Baan Jompra
ชื่อกระทู้:
ความเชื่อและความศรัทธา พญานาค
[สั่งพิมพ์]
โดย:
kit007
เวลา:
2014-2-6 17:46
ชื่อกระทู้:
ความเชื่อและความศรัทธา พญานาค
[attach]6407[/attach]
หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ
“หลังหลวงปู่ท่านละสังขาร ๓ ปี
(ซึ่งตรงกับปี พ.ศ. ๒๕๔๙)
บ้านเมืองเริ่มวุ่นวายเดือดร้อนให้พวกเจ้าศรัทธา และบูชา
พญานาค
ก็จะพ้นวิกฤตินั้นได้”
พยากรณ์นี้สอดคล้องกับพยากรณ์โบราณของเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก (พระครูขี้หอม) ผู้บูรณะพระธาตุพนม ระหว่างปี พ.ศ. ๒๒๓๓ – ๒๒๓๕
“ปี ๒๕๕๕ เมืองไทยจะเกิดวิกฤติ จนถึงขั้นอาจตกต่ำลงไป”
ยายชีนวล วัดภูฆ้องคำ อายุ ๙๐ กว่าปี อดีตเพื่อนสำเร็จตัน (ศิษย์สำเร็จลุน) ได้ย้ำพยากรณ์นี้ว่า
“เริ่มแล้วนะ (๒๕๔๙) เค้าของความวุ่นวายเดือดร้อนจะปรากฏชัดเจน ขึ้นเรื่อย จนอีก ๕ ปีข้างหน้า, ถ้าเป็นผู้อยู่ในศีลธรรมจะปลอดภัย”
พยากรณ์เหล่านี้ไม่ใช่พุทธทำนายที่ถือเป็นพยากรณ์โลก แต่เป็นแค่พยากรณ์ของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่ทำนายเฉพาะถิ่น คือจำกัดอยู่เพียงบ้านเมืองของเราเท่านั้น
กลัวไหม?
แม้ไม่มีทางทราบว่าพยากรณ์เหล่านี้จะจริงหรือเท็จ,
ผมยอมรับว่ากลัว
เมื่อกลัว ก็ควรต้องหาที่ยึดเหนี่ยว อาจกล่าวได้ว่ารูปราชาแห่งนาคองค์ใดนั้นเกิดด้วยความเชื่อ ถือเป็นเครื่องระลึกถึง และบูชาคุณผู้พิทักษ์พุทธศาสนา ความเชื่ออันมั่นคงของชาวพุทธที่ว่า เหล่าพญานาคทั้งปวงเป็นผู้พิทักษ์พระศาสนานับพันปีนั้น เป็นความจริงที่ปรากฏในเรื่องราวพุทธประวัติมาช้านาน พญานาคเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนามาโดยตลอด
โดย:
kit007
เวลา:
2014-2-6 17:46
หนึ่งพญานาคปรากฏตัวในพุทธศาสนา เมื่อคราวที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ใต้ร่มพระศรีมหาโพธิ์ แล้วเสด็จออกจากที่นั่นมาประทับที่ใต้ร่มต้นจิก และทรงเสวยวิมุติสุข (สุขจากการหลุดพ้น) อยู่ ๗ วัน ไม้จิกที่พระพุทธองค์ทรง ประทับเสวยวิมุติสุขนั้นอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา และอยู่ห่างจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ออกมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เล็กน้อย
“สมัยนั้น อกาลเมฆใหญ่บังเกิดขึ้นแล้ว ฝนตกพรำตลอด ๗ วัน มีลมหนาวมาประทุษร้าย (อกาลเมฆ คือเมฆฝนนอกฤดูกาล) ครั้งนั้นแลพญามุจลินท์นาคราช ออกจากที่อยู่ของตนมาวงรอบพระกายของพระผู้มีพระภาคด้วยขนดหาง ๗ รอบ แผ่พังพานใหญ่เบื้องบนพระเศียร ด้วยตั้งใจว่า ความหนาว ความร้อน เหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานอย่าได้สัมผัสพระผู้มีพระภาคเจ้า”
พญามุจลินท์สัตตมัง เป็นพญานาค ๗ เศียร ได้ถวายการอารักขาพระพุทธองค์จนพ้นจากแดด ลม ฝน และสรรพสิ่งที่อาจรบกวนพระองค์ตลอด ๗ วัน อันเป็นการเกิดพระพุทธรูปปางนาคปรก ซึ่งเชื่อว่าเป็นปางที่เป็นที่สุดแห่งความสุขสมบูรณ์ พร้อมกันนั้นก็เป็นครั้งแรกสุดของการปวารณาตนของพญานาค เพื่อทำหน้าที่พิทักษ์พระพุทธศาสนาตลอดมาจนทุกวันนี้
พญานาค มีจริงหรือไม่?
