต และในนครกัณฑ์พระเวสสันดรก็ได้ทรงช้างปัจจัยนาเคนทร์กลับคืนสู่พระนคร
ช้างปัจจัยนาคถือเป็นช้างที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อของชาวเมืองกลิงคราษฎร์เช่นเดียวกับชาวเมืองสีพี คือเมื่อเมืองกลิงคราษฎร์เกิดวิบัติข้าวยากหมากแพง ฝนแล้ง ชาวเมืองยากแค้นไปทั่ว เจ้าเมืองกลิงคราษฎร์ก็ได้ให้พราหมณ์๘ คน มาขอพระราชทานช้างปัจจัยนาค โดยที่เชื่อว่าไม่ว่าจะขับขี่ไปยังพื้นที่แห่งใดก็จะบันดาลให้ฝนตกลงมาทำให้พื้นที่นั้นอุดมสมบูรณ์ ข้าวปลาบริบูรณ์ทันที (คล้ายกับความเชื่อเกี่ยวกับพิธีแห่นางแมวของไทยที่เชื่อว่าทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล)อีกประการหนึ่งช้างปัจจัยนาคเป็นช้างที่มีความซื่อสัตย์ต่อเจ้าของจะเห็นได้จากตอนที่กลับมาพบพระเวสสันดรได้แสดงอาการดีใจ
ช้างปัจจัยนาคกลับชาติมาเป็นพระมหากัสสปเถระเป็นประธานในการปฐมสังคายนาหลังพระพุทธองค์ปรินิพพานแล้วได้รับยกย่องเป็นเอตคัคคะว่าเป็นผู้เลิศในทางธุดงค์เป็นต้นแบบของพระป่า มีอายุยืนถึง ๑๒๐ ปี นิพพานแล้วท่านยังอธิฐานจิตให้สรีระของท่านยังคงสภาพเดิมไม่สูญสลาย จนกว่าจะถึงศาสนาพระศรีอริยเมตไตย
โดย:
Metha
เวลา:
2014-2-21 00:02
เวสสันดรชาดก
--------------------------------------------------------------------------------
พระเจ้าสัญชัย ทรงครองราชสมบัติเมืองสีวี มีพระมเหสีทรงพระนามว่า พระนางผุสดี ธิดาพระเจ้า กรุงมัททราช พระนางผุสดีนี้ ในชาติก่อนๆ ได้เคยถวายแก่นจันทน์หอม เป็นพุทธบูชาและอธิษฐานขอให้ได้เป็น พุทธมารดาพระพุทธเจ้าในกาลอนาคต ครั้นเมื่อนางสิ้นชีวิตก็ได้ไปบังเกิดในเทวโลก เมื่อถึงวาระ ที่จะต้องจุติมาเกิดในโลกมนุษย์ พระอินทร์ได้ประทานพรสิบประการแก่นาง ครั้นเมื่อพระนางผุสดีทรงครรภ์ใกล้กำหนด ประสูติ พระนางปรารถนาไปเที่ยวชมตลาด ร้านค้าบังเอิญใน ขณะเสด็จประพาสนั้น พระนางทรงเจ็บครรภ์และประสูติพระโอรส ในบริเวณย่านนั้น พระโอรสจึงทรงพระนามว่า เวสสันดร หมายถึง ในท่ามกลางระหว่าง ย่านค้าขาย พร้อมกับที่พระโอรสประสูติ ช้างต้นของ พระเจ้าสญชัยก็ตกลูกเป็นช้างเผือกเพศผู้ ได้รับชื่อว่า ปัจจัยนาค เป็นช้างต้น คู่บุญพระเวสสันดร เมื่อพระกุมารเวสสันดรทรงเจริญวัยขึ้น ทรงมีพระทัยฝักใฝ่ในการบริจาคทาน มักขอพระราชทานทรัพย์ จากพระบิดามารดา เพื่อบริจาคแก่ประชาชนอยู่เป็นนิตย์ ทรงขอให้พระบิดาตั้งโรงทานสี่มุมเมือง เพื่อบริจาคข้าวปลาอาหารและสิ่งของจำเป็น แก่ประชาชน และหากมีผู้มาทูลขอสิ่งหนึ่ง สิ่งใด พระองค์ก็จะทรงบริจาคให้โดยมิได้ เสียดาย ด้วยทรงเห็นว่า การบริจาคนั้น เป็นกุศลเป็นคุณประโยชน์อันยิ่งใหญ่ ทั้งแก่ ผู้รับและผู้ให้ ผู้รับก็จะพ้นความเดือดร้อน ผู้ให้ก็จะอิ่มเอิบเป็นสุขใจที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น และยังทำให้พ้นจากความโลภความตระหนี่ ถี่เหนียวในทรัพย์สมบัติของตนอีกด้วย พระเกียรติคุณของพระเวสสันดรเลื่องลือไป ทั่วทุกทิศว่าทรงมีจิตเมตตาแก่ผู้อื่นมิได้ ทรงเห็นแก่ความสุขสบายหรือเห็นแก่ทรัพย์ สมบัติส่วนพระองค์ มิได้ทรงหวงแหนสิ่งใด ไว้สำหรับพระองค์ อยู่มาครั้งหนึ่ง ในเมืองกลิงคราษฏร์ เกิดข้าวยากหมายแพง เพราะฝนแล้ง ทำให้เพาะปลูกไม่ได้ ราษฎรอดอยาก ได้รับความเดือนร้อนสาหัส ประชาชน ชาวกลิงคราษฏร์พากันไปเฝ้าพระราชา ทูลว่า ในเมืองสีวี นั้นมีช้างเผือกคู่บุญ พระเวสสันดร ชื่อว่า ช้างปัจจัยนาค เป็นช้างมีอำนาจพิเศษ ถ้าอยู่เมืองใด จะ ทำให้ ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลพืชพันธุ์ จะบริบูรณ์ ขอให้พระเจ้ากลิงคราษฏร์ ส่งทูตเพื่อไปทูลขอช้างจาก พระเวสสันดร พระเวสสันดรก็จะทรงบริจาคให้เพราะ พระองค์ไม่เคยขัดเมื่อมีผู้ทูลขอสิ่งใด พระเจ้ากลิงคราษฏร์จึงส่งพราหมณ์แปดคน ไปเมืองสีวี ครั้นเมื่อพราหมณ์ได้พบ พระเวสสันดรขณะเสด็จ ประพาสพระนคร ประทับบนหลังช้างปัจจัยนาค พราหมณ์จึง ทูลขอช้างคู่บุญ เพื่อดับทุกข์ชาวกลิงคราษฏร์ พระเวสสันดรก็โปรดประทานให้ตามที่ขอ ชาวสีวีเห็นพระเวสสันดรทรงบริจาคช้าง ปัจจัยนาคคู่บ้านคู่เมืองไปดังนั้น ก็ไม่พอใจ
โดย:
Metha
เวลา:
2014-2-21 00:02
