Baan Jompra
ชื่อกระทู้: ผัก สมุนไพร [สั่งพิมพ์]
โดย: Metha เวลา: 2014-2-1 09:27
ชื่อกระทู้: ผัก สมุนไพร
ขิง สรรพคุณและประโยชน์ของขิง 65 ประการ !
ขิง[url=]ขิง ภาษาอังกฤษ[/url] ใช้คำว่า จิน’เจอะ (Ginger) ส่วน[url=]ขิงชื่อวิทยาศาสตร์[/url]จะคือคำว่า Zingiber officinale Roscoe. ซึ่งเรามักจะรู้จักคุ้นเคยกับขิงว่าเป็นอาหารที่นิยมนำมาใช้ในการประกอบอาหารและทำเครื่องดื่ม ซึ่งจริงๆแล้วขิงจัดเป็น[url=]สมุนไพรไทย[/url]ที่ช่วยการบำบัดรักษาโรคต่างๆได้สารพัด ถือว่าเป็นตัวช่วยในการรักษาโรคได้เลยทีเดียว แต่ทั้งนี้เราก็ไม่ควรจะหวังพึ่ง[url=]สรรพคุณของขิง[/url]เพียงอย่างเดียวในการบำบัดรักษาโรค ควรจะทำอย่างอื่นหรือดูแลสุขภาพของเราร่วมด้วยจะได้ผลดีนักแล
ขิง จัดเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกายในหลายๆด้าน เพราะอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีความสำคัญอย่างมากต่อร่างกายของเรา เช่น วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินซี เบต้าแคโรทีน ธาตุเหล็ก ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส แถมยังมี โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และ เส้นใย จำนวนมากอีกด้วย ซึ่งประโยชน์ของขิงนั้นเราสามารถนำมาใช้ได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ราก เหง้า ต้น ใบ ดอก แก่น และผลก็ได้ทั้งนั้น
[url=]ขิงสรรพคุณ[/url]ที่ใช้ในการรักษานั้น เรามักนิยมใช้ขิงแก่ เพราะยิ่งแก่จะยิ่งให้ความเผ็ดร้อนจึงมีสรรพคุณทางยาที่มากกว่าขิงอ่อน และยังมีใยอาหารมากขึ้นตามไปด้วย แต่เนื่องจากขิงมีรสผิด มีคุณสมบัติอุ่น จึงไม่เหมาะกับผู้ที่มีความร้อนภายในร่างกายอยู่แล้ว เช่นผู้ที่เหงื่อออกมาก เหงื่อออกเวลากลางคืน ตาแดง หรือมีไฟในตัวมากกว่าปกติ แต่ถ้าจะรับประทานควรระมัดระวังเป็นพิเศษ
โดย: Metha เวลา: 2014-2-1 09:28
ประโยชน์ของขิง- ขิง จัดว่าเป็นยาอายุวัฒนะชั้นยอด
- มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระเป็นจำนวนมาก ช่วยชะลอความแก่และชะลอการเกิดริ้วรอย
- มีส่วนช่วยในการป้องกันต่อต้านการเกิดโรคมะเร็ง ต่อต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
- ช่วยลดผลข้างเคียงจากสารเคมีที่ใช้ในการรักษามะเร็ง ดังนั้นควรรับประทานขิงควบคู่ไปกับการรักษามะเร็งจะเป็นผลดี
- ขิงมีฤทธิ์อุ่น ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น และช่วยในการขับเหงื่อ
- ช่วยแก้อาการร้อนใน ด้วยการใช้ลำต้นสดๆนำมาทุบให้แหลกประมาณ 1 กำมือ แล้วต้มน้ำดื่ม
- ช่วยลดความอ้วน ลดระดับไขมันคอเลสเตอรอล ด้วยการดูดซึมคอเลสเตอรอลจากลำไส้ แล้วปล่อยให้ร่างกายกำจัดออกทางอุจจาระ
- ช่วยรักษาอาการปวดศีรษะและไมเกรน ด้วยการรับประทานน้ำขิงบ่อยๆ
- ช่วยลดความยากของผู้ติดยาเสพติดลงได้
- แก้ตานขโมย ด้วยการใช้ขิง ใบกะเพรา พริกไทย ไพล มาบดผสมกันแล้วนำมารับประทาน
- ช่วยรักษาโรคความดันโลหิต ด้วยการนำขิงสดมาฝานต้มกับน้ำรับประทาน
- ช่วยบำรุงหัวใจของคุณให้แข็งแรง
- ช่วยบรรเทาอาการของโรคประสาท ซึ่งทำให้จิตใจขุ่นมัว (ดอก)
- ช่วยฟื้นฟูร่างการสำหรับมารดาหลังคลอดบุตร ด้วยการรับประทานไก่ผัดขิง
- มีส่วนช่วยให้เจริญอาหาร (ราก,เหง้า) ด้วยการใช้เหง้าสดประมาณ 1 องคุลีนำมาต้มกับน้ำดื่ม ก็จะได้เป็นยาขมเจริญอาหาร
- ใช้กินเพื่อบำรุงเป็นยาธาตุ บำรุงธาตุไฟ (เหง้า,ดอก)
- ใช้บำรุงน้ำนมของมารดา (ผล)
- ช่วยทำให้นอนหลับได้อย่างสบาย
- การรับประทานขิงจำช่วยทำให้เลือดแข็งตัวเป็นลิ่มเลือดได้ช้าลง
- ใช้แก้ไข้ (ผล) ด้วยการนำขิงสดมาคั้นเป็นน้ำให้ได้ประมาณครึ่งถ้วย แล้วผสมกับน้ำผึ้ง 1 ช้อนชา นำมาต้มกับน้ำ2 ถ้วย แล้วนำมาดื่มวันละ 3 ครั้ง จะช่วยบรรเทาอาการได้
- ช่วยแก้หวัด บรรเทาอาการไอ บรรเทาหวัดจับเสมหะ ด้วยการใช้ขิงสดฝนกับน้ำมะนาวใส่เกลือนิดหน่อย
- ไอน้ำหอมระเหยจากน้ำขิงช่วยทำลายไวรัสหวัดในทางเดินหายใจได้
- แก้ลม (ราก)
- ในผู้ป่วยที่มีอาการเมายาสลบหลังผ่าตัด น้ำขิงช่วยแก้เมาได้
- ช่วยแก้อาการเมารถ เมาเรือได้เป้นอย่างดี ด้วยการใช้ขิงสดนำมาตำให้แหลก คั้นเอาฉพาะน้ำดื่ม (ไม่ต้องดื่มน้ำตาม)
- ช่วยแก้ปัญหาผมร่วง หัวล้าน ด้วยการนำเหง้าสดนำไปผิงไฟจนอุ่น แล้วนำมาตำให้แหลก นำมาพอกบริเวณที่มีผมร่วง วันละ 2 ครั้ง จนอาการดีขึ้น หรืออีกวิธีก็คือคั้นเอาเฉพาะน้ำขิงมาผสม กับน้ำมันมะกอกแล้วนำมาหมักผมแล้วนวดให้ทั่วศีรษะประมาณ 30 นาทีก็ช่วยลดปัญหาผมร่วงได้เหมือนกัน แถมยังช่วยให้ผมสวย แข็งแรง มีความนุ่มลื่น ไม่ขาดง่ายอีกด้วย
- ช่วยบำรุงสายตา รักษาโรคเกี่ยวกับตาและใช้แก้อาการตาฟาง (ผล,ใบ)
- ช่วยรักษาอาการตาแฉะ (ดอก)
- ช่วยแก้โรคกำเดา (ใบ)
- ใช้แก้อาการคอแห้ง เจ็บคอ (ผล)
- ใช้รักษาอาการปากคอเปื่อย ท้องผูก (เหง้า,ดอก)
- ช่วยรักษาอาการปวดฟัน ด้วยการนำขิงแก่มาทุบให้ละเอียดคั่วกับน้ำสารส้มจนเกรียม แล้วบดจนเป็นผง จากนั้นนำมาพอกบริเวณฟันที่ปวด
- แก้เสมหะ เสมหะขาวเหลวปริมาณมากมีฟอง (ผล,ราก)
- ช่วยรักษาภาวะน้ำลายมาก อาเจียนเป็นน้ำใส
- ช่วยลดกลิ่นปาก แก้อาการปากเหม็น ด้วยการนำขิงมาคั้นผสมน้ำอุ่นและเกลือเล็กน้อย นำมาอมบ้วนปาก ช่วยฆ่าเชื้อโรคในปากได้อีกด้วย
- ช่วยบำรุงรักษาฟันและป้องกันการเกิดฟันผุ
- ช่วยกำจัดกลิ่นรักแร้ ด้วยการใช้เหง้าขิงแก่นำมาทุบให้แหลก แล้วนำมาคั้นเอาน้ำนำมาทารักแร้เป็นประจำ จะช่วยกำจัดกลิ่นได้
- ช่วยแก้อาการสะอึก ด้วยการใช้ขิงสดตำจนแหลก คั้นเอาเฉพาะน้ำผสมกับน้ำผึ้งเล็กน้อย คนจนเข้ากันแล้วนำมาดื่ม
- ช่วยรักษาโรคบิด (ผล,ราก,ดอก) ด้วยการใช้ขิงสดประมาณ 75 กรัม ผสมกับน้ำตาลแดงนำมาตำจนเข้ากัน แล้วรับประทาน 3 มื้อต่อวัน