บนพื้นฐานของความเชื่อในเรื่องพญานาคนั้น มีพระไตรปิฎกเป็นหลัก ด้วยมีการกล่าวถึงพญานาคอยู่หลายวาระ แม้ผู้ไม่เชื่อในเรื่องพวกนาคก็ยังคงระมัดระวังคำพูดคำจา ไม่กล้าวิจารณ์ในเรื่องนี้เพราะเกรงว่าบางทีพญานาคอาจมีจริง
ผู้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพุทธศาสนาแม้ไม่เชื่อ หรือไม่รู้จักพญานาค ย่อมรู้จักอัตรายิกธรรมทุกคน
อัตรายิกธรรม
คือข้อขัดข้องที่จะทำให้ผู้นั้นบวชเป็นพระภิกษุไม่ได้ ซึ่งมีอยู่ ๘ ข้อ อันพระอุปัชฌาย์จะต้องถามผู้ขอบวช ๘ คำถาม คือ
“ท่านเป็นมนุษย์หรือไม่”
ความจริงของเรื่องนี้มีปรากฏชัดเจนในพระไตรปิฎก พญานาคตนหนึ่งฟังธรรมของพระพุทธองค์จนบังเกิดความเลื่อมใส คิดออกบวชเพื่อติดตามพระพุทธองค์ ซึ่งเวลานั้นเป็นห้วงครึ่งพุทธกาล อันพระพุทธองค์ได้ทรงอนุญาตให้คณะสงฆ์เป็นคณะอุปสมบทผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้ พญานาคตนนั้นสบโอกาส จึงขอบวชกับคณะสงฆ์ และได้เป็นพระภิกษุสมใจปรารถนา
หลังจากบวชแล้ว พญานาคตนนั้นได้พำนักในวัดที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ เพื่อจะได้อยู่ใกล้ชิดพระพุทธองค์ แต่ความที่เป็นพญานาคจึงมีความเป็นอยู่แตกต่างไปจากมนุษย์ คือในขณะหลับโดยไร้สติในกุฏิของตนนั้น ร่างเดิมของพญานาคก็จะปรากฏขึ้น บังเอิญมีพระภิกษุรูปหนึ่งมาเห็นเข้าจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระพุทธองค์ และได้ทรงเรียกพญานาคตนนั้นเข้าเฝ้าให้พญานาคสิ้นสุดความเป็นภิกษุ แล้วทรงเมตตาประทานโอวาทธรรมเพื่อเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติแก่พญานาค
พญานาคผิดหวังในการบวชเป็นอย่างมาก จึงทูลขอถวายคำว่า
นาค
ให้แก่ผู้ขอบวชเพื่อเป็นอนุสรณ์ พระพุทธองค์ทรงเมตตาตามคำทูลขอนั้น จึงเป็นเหตุให้เกิดคำว่า
บวชนาค
และเกิด
อัตรายิกธรรม
เป็นต้นมา
บางทีการที่ทรงประทานอนุญาตนามนาคก่อนบวชเป็นพระภิกษุ อาจด้วยเหตุอีกประการหนึ่งหนุนอยู่ นั่นคือ
สมัยอดีตชาติหนึ่งของพระพุทธองค์ ทรงเคยเสวยชาติเป็นพญานาคชื่อว่า
ภูริทัตต์
รวมถึงพุทธสาวกอีกหลายองค์ ที่มีอดีตชาติเป็นพญานาค อย่างเช่น
พระสารีบุตร และ พระอานนนท์
ซึ่งเคยเป็นพญานาคชื่อว่า
เทวทัตนาคราช
พญานาคเกี่ยวข้องแน่นแฟ้นและลึกซึ้งกับพระพุทธศาสนาเช่นนี้จึงไม่มี ปัญหาอะไรกับการประทานนาม นาค เอาไว้เป็นเครื่องรำลึกถึง
[attach]6408[/attach]
โดย:
kit007
เวลา:
2014-2-6 17:47
พญานาคคืออะไร
เมื่อพูดถึงความเป็นพญานาค ต้องรับว่าเกิดจากความเชื่อ ซึ่งยากจะหาข้อบ่งชี้ หรือพิสูจน์ให้เห็นจริงได้เปรียบเสมือนเรื่องผี ที่มีทั้งผู้เชื่อว่ามี และไม่เชื่อว่ามี แต่พญานาคก็มีเรื่องราวกล่าวถึงมากมายทั้งในตำรา และคำบอกเล่าของผู้รู้ ผู้เคยสัมผัส
ในพระไตรปิฎกกล่าวถึงกำเนิด ๔ แห่งพญานาคเอาไว้อย่างน่าสนใจว่า
๑. พญานาคเกิดจากไข่
๒. พญานาคเกิดจากครรภ์
๓. พญานาคเกิดจากเถ้าไคล หรือที่ชื้นแฉะ
๔. พญานาคเกิดขึ้นเองคล้ายเทวดา
ในที่นี้จะกล่าวถึงการเกิดขึ้นเองอย่างเทวดา พญานาคเป็นชาติภพอีกชั้นหนึ่ง มีความละเอียดและพิเศษกว่าสัตว์โลกหรืองูทั่วไป คือ มีสภาวะเป็นทิพย์ มีกำเนิดในลักษณะเดียวกับเทวดา เป็นการเกิดแบบที่เรียกว่า
โอปปาติกะ
โดยมีบุพกรรมเป็นตัวกำหนด
ภพภูมิของพญานาค คือหนึ่งในภพภูมิของเทวดา ซึ่งมีอยู่ ๑๖ ชั้น (ดังที่ปรากฏในบทสวดธรรมจักกัปปวัตนสุตตัง) โดยแบ่งเป็นกามาวจรภพ ๖ ชั้น และ อกามาวจรภพ ๑๐ ชั้น เหตุที่แบ่งออกมาเป็น ๒ กลุ่ม ก็เพราะว่าทั้ง ๒ กลุ่ม มีความแตกต่างกัน คือ กลุ่มแรกที่มี ๖ ชั้นนั้น เป็นภพภูมิที่ยังติดอยู่ในสุข ยังเสพย์กาม
กามาวจรภพ
เป็นภพภูมิของเทวดาชั้นต่ำ ส่วนกลุ่มหลังที่มี ๑๐ ชั้นนั้น ไม่ติดอยู่ในกามแล้วเรียกว่า
อกามาวจร
เป็นภพ ภูมิของเทวดาชั้นสูง
๖ ชั้นของกามาวจรภพ มีดังนี้
๑. ภุมมานัง
(ชั้นต่ำสุด)
๒. จาตุมมะหาราชิกา
โดยมีชั้นละเอียดกว่าซ้อนอยู่อีกชั้น เรียกว่า จาตุมะหาราชิกานัง แต่ก็ถือว่าเป็นชั้นที่ ๒ ด้วยกัน
๓. ตาวะติงสา
เรานิยมเรียกชั้นนี้ว่า ดาวดึงส์ จนถึงชั้นเปรียบเทียบว่ามีความสุขเหมือนขึ้นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และในชั้นนี้ยังมีรายละเอียดเข้าไปอีก คือ ตาวะติงสานัง
๔. ยามา
ก็มีซ้อนกันอีกชั้นหนึ่งที่ละเอียดกว่าคือ ยามานัง
๕. ตุสิตา
ที่เรียกว่าสวรรค์ชั้นดุสิต ก็ยังมีที่ละเอียดเข้าไปอีกคือ ตุสิตานัง
๖. นิมมานะระตี
ซึ่งละเอียดประณีตเข้าไปอีกเป็น นิมมานะระตีนัง, ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี และ ปะระนิมมิตะวะสะวะตีนัง
กล่าว คือ ๖ ชั้นภพภูมิแรกนี้เป็นภูมิของเทวดาชั้นหยาบ จากชั้นที่ ๗ ขึ้นไปเป็นชั้นละเอียดและสูงกว่าจนถึงชั้นสุดท้าย คือชั้นที่ ๑๖ ที่เรียกว่าชั้นอะกะนิฏฐะกา รวมแล้วเรียก ๑๐ ชั้นนี้ว่า ชั้นพรหม หรือสวรรค์ชั้นพรหม ส่วน ๖ ชั้นแรกเป็นชั้นต่ำ และไม่ถือว่าเป็นพรหม ภพภูมิของพญานาคนั้นอยู่ชั้นแรกสุดคือ ชั้นภุมมานัง ซึ่งไม่มีความโลภ แต่ยังมีราคะ และโทสะ พญานาคจึงมีทั้งคุณและโทษอยู่ในตัว