พากันโกรธเคืองว่า ต่อไปบ้านเมืองจะลำบาก เมื่อไม่มีช้างปัจจัยนาคเสียแล้ว จึงพากันไป เข้าเฝ้าพระเจ้าสญชัย ทูลกล่าวโทษ พระเวสสันดรว่าบริจาคช้างคู่บ้านคู่เมือง แก่ชาวเมืองอื่นไป ขอให้ขับพระเวสสันดร ไปเสียจากเมืองสีวี พระเจ้าสญชัยไม่อาจขัดราษฏรได้ จึงจำ พระทัยมีพระราชโองการให้ขับพระเวสสันดร ออกจากเมืองไป พระเวสสันดรไม่ทรงขัดข้อง แต่ทูลขอพระราชทานโอกาสบริจาคทาน ครั้งใหญ่ก่อนเสด็จออกจากพระนคร พระบิดาก็ทรงอนุญาตให้ พระเวสสันดร ทรงบริจาค สัตสดกมหาทาน คือบริจาค ทานเจ็ดสิ่ง สิ่งละเจ็ดร้อย แก่ประชาชนชาวสีวี เมื่อพระนางมัทรี พระมเหสีของพระเวสสันดร ทรงทราบว่า ประชาชนขอให้ขับพระเวสสันดร ออกจาก เมือง ก็กราบทูลพระเวสสันดรว่า "พระองค์เป็นพระราชสวามีของหม่อมฉัน พระองค์เสด็จไปที่ใด หม่อมฉันจะขอติดตาม ไปด้วยทุกหนทุกแห่ง มิได้ย่อท้อต่อความ ลำบาก ขึ้นชื่อว่าเป็นสามีภรรยาแล้ว ย่อมต้อง อยู่เคียงข้างกันในทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่ายามสุข หรือทุกข์ โปรดประทานอนุญาติให้หม่อมฉัน ติดตามไปด้วยเถิด" พระเวสสันดรไม่ทรงประสงค์ให้พระนางมัทรี ติดตามพระองค์ไป เพราะการเดินทางไปจาก พระนครย่อม มีแต่ความยากลำบาก ทั้งพระองค์ เองก็ทรงปรารถนาจะเสด็จไปประทับบำเพ็ญ ศีลภาวนาอยู่ในป่าพระนางมัทรีไม่คุ้นเคยต่อ สภาพเช่นนั้น ย่อมจะต้องลำบากยากเข็ญทั้ง อาหารการกินและความเป็นอยู่ แต่ไม่ว่า พระเวสสันดรจะตรัสห้ามปรามอย่างไร นาง ก็มิยอมฟัง บรรดาพระประยูรญาติ ก็พากัน อ้อนวอนขอร้อง พระนางก็ทรงยืนกรานว่า จะติดตามพระราชสวามีไปด้วย พระนางผุสดีจึงทรงไปทูลขอพระเจ้าสญชัย มิให้ขับพระเวสสันดรออกจากเมือง พระเจ้า สญชัยตรัสว่า "บ้านเมืองจะเป็นสุขได้ก็ต่อ เมื่อราษฏรเป็นสุข พระราชาจะเป็นสุขได้ก็ เมื่อราษฏรเป็นสุข ถ้าราษฏรมีความทุกข์ พระราชาจะนิ่งเฉยอยู่ได้อย่างไร ราษฏรพากัน กล่าวโทษพระเวสสันดรว่าจะทำให้บ้านเมือง ยากเข็ญ เราจึงจำเป็นต้องลงโทษ แม้ว่า พระเวสสันดรจะเป็นลูกของเราก็ตาม" ไม่ว่าผู้ใดจะห้ามปรามอย่างไร พระนางมัทรี ก็จะตามเสด็จพระเวสสันดรไปให้จงได้ พระเจ้าสญชัยและ พระนางผุสดีจึงของเอา พระชาลี พระกัณหา โอรสธิดาของพระเวสสันดรไว้ แต่พระนางมัทรีก็ไม่ยินยอม
โดย:
Metha
เวลา:
2014-2-21 00:02
ทรงกล่าวว่า "เมื่อชาวเมืองสีวีรังเกียจพระเวสสันดร ให้ขับไล่ไปเสียดังนี้ พระโอรสธิดาจะอยู่ ต่อไปได้อย่างไร ชาวเมืองโกรธแค้นขึ้นมา พระชาลีกัณหาก็จะทรงได้รับความลำบาก จึงควรที่จะออกจากเมือง ไปเสียพร้อม พระบิดาพระมารดา" ในที่สุดพระเวสสันดร พร้อมด้วยพระมเหสี และโอรสธิดาก็ออกจากเมืองสีวีไป แม้ใน ขณะนั้นชาวเมือง ยังตามมาทูลขอรถพระที่นั่ง ทั้งสี่พระองค์จึงต้องทรงดำเนินด้วยพระบาทออก จากเมืองสีวีมุ่งไปสู่ป่า เพื่อบำเพ็ญพรตภาวนา ครั้นเสด็จมาถึงเมืองมาตุลนคร บรรดากษัตริย์ เจตราชทรงทราบข่าว จึงพากันมาต้อนรับ พระเวสสันดร ทรงถามถึงทางไปสู่เขาวงกต กษัตริย์เจตราชก็ทรงบอกทางให้และเล่าว่า เขาวงกตนั้นต้องเดินทางผ่าน ป่าใหญ่ที่เต็ม ไปด้วยอันตราย แต่เมื่อไปถึงสระโบกขรณีแล้ว ก็จะเป็นบริเวณร่มรื่นสะดวกสบาย มีต้นไม้ผล ที่จะใช้เป็นอาหารได้ นอกจากนี้กษัตริย์เจตราช ยังได้สั่งให้ พรานป่าเจตบุตร ซึ่งเป็นผู้ชำนาญ ป่าแถบนั้น ให้คอยเฝ้าระแวดระวังรักษาต้นทาง ที่จะไปสู่เขาวงกต เพื่อมิให้ผู้ใดไปรบกวน พระเวสสันตรในการบำเพ็ญพรต เว้นแต่ทูต จากเมืองสีวีที่จะมาทูลเชิญเสด็จกลับนครเท่านั้น ที่จะยอมให้ผ่านเข้าไปได้ เมื่อเสด็จไปถึงบริเวณสระโบกขรณีอันเป็นที่ ร่มรื่นสบาย พระเวสสันดร พระนางมัทรี ตลอดจน พระ โอรสธิดา ก็ผนวชเป็นฤาษี บำเพ็ญพรตภาวนาอยู่ ณ ที่นั้น โดยมีพรานป่า เจตบุตรคอยรักษาต้นทาง ณ ตำบลบ้านทุนนวิฐ เขตเมืองกลิงคราษฏร์
มีพราหมณ์เฒ่าชื่อ ชูชก หาเลี้ยงชีพด้วยการ ขอทาน ชูชก ขอทานจนได้เงินมามาก จะเก็บไว้ เองก็กลัวสูญหาย จึงเอาไปฝากเพื่อนพราหมณ์ไว้ อยู่มาวันหนึ่ง ชูชกไปหาพราหมณ์ที่ตน ฝากเงินได้ จะขอเงินกลับไป ปรากฎว่า พราหมณ์นั้นนำเงินไปใช้หมดแล้ว จะหา มาใช้ให้ชูชกก็หาไม่ทัน จึงจูงเอาลูกสาวชื่อ อมิตตดา มายกให้แก่ชูชก พราหมณ์กล่าว แก่ชูชกว่า "ท่านจงรับเอาอมิตตดาลูกสาว เราไปเถิด จะเอาไปเลี้ยงเป็นลูกหรือภรรยา หรือจะเอาไปเป็น ทาสรับใช้ปรนนิบัติก็สุด แล้วแต่ท่านจะเมตตา" ชูชกเห็นนางอมิตตดาหน้าตาสะสวย งดงามก็หลงรัก จึงพานางไปบ้าน เลี้ยงดู นางในฐานะภรรยา นางอมิตตดาอายุ ยังน้อย หน้าตางดงาม และมีความกตัญญู ต่อพ่อแม่ นางจึงยอมเป็นภรรยาชูชกผู้แก่ เฒ่า รูปร่างหน้าตาน่ารังเกียจ อมิตตดา ปรนนิบัติชูชกอย่างภรรยาที่ดีจะพึงกระทำ ทุกประการ นางตักน้ำ ตำข้าว หุงหาอาหาร ดูแลบ้านเรือนไม่มีขาดตกบกพร่อง ชูชกไม่เคย ต้องบ่นว่าหรือตักเตือนสั่งสอนแต่ อย่างใดทั้งสิ้น ความประพฤติที่ดีเพียบพร้อมของนาง อมิตตดาทำให้เป็นที่สรรเสริญของบรรดา พราหมณ์ทั้งหลายในหมู่บ้านนั้น ในไม่ช้า บรรดาพราหมณ์เหล่านั้นก็พากันตำหนิ ติเตียนภรรยาของตนที่มิได้ประพฤติตนเป็น แม่บ้านแม่เรือนอย่างอมิตตดา บางบ้านก็ถึง กับทุบตีภรรยาเพื่อให้รู้จักเอาอย่างนาง เหล่านางพราหมณีทั้งหลายได้รับความ เดือดร้อน ก็พากันโกรธแค้นนางอมิตตดา ว่าเป็นต้นเหตุ วันหนึ่ง ขณะที่นางไปตักน้ำ ในหมู่บ้าน บรรดานางพราหมณีก็รุมกัน เย้ยหยันที่นางมีสามีแก่ หน้าตาน่าเกลียด
โดย:
Metha
เวลา:
2014-2-21 00:03
อาหารมาเลี้ยงดูแล้วชี้ทางให้เข้าไปสู่อาศรม ที่พระเวสสันดรบำเพ็ญพรตภาวนา อยู่เมื่อ ชูชกมาถึงอาศรมก็คิดได้ว่า หากเข้าไปทูลขอ พระโอรสธิดาในขณะพระนางมัทรีอยู่ด้วย พระนางคงจะไม่ยินยอมยกให้เพราะความรัก อาลัยพระโอรสธิดา จึงควรจะรอจนพระนาง เสด็จไปหาผลไม้ในป่าเสียก่อน จึงค่อยเข้า ไปทูลขอต่อพระเวสสันดรเพียงลำพัง ในวันนั้น พระนางมัทรีทรงรู้สึกไม่สบาย พระทัยเป็นอย่างยิ่ง เพราะในตอนกลางคืน พระนางทรงฝันร้าย ว่า มีบุรุษร่างกายกำยำ ถือดาบ มาตัดแขนซ้าวขวาของพระนางขาด ออกจากกาย บุรุษนั้นควักดวงเนตร ซ้ายขวา แล้วยังผ่าเอาดวงพระทัยพระนางไปด้วย พระนางมัทรีทรงสังหรณ์ว่าจะมีเหตุร้าย เกิดขึ้น จึงทรง ละล้าละลังไม่อยากไปไกลจาก อาศรม แต่ครั้นจะไม่เสด็จไปก็จะไม่มีผลไม้ มาให้พระเวสสันดรและโอรส ธิดาเสวย พระนางจึงจูงโอรสธิดาไปทรงฝากฝังกับ พระเวสสันดรขอให้ทรงดูแล ตรัสเรียกหา ให้เล่นอยู่ ใกล้ๆ บรรณศาลา พร้อมกับเล่า ความฝันให้พระเวสสันดรทรงทราบ พระเวสสันดรทรงหยั่งรู้ว่าจะมีผู้มาทูลขอ พระโอรสธิดา แต่ครั้นจะบอกความตามตรง พระนางมัทรีก็คงจะทนไม่ได้ พระองค์เองนั้น ตั้งพระทัยมั่นว่าจะบริจาคทรัพย์สมบัติทุกสิ่ง ทุกประการในกายนอกกาย แม้แต่ชีวิตและ เลือดเนื้อของพระองค์ หากมีผู้มาทูลขอ ก็จะ ทรงบริจาคให้โดยมิได้ทรงเสียดายหรือหวาดหวั่น พระเวสสันดรจึงตรัสกับพระนางมัทรีว่าจะดูแล พระโอรสธิดาให้ พระนางมัทรีจึงเสด็จไปหา ผลไม้ในป่าแต่ลำพัง ครั้นชูชกเห็นได้เวลาแล้ว จึงมุ่งมาที่อาศรม ได้พบพระชาลีพระกัณหาทรงเล่นอยู่หน้าอาศรม ก็แกล้งขู่ ให้สองพระองค์ตกพระทัยเพื่อข่มขวัญ ไว้ก่อน แล้วชูชกพราหมณ์เฒ่าก็เข้าไปเฝ้า พระเวสสันดร กล่าว วาจากราบทูลด้วยโวหาร อ้อมค้อมลด
โดย:
Metha
เวลา:
2014-2-21 00:03
เลี้ยว ชักแม่น้ำทั้งห้า เพื่อทูลขอ พระโอรสธิดาไปเป็นข้าช่วงใช้ ของตน พระเวสสันดรทรงมีพระทัยยินดีที่จะทรง กระทำบุตรทาน คือการบริจาคบุตรเป็นทาน อันหมายถึงว่า พระองค์เป็นผู้สละกิเลส ความหวงแหนในทรัพย์สมบัติทั้งปวง แม้กระทั่งบุคคลอันเป็นที่รัก ก็สามารถสละ เป็นทานเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นได้ แต่พระองค์ทรงผัดผ่อนต่อชูชกว่า ขอให้ พระนางมัทรีกลับมาจากป่า ได้ร่ำลาโอรสธิดา เสียก่อนชูชกก็ไม่ ยินยอม กลับทูลว่า "หากพระนางกลับมา สัญชาตญาณแห่งมารดา ย่อมจะทำให้พระนางหวงแหนห่วงใย พระโอรสธิดา ย่อมจะไม่ทรงให้พระโอรส ธิดาพรากจากไปได้ หากพระองค์ทรง ปรารถนาจะบำเพ็ญทานจริง ก็โปรดยก ให้หม่อมฉันเสียแต่บัดนี้เถิด" พระเวสสันดรจนพระทัยจึงตรัสเรียกหา พระโอรสธิดา แต่พระชาลีกัณหาซึ่งแอบฟัง ความอยู่ใกล้ๆ ได้ ทราบว่า พระบิดาจะยกตน ให้แก่ชูชก ก็ทรงหวาดกลัว จึงพากันไปหลบ ซ่อน โดยเดินถอยหลังลงสู่สระบัว เอาใบบัว บังเศียรไว้ ชูชกเห็นสองกุมารหายไป จึงทูล ประชดประชันพระเวสสันดรว่า ไม่เต็ม พระทัย บริจาคจริง ทรงให้สัญญาณสอง กุมารหนีไปซ่อนตัวเสียที่อื่น พระเวสสันดร จึงทรงต้องออกมาตามหาพระชาลีกัณหา ครั้นทอดพระเนตรเห็นรอยเท้าเดินขึ้นมา จากสระ จึงตรัสเรียกพระโอรสธิดาว่า "ชาลีกัณหา เจ้าจงขึ้นมาหาพ่อเถิด หากเจ้า นิ่งเฉยอยู่ พราหมณ์
โดย:
Metha
เวลา:
2014-2-21 00:04