- ช่วยแก้อาการอาเจียน (เหง้า,ผล) ด้วยการนำขิงสดประมาณ 5 กรัมหรือขนาดเท่าหัวแม่มือ นำมาทุบให้แตก แล้วต้มกับน้ำดื่ม
- ช่วยลดการคลื่นไส้อาเจียนจากการแพ้ท้อง (สำหรับหญิงตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานบ่อยมากจนเกินไป)
- แก้อาการท้องอืด จุกเสียด แน่นท้อง ขับลมในลำไส้ (ผล,ราก,ใบ) ด้วยการนำขิงแก่มาทุบพอแหลก เทน้ำเดือดลงไปครึ่งแก้ว แล้วปิดฝาตั้งทิ้งไว้ประมาณ 5 นาทีแล้วนำน้ำมาดื่มระหว่างมื้อ อาหาร
- ช่วยรักษาอาการปวดในช่วงก่อนหรือหลังประจำเดือน ด้วยการนำขิงแก่ที่แห้งแล้วประมาณ 30 กรัมมาต้มกับน้ำดื่มบ่อยๆ
ช่วยในการย่อยอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ดอก)- ช่วยป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ลดอาการจุกเสียด (เหง้า)
- ช่วยในการขับถ่าย และช่วยในเรื่องของระบบลำไส้ให้ทำงานได้อย่างเป็นปกติ
- ช่วยฆ่าพยาธิ พยาธิกลมจุกลำไส้ (ใบ) ใช้น้ำขิงผสมกับน้ำผึ้งแล้วนำมาดื่ม
- ช่วยแก้อาการขัดปัสสาวะ (ดอก,ใบ)
- ช่วยรักษาปัสสาวะรดที่นอนในผู้ป่วยที่มีภาวะหยางพร่อง มีความเย็นในร่างกายเป็นเหตุ
- ช่วยรักษาโรคนิ่ว (ใบ,ดอก)
- ช่วยแก้อาการฟกช้ำ (ใบ)
- ช่วยรักษาอาการปวดข้อตามร่างกายด้วยการรับประทานขิงสดเป็นประจำ
- มีฤทธิ์ช่วยต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย
- ใช้เป็นยาแก้คัน ด้วยการนำแก่นของขิงฝนทำเป็นยา (แก่น)
- แก้ปัญหาหนังที่มือลอกเป็นขุย ด้วยการใช้เหง้าสดมาหั่นเป็นแผ่น แล้วนำมาแช่เหล้า 1 ถ้วนชา ทิ้งไว้ 1 วัน แล้วนำมาแผ่นขิงมาถูบริเวณดังกล่าว วันละ 2 ครั้ง
- ช่วยรักษาแผลเริมบริเวณหลัง ด้วยการใช้เหง้า 1 หัว นำมาเผาผิวนอกจนเป็นถ่าน คอยปาดถ่านที่ผิวนอกออกไปเรื่อยๆ แล้วนำผงที่ได้มาผสมกับน้ำดีหมูนำมาทาบริเวณที่เป็นแผล
- หากถูกแมงมุมกัด ใช้ขิงสดฝานบางๆ นำมาวางทับบริเวณที่ถูกกัดจะช่วยบรรเทาอาการได้
- ช่วยรักษาอาการมือเท้าเย็น กลัวหนาว เย็นท้อง เป็นต้น
- ช่วยป้องกันการแพ้อาหารทะเลจนเกิดผื่นคัน ลมพิษหรืออาหารช็อก
- ช่วยรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ด้วยการนำขิงสดมาตำให้แหลก แล้วนำกากมาพอกบริเวณแผลเพื่อป้องกันการอักเสบ และการเกิดหนอง
- ในขิงมีสารที่สามารถใช้กันบูดกันหืนในน้ำมันได้
- ในด้านการประกอบอาหารนั้นขิงสามารถช่วยเพิ่มรสชาติอาหารได้เป็นอย่างดี และสามารถช่วยดับกลิ่นคาวของอาหารได้ดีอีกด้วย
- ในด้านความงามนั้นมีผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใช้บำรุงผิวที่มีส่วนผสมของขิงอีกด้วย
- ช่วยให้ผิวพรรณเรียบเนียนยิ่งขึ้น ด้วยการนำขิงสดมาขูดเป็นฝอยแล้วนำมานวดบริเวณต้นขา ก้น หรือบริเวณที่มีเซลลูไลท์จะช่วยลดความขรุขระของผิวได้อีกด้วย
- ผลิตภัณฑ์จากขิงนั้นนำมาแปรรูปได้หลายอย่าง เช่น บัวลอยน้ำขิง ขิงแช่อิ่ม ขิงเชื่อม ขิงกระป๋อง ขิงแคปซูล น้ำขิงมะนาวเป็นต้น
วิธีทำน้ำขิง
วิธีทำน้ำขิงขั้นตอนแรกให้เตรียมส่วนผสมดังนี้ ขิงแก่ 1 กิโลกรัม / น้ำตาลทรายแดง 1 ถ้วยตวง / น้ำสะอาด 3 ลิตร- นำขิงที่ได้ไปล้างให้สะอาด แล้วทำมาทุบให้แตก แล้วนำมาใส่ในหม้อต้ม แล้วเติมน้ำสะอาดลงไป ยกขึ้นตั้งไฟ
- เมื่อต้มจนน้ำเดือดแล้วค่อยเบาไฟลง เคี่ยวประมาณ 20 นาที จนน้ำขิงละลายออกมาจนหมด (น้ำจะเป็นสีเหลืองอ่อนๆ) แล้วยกลงจากเตา
- เสร็จแล้วให้ตักน้ำขิงใส่แก้ว แล้วเติมน้ำตาลทรายแดงลงไป 1-2 ช้อนชา (ตามความต้องการ) แล้วคนจนเข้ากัน
- เรียบร้อยแล้วก็สามารถนำมาดื่มได้เลย โดยนำมาดื่มแบบร้อนๆได้เลย
- หรือจะดื่มแบบเย็นๆด้วยการใส่น้ำแข็งลงไปก็ได้เช่นกัน แต่ควรเติมน้ำตาลมากกว่า 2-3 เท่า (จะช่วยไม่ให้รสจืดมากเกินไป เพราะมีน้ำแข็งผสมอยู่นั่นเอง)
- น้ำขิงที่คั้นมานั้นไม่ควรใช้ปริมาณที่เข้มข้นจนเกินไป เพราะจะเป็นอันตรายกับร่างกายได้ เพราะจะไประงับการบีบตัวของลำไส้ จนทำให้ลำไส้หยุดการบีบตัว ดังนั้นควรคั้นในปริมาณน้อยๆ หรือดื่มจนชินก่อน
แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ที่มา http://www.greenerald.com/ขิง/
โดย: Metha เวลา: 2014-2-1 09:32
เนระพูสีไทย สรรพคุณและประโยชน์เนระพูสีไทย 28 ข้อ ! (ว่านค้างคาวดำ)
เนระพูสีไทยเนระพูสีไทย ชื่อสามัญ Bat flower, Black lily เนระพูสีไทย ชื่อวิทยาศาสตร์ Tacca chantrieri Andre จัดอยู่ในวงศ์ Taccaceae[1],[5]
สมุนไพรเนระพูสีไทย ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีก เช่น คลุ้มเลีย ว่านหัวเลีย ว่านหัวลา ว่านหัวฬา(จันทบุรี), ค้าวคาวดำ มังกรดำ (กรุงเทพฯ), ดีปลาช่อน (ตราด), ม้าถอนหลัก (ชุมพร), ว่านพังพอน(ยะลา), นิลพูสี (ตรัง), ว่านนางครวญ (นครศรีธรรมราช), กลาดีกลามูยี (มลายู-ปัตตานี), ดีงูหว้า (ภาคเหนือ), เนระพูสีไทย (ภาคกลาง), เส่แหง่เหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), ล่อเคลิน (ลั้วะ), เหนียบเลิน (ขมุ), แต่เรียกกันทั่วไปว่า ว่านค้างคาว หรือ ว่านค้างคาวดำ เป็นต้น[1],[2],[3],[6],[7],[12]
ลักษณะของเนระพูสีไทย- ต้นเนระพูสีไทย หรือ ว่านค้างคาวดํา จัดเป็นไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี มีความสูงของต้นประมาณ 50-60 เซนติเมตร มีลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน ลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด แยกกอ หรือขุดเง่ามาทอนเป็นท่อนๆ แล้วนำไปปักชำในที่ที่มีความชุ่มชื้น สามารถออกดอกและติดผลได้ตลอดปี เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีอากาศเย็นชื้น มีแสงแดดรำไร มีเขตการกระจายพันธุ์ในทางตอนใต้ของจีน อินเดีย บังคลาเทศ ลาว พม่า เวียดนาม และในชายฝั่งมาเลเซีย โดยจะพบขึ้นตามป่าเขา ป่าดิบแล้งหรือป่าดิบชื้น ที่ระดับความสูงจากน้ำทะเลประมาณ 50-1,000 เมตร (บ้างว่า 500-1,500 เมตร)[1],[2],[4],[5],[6],[7],[8]