ภพภูมิชั้นภุมมานัง ยังคงเป็นภพภูมิของเทวดาที่มีทิพยอำนาจเหนือธรรมดา และอยู่ใกล้ชิดภพภูมิของมนุษย์มากที่สุด แหล่งกำเนิดของพญานาค มีทั้งบนบกและในน้ำ เรียกตามพระไตรปิฎกว่า
ถลชะ
เกิดบนบก และ
ชลชะ
เกิดในน้ำ
กำเนิดพญานาคในแบบอุบัติขึ้นเอง ที่เรียกว่า แบบโอปปาติกะนั้น เกิดได้ทั้งบนบกและในน้ำคือนอกจากจะอาศัยบุพกรรมเป็นตัวกำหนดแล้วยังอาศัย สัญญาเป็นตัวพาให้เกิดด้วย
พญานาคที่เกิดบนบกและในน้ำ มีการดำเนินชีวิตเหมือนกัน คือเป็นไปด้วยอำนาจทิพย์ สุดแต่จิตปรารถนา โดยมีเรือนกายที่ประกอบด้วยธาตุ ๓ คือ ธาตุน้ำ, ธาตุลม และธาตุไฟ สามารถไปไหนมาไหนได้ทุกที่ และเสวยสมบัติทิพย์เหมือนเทวดา
ส่วนฤทธิ์และอำนาจของพญานาคจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับกรรมที่เคยสร้าง ไว้ในอดีตชาติเป็นตัวส่งผลดลให้ รวมทั้งรูปลักษณ์ของพญานาคเท่าที่มีผู้พบเห็นก็จะแตกต่างกันไปด้วย พญานาคตนใดบำเพ็ญเพียรภาวนาสร้างกุศลจะยิ่งมีลักษณะงดงาม และสามารถเนรมิตกายได้หลายรูปแบบ ด้วยความที่เป็นเพียงภพภูมิแรกสุดของเทวดา พญานาคจึงมีหลากหลายสายพันธุ์ และหลายอุปนิสัย ทั้งใจดีและดุร้าย ดังเช่นความเชื่อของชาวหลวงพระบาง ยังเชื่อว่าหลวงพระบางเป็นแดนแห่งพญานาค และมีพญานาคอยู่ที่นั่นมากถึง ๑๕ ตระกูล ถ้าจะเปรียบกับภพภูมิของมนุษย์ก็จะเหมือนชาติพันธุ์ของมนุษย์มีหลายเผ่าพันธุ์ มีทั้งไทย เขมร จีน ฝรั่ง แขก และคนผิวดำ เป็นต้น
[attach]6409[/attach]
โดย:
kit007
เวลา:
2014-2-6 17:47
พญานาคก็คงจะแตกต่างทางสายพันธุ์เช่นเดียวกันนี้ สายพันธุ์ของพญามุจลินท์นาคราช คือ พญานาค ๗ เศียร สืบสายพันธุ์มาจนถึง พ
ญาศรีสัตตนาคราช (นาคาธิบดีสีสัตตนาคบาดาล)
ซึ่งเชื่อว่าเป็นกษัตริย์แห่งพญานาคฝั่งลาว ส่วนฝั่งไทยคือ
พญาศรีสุทโธนาคราช (นาคาธิบดีสีสุทโธ)
เป็นกษัตริย์พญานาคฝั่งไทย แต่เป็นพญานาคเศียรเดียว ซึ่งกล่าวกันว่า ทั้ง ๒ ราชาพญานาคนี้เป็นสหายกัน
เรื่องราชาแห่งนาคทั้ง ๒ นี้
หลวงปู่คำพันธ์
เคยเล่าไว้ว่า ในผืนแผ่นน้ำของประเทศไทยของเรานั้น มีพญานาคราชเป็นใหญ่นามว่า
พญาศรีสุทโธ
