Baan Jompra

ชื่อกระทู้: รางจืด : ยาแก้ยา....สารพัดนึก [สั่งพิมพ์]

โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-2-12 06:33
ชื่อกระทู้: รางจืด : ยาแก้ยา....สารพัดนึก
ในอดีตกาล  ก่อนคนโบราณชอบลองของ หรือลองยา(ที่ตนเองทำขึ้น) ประเภทยาสั่ง  ยาสั่งที่ว่าจะมีฤทธิ์ร้ายแรงแตกต่างกัน  จนสามารถทำให้คนที่โดนวางยามีอันต้องถึงแก่ชีวิตมาหลายต่อหลายรายแล้ว  ใครที่รู้ว่าตัวเองถูกวางยาก็สามารถแก้ได้ทัน โดยใช้ยาสมุนไพรใกล้ตัวที่เรียกว่า รางจืด


แม้ปัจจุบันพวกยาสั่งเหล่านี้จะลดน้อยถอยลง แต่ผู้คนกลับได้รับสารพิษสะสมในร่างกายโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์แทบทุกวัน ซึ่งส่วนใหญ่จะมาในรูปของอาหารที่ปนเปื้อนด้วยสารพิษ เช่น สารพิษของยาฆ่าแมลงจากผัก สารพิษที่ตกค้างจากอาหารสัตว์ เป็นต้น
เห็นแล้วน่ากลัวจริงๆ ค่ะ หลายคนเริ่มกลัว หันมากินพืชผักที่ปลูกเอง ปลอดสารพิษ อย่างไรก็แล้วแต่  เราก็ได้รับสารพิษอื่นๆ อยู่ดี เช่น สารพิษจากควันจากท่อไอเสียบนถนน เป็นต้น
ดังนั้น ผู้เขียนจึงไม่อยากให้มองข้ามสมุนไพรใกล้ตัว เช่น รางจืด ค่ะ เพราะแม้แต่กินยาผิด หรือแพ้ยา รางจืด ก็สามารถช่วยได้ (แม้แต่อาการเมาค้างของคุณผู้ชายทั้งหลาย ก็สามารถใช้ รางจืดมาแก้ได้นะจ๊ะ!!!!!!!)

วันนี้จึงอยากเชิญชวนให้เพื่อนๆ ลองนำรางจืดมาปลูกไว้ในบ้าน อย่างน้อยคงมีซักวันหนึ่งที่เรามีโอกาสได้ใช้ประโยชน์ พืชสมุนไพรตัวนี้ (แม้เราอาจจะไม่ได้ใช้กับตัวเอง แต่เราก็สามารถนำไปช่วยเพื่อนคนอื่นเป็นการเอาบุญ!!!!)
รางจืด มีชื่อเรียกหลายอย่าง เช่น กำลังช้างเผือก ขอบชะนาง เครือเขาเขียว ยาเขียว (ภาคกลาง) คาย รางเย็น (ยะลา)  จอลอดิเออ ซั้งกะ ปั้งกะล่ะ พอหน่อเตอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ดุเหว่า (ปัตตานี) ทิดพุด (นครศรีธรรมราช) น้ำนอง (สระบุรี) ย่ำแย้ แอดแอ (เพชรบูรณ์)

                               มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า:   Thumbergia laurifolia   Lindl. เป็นไม้เลื้อย/ไม้เถา เนื้อแข็ง  ใบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปขอบขนานหรือรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนเว้า มีเส้น 3 เส้นออกจากโคนใบ ดอก มีสีม่วงอมฟ้า ออกเป็นช่อห้อยลงตามซอกใบ ใบประดับสีเขียวประแดง กลีบเลี้ยงรูปจาน ดอกรูปแตรสั้น โคนกลีบดอกสีเหลืองอ่อน เชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ เกสรเพศผู้ 4 อันผล เป็นฝักกลม ปลายเป็นจะงอย เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก


   
ดอกรางจืด(ภาพจาก Internet)

ส่วนที่ใช้ : ใบ ราก และเถาสด

สรรพคุณ :
างจืดที่มีประสิทธิภาพ คือ รางจืดชนิดเถาดอกสีม่วง
รากและเถา - รับประทานแก้ร้อนใน กระหายน้ำ