ว่านค้างคาวดำ

ว่านค้างคาวขาว
- ใบเนระพูสีไทย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ มีประมาณ 3-12 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปรีกว้างหรือเป็นรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 7-15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 20-60 เซนติเมตร เส้นแขนงของใบแตกออกจากเส้นกลางใบโค้งจรดกันเกือบถึงขอบใบ แผ่นใบเกลี้ยงเป็นสีเขียวเข้ม หลังใบเรียบเป็นมัน ส่วนท้องใบเรียบ และมีก้านใบยาวประมาณ 15-30 เซนติเมตร[1],[2]

ใบเนระพูสีไทย
- ดอกเนระพูสีไทย ออกดอกเป็นช่อกลุ่มๆ ประมาณ 1-2 ช่อ มีความยาวได้ถึง 70 เซนติเมตร ในแต่ช่อจะมีดอกอยู่ประมาณ 4-6 ดอก (มีมากสุดถึง 25 ดอกย่อย) แทงออกมาจากเหง้าที่อยู่ใต้ดินขึ้นมา ดอกเป็นสีม่วงดำหรือเป็นสีเขียวเข้ม กลีบดอกมี 6 กลีบ โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกัน กลีบด้านนอก 3 กลีบมีลักษณะเป็นรูปไข่หรือเป็นรูปสามเหลี่ยม มีขนาดกว้างประมาณ 3-8 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 5-12 มิลลิเมตร ส่วนกลีบด้านใน 3 กลีบ มีขนาดกว้างประมาณ 4-12 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 4-11 มิลลิเมตร ดอกมีขนาดกว้างประมาณ 0.6-2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้สีเขียวหรือสีเหลือง ส่วนรังไข่มีขนาดกว้างประมาณ 3-5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 2-7 มิลลิเมตร ส่วนก้านดอกย่อยยาวประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร และดอกยังมีใบประดับเป็นสีม่วงดำหรือเป็นสีเขียวอยู่เข้ม 2 คู่ ออกตรงข้ามสลับตั้งฉาก ไม่มีก้าน ใบประดับคู่นอกมีลักษณะเป็นรูปรี หรือรูปไข่ หรือรูปใบหอก มีขนาดกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6 เซนติเมตร ส่วนใบประดับคู่ในแผ่กว้างออก มีลักษะเป็นรูปไข่ หรือรูปไข่กลับ มีหลายด้วยกันหลายขนาด กว้างประมาณ 4-8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-17 เซนติเมตร และมีใบประดับที่ลดรูปเป็นเส้นด้ายอีก 5-25 อัน ยาวประมาณ 10-25 เซนติเมตร เป็นสีเขียวหรือสีม่วง และกลีบดอกจะติดอยู่ไม่หลุดร่วงได้ง่าย[1],[2],[4]

- ผลเนระพูสีไทย ลักษณะของผลเป็นทรงสามเหลี่ยมหรือเป็นรูปกระสวย ผลมีสันเป็นคลื่น 6 สันตามยาวของผล มีวงกลีบรวมที่ยังไม่ร่วงติด ผลมีขนาดกว้างประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร ส่วนเมล็ดมีลักษณะเป็นรูปไต เมล็ดมีขนาดกว้างประมาณ 2-2.3 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร และมีความหนาประมาณ 1-1.5 มิลลิเมตร[1],[2],[3],[4]