ท่านชอบจำศีลบำเพ็ญเพียร และปฏิบัติธรรม มีนิสัยอ่อนโยนมีเมตตา ไม่ชอบการต่อสู้ ชอบมาปฏิบัติธรรมที่พระธาตุพนม โดยมอบหมายให้เหล่า พญานาค ๖ อำมาตย์ ดูแลแทน ในระหว่างที่หลบมาจำศีลภาวนา
หลวงปู่คำพันธ์
เอ่ยชื่อ ๖ อำมาตย์ แห่งพญานาคไว้เพียง ๓ คือ
๑. พญาจิตรนาคราช
เป็นพญานาคที่รักสวยรักงาม มีเขตแดนปกครองของตน ตั้งแต่ ตาลีฟู ถึง จังหวัดหนองคาย ตามแนวแม่น้ำโขง โดยมีที่สุดแดนอยู่วัดหินหมากเป้ง
๒. พญาโสมนาคราช
มีเขตแดนปกครอง ตั้งแต่วัดหินหมากเป้ง มาจนถึงวัดพระธาตุพนม สุดเขตแดนที่แก่งกะเบา พญาโสมนาคราช มีอุปนิสัยคล้ายพญาศรีสุทโธนาคราช คือชอบปฏิบัติธรรม จึงเป็นที่ไว้วางใจ และโปรดปรานแก่พญาศรี สุทโธนาคราชมากกว่าพญานาคอื่น ๆ
๓. พญาชัยยะนาคราช
มีเขตแดนจากแก่งกะเบา เรื่อยไปจนสุดแดนที่ปากแม่น้ำโขงลงทะเลในเขมร พญานาคตนนี้มีฤทธิ์เดชมาก ชอบการรณรงค์ทำสงคราม คือชอบการต่อสู้เป็นนิสัย
ส่วนฝั่งลาวนั้น มี
พญาศรีสัตตนาคราช
เป็นใหญ่เหนือพญานาคทั้งปวง เป็นพญานาคที่ทรงฤทธิ์ ทรงอำนาจเหนือกว่าพญานาคทั้งหลายใน ๒ แผ่นดินนี้ แต่ท่านเป็นพญานาคที่ชอบจำศีลและประพฤติปฏิบัติธรรมเหมือน
พญาศรีสุทโธนาคราช
โดยชอบมาที่วัดพระธาตุพนมเหมือนกัน จนถึงกับมีการให้พันธะสัญญาแก่กันว่า หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องการความช่วยเหลือก็จะช่วยกันอย่างเต็มที่เต็มกำลัง สามารถ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องน้อยใหญ่ประการใด
พญาศรีสัตตนาคราช มีความเด่นสง่าด้วยมี ๗ เศียร
ซึ่งถือได้ว่าเป็นตระกูลพญานาคที่มีมาแต่ครั้งพุทธกาล มีความใกล้ชิดพระพุทธองค์ และพระพุทธศาสนา จนอาจถือว่าเป็นต้นตระกูลแห่งพญานาคทั้งหมด
หลวงปู่คำพันธ์
ยังได้กล่าวอีกว่า ส่วนใดที่อยู่ใกล้ต้นน้ำลำธาร หรือหากมีพิธีกรรมอันใดเกิดขึ้น ให้อัญเชิญบอกกล่าวแก่เหล่าพญานาค พิธีกรรมนั้นจะศักดิ์สิทธิ์ยิ่งเกี่ยวกับพญานาคที่วัดธาตุพนม มีเรื่องราวบันทึกไว้ว่า ในคืนขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ปี ๒๕๐๐ (วันออกพรรษา) คืนนั้นมีฝนตกหนัก นายไกฮวดและภรรยา ได้ลุกขึ้นมารองน้ำฝนไว้ดื่มกินตอนกลางดึก บังเอิญเห็นลำแสงแปลกประหลาดสว่างเป็นลำโต ขนาดต้นตาล ๗ ลำแสง และมีสีสันแตกต่างกัน ๗ สี สวยงามมาก โดยที่ลำแสงทั้ง ๗ พุ่งมาจากฟากฟ้าทิศเหนือ ด้วยลักษณะแข่งกัน คือแซงกันไปแซงกันมา จนพุ่งเข้าซุ้มประตูวัดธาตุพนมแล้วก็หายไป