เฒ่าก็จะเยาะเย้ยว่าพ่อนี้ ไร้วาจาสัตย์ พ่อตั้งใจจะบำเพ็ญทานบารมี เพื่อสละละกิเลสให้บรรลุพระโพธิญาณ จะได้เป็นที่พึ่งแก่สัตว์โลกทั้งหลาย ในภาย ภาคหน้า ให้พ้นจากทุกข์แห่งการเวียนว่าย ตายเกิด เจ้าจงมาช่วยพ่อประกอบการบุญ เพื่อบรรลุ ผล คือ พระโพธิญาณนั้นเถิด" ทั้งสองกุมารทรงได้ยินพระบิดาตรัสเรียก ก็ทรงรำลึกได้ถึงหน้าที่ของบุตรที่ดี ที่ถึง เชื่อฟังบิดามารดา รำลึกได้ถึงความ พากเพียรของพระบิดาที่จะประกอบ บารมีเพื่อความหลุดพ้นจากกิเลส ทั้งยังรำลึกถึง ขัตติยมานะว่าทรงเป็น โอรสธิดากษัตริย์ ไม่สมควรจะหวาดกลัว ต่อสิ่งใด จึงเสด็จขึ้นมาจากสระบัว พระบิดาก็จูงทั้งสองพระองค์มาทรงบริจาค เป็นทานแก่ชูชก ชูชกครั้นได้ตัวพระชาลีกัณหาเป็นสิทธิ ขาดแล้ว ก็แสดงอำนาจฉุดลากเอาสอง กุมารเข้าป่าไป เพื่อจะให้ เกิดความยำเกรง ตน พระเวสสันดรทรงสงสารพระโอรสธิดา แต่ก็ไม่อาจทำประการใดได้ เพราะทรง ถือว่า ได้บริจาคเป็นสิทธิแก่ชูชกไปแล้ว ครั้นพระนางมัทรีทรงกลับมาจากป่า ในเวลาพลบค่ำ เที่ยวตามหาโอรสธิดา ไม่พบ ก็มาเฝ้าทูลถามจาก พระเวสสันดร พระเวสสันดรจะทรงตอบความจริงก็เกรงว่า นางจะทนความเศร้าโศกมิได้ จึงทรงแกล้ง ตำหนิว่า นางไปป่าหาผลไม้ กลับมาจน เย็นค่ำ คงจะรื่นรมย์มากจนลืมนึกถึง โอรสธิดาและสวามีที่คอยอยู่ พระนางมัทรี ได้ทรงฟัง ก็เสียพระทัย ทูลตอบว่า "เมื่อหม่อมฉันจะกลับอาศรม มีสัตว์ ร้ายวนเวียนดักทางอยู่ หม่อมฉันจะมา ก็มามิได้จนเย็นค่ำ สัตว์ร้ายเหล่านั้น จึงจากไป หม่อมฉันมีแต่ความสัตย์ซื่อ มิได้เคยจึกถึงความสุขสบายส่วนตัวเลย แม้แต่น้อยนิด บัดนี้ลูกของหม่อมฉันหายไป จะเป็นตายร้ายดีอย่างไรก็มิทราบ หม่อมฉัน จะเที่ยวติดตามหาจนกว่าจะ พบลูก" พระนางมัทรีทรงออกเที่ยวตามหาพระชาลี กัณหาตามรอบบริเวณศาลา เท่าไรๆ ก็มิได้ พบจนในที่สุด พระนางก็สิ้นแรง ถึงกับสลบไป พระเวสสันดรทรงเวทนา จึงทรงนำน้ำเย็นมา ประพรมจนนางฟื้นขึ้น ก็ ตรัสเล่าว่าได้บริจาค โอรสธิดาแก่พราหมณ์เฒ่าไปแล้ว ขอให้ พระนางอนุโมทนาในทานบารมีที่ทรงกระทำ ไปนั้นด้วยบุตรทานที่พระราชสวามีทรงบำเพ็ญ และมีพระทัยค่อยบรรเทาจากความโศกเศร้า ฝ่ายท้าวสักกะเทวราชทรงเล็งเห็นว่า หากมี ผู้มาทูลขอพระนางมัทรีไป พระเวสสันดร ก็จะทรงลำบาก ไม่อาจบำเพ็ญเพียรได้เต็ม ความปรารถนา เพราะต้องทรงแสวงหาอาหาร ประทังชีวิต ท้าวสักกะจึงแปลงองค์เป็นพราหมณ์ มาขอรับบริจาคพระนางมัทรี พระเวสสันดร ก็ทรงปิติยินดีที่จะได้ประกอบทารทานคือการ บริจาคภรรยาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น พระนาง มัทรีก็ทรงเต็มพระทัยที่จะได้ทรงมีส่วน ในการ
โดย:
Metha
เวลา:
2014-2-21 00:04
บำเพ็ญทานบารมีตามที่พระเวสสันดร ทรงตั้งพระทัยไว้ เมื่อได้รับบริจาคแล้ว ท้าวสักกะก็ทรงกลับ คืนร่างดังเดิม และตรัสสรรเสริญอนุโมทนา ในกุศลแห่งทาน บารมีของพระเวสสันดร แล้วถวายพระนางมัทรีกลับคืนแด่พระเวสสันดร พระเวสสันดรจึงได้ทรงประกอบบุตรทารทาน อันยากที่ผู้ใดจะกระทำได้ สมดังที่ได้ตั้งพระทัย ว่าจะบริจาคทรัพย์ของพระองค์ เพื่อประโยชน์ แก่ผู้อื่น โดยปราศจากความหวงแหนเสียดาย ฝ่ายชูชกพาสองกุมารเดินทางมาในป่า ระหกระเหินได้รับความลำบากเป็นอันมาก และหลงทางไปจนถึง เมืองสีวี บังเอิญผ่าน ไปหน้าที่ประทับพระเจ้าสญชัย ทรงทอด พระเนตรเห็นพระนัดดาทั้งสองก็ทรงจำได้ จึงให้เสนาไปพาเข้ามาเฝ้า ชูชกทูลว่า พระเวสสันดรทรงบริจาคพระชาลีกัณหา ให้เป็นข้าทาสของตนแล้ว บรรดาเสนาอำมาตย์และประชาชนทั้งหลาย ต่างก็พากันสงสารพระกุมารทั้งสอง และ ตำหนิพระเวสสันดรที่มิได้ทรงห่วงใย พระโอรสธิดา พระชาลีเห็นผู้อื่นพากัน ตำหนิติเตียนพระบิดา จึงทรงกล่าวว่า "เมื่อพระบิดาเสด็จไปผนวชอยู่ในป่า มิได้ทรงมีสมบัติใดติดพระองค์ไป แต่ทรงมีพระทัยแน่วแน่ที่จะ สละกิเลส ไม่หลงใหลหวงแหนในสมบัติสิ่งหนึ่งสิ่งใด แม้บุคคลอันเป็นที่รักก็ย่อมสละได้เพื่อประโยชน์ แก่ผู้อื่น เพราะทรงมีพระทัยมั่นในพระโพธิญาณ ในภายหน้า ความรัก ความหลง ความโลภ ความโกรธ เป็นกิเลสที่ขวางกั้นหนทางไปสู่ พระโพธิญาณ พระบิดาของหม่อมฉันสละกิเลส ได้ดังนี้จะมาตำหนิติเตียน พระองค์หาควรไม่" พระเจ้าสญชัยได้ทรงฟังดังนั้นก็ยินดี จึงตรัสเรียกพระชาลีให้เข้าไปหา แต่พระชาลี ยังคงประทับอยู่กับ ชูชก และทูลว่า พระองค์ ยังเป็นทาสของชูชกอยู่ พระเจ้าสญชัยจึงขอไถ่ สองกุมารจากชูชก พระชาลี ตรัสว่า พระบิดา ตีค่าพระองค์ไว้พันตำลึงทอง แต่พระกัณหานั้น เป็นหญิง พระบิดาจึงตีค่าตัวไว้สูง เพื่อมิให้ ผู้ใดมาไถ่ตัวหรือซื้อขายไปได้ง่ายๆ พระกัณหา นั้นมีค่าตัวเท่ากับ
โดย:
Metha
เวลา:
2014-2-21 00:05
ทรัพย์เจ็ดชีวิตเจ็ดสิ่ง เช่น ข้าทาส หญิงชาย เป็นต้น สิ่งละเจ็ดร้อย กับทองคำอีกร้อยตำลึง พระเจ้าสญชัยก็โปรดให้เบิกสมบัติท้องพระคลัง มาไถ่ตัวพระนัดดาจากชูชก และโปรดให้จัด ข้าวปลาอาหารมาเลี้ยงดูชูชก เพื่อตอบแทนที่พา พระนัดดากลับมาถึงเมือง ชูชกพราหมณ์เฒ่าขอทาน ไม่เคยได้บริโภค อาหารดีๆ ก็ไม่รู้จักยับยั้ง บริโภคมาจนทนไม่ไหว ถึงแก่ ความตายในที่สุด พระเจ้าสญชัยโปรด ให้จัดการศพแล้วประกาศหาผู้รับมรดกก็หา มีผู้ใดมาขอรับไม่ หลังจากนั้น พระเจ้าสญชัย จึงตรัส สั่งให้จัดกระบวนเสด็จเพื่อไปรับ พระเวสสันดรและพระนางมัทรีกลับคืนสู่ เมืองสีวี เพราะบรรดาประชาชนก็พากันได้คิดว่า พระเวสสันดรได้ทรงประกอบทานบารมี อันยิ่งใหญ่ กว่าทั้งหลายทั้งปวง ก็เพื่อประโยชน์ แห่งผู้คนทั้งหลาย หาใช่เพื่อพระองค์เองไม่ เมื่อกระบวนไปถึงอาศรมริมสระโบกขรณี กษัตริย์ทั้งหกก็ทรงได้พบกันด้วยความโสมนัส ยินดี พระเจ้าสญชัยจึงตรัสบอกพระเวสสันดร ว่าประชาชนชาวสีวีได้เห็นสิ่งที่ถูกที่ควรแล้ว และพากันร่ำร้องได้ ทูล เชิญเสด็จกลับเมืองสีวี พระเวสสันดร พระนางมัทรี และพระชาลี กัณหาจึงได้เสด็จกลับเมือง พระเจ้าสญชัย ทรงอภิเษก พระ เวสสันดรขึ้นครองเมืองสืบ ต่อไป ครั้นได้เป็นพระราชาแห่งสีวี พระเวสสันดรก็ทรงยึดมั่นในการประกอบ ทานบารมี ทรงตั้งโรงทานบริจาคเป็นประจำ ทุกวัน ชาวเมืองสีวีตลอดจนบ้านเมืองใกล้เคียง ก็ได้รับพระ เมตตากรุณา มีความร่มเย็นเป็นสุข ชาวเมืองต่างก็เอื้อเฟื้อช่วยเหลือกันมิได้โลภ กระหายในทรัพย์สมบัติ ต่างก็มีจิตใจผ่องใสเป็น สุข เหมือนดังที่พระเวสสันดรทรงตั้งพระปณิธาน ว่า พระองค์จะทรงบริจาคทรัพย์สมบัติทั้งปวง เพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น ด้วยทรัพย์ทั้งหลาย ทำให้เกิดกิเลส คือความโลภ ความหลงหวงแหน เมื่อบริจาคทรัพย์แล้ว ผู้รับก็จะได้ประโยชน์ จากสิ่งนั้น และมีความชื่นชม ยินดี ผู้ให้ก็จะ อิ่มเอมใจว่าได้ทำประโยชน์แก่ผู้อื่น เกิดความ ปิติยินดีเช่นกัน ทั้งผู้ให้และผู้รับย่อมได้รับ ความสุขความพึงพอใจดังนี้
โดย:
Metha
เวลา:
2014-2-21 00:07
ช้างปัจจัยนาคเป็นลูกนางช้างอากาศจารินี (ช้างที่ท่องเที่ยวไปในอากาศ)นางช้างผู้เป็นมารดาท่องเที่ยวมาถึงแคว้นสีพีได้นำลูกช้างเผือกขาวผ่องมาไว้ในโรงช้างต้นของพระเจ้ากรุงสญชัยในวันเดียวกับที่พระเวสสันดรประสูติแล้วนางช้างผู้เป็นมารดาก็จากไป ช้างปัจจัยนาคจึงเป็นช้างคู่บุญบารมีของพระเวสสันดรโดยแท้
แต่ทางราชการกำหนดศัพท์สำหรับเรียกชื่อช้างซึ่งมีลักษณะพิเศษ ตามพระราชบัญญัติรักษาช้างป่าพุทธศักราช ๒๔๖๔ ไว้ดังนี้
คำว่า "ช้างสำคัญ" ให้พึงเข้าใจว่าช้างที่มีมงคลลักษณะ ๗ ประการ คือ
๑. ตาขาว
๒. เพดานขาว
๓. เล็บขาว
๔. ขนขาว
๕. พื้นหนังขาว หรือสีคล้ายหม้อใหม่
๖. ขนหางขาว
๗. อัณฑโกสขาว หรือสีคล้ายหม้อใหม่
คำว่า "ช้างสีประหลาด" ให้พึงเข้าใจว่า ช้างที่มีมงคลลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดใน ๗ อย่างคือ
๑. ตาขาว
๒. เพดานขาว
๓. เล็บขาว
๔. ขนขาว
๕. พื้นหนังขาว หรือสีคล้ายหม้อใหม่
๖. ขนหางขาว
๗. อัณฑโกสขาว หรือสีคล้ายหม้อใหม่
คำว่า "ช้างเนียม" ให้พึงเข้าใจว่า ช้างมีลักษณะ ๓ ประการ คือ
๑. พื้นหนังดำ
๒. งามีลักษณะดังรูปปลีกล้วย
๓. เล็บดำ
มีความเชื่อกันมาแต่โบราณว่า ช้างเผือกเกิดขึ้นเพราะพระบารมีของพระมหากษัตริย์เป็นที่เชิดชูพระเกียรติยศและพระบรมเดชานุภาพช้างเผือกจะเกิดขึ้นในรัชกาลใดถือกันว่าพระมหากษัตริย์พระองค์นั้นมีพระบารมีสูงส่ง จะได้รับการยกย่องเลื่องลือในพระราชอำนาจ และพระเกียรติยศแผ่ไปยังนานาประเทศ ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารสมัยกรุงศรีอยุธยาว่า ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ทรงได้ช้างเผือก ๗ เผือก ได้รับการถวายพระนามว่า พระเจ้าช้างเผือก เป็นต้น
ช้างเผือกเป็นของหายากและเป็นมงคลสำหรับบ้านเมือง ดังนั้นในพระราชบัญญัติรักษาช้างป่าพุทธศักราช ๒๔๖๔ จึงกำหนดไว้ว่า
บรรดาช้างชนิดที่กล่าวมาแล้วนี้ต้องเป็นและคงเป็นสมบัติของแผ่นดินเสมอ การที่จะโอนกรรมสิทธิ์แก่กันโดยวิธีซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ปัน หรือโดยวิธีอื่นอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดีนับว่าไม่ถูกต้องทั้งสิ้น ผู้ที่ยึดถือช้างเช่นนั้นไว้ต้องมอบให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ ในเมื่อเจ้าหน้าที่บอกให้นำส่งและเจ้าหน้าที่มีอำนาจจะเข้ายึดเอาตัวช้างได้แม้โดยอำนาจ หากผู้ที่รักษาช้างอยู่นั้นบิดพลิ้วไม่ยอมมอบตัวให้" และได้กำหนดบทลงโทษไว้