โดย: Metha เวลา: 2014-2-1 09:32
สรรพคุณของเนระพูสีไทย- ชาวเขาเผ่าแม้ว มูเซอ จะใช้ ราก ต้น ใบ เหง้า นำมาต้มกับน้ำดื่ม หรือเคี้ยวกินเป็นยาบำรุงร่างกาย (ต้น,ใบ,ราก,เหง้า)[3],[5]
- เหง้านำมาต้มกับน้ำดื่มหรือใช้ดองกับเหล้า ใช้กินเป็นยาบำรุงกำลัง (เหง้า)[6],[11]
- ช่วยแก้ธาตุพิการ (เหง้า)[12]
- รากเนระพูสีไทย หรือเหง้าใช้ดองกับเหล้ากินเป็นยา หรือนำใบสดมารับประทาน จะมีสรรพคุณช่วยทำให้เจริญอาหาร (ใบ,ราก,เหง้า)[7],[11] บ้างว่าเหง้ามีสรรพคุณช่วยทำให้อ้วน (เหง้า)[12]
- ใช้เป็นยารักษามะเร็ง (ใช้ต้น,ใบ,ราก,เหง้า นำมาต้มกับน้ำดื่มหรือเคี้ยวกิน)[3],[5]
- เหง้าใต้ดินมีรสสุขม นำมาต้มหรือดองกับเหล้า ใช้ดื่มแก้ความดันโลหิตต่ำ (เหง้า)[1],[2],[5],[11]
- ช่วยบำรุงกำลังทางเพศ ด้วยการใช้เหง้านำมาต้มหรือดองกับเหล้าเป็นยาดื่ม (เหง้า)[1],[2],[5]
- เหง้าใช้แก้ซางเด็ก (เหง้า)[12]
- ช่วยดับพิษไข้ (เหง้า)[11]
- แก้ไข้กาฬ ไข้เหนือ ไข้สันนิบาต และไข้ท้องเสีย (เหง้า)[12]
- ช่วยแก้อาการไอ (เหง้า)[5],[121]
- ช่วยรักษาโรคในปากคอ (เหง้า)[11]
- ช่วยแก้ลิ้นคอเปื่อย (เหง้า)[5],[12]
- ช่วยแก้ปอดพิการ (เหง้า)[12]
- ช่วยแก้อาการปวดท้อง (ใช้ต้น,ใบ,ราก,เหง้า นำมาต้มกับน้ำดื่มหรือเคี้ยวกิน)[3],[5]
- ช่วยแก้บิด บิดมูกเลือด (เหง้า)[12]
- ช่วยแก้อาการอาหารไม่ย่อย อาหารเป็นพิษ (ใช้ต้น,ใบ,ราก,เหง้า นำมาต้มกับน้ำดื่มหรือเคี้ยวกิน)[3],[5]
- ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร แผลในกระเพาะอาหาร และยังไม่ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองในเป็นแผลในกระเพาะอาหารเหมือนกับการรับประทานยาแก้อักเสบทั่วไปอีกด้วย (ใช้ต้น,ใบ,ราก,เหง้า นำมาต้มกับน้ำดื่มหรือเคี้ยวกิน)[3],[5],[9]
- ทั้งต้นใช้ผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น นำมาฝนรวมกันกินแก้อาการเบื่อเมา (ทั้งต้น)[3],[4],[5]
- ช่วยสมานแผล (เหง้า)[12]
- ทั้งต้นมีรสสุขุม ใช้ต้มกับน้ำอาบจะช่วยรักษาอาการผดผื่นคันตามร่างกายได้ (ทั้งต้น,เหง้า)[1],[2],[5],[6]
- ช่วยแก้อาการปวด แก้อักเสบ มีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้อาการปวดหลังปวดเอว ด้วยการใช้รากดองกับเหล้าหรือนำใบสดมารับประทาน หรือจะใช้รากนำมาต้มกับน้ำร่วมกับหญ้าถอดปล้องใช้ดื่มเป็นยา และแต่เดิมชาวบ้านจะใช้เหง้านำมาซอยเป็นชิ้นและบดให้เป็นผงละเอียด แล้วนำมาละลายในน้ำต้มเดือด แช่ทิ้งไว้สักครู่พออุ่นก็ให้ใช้ผ้าขนหนูชุบนำมาประคบบริเวณที่มีอาการปวดหรืออักเสบ อาการจะค่อยๆ หายเป็นปกติ (ราก,เหง้า)[3],[5],[7],[9]
- เหง้าใช้เป็นยาบำรุงสำหรับสตรีมีครรภ์ ด้วยการใช้เหง้านำมาต้มหรือดองกับเหล้าเป็นยาดื่ม (เหง้า)[1],[2],[5]
- ตำรายาแก้อัมพฤกษ์ โรคความดัน และโรคหัวใจ มีส่วนประกอบดังนี้ ต้นเนระพูสีไทยทั้งต้น 1 กำมือ, โสมเกาหลีอายุ 6 ปีขึ้นไป 5 สลึง, ต้นเหงือกปลาหมอ 1 กำมือ, ใบหนุมายประสายกาย 7 ก้าน, และบอระเพ็ด 1 เซนติเมตร เมื่อได้ครบแล้วให้นำต้นเนระพูสีไทย ต้นเหงือกปลาหมอ ใบหนุมานประสานกาย และบอระเพ็ด มาตากหรืออบให้แห้งแล้วเอามารวมกับโสมเกาหลีที่หั่นเป็นแผ่นบางๆ และขั้วมาแล้ว หลังจากนั้นนำมาห่อด้วยผ้าขาวบาง ใส่ภาชนะต้มน้ำพอท่วมยาจนเดือด ใช้ดื่มกินครั้งละ 2 แก้ว เช้าและเย็น แล้วให้อุ่นยาวันละหนึ่งครั้ง หากกินหมดก็เติมน้ำต้มใหม่จนยาจืด (ห้ามดื่มของมึนเหมาในระหว่างกินยานี้ ห้ามนำตัวยานี้ไปใช้แสวงหาประโยชน์เพื่อการค้า และให้ยำกล้วยน้ำว้า 1 หวี มาถวายพระและอุทิศส่วนกุศลให้เจ้าของยา) (ทั้งต้น)[10]
- สารสกัดจากเหง้าเนระพูสีไทยมีฤทธิ์ยับยั้งการกินของหนอนใยผัก ซึ่งเป็นแมลงศัตรูพืชผักที่สำคัญชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะพืชในตระกูลกะหล่ำ (เหง้า)[5]

ประโยชน์ของเนระพูสีไทย
- ใบมีรสขมหวาน ชาวปะหล่องใช้รับประทานเป็นผักสดร่วมกับลาบ ชาวกะเหรี่ยงแดงใช้ใบรับประทานร่วมกับน้ำพริก ส่วนคนเมืองและชาวเผ่าม้ง มูเซอ จะใช้ใบอ่อนนำมาย่างไฟให้อ่อนหรือนำมาลวกใช้รับประทานกับลาบ ส่วนชาวขมุใช้ดอกรับประทานร่วมกับน้ำพริก และสำหรับคนเมืองจะใช้ทั้งดอกและยอดอ่อนรับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก (มีความเชื่อของชาวลั้วะว่าเด็กที่คลอดใหม่ ห้ามเข้าใกล้เพราะจะไม่มีดีจ่อพ่อแม่)[4],[7]
- ในปัจจุบันได้มีการนำสมุนไพรเนระพูสีไทยมาสกัดทำเป็นผลิตภัณฑ์น้ำสกัดบรรจุขวดหรือทำเป็นเจลสำหรับใช้ทาบริเวณที่มีอาการอักเสบ ตัวยาจะซึมเข้าสู่ผิวหนัง ที่สำคัญยังมีฤทธิ์ในการต้านแบคทีเรีย และใช้รักษาสิวได้ด้วย[9]
- นอกจากจะใช้เป็นยาสมุนไพรและใช้รับประทานผักแล้ว ต้นเนระพูสี ยังสามารถนำมาปลูกเป็นไม้ประดับได้อีกด้วย[8]
ที่มา http://www.greenerald.com/เนระพูสีไทย/
โดย: Metha เวลา: 2014-2-1 09:35
กระชับ สรรพคุณและประโยชน์ของผักกระชับ 37 ข้อ ! (หญ้าผมยุ่ง)
ลักษณะของกระชับ- ต้นกระชับ จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุราว 1 ปี (บ้างว่าหลายปี) มีความสูงของต้นประมาณ 40-100 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรง ผิวต้นหยาบ มีลายเส้นเป็นเหลี่ยมๆ ทั้งต้นมีขนสีขาวๆ ขึ้นอยู่ประปราย ผิวโคนต้นเป็นสีม่วง ส่วนผิวด้านบนของลำต้นเป็นสีเขียวแต้มด้วยสีน้ำตาลดำ แตกกิ่งก้านได้มาก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด และเข้าใจว่าต้นกระชับนี้มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกา มีการแพร่กระจายเป็นวัชพืชไปทั่วโลก โดยมักจะขึ้นตามที่โล่ง แม่น้ำริมลำธาร ริมตลิ่ง ริมทะเล ตามหนองบึงทั่วไป รวมไปถึงตามที่รกร้างว่างเปล่า[1],[2],[5]

- ใบกระชับ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปสามเหลี่ยม เว้าลึกเป็นแฉก 3-5 แฉก แผ่นใบยาวประมาณ 9-25 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบเป็นรูปหัวใจตื้นหรือกลม ขอบใบเป็นซี่ฟันปลาหรือหยักเป็นฟันเลื่อยแบบไม่เป็นระเบียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร ก้านใบยาวประมาณ 3.5-10 เซนติเมตร แผ่นใบมีขนสากทั้งสองด้าน[1],[2]

- ดอกกระชับ ออกดอกเป็นช่อกระจุกแน่น เรียงแบบช่อกระจะบนแกนเดียว ดอกมีจำนวนมาก ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะอยู่บนต้นเดียวกัน โดยดอกเพศผู้จะออกที่ปลายกิ่ง มีวงใบประดับ 1 วง ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 2.2 เซนติเมตร กาบด้านนอกเป็นรูปขอบขนาน กาบด้านในมีลักษณะเป็นรูปใบหอก ยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร กลีบดอกเป็นสีขาว หลอดกลีบยาวประมาณ 2.5 มิลลิเมตร ปลายเป็นจัก 5 จัก มีเกสรเพศผู้จำนวน 5 อัน เชื่อมติดกันอยู่ ส่วนช่อดอกเพศเมียจะออกตามซอกใบ มีวงใบประดับอยู่ 1 วง ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน มีความยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร โดยใบประดับด้านในจะเชื่อมติดกับกาบนอก ส่วนเกสรเพศเมียปลายแยกเป็น 2 แฉก[1],[2]

- ผลกระชับ ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่หรือรูปกลมรีหรือเป็นรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 1-1.8 เซนติเมตร โดยจะออกเป็นคู่ๆ ผลมีหนามนุ่มเป็นรูปตะขออยู่บนผิวของผล ที่ปลายผลเป็นจะงอยแหลม 2 อัน ในผลหนึ่งผลจะมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด เรียกว่า “เมล็ดกระชับ” เมล็ดเป็นสีดำมีลักษณะเรียวยาวและเข็ง โดยจะมีความยาวประมาณ 8-16 มิลลิเมตร และกว้างประมาณ 5-12 มิลลิเมตร[1],[2]