· ใบและราก - ใช้ปรุงเป็นยาถอนพิษไข้ เป็นยาพอกบาดแผล น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ ทำลายพิษยาฆ่าแมลง พิษจากสตริกนินให้เป็นกลาง พิษจากดื่มเหล้ามากเกินไป หรือยาเบื่อชนิดต่างๆ เข้าสู่ร่างกายโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม เช่น ติดอยู่ในฝักผลไม้ที่รับประทาน เมื่ออยู่ในสถานที่ห่างไกล การนำส่งแพทย์ต้องใช้เวลา อาจทำให้คนไข้ถึงแก่ชีวิตได้ ถ้ามีต้นรางจืดปลูกอยู่ในบ้าน ใช้ใบรางจืดไม่แก่ไม่อ่อนเกินไปนัก หรือรากที่มีอายุเกิน 1 ปีขึ้นไป และมีขนาดเท่านิ้วชี้ มาใช้เป็นยาบรรเทาพิษเฉพาะหน้าก่อนนำส่งโรงพยาบาล (รากรางจืดจะมีตัวยามากกว่าใบ 4-7 เท่า) ดินที่ใช้ปลูก ถ้าผสมขี้เถ้าแกลบหรือผงถ่านป่น จะช่วยให้ต้นรางจืดมีตัวยามากขึ้น

วิธีใช้ :
                ใบสด
                     
- สำหรับคน
10-12 ใบ
                      - สำหรับวัวควาย 20-30 ใบ

                        นำใบสดมาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำซาวข้าวครึ่งแก้ว คั้นเอาแต่น้ำดื่มให้หมดทันทีที่มีอาการ อาจให้ดื่มซ้ำได้อีกใน 1/2 - 1 ชั่วโมงต่อมา

รากสด
- สำหรับคน
1-2 องคุลี
- สำหรับวัวควาย 2-4 องคุลี

นำรากมาฝนหรือตำกับน้ำซาวข้าว แล้วดื่มให้หมดทันทีที่มีอาการ อาจ
ใช้ซ้ำได้อีกใน 1/2 - 1 ชั่วโมง ต่อมา

               ป.ล.  การใช้รางจืดสำหรับถอนพิษยาฆ่าแมลง ยาพิษและสตริกนินนั้น ต้องใช้ยาเร็วที่สุดเท่าที่จำทำได้ จึงจะได้ผลดี ถ้าพิษยาซึมเข้าสู่ร่างกายมากแล้ว หรือทิ้งไว้ข้ามคืน รางจืดจะได้ผลน้อยลง


มาลองปลูกรางจืดไว้ในบ้านกันซักต้นกันดี.มั๊ย
  
  

(ข้อมูลจาก
http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_20_4.htm)

โดย: sriyan3    เวลา: 2014-2-12 08:22
ขอบคุณคร้าบ
โดย: sritoy    เวลา: 2014-2-12 13:23
ต้องหามาปลูกแล้วครับ
โดย: matmee2550    เวลา: 2014-2-21 16:28
เยี่ยมๆๆๆ
โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-5-11 16:15
sritoy ตอบกลับเมื่อ 2014-2-12 13:23
ต้องหามาปลูกแล้วครับ

หาได้ แล้วหรือ ?
โดย: sritoy    เวลา: 2014-5-14 20:42
Sornpraram ตอบกลับเมื่อ 2014-5-11 16:15
หาได้ แล้วหรือ ?

ยังเลยครับ...
โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-5-15 11:01
sritoy ตอบกลับเมื่อ 2014-5-14 20:42
ยังเลยครับ...

ไม่ควรพลาดครับ
โดย: Nujeab    เวลา: 2014-5-15 12:31
เยี่ยมเลยครับ
โดย: sritoy    เวลา: 2014-5-19 21:54
Sornpraram ตอบกลับเมื่อ 2014-5-15 11:01
ไม่ควรพลาดครับ

ครับต้องหา




ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/) Powered by Discuz! X3.2