ตำราคชศาสตร์ คือ ตำราว่าด้วยช้างเผือกมี ๒ ตำรา คือ
๑.คชลักษณ์ กล่าวถึงรูปพรรณสันฐานของช้างต่าง ๆ ทั้งดีและชั่ว ถ้าได้ไว้จะให้คุณและโทษตามแต่ลักษณะช้าง
๒.คชกรรม คือ ตำรที่รวบรวมเวทมนตร์คาถา กระบวนการจับช้างรักษาช้างและบำบัดเสนียดจัญไรต่าง
โดย:
Metha
เวลา:
2014-2-21 00:08
ช้างที่พระเป็นเจ้าทั้ง ๔ องค์สร้างนั้นได้มีการแบ่งวรรณะเหมือนคนในประเทศอินเดีย ดังนี้
อิศวรพงศ์ คือ ช้างที่พระอิศวรสร้างเป็นวรรณะกษัตริย์ ลักษณะหนังเนื้อดำสนิทผิวพรรณละเอียดเกลี้ยง หน้าใหญ่ โขมดสูง น้ำเต้ากลม งวงเรียวแลดูเป็นต้น และปลายเงาทั้งสองใหญ่งอนขึ้นอยู่เสมอกัน ปากรีแหลมรูปเป็นพวยหอยสังข์ คอกลมเมื่อเดินยกเป็นสง่าหน้าสูงกว่าท้าย ทรวงอกผึ่งผายใหญ่กว้างแสดงกำลัง ท้ายเป็นสุกร หลังเป็นคันธนู ขนดท้องตามวงหลัง ขาหน้าทั้งสองอ่อนประหนึ่งแขนเท้า เท้าและข้อเท้าหน้าหน้าหลังเรียวรัดดังฝักบัวกลม หางเป็นข้อห่วง สนับงาแลเห็นเป็น ๒ ชั้น ขมับเต็มไม่พร่อง หูใหญ่ ช่อม่วงข้างขวายาว ใบหูอ่อนนุ่มมีขนขึ้นมากกว่าข้างซ้าย
พรหมพงศ์ คือ ช้างที่พระพรหมสร้างเป็นวรรณะพราหมณ์ ลักษณะเนื้อหนังอ่อนขนอ่อนละเอียด เส้นเรียบ หน้าใหญ่ท้ายต่ำน้ำเต้าแฝด ขนงคิ้วสูง โขมดสูง มีกระทั่วตัวดังดอกกรรณิการ์ ขนหลัง ขนหู ขนปาก และขนตายาว ขุมหนึ่งขึ้น ๒ เส้น อกใหญ่ งวงเรียวรัด งาใหญ่ ปลายและต้นสมส่วนงาสีดอกจำปา
วิษณุพงษ์ คือ ช้างที่พระนารายณ์สร้างเป็นวรรณะแพศย์ ลักษณะผิวเนื้อหนังนาขนเกรียน ทรวงอก คอ และสีข้าง เท้าทั้งสี่ใหญ่ได้ขนาด หาง งวงและหน้ายาวใหญ่อย่างประหลาด มีกระที่หูแดง ประไปสม่ำเสมอกันตาใหญ่ขุ่นหลังราบ
อัคนีพงศ์ คือ ช้างที่พระเพลิงสร้าง เป็นวรรณะศูทร ลักษณะผิวเนื้อแข็งกระด้าง ขนหยาบ หน้าเป็นกระแดงดั้งแววมยุรา งาแดง หลังแดง หน้า งวงแดง ผิดเนื้อหม่นไม่ดำสนิทตะเกียบหูห่าง หางเขิน ตาสีน้ำผึ้ง
ตามตำราพระคชลักษณ์กล่าวว่า พระเป็นเจ้าให้เกิดช้าง ๗ สี คือ เหลือง ขาว แดง เขียว ดำ ม่วง เมฆ และต้องประกอบด้วยศุภลักษณะ (ลักษณะดี) อีก ๑๑ ประการ คือ ขน หาง ตา เล็บ อัณฑโกส ช่องแมงภู่ ขุมขน เพดาน สนับงา คางใน ไรเล็บ หรือไม่น้อยกว่า ๕ ประการ จึงจะนับว่าสมบูรณ์ด้วยคชลักษณ์
โดย:
Metha
เวลา:
2014-2-21 00:09
ช้างเผือกคู่พระบารมี
ตำราพระคชศาสตร์กำหนดลักษณะสำคัญ ๗ ประการของช้างมงคลไว้ว่า จะต้องประกอบด้วย
๑. ตาขาว
๒. เพดานปากขาว
๓. เล็บขาว
๔. ขนขาว
๕. พื้นหนังขาวหรือสีอ่อนๆ ออกแดงคล้ายหม้อใหม่
๖. ขนหางขาว
๗. อัณฑโกสขาว หรือสีคล้ายหม้อใหม่
ช้างที่มีลักษณะทั้ง ๗ ประการครบถ้วน เราเรียกว่า “ช้างสำคัญ” ส่วนช้างที่มีลักษณะมงคลไม่ครบ จะเรียกว่า “ช้าง
ประหลาด” หรือช้าง “สีประหลาด” และหากช้างมีหนังดำ มีงาลักษณะเหมือนปลีกล้วย และมีเล็บดำ จะเรียกว่า “ช้างเนียม” ซึ่งช้างทั้งสามประเภทนี้ ถือเป็นช้างคู่บารมีของพระมหากษัตริย์เท่านั้น ผู้ที่ครอบครองช้างประเภทใด จะต้องนำช้างนั้นทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นช้างทรงตามราชประเพณีที่ปฏิบัติกันมานาน โดยเรามักจะเรียกช้างทั้งหมดรวมๆ กันว่าเป็น “ช้างเผือก”
ถือกันมาแต่สมัยโบราณว่า ช้างเผือกถือว่ามีศักดิ์สูงเทียบชั้นเจ้าฟ้า และสัตว์ที่นิยมนำมาเลี้ยงคู่กับช้างเผือก มี ๒ ชนิด คือลิงเผือกและกาเผือก ถือกันว่าเป็นสัตว์คู่บุญของช้างเผือก จะช่วยป้องกันสิ่งอวมงคลที่จะมาสู่ช้างเผือกได้ และหากมีเหตุใดๆ เกิดขึ้นกับช้างเผือก จะเชื่อกันว่าเป็นลางร้าย
ช้างเผือกที่ได้รับการขึ้นระวางเป็นช้างหลวงส่วนพระองค์พระมหากษัตริย์ จะเรียกกันว่า “ช้างต้น” ซึ่งสมัยก่อน ช้างต้นมี ๓ ประเภทคือ
๑. ช้างศึกที่ใช้ออกรบ
๒. ช้างสำคัญที่มีลักษณะเป็นมงคลตามตำราคชลักษณ์แต่ไม่สมบูรณ์ทุกส่วน
๓. ช้างเผือกที่มีลักษณะถูกต้องตามตำราคชลักษณ์ทุกประการ
และจากที่ปัจจุบัน ไม่มีศึกสงคราม ทำให้ความต้องการใช้ช้างศึกเพื่อการสงครามไม่มี ช้างต้นในยุคปัจจุบัน จึงหมายถึงช้างเผือกที่มีลักษณะอันเป็นมงคลนั่นเอง