สรรพคุณของกระชับ- ผลใช้เป็นยาเย็น ยาบำรุงกำลัง (ผล)[6]
- รากใช้เป็นยาขมช่วยทำให้เจริญอาหาร (ราก)[6]
- ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ (ใบ,ต้น)[1],[6]
- ช่วยระงับประสาท (ต้น)[6]
- ช่วยแก้อาการปวดหู (ใบ,ต้น)[6]
- ช่วยแก้จมูกอักเสบเรื้อรัง และริดสีดวงจมูก ด้วยการใช้เมล็ดกระชับประมาณ 8 กรัม, ใบสะระแหน่ 5 กรัม, ใบชา 10 กรัม, รากหอมใหญ่ 6 กรัม, โกฐสอ 10 กรัม และดอกชุนฮัว 12 กรัม นำทั้งหมดมาต้มกับน้ำเป็นยารับประทาน (ต้น)[1]
- น้ำสกัดจากผลใช้เป็นยาบ้วนปาก แก้อาการปวดฟันได้ (ผล)[2]
- เมล็ดใช้เป็นยาแก้ไข้หวัด ถอนพิษไข้ (ราก,ต้น,ใบ,เมล็ด)[1],[6]
- เมล็ดใช้เป็นยารักษาไข้จับสั่น (เมล็ด)[1]
- ผลใช้เป็นยาแก้ไข้ทรพิษ (ผล)[6]
- ลำต้นใช้เป็นยาแก้โรคมาลาเรีย (ต้น)[6]
- ช่วยขับเหงื่อ (ต้น)[1],[6]
- ช่วยขับน้ำลาย (ต้น)[4],[6]
- ราก ลำต้น ใบ และเมล็ดมีรสขม เผ็ดชุ่ม เป็นยาอุ่นแต่มีพิษเล็กน้อย ออกฤทธิ์ต่อปอดและตับ ใช้เป็นช่วยขับลมชื้น (เมล็ด)[1]
- ช่วยรักษาโรคกระเพาะอักเสบ (ต้น)[6]
- ช่วยรักษาโรคท้องมาน (ผล)[6]
- ช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ (ต้น)[6]
- ช่วยรักษาโรคเริม (ใบ)[1],[6]
- แก้มุตกิดของสตรี (ต้น)[6]
- ช่วยแก้อาการตกเลือดในสตรี (ราก,ต้น,ใบ,เมล็ด)[1]
- ช่วยแก้อาการปวดประจำเดือนของสตรี (ต้น)[4],[6]
- ใบใช้แก้โรคที่เกี่ยวกับต่อมน้ำเหลือง (ใบ)[6]
- ช่วยแก้พิษงูสวัด (ใบ)[1],[6]
- ช่วยแก้ลมพิษ (ผล)[6]
- ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ด้วยการใช้ใบและลำต้นนำมาตำแล้วใช้พอกบริเวณที่ถูกกัด (ใบ,ต้น)[1]
- ช่วยแก้โรคผิวหนัง รักษาโรคเรื้อน (เมล็ด)[1]
- ช่วยแก้หิด (ใบ,ต้น)[1],[6]
- ช่วยแก้ฝีหนองภายนอก ด้วยการใช้ต้นกระชับสดประมาณ 60 กรัม นำมาต้มกับน้ำ แล้วนำน้ำที่ต้มได้มาล้างบริเวณที่เป็นแผล (ต้น)[1]
- ใบและลำต้น นำมาตำให้ละเอียดใช้พอกรักษาแผลปวดบวม (ใบ,ต้น)[6]
- ช่วยสมานแผลสด ช่วยห้ามเลือด (ราก,ใบ)[1],[6]
- ช่วยแก้อาการปวดกล้ามเนื้อ (ต้น)[6]
- ช่วยระงับอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ อัมพาต (ผล)[6]
- ช่วยแก้ไขข้ออักเสบ (ต้น)[1]
- รากใช้เป็นยาแก้วัณโรคต่อมน้ำเหลืองและมะเร็ง (ราก)[6]
- รากและผลมีสารจำพวกอัลคาลอนด์ เช่น Xanthinin, Xanthumin และสาร Xanthatin ซึ่งเป็นที่มีสรรพคุณแก้แพ้ แก้อาการอักเสบได้หลายอย่าง เช่น การติดเชื้อทางผิวหนัง โรคกระเพาะอาหาร เป็นต้น (ผล,ราก)[2]
ที่มา http://www.greenerald.com/กระชับ/
โดย: Metha เวลา: 2014-2-1 09:47
ตับเต่านา สรรพคุณและประโยชน์ของผักตับเต่านา 5 ข้อ !
ลักษณะของตับเต่านา- ต้นตับเต่านา จัดเป็นพืชลอยน้ำมีอายุหลายฤดู ลำต้นมีลักษณะเป็นไหลทอดเลื้อย หากน้ำตื้นจะมีหยั่งรากลงยึดดินใต้น้ำ มักขึ้นในน้ำนิ่งทั่วไป เช่น ตามนาข้าวหรือบริเวณหนองน้ำ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแตกไหลและอาศัยเมล็ด โดยต้นตับเต่านาเป็นพืชที่มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ในทวีปยุโรปและเอเชีย สามารถพบได้ตามแหล่งน้ำตื้นๆ ที่ระดับใกล้น้ำทะเลจนถึงระดับ 1,200 เมตร[1],[2],[3]


- ใบตับเต่านา ใบจะโผล่อยู่เหนือน้ำหรือลอยบนผิวน้ำ ก้านใบยาว แต่ถ้าในฤดูแล้งที่มีน้ำน้อยก้านใบจะสั้นลง ส่วนใบลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจหรือเป็นรูปไข่กว้าง ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-7.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2.5-6 เซนติเมตร ปลายใบมน โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบเรียบ แตกที่ข้อของลำต้นเป็นกลุ่มชูขึ้นเหนือน้ำ และมีรากเกิดเป็นกระจุกอยู่ทางด้านล่างของกลุ่มใบ แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ส่วนด้านล่างจะสีอ่อนกว่า และมักจะมีเนื้อเยื่อลักษณะคล้ายกับฟองน้ำอยู่บริเวณกลางใบ ซึ่งมีหน้าที่ในการช่วยพยุงลำต้น[1],[2]

- ดอกตับเต่านา ดอกเป็นดอกเดี่ยวสีขาว ออกดอกตามซอกใบ มีก้านชูดอกเรียวยาว โคนกลีบดอกมีแต้มสีเหลือง ดอกเป็นแบบแยกเพศ โดยมีกาบหุ้มช่อดอก โดยดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ดอกจะมีกลีบเลี้ยง 3 กลีบ ส่วนกลีบดอกเป็น 3 กลีบ ลักษณะเป็นรูปกลม มีขนาดประมาณ 0.8-1.5 เซนติเมตร เกสรเพศผู้มีอยู่ 9-12 อัน ส่วนรังไข่เป็นรูปยาวรี มีความยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร[1],[2]