มีสามเณรรูป หนึ่งในขณะนั้นประทับทรงบอกนายไกฮวดและภรรยาว่าลำแสงทั้ง ๗ คือ พญานาค มาจากเทือกเขาหิมาลัย มาเพื่อปกปักรักษาพระธาตุพนม และช่วยเหลือประชาชนผู้ตกทุกข์ได้ยาก แต่ห
ลวงปู่คำพันธ์
บอกว่า นั่นเป็นพญาศรีสุทโธนาคราช และอำมาตย์ทั้ง ๖ แสดงฤทธิ์
ในโอกาสที่ท่านได้บอกกล่าวเรื่องพญานาคนี้
หลวงปู่คำพันธ์
ท่านจึงได้กล่าวพยากรณ์ดังข้างต้นว่า พญานาคจะช่วยผู้ที่บูชาศรัทธาในพญานาคให้ผ่านพ้นอันตรายจากภัยพิบัติที่จะ เกิดขึ้นหลังจากท่านมรณภาพไปแล้ว ๓ ปี
นี่ก็ก้าวเข้าปีที่ ๖ แล้ว ครบตามกำหนดในพยากรณ์ ซึ่งท่านบอกว่าจงสังเกตดูให้ดีจะเห็นความวุ่นวายเดือดร้อนจะปรากฏขึ้นเรื่อย ๆ แล้วก็เกิดขึ้นจริง
หลวงปู่คำพันธ์
มรณภาพ เมื่อ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๖
อย่างไรก็ตามพญานาคก็หาได้มีแต่ในพุทธศาสนา หรือเพิ่งเกิดมีขึ้นในสมัยพุทธกาล พญานาคมีมาก่อนสมัยพระพุทธเจ้าโคดมและปรากฏตัวอยู่ในศาสนาอื่นๆหลายศาสนา เฉกเช่นมนุษย์ก็ยังคงนับถือศาสนาไม่เหมือนกัน
ชาวฮินดูถือว่าพญานาคเป็นสะพานเชื่อมโลกกับแดนเทพเทวา การสร้างเทวสถาน เช่น ปราสาทขอมทุกปราสาท จะมีสะพานนาค หรือบันไดนาคทอดยาวรับมนุษย์เข้าไปสู่แดนศักดิ์สิทธิ์ข้างในปราสาท
โดย:
kit007
เวลา:
2014-2-6 17:48
มีเรื่องเล่าไว้ในพระไตรปิฎก (มหาวรรค) ว่า ครั้งหนึ่งพระพุทธองค์เสด็จไปโปรดชฎิล ๓ พี่น้อง ที่ตำบลอุรุเวลา คือ อุรุเวลากัสสป, นทีกัสส และ คยากัสสป ซึ่ง ชฎิลทั้ง ๓ นี้ มิได้รู้จักพระพุทธองค์ ไม่ได้นับถือพระพุทธองค์ แต่พวกเขานับถือบูชาพญานาคมาช้านาน พญานาค ที่ ชฎิล ๓ พี่น้อง นับถือบูชาก็ไม่รู้จักและนับถือพระพุทธองค์เช่นกัน พุทธองค์ทรงขอเข้าพำนักในโรงบูชาไฟของพวกตนมีพญานาคดุร้าย อาศัยอยู่ พระพุทธองค์หาได้หวั่นเกรงไม่ พญานาคเห็นพระพุทธองค์เข้ามาก็ไม่พอใจ จนในที่สุดแสดงฤทธิ์สู้ แต่ก็พ่ายแพ้ต่อพระพุทธองค์ ถึงกับถูกพระพุทธองค์จับพญานาคนั้นขดไว้ในบาตร และทรงแสดงแก่ชฎิลทั้ง ๓ ว่า
“ดูกร กัสสป นี่พญานาคของท่าน เราครอบงำเดชของมันด้วยเดชของเราแล้ว”
หลังจากนั้น ทรงแสดงปาฏิหาริย์หลายอย่างจนคลายทิฐิมานะของชฎิลทั้ง ๓ ได้ และสุดท้ายชฎิล ๓ พี่น้อง ได้ขอบวชพร้อมทั้งบริวารหลายร้อยคน
อีกครั้งหนึ่ง
พระพุทธองค์เสด็จพร้อมพระอรหันต์ ๕๐๐ รูป