กำเนิดของช้าง ก็สามารถบ่งบอกถึงความเชื่อว่า หากครอบครองช้างตระกูลใด จะส่งผลในทางใดให้กับผู้ครอบครองอีกด้วย ซึ่งกำเนิดของช้างนี้ มีตำนานกล่าวขานกันว่า เมื่อพระนารายณ์เสด็จลงมายังพิภพแล้วได้เนรมิตดอกบัวให้เป็นโลก และได้แบ่งกลีบดอกบัวเป็น ๔ ส่วน นำไปถวายพระพรหม พระอิศวร พระวิษณุ และพระอัคนี และมหาเทพทั้ง ๔ ได้เนรมิตกลีบบัวทั้ง ๔ ให้เป็นช้าง ๔ ตระกูล ได้แก่
ตระกูลพรหมพงศ์
พระพรหมเป็นผู้สร้าง หากมีช้างในตระกูลนี้มาสู่พระบารมี เชื่อว่าจะให้ความเจริญทั้งทางวัตถุและวิทยาการต่างๆ แก่เจ้าของ
ลักษณะเด่นของช้างตระกูลนี้ คือมีเนื้อหนังอ่อนนุ่ม มีหน้าใหญ่ ท้ายต่ำ ขนอ่อนละเอียด เส้นเรียบ โขมดสูง คิ้วสูง น้ำเต้าแฝด มีกระเต็มตัว ขนที่หลังหู ปาก และขอบตามีสีขาว อกใหญ่ งามีสีเหลือง เรียวรัดงดงาม
ตระกูลอิศวรพงศ์
พระอิศวรเป็นผู้สร้าง เมื่อมีช้างตระกูลนี้มาสู่พระบารมี จะทำให้บ้านเมืองมีความเจริญด้วยทรัพย์และอำนาจ
ลักษณะเด่นของช้างตระกูลนี้ มีผิวกายดำสนิท งาอวบ งอน เสมอกันทั้งสองข้าง เท้าใหญ่ น้ำเต้ากลม คอย่นเมื่อเยื้องย่าง อกใหญ่ หน้าเชิด
ตระกูลวิษณุพงศ์
พระวิษณุเป็นผู้สร้าง เมื่อมีช้างตระกูลนี้มาสู่พระบารมีย่อมมีชัยชนะต่อศัตรู ฝนจะตกต้องตามฤดูกาล ผลาหาร ธัญญาหารจะบริบูรณ์
ลักษณะเด่นช้างตระกูลนี้ มีผิวหนา ขนหนา เกรียน สีทองแดง อก คอ และคางใหญ่ หางและงวงยาว หน้าใหญ่ นัยน์ตาขุ่น และหลังราบ
ตระกูลอัคนิพงศ์
พระอัคนีเป็นผู้สร้าง ช้างตระกูลนี้เมื่อมาสู่พระบารมี บ้านเมืองจะเจริญด้วยมังสาหาร มีผลในทางระงับศึกอันพึงจะเกิดหรือเกิดขึ้นแล้ว และมีผลในทางระงับความอุบาทว์ทั้งปวงอันเกิดแก่บ้านเมืองและราชบัลลังก์
ลักษณะเด่นของช้างตระกูลนี้คือมีท่วงทีงดงาม เวลาเดินจะเชิดงวง อกใหญ่ ปลายงาทั้งสองจะโค้งพอจรดกัน มีสีเหลือง ขนสีขาวปนแดง และผิวกายมีสีใบตองตากแห้ง
โดย:
Metha
เวลา:
2014-2-21 00:10
ช้างเผือกคู่บารมีในรัชกาลที่ ๙
ในความเชื่อที่มีมาแต่โบราณของไทยถือว่าเป็นเครื่องเชิดชูเกียรติประดับบารมีของพระมหากษัตริย์ เมื่อมีช้างเผือกเข้ามาสู่พระบารมีจะทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทำพิธีสมโภชขึ้นระวาง พระราชทานนามเป็น "พระยาช้างต้น หรือนางพระยาช้างต้น" และให้ยืนโรงช้างประจำพระราชฐาน พระมหากษัตริย์พระองค์ใด มีช้างเผือกมาก จะเชื่อกันว่ามีพระบุญญาบารมีมาก สำหรับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ นี้ จวบจนถึงปัจจุบัน มีการพบช้างเผือก ๒๑ ช้าง ปัจจุบันเหลือ ๑๑ ช้าง ดังนี้
พระเศวตอดุลยเดชพาหน
ชื่อเต็มคือ พระเศวตอดุลยเดชพาหน ภูมิพลนวนาถบารมี ทุติยเศวตกรีกมุทพรรโณภาส บรมกมลาสนวิสุทธวงศ์ สรรพมงคลลักษณคเชนทรชาติ สยามราษฎรสวัสดิ ประสิทธิ์รัตนกุญชรนิมิตบุญญาธิการ ปรมินทรพิตรสารศักดิเลิศฟ้า เป็น ช้างพลายเผือกโท ลูกเถื่อนตระกูล "พรหมพงศ์" จำพวกอัฏทิศ ชื่อว่า กมุท คล้องได้เมื่อปี ๒๔๙๙ ที่เมือง "กระบี่"โดยมีพล.ท.บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ประธานกรรมการองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย มีการสมโภชช้างนี้เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๑ และน้อมเกล้าฯ ถวายขึ้นระวางโรงช้างต้น พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๑๑ พ.ย. ๒๕๐๒ เริ่มยืนโรง ณ โรงช้างต้น สวนจิตรลดา ในปี ๒๕๑๙ ปัจจุบันอายุกว่า ๕๐ ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระเศวต อดุลยเดชพาหนฯ จากโรงช้างต้น สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต มายืนโรง ณ โรงช้างต้น วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
พระเศวตวรรัตนกรี
ลูกช้างบ้านของราษฎรอำเภอสันกำแพง จงหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเมื่อผ่านการพิจารณาตรวจคชลักษณ์จากผู้ชำนาญของสำนักพระราชวังแล้ว พบว่า สมบูรณ์ด้วยศุภมงคลต้องตามตำราพระคชลักษณ์ โดยอยู่ในตระกูลวิษณุพงศ์ จำพวกอัฎฐคช ชื่อ "ดามพหัสดินทร์" สมควรขึ้นระวางเป็นพระยาช้างต้นตามราชประเพณี โดยช้างสำคัญนี้เกิดที่นครเชียงใหม่ ซึ่งได้ทรงสร้างพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ไว้เป็นที่ประทับ เสมอด้วยมีพระราชฐานประจำในนครนี้ ปัจจุบัน ล้มแล้ว
พระเศวตสุรคชาธาร