- ผลตับเต่านา ผลมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก มีสันอยู่ 6 สัน[1]
สรรพคุณของตับเต่านา- ช่วยบำรุงธาตุไฟในร่างกาย (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[5]
- ช่วยแก้เสมหะ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[5]
- ช่วยแก้ลม (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[5]
หมายเหตุ : สรรพคุณดังกล่าวข้างต้นนี้มีที่มาจากวิกิพีเดีย แต่ไม่ได้ระบุไว้ว่ามีแหล่งอ้างอิงมาจากไหนและใช้ส่วนไหนเป็นยา
ประโยชน์ของตับเต่านา- ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับหรือใช้ปลูกในบ่อเลี้ยงปลาเพื่อช่วยคลุมผิวน้ำ[1]
- ต้นอ่อนหรือยอดอ่อนใช้รับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก[2],[3]
ที่มา http://www.greenerald.com/ตับเต่านา/
โดย: Metha เวลา: 2014-2-1 09:48
กระทงลายกระทงลาย ชื่อสามัญ Black ipecac, Black oil plant, Black oil tree, Celastrus dependens, Climbing staff plant, Climbing staff tree, Intellect tree[2] กระทงลาย ชื่อวิทยาศาสตร์Celastrus paniculata Wild. จัดอยู่ในวงศ์ Celastraceae[1]
สมุนไพรกระทงลาย ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีก เช่น นางแตก (นครราชสีมา), มะแตก มะแตกเครือมักแตก (ภาคเหนือ, ภาคอีสาน), กระทงลาย กระทุงลาย โชด (ภาคกลาง), หมากแตก เป็นต้น[1],[2],[4],[5]
ต้นกระทงลายมีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ทางจีนตอนใต้ พม่า อินเดีย ภูมิภาคอินโดจีน ภูมิภาคมาเลเซีย จนถึงออสเตรเลีย และนิวแคลิโดเนีย สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาค[7]
ลักษณะของกระทงลาย- ต้นกระทงลาย จัดเป็นไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 3-10 เมตร หรือขึ้นพาดพันต้นไม้อื่นไปได้ไกลถึง 10 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลปนสีเทา ผิวขรุขระเล็กน้อย ตามกิ่งจะมีรูอากาศกระจายอยู่ทั่วไป ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด ขึ้นได้ในดินทุกชนิด ชอบแสงแดดแบบเต็มวัน สามารถพบต้นกระทงลายได้ทั่วไป โดยมักขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าโปร่ง ป่าดงดิบ ป่าผลัดใบ ป่าละเมาะ หรือตามพื้นที่โล่ง ที่ระดับความสูงเหนือระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 0-1,300 เมตร และจะพบได้มากทางภาคเหนือและทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[1],[2],[3],[4],[5],[7]

- ใบกระทงลาย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรี หรือรูปวงรี หรือเป็นรูปวงรีแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมนสอบเข้าหากัน ส่วนขอบใบหยักละเอียดเป็นฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร หลังใบเรียบ ส่วนท้องใบมีขนอยู่ประปราย มีเส้นแขนงใบประมาณ 5-9 คู่ มองเห็นได้ชัดเจน และก้านใบยาวประมาณ 0.8-2.5 เซนติเมตร[1],[2],[6]

- ดอกกระทงลาย ออกดอกเป็นช่อแบบแยกแขนงที่ปลายกิ่งหรือปลายยอด ยาวประมาณ 4-8 นิ้ว ดอกเป็นแบบแยกเพศ ดอกย่อยมีขนาดเล็กและมีจำนวนมาก ดอกเป็นสีขาวอมสีเหลือง ดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ และมีกลีบเลี้ยงดอก 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันคล้ายรูประฆัง ปลายกลีบดอกแยกออกเป็นแฉก มีลักษณะค่อนข้างกลม และมีขนขึ้นประปราย ฐานดอกเป็นรูปถ้วยนูน กลางดอกเพศผู้มีเกสรอยู่ 5 อัน ยาวประมาณ 2.2.5 มิลลิเมตร ส่วนดอกเพศเมียมีเกสรยาวกว่าเกสรเพศผู้และปลายแยกเป็น 3 แฉก โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม[1],[4],[6]


- ผลกระทงลาย ผลมีลักษณะค่อนข้างกลม ผลมีขนาดกว้างประมาณ 5-8 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 5-10 มิลลิเมตร ผิวผลเรียบ มีลักษณะเป็นพู 3 พู ที่ปลายผลมียอดเกสรเพศเมียติดอยู่ ต่อพอผลแก่เต็มที่แล้วเกสรที่ปลายก็จะหลุดออก ผลอ่อนเป็นสีเขียว พอแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีส้มปนสีเหลืองและแตกออกเป็น 3 ซีก ในแต่ละผลจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 3-6 เมล็ด (พูละประมาณ 2 เมล็ด) เมล็ดกระทงลายมีลักษณะเป็นรูปไข่หรือรูปรีและมีเนื้อเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง เมล็ดมีขนาดกว้างประมาณ 2-3 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 3.5-5 มิลลิเมตร โดยจะติดผลในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม[1],[3],[4],[6]


โดย: Metha เวลา: 2014-2-1 09:49
สรรพคุณของกระทงลาย- ใบมีฤทธิ์ในการกระตุ้นประสาท ด้วยการนำใบมาต้มหรือคั้นเอาแต่น้ำกิน (ใบ)[1],[6]
- สารสกัดด้วยน้ำมันจากเมล็ดสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาคในด้านความจำได้ (เมล็ด)[8]
- ผลมีสรรพคุณช่วยบำรุงโลหิต (ผล)[2],[5]
- แก่นใช้เป็นยารักษาวัณโรค (แก่น)[2],[5]
- ใช้เป็นยาแก้ไข้มาลาเรีย (เปลือก[1], ราก[2],[5])
- เมล็ดใช้เป็นยาแก้ไข้ (เมล็ด)[1]
- ช่วยขับเหงื่อ (น้ำมันจากเมล็ด)[2]
- ใช้ราก เถา และใบ รับประทานเป็นยาแก้ไข้ลงท้องหรืออาการท้องเดิน (ราก,เถา,ใบ)[9]
- รากตากแห้งใช้ต้มผสมกับข้าวเปลือกจ้าว 9 เม็ด ใช้ดื่มกินแก้อาการปวดท้อง หรือจะใช้เถาและรากรับประทานก็ได้เช่นกัน (ราก,เถา)[3],[9]
- ใบนำมาต้มหรือคั้นเอาแต่น้ำกินช่วยรักษาโรคบิด หรือจะใช้เปลือกต้นนำมาตำผสมกับตัวมดแดงและเกลือใช้กินครั้งเดียวเพื่อแก้อาการบิดก็ได้ (ใบ,เปลือกต้น)[2],[6]
- ผลมีสรรพคุณช่วยแก้ลมจุกเสียด (ผล)[2],[5]
- ลำต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ (ลำต้น)[2]
- ช่วยแก้ไตพิการ (โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ มีปัสสาวะขุ่นข้นเป็นสีเหลืองหรือแดง และมักมีอาการแน่นท้อง กินอาหารไม่ได้ร่วมด้วย) ด้วยการใช้ลำต้นนำมาต้มกับน้ำเป็นยาดื่ม (ลำต้น)[2]
- ใบใช้ถอนพิษฝิ่น ด้วยการใช้ใบนำมาต้มหรือคั้นเอาแต่น้ำกิน (ใบ)[1],[6]
- ใบใช้ถอนพิษฝี (ไม่ยืนยัน)[9]
- ผลช่วยแก้พิษงูได้ แต่ยังไม่มีรายงานทางวิทยาศาสตร์รับรอง (ผล)[2]
- น้ำมันจากเมล็ดใช้รักษาโรคเหน็บชา (น้ำมันจากเมล็ด)[2]
- เมล็ดใช้กินหรือใช้พอกรักษาโรคปวดตามข้อ ปวดตามกล้ามเนื้อ(เมล็ด)[2]
- เมล็ดนำมาตำให้ละเอียดใช้พอกหรือกินเป็นยาแก้โรคอัมพาต (เมล็ด)[2]
- ช่วยบำรุงน้ำนมของสตรีหลังการคลอดบุตรใหม่เวลาอยู่ไฟ (เข้าใจว่าใช้รากต้มผสมกับกับข้าวเปลือกข้าว9 เมล็ด ใช้ดื่มเป็นยา)[3]
- เถานำมาต้มหรือฝนเป็นยารับประทาน แทนการอยู่ไฟของสตรีหลังคลอดบุตรและอยู่ในเรือนไฟ อีกทั้งยังเป็นยาบำรุงน้ำนมด้วยอีกด้วย (เถา)[9]
ประโยชน์ของต้นกระทงลาย- ยอดอ่อนสามารถนำมาใช้แกงใส่ไข่มดแดง หรือใช้ลวกรับประทานร่วมกับน้ำพริก[3]
- น้ำมันจากเมล็ดใช้ตามไฟหรือเคลือบกระดาษกันน้ำซึม[4]
- ผลสามารถนำไปสกัดน้ำมันทำเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงได้[5]
- ในสมัยก่อนจะใช้เมล็ดแก่บีบเอาน้ำมันสำหรับใช้จุดตะเกียง[3]