สู่เทวโลก ได้เสด็จผ่านวิมานของเหล่านาคที่กำลังรื่นเริงสนุกสนานกัน วิมานนี้มี นันโทปะ นันทะนาคราช เป็นใหญ่เกิดความไม่พอใจในการเสด็จผ่านคราวนั้น จึงแสดงฤทธิ์เป็นนาคขนาดใหญ่พันโอบรอบเขาพระสุเมรุ ปิดบังทางผ่านไปสู่เทวโลกไว้ (ดาวดึงส์) แล้วร้องด่าท้าทายพระพุทธองค์อย่างสาดเสียเทเสีย
พระอรหันต์สาวกรูปหนึ่งกราบทูลพระพุทธองค์ว่าให้ทรงเรียกพญามุจลินท์ นาคราชมาปราบนันโทนาคราช แต่พระพุทธองค์ทรงปฏิเสธ โดยตรัสบอกว่า
เวลานี้ พญามุจลินท์กำลังทรงฌานอยู่ ไม่ทรงอยากเรียก ทรงเกรงจะเป็นบาปกรรม
ซึ่งถือเป็นตัวอย่าง ต่อมาในภายหลังว่า
เวลาพระภิกษุกำลังบำเพ็ญเพียร สมาธิภาวนาอยู่ไม่ควรรบกวน เพราะจะเป็นบาปนั่นเอง พญามุจลินท์ก็กำลังอยู่ในสมาธิภาวนาเช่นกัน
ในที่สุดทรงอนุญาต
พระโมคคัลลาน์
ให้เป็นผู้ปราบนันโทนาคราชจนสิ้นฤทธิ์
เรื่องพญานาคเกเรที่ปรากฏในพระไตรปิฎกเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าพญานาคนั้นมีอยู่แล้ว และเป็นพญานาคที่ไม่รู้จักพุทธศาสนาอีกด้วย พญานาคทั้งปวงจะเลื่อมใสศรัทธา และกลายเป็นผู้พิทักษ์พระศาสนานั้นไม่ง่ายเลย
เดชานุภาพ คุณานุภาพของพระพุทธองค์มีเป็นล้นพ้น เมื่อพญานาคหันหน้าสู่พุทธศาสนาแล้ว พญานาคก็อยู่คู่กับพุทธศาสนาตลอดมาและยังเป็นผู้เลื่อมใสในภารกิจพิทักษ์พระ ศาสนาที่ไม่เคยคลอนแคลนศรัทธา
[attach]6410[/attach]
โดย:
kit007
เวลา:
2014-2-6 17:49
Sarayut
เดชานุภาพ คุณานุภาพ พุทธบารมี
ของพระพุทธองค์มีเป็นล้นพ้น
เมื่อพญานาคหันหน้าสู่พุทธศาสนาแล้ว
พญานาคก็อยู่คู่กับพุทธศาสนาตลอดมา
และยังเป็นผู้เลื่อมใสในภารกิจพิทักษ์
พระศาสนาที่ไม่เคยคลอนแคลนศรัทธา
โดย:
นาคปรก
เวลา:
2014-2-6 19:12
เมื่อกลัว ก็ควรต้องหาที่ยึดเหนี่ยว อาจกล่าวได้ว่ารูปราชาแห่งนาคองค์ใดนั้นเกิดด้วยความเชื่อ ถือเป็นเครื่องระลึกถึง และบูชาคุณผู้พิทักษ์พุทธศาสนา ความเชื่ออันมั่นคงของชาวพุทธที่ว่า เหล่าพญานาคทั้งปวงเป็นผู้พิทักษ์พระศาสนานับพันปีนั้น เป็นความจริงที่ปรากฏในเรื่องราวพุทธประวัติมาช้านาน พญานาคเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนามาโดยตลอด
โดย:
Nujeab
เวลา:
2014-6-29 04:10
สาธุ สาธุ สาธุ
โดย:
Sornpraram
เวลา:
2015-10-15 07:28
โดย:
Metha
เวลา:
2015-11-5 15:35
โดย:
Sornpraram
เวลา:
2016-1-21 10:49
โดย:
majoy
เวลา:
2016-1-23 23:29
ไม่ได้อยากเกิดเป็นพญานาค แต่รักและชอบพญานาคเป็นพิเศษจริงๆ
ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/)
Powered by Discuz! X3.2