ลูกช้างพลายพลัดแม่ที่ราษฎรอำเภอรามัญ จังหวัดยะลา ได้นำมาเลี้ยงไว้ ก่อนจะพบว่ามีลักษณะมงคล ซึ่งเมื่อทางสำนักพระราชวังได้ตรวจสอบ พบว่าลูกช้างนั้นมีมงคลลักษณะถูกต้องตามคชลักษณศาสตร์ อยู่ในพรหมพงศ์ ตระกูลช้าง ๑๐ หมู่ ชื่อ “ดามพหัตถี” พระเศวตสุรคชาธารนับเป็นช้างต้นช้างที่สามในรัชกาลนี้ และยังเคยเป็นพระสหายของสมเด็จพระเทพฯ สมัยยังทรงพระเยาว์ เคยมีกล่าวถึงในบทพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ว่า เมื่อมีการเสด็จฯ แปรพระราชฐานไปยังวังไกลกังวล หัวหิน คุณพระเศวตสุรคชาธารก็ได้โดยเสด็จฯ ด้วย ปัจจุบัน ล้มลงแล้ว
พระศรีเศวตศุภลักษณ์
ช้างพังเผือก ลูกเถื่อน คล้องมาได้จากจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นช้างตระกูลวิษณุพงศ์ จำพวกอัฏฐคช ชื่อดามพหัสดินทร์ ปัจจุบันกรมป่าไม้เป็นผู้ดูแล
พระเศวตภาสุรคเชนทร์
เดิมชื่อภาศรี เป็นช้างพลายเผือก ลูกเถื่อน ของราษฎรในเขตอำเภอท่ายาง เพชรบุรี เมื่อมีการตรวจสอบพบว่ามีคชลักษณ์ถูกต้องตามตำราคชลักษณศาสตร์ อยู่ในตระกูลวิษณุพงศ์ จำพวกอัฎฐคช ชื่อ "ดามพหัสดินทร์" จึงได้ขึ้นระวางสมโภชเป็นช้างสำคัญพร้อมกันทีเดียวถึง ๓ เชือก คือพร้อมกับพระบรมนขทัศ และพระเทพวัชรกิริณี ปัจจุบันอายุ ๓๐ ปี อยู่ในความดูแลของศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จังหวัดลำปาง
พระเศวตสุทธวิลาส
ช้างพลายเผือกลูกเถื่อน คล้องมาได้จากจังหวัดกาญจนบุรี เป็นช้างตระกูลวิษณุพงศ์ จำพวกอัฏฐคช ชื่อดามพหัสดินทร์ ปัจจุบันอายุเกือบ ๓๐ ปี อยู่ในความดูแลของศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จังหวัดลำปาง
พระเทพวัชรกิริณี
เดิมชื่อพังขวัญตา เป็นลูกช้างหลงโขลง ชาวบ้านที่ไปตัดไม้ในเขตหัวหินไปพบเข้า จึงจับมาส่งให้กำนันตำบลเขาย้อย ก่อนจะนำไปถวายวัดและเลี้ยงมาคู่กันกับพลายดาวรุ่ง ต่อมาเมื่อมีการตรวจสอบพบว่า พังขวัญตาเป็นช้างสำคัญมีมงคลคชลักษณ์ถูกต้องตามตำราคชลักษณศาสตร์ อยู่ในตระกูลวิษณุพงศ์ จำพวกอัฎฐคช ชื่อดามพหัสดินทร์ ซึ่งตำราระบุว่าสมควรขึ้นระวางสมโภชเป็นพระราชพาหนะ เพื่อความเป็นสิริมงคลของประเทศชาติ
พระวิมลรัตนกิริณี
ช้างพังเผือก ลูกเถื่อน คล้องมาจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นช้างตระกูลพรหมพงศ์ จำพวกอัฏฐทิศ ชื่อกมุท อายุ ๒๙ ปี ปัจจุบันอยู่ที่โรงช้างต้น พระราชวังภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร
พระศรีนรารัฐราชกิริณี
ช้างพังเผือก ลูกเถื่อน คล้องได้จากจังหวัดนราธิวาส พลัดกับแม่บนเทือกเขากือชา เป็นช้างตระกูลพรหมพงศ์ พวกอัฏฐทิศ ชื่ออัญชัน อายุ ๒๙ ปี ปัจจุบันอยู่ที่โรงช้างต้น พระราชวังภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร
พระบรมนขทัศ
เดิมชื่อพลายดาวรุ่ง พบโดยราษฎรที่อำเภอปราณบุรี มีลักษณะพิเศษคือเล็บครบ เมื่อสำนักพระราชวังส่งผู้ชำนาญไปตรวจคชลักษณ์ พบว่า พลายดาวรุ่งเป็นช้างสำคัญที่หาได้ยาก เกิดในตระกูล "วิษณุพงศ์" จำพวก "อัฎฐคช" ชื่อ "ครบกระจอก" ซึ่งตำราคชลักษณศาสตร์นิยมว่า อุบัติมาเพื่อบุญญาธิการของพระมหากษัตริยาธิราช ควรแก่การสมโภชขึ้นเป็นพระราชพาหนะ จะบังเกิดสวัสดิมงคลแก่ประชาราษฎร์
โดย:
Metha
เวลา:
2014-2-21 00:10
นอกจากนี้ยังมีช้างสำคัญที่ยังไม่ได้ขึ้นระวาง ดังนี้
๑.แก้วขาว ช้างพลายเผือก ลูกบ้าน คล้องได้จากจังหวัดเชียงใหม่
๒.ก้อง คล้องได้จากจังหวัดชลบุรี
๓.พลายวันเพ็ญ คล้องได้จากจังหวัดเพชรบุรี อายุประมาณ ๓๑ ปี ขณะนี้อยู่ในความดูแลของศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จังหวัดลำปาง
๔.พลายยอดเพชร คล้องได้จากจังหวัดเพชรบุรี อายุเกือบ ๓๐ ปี ขณะนี้อยู่ในความดูแลของศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จังหวัดลำปาง
๕.พังมด อายุ ๒๐ ปี คล้องได้จากจังหวัดกาญจนบุรี ปัจจุบันอยู่ที่โรงช้างต้น พระราชวังภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร
๖.ขวัญเมือง คล้องได้จากจังหวัดเพชรบุรี มีอายุเกือบ ๓๐ ปี ขณะนี้อยู่ในความดูแลของศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จังหวัดลำปาง
๗.พลายทองสุก อายุประมาณ ๓๑ ปี ขณะนี้อยู่ในความดูแลของศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จังหวัดลำปาง
ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/)
Powered by Discuz! X3.2