ที่มา http://www.greenerald.com/กระทงลาย/
โดย: Metha เวลา: 2014-2-1 10:24
กระโดน สรรพคุณและประโยชน์ของต้นกระโดน 26 ข้อ
ลักษณะของกระโดน- ต้นกระโดน จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลาง มีลักษณะของเรือดยอดเป็นพุ่มกลมแน่นทึบ มีความสูงของต้นประมาณ 10-20 เมตร เปลือกต้นหนาเป็นสีดำหรือสีน้ำตาลดำ แตกล่อนเป็นแผ่น ต้นมีกิ่งก้านสาขามาก ส่วนเนื้อไม้เป็นสีแดงเข้มถึงสีน้ำตาลแกมแดง พบได้ตามป่าเบญจพรรณชื้น ป่าหญ้าและป่าแดง[3],[4] ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดในช่วงฤดูฝน และวิธีการตอนกิ่ง[6]


- ใบกระโดน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนเป็นกลุ่มตามปลายกิ่ง ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กลับ ปลายใบมนและมีจิ่งแหลมยื่น โคนใบสอบเรียว ส่วนขอบใบเป็นหยักเล็กน้อยตลอดทั้งขอบใบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 15-25 เซนติเมตร และยาวประมาณ 30-35 เซนติเมตร ผิวใบทั้งสองด้านมีลักษณะเกลี้ยง เนื้อใบหนาและค่อนข้างนิ่ม มีเส้นแขนงใบอยู่ประมาณข้างละ 8-15 เส้น เส้นใบย่อยเป็นแบบร่างแห เห็นได้ชัดเจนทางด้านล่าง ก้านใบอวบเกลี้ยงและมีความยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ในหน้าแล้งใบแก่ท้องใบจะเป็นสีแดง และจะทิ้งใบเมื่อออกใบอ่อน ยอดอ่อนของใบเป็นสีน้ำตาลแดง ใบก่อนร่วงเป็นสีแดง[3]

- ดอกกระโดน ดอกมีขนาดใหญ่ ออกดอกเป็นช่อแบบกระจะตามปลายกิ่งที่ไม่มีใบ สั้นมาก ในแต่ละช่อมีดอกประมาณ 2-6 ดอก ลักษณะของดอกคล้ายเป็นดอกเดี่ยว มีกลีบดอก 5 กลีบ แต่ละกลีบดอกยาวประมาณ 1-5 นิ้ว ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปขอบขนาน แยกกัน ขอบกลีบและปลายกลีบเป็นสีเขียวอ่อน ส่วนโคนกลีบเป็นสีชมพู โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ร่วงได้ง่าย โดยดอกจะบานในเวลากลางคืน และมักจะร่วงในช่วงเช้า ดอกมีเกสรเพศผู้สีขาวจำนวนมากยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร ก้านเกสรยาวเรียงตัวกันแน่นเป็นพู่ โคนก้านเกสรเชื่อมติดกันเป็นวงสีแดงอ่อนๆ โดยเกสรที่สมบูรณ์จะอยู่ข้างใน ขานฐานดอกมีลักษณะเป็นรูปวงแหวน ขอบนูนขึ้น ส่วนเกสรเพศเมียมีรังไข่ใต้วงกลีบ ลักษณะเป็นรูปกระสวยกลีบ มี 4 ช่อง ในแต่ละช่องจะมีออวุลจำนวนมาก โดยเกสรเพศเมียจะติดคงทน และก้านเกสรเพศเมียจะยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร ดอกมีใบประดับลักษณะกลมหรือรี 3 ใบ มีกลีบเลี้ยงดอก 4 กลีบ แยกจากกัน ยาวประมาณ 8-10 มิลลิเมตร เป็นสีเขียวอ่อน หนาและค่อนข้างมน โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน[3]


- ผลกระโดน ผลมีลักษณะกลมหรือเป็นรูปไข่ อวบน้ำมีเนื้อสีเขียว ค่อนข้างแข็ง ผลมีขนาดกว้างประมาณ 5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6.5 เซนติเมตร ผิวผลเรียบ เปลือกหนา ที่ปลายผลจะมีกลีบเลี้ยงที่ติดทนอยู่ และมีก้านเกสรเพศเมียติดอยู่ที่ปลายผลด้วย ผลสดเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลภายในผลมีเมล็ดจำนวนมากและมีเยื่อหุ้ม เมล็ดเป็นสีน้ำตาลอ่อน ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปไข่และแบน มีขนาดกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร โดยจะออกผลในช่วงเดือนภุมภาพันธ์ถึงเดือนมิถุนายน[3],[4]


คุณค่าทางโภชนาการของดอกอ่อนและยอดอ่อนกระโดน ต่อ 100 กรัมแหล่งที่มา : ตารางแสดงคุณค่าอาหารไทยในส่วนที่กินได้ 100 กรัม. (กองโภชนาการ กรมอนามัย).[6],[8]
สรรพคุณของกระโดน- ดอกมีรสสุขุม สรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย (ดอก)[2]
- ดอกใช้เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงร่างกายหลังการคลอดบุตรของสตรี (ดอก)[1],[3],[4],[7],[9]
- ผลมีรสจืดเย็น มีสรรพคุณช่วยบำรุงหลังการคลอดบุตรของสตรี ส่วนดอกและน้ำจากเปลือกสด หากนำมาผสมกับน้ำผึ้งก็เป็นยาบำรุงหลังคลอดได้เช่นกัน (ผล,ดอก,น้ำจากเปลือกสด)[3]
- ดอกมีสรรพคุณช่วยแก้อาการหวัด หรือจะใช้ดอกและน้ำจากเปลือกสดผสมกับน้ำผึ้งกินเป็นยาแก้หวัดก็ได้ (ดอก)[2],[3]
- ดอกมีสรรพคุณช่วยแก้อาการไอ ช่วยทำให้ชุ่มคอ หรือจะใช้ดอกและน้ำจากเปลือกสดผสมกับน้ำผึ้งกินเป็นยาแก้ไอก็ได้ (ดอก)[2],[3]
- ผลมีรสจืดเย็น ช่วยในการย่อยอาหาร (ผล)[1],[2],[3],[9]
- เปลือกต้นนำมาแช่กับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปวดท้อง ท้องเสีย (เปลือกต้น)[3]
- ช่วยแก้โรคกระเพาะอาหาร (เปลือกต้น)[3]
- ต้นกระโดน สรรพคุณของเปลือกต้นใช้เป็นยาสมานแผลภายใน (เปลือกต้น)[3]
- กระโดนจัดอยู่ในตำรับยาแก้โรคริดสีดวงทวาร ซึ่งในตำรับยาประกอบไปด้วยกระโดนโคก 1 ส่วน, ต้นกล้วยน้อย 1 ส่วน, ขันทองพยาบาท (ดูกใส) 1 ส่วน, ต้นซองแมว 1 ส่วน, ต้นค้อแลน 1 ส่วน, เงี่ยงดุกน้อย 1 ส่วน, กำแพงเจ็ดชั้น 1 ส่วน, ต้นมอนแก้ว 1 ส่วน, มอยแม่หม้าย 1 ส่วน, เล็บแมวแดง 1 ส่วน, ตากวาง 1 ส่วน โดยนำทั้งหมดมาต้มเป็นยากิน (ตำหรับยานี้พบในบ้านเชียงเหียน ต.เขวา อ.เมือง จ.มหาสารคาม)[7]
- แก่นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาสำหรับสตรีที่อยู่ไฟ (แก่น)[7]
- ต้นใช้ผสมกับเถายาน่องและดินประสิว นำมาเคี่ยวให้งวดและตากให้แห้ง ใช้สำหรับปิดแผลมีพิษ และปิดหัวฝี (ต้น)[3]
- ใบใช้รักษาแผลสด ด้วยการนำมานึ่งให้สุกแล้วใช้ปิดแผล (ใบ)[3],[4]
- ใบมีรสฝาดใช้ใส่แผล หรือจะใช้ปรุงกับน้ำมันเป็นยาสมานแผล ส่วนเปลือกต้นก็ใช้เป็นสมานแผลได้เช่นกัน (ใบ,เปลือกต้น)[1],[2],[3],[9]
- เปลือกต้นช่วยแก้อาการอักเสบจากการถูกงูไม่มีพิษกัด แต่ในกรณีที่เป็นงูมีพิษกัดยังไม่ควรนำมาใช้ และบ้างก็ว่าใช้แก้พิษงูได้ (เปลือกต้น)[1],[2],[3],[9]
- เมล็ดมีรสฝาดเมาและมีความเป็นพิษ[3] และมีข้อมูลระบุว่าใช้เป็นยาแก้พิษต่างๆ ได้ด้วย (เมล็ด)[2]
- ใช้เปลือกต้น ช่วยแก้น้ำกัดเท้า (เปลือกต้น)[3]
- ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย เคล็ดเมื่อย เคล็ดขัดยอก (เปลือกต้น)[1],[2],[3],[9]
ที่มา http://www.greenerald.com/กระโดน/
โดย: Metha เวลา: 2014-2-1 10:25
กระดังงาสงขลา สรรพคุณและประโยชน์ของต้นกระดังงาสงขลา 25 ข้อ
ลักษณะของกระดังงาสงขลา- ต้นกระดังงาสงขลา จัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 1-2.5 เมตร บ้างว่าสูงประมาณ 1-4 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีเทาอมสีน้ำตาลและมีกลิ่นฉุน เนื้อไม้เปราะ ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทึบ กิ่งตั้งฉากกับลำต้นปลายย้อยลู่ลง ที่กิ่งมีขนอ่อน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมกันมาก และอีกวิธีคือการตอนกิ่ง แต่ไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากกิ่งเปราะและหักได้ง่าย โดยต้นกระดังงาสงขลาที่ได้จากการเพาะเมล็ดจะเจริญเติบโตได้ดีและมีความแข็งแรง ทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดีกว่าต้นที่จากการตอน แต่การออกดอกจะช้ากว่าต้นที่ได้จากการตอน เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ระบายน้ำดี มีความชื้นสูง ต้องการน้ำมาก แต่ไม่ทนต่อน้ำท่วมขัง ชอบแสงแดดแบบเต็มวัน หากปลูกในพื้นที่ที่มีแสงแดดแบบรำไรจะออกดอกน้อยและไม่แข็งแรง[1],[3],[4],[5],[6]

- ใบกระดังงาสงขลา ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบมนเว้าหรือเบี้ยวเล็กน้อย ส่วนขอบใบเรียบและเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-14 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวบางและอ่อน มีเส้นแขนงของใบประมาณ 8-9 คู่ สามารถมองเห็นเส้นใบได้ชัดเจน และมีก้านใบยาวประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร[1],[3],[5]

- ดอกกระดังงาสงขลา ออกดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือออกเป็นช่อกระจุกตามกิ่งตรงข้ามกับใบ ดอกเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมแรง ในหนึ่งดอกจะมีกลีบดอกประมาณ 15-24 กลีบ ในแต่ละกลีบจะมีความกว้างประมาณ 0.5-1.8 เซนติเมตร และมีความยาวประมาณ 5-9 เซนติเมตร เรียงเป็นชั้นหลายชั้น ชั้นละ 3 กลีบ กลีบมีลักษณะเรียวยาวและบิดเป็นเกลียวและอ่อนนิ่ม ปลายกลีบแหลมและกระดกขึ้น กลีบชั้นนอกจะยาวและใหญ่กว่ากลีบชั้นในตามลำดับ ดอกมีเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียจำนวนมาก ส่วนกลีบเลี้ยงดอกเป็นสีเขียว มีลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายแหลม มีความกว้างประมาณ 6 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 1.2 เซนติเมตร ส่วนก้านดอกยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร และสามารถออกดอกได้เกือบตลอดทั้งปี ดอกที่ยังอ่อนหรือที่เป็นสีเขียวอ่อนจะยังไม่มีกลิ่นหอม ดอกที่มีสีเหลืองถึงจะมีกลิ่นหอม และที่สำคัญช่วงที่มีอุณหภูมิสูง เช่น ตอนกลางวัน ดอกจะไม่ค่อยส่งกลิ่นหอมเท่ากับช่วงตอนเช้าและเย็น[1],[3],[4],[5],[6]


- ผลกระดังงาสงขลา ออกผลเป็นกลุ่ม มีผลย่อยประมาณ 8-10 ผล ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมรี ปลายผลแหลม ผลมีขนาดกว้างประมาณ 1.2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.5-1.8 เซนติเมตร ผิวผลเรียบ ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเหลือง ในผลมีเมล็ดอยู่หลายเมล็ด[1],[3],[5]
สรรพคุณของกระดังงาสงขลา- ตำรายาไทยดอกใช้เป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย (ดอก)[2],[6]
- ช่วยบำรุงร่างกาย (ดอก)[6]
- ช่วยชูกำลัง (ดอก)[9]
- ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย (ดอก)[6]
- ช่วยทำให้เจริญอาหาร (เกสร)[9]
- ดอกใช้เป็นยาบำรุงโลหิต (ดอก)[2],[6]
- ดอกมีรสสุขมหอม ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ (ดอก)[1],[2],[3],[6] ช่วยบำรุงหัวใจให้สดชื่น ทำให้ใจชุ่มชื้น (ดอก)[9]
- ใช้เป็นยาแก้ไข้ (ดอก)[6] ส่วนเกสรมีสรรพคุณช่วยแก้ไข้จับ แก้ไข้เพื่อลม แก้ไข้เพื่อปถวีธาตุ แก้โรค (เกสร)[9]
- ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ(เกสร)[9]
- ช่วยแก้ลมวิงเวียน (ดอก)[1],[6]
- ช่วยแก้อาการจุกเสียด (ดอก)[6]
- เนื้อไม้มีรสขมและเฝื่อน ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (เนื้อไม้,ต้น,กิ่ง,ก้าน)[1],[6]
- ช่วยแก้ปัสสาวะพิการ (เนื้อไม้,ต้น,กิ่ง,ก้าน)[1],[6]
- รากมีฤทธิ์ในการคุมกำเนิด (ราก)[6]
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของกระดางาสงขลา- มีฤทธิ์ลดความดันโลหิต[9]
- มีฤทธิ์ยับยั้งมะเร็ง[9]
- ต้านเชื้อ ต้านเชื้อรา ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านยีสต์[9]
- ช่วยไล่แมลง ทำให้ระคายเคืองผิวหนัง[9]

ประโยชน์ของกระดังงาสงขลา- ดอกสดสามารถนำมาสกัดทำเป็นน้ำมันหอมระเหย ใช้แก้ลมวิงเวียนได้[3] (สกัดโดยวิธีการต้มกลั่น (Hydrodistillation) จะได้รำมันหอมระเหยร้อนละ 0.90[5])
- ดอกใช้สกัดทำเป็นน้ำหอมและเครื่องหอม[8]
- เนื้อไม้และใบใช้ทำบุหงา อบร่ำ ใช้ทำน้ำหอม และน้ำมันหอมระเหย (Essential oil)[7],[10]
- บ้างว่าใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางประเภทครีมหรือโลชั่น จะช่วยลดความมันบนใบหน้าได้ (ไม่ยืนยัน)[10]
- ใช้เป็นส่วนประกอบในการทำขนมอบขนม อบข้าวแช่ (แต่ไม่ได้ระบุว่าใช้ส่วนใด)[10]
- แพทย์ตามชนบทใช้บำบัดรักษาโรคได้เช่นเดียวกับกระดังงาไทย[5]
- นิยมใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วประเทศ โดยใช้ตามสวย มุมอาคาร หรือปลูกเป็นกลุ่มแบบ 3 ต้นขึ้นไป เพื่อใช้เป็นฉากหรือบังสายตา ดอกมีกลิ่นหอมแรงในช่วงเช้าและเย็น สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี การปลูกและการดูแลรักษาทำได้ง่าย ไม่ค่อยมีโรคและแมลงมารบกวน อีกทั้งยังเป็นพันธุ์ไม้ที่มีราคาไม่แพงและให้ดอกมากอีกชนิดหนึ่ง จึงเหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มปลูกพันธุ์ไม้หอมมือใหม่ที่ไม่ควรมองข้าม[3],[6]
ที่มา http://www.greenerald.com/กระดังงาสงขลา/
โดย: Metha เวลา: 2014-2-1 10:55
กรรณิการ์ สรรพคุณและประโยชน์ของต้นกรรณิการ์ 34 ข้อ
ลักษณะของกรรณิการ์- ต้นกรรณิการ์ จัดเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็กไม่ผลัดใบ มีเรือดยอกเป็นรูปทรงพีระมิดแคบ มีความสูงของต้นประมาณ 3-5 เมตร เปลือกของลำต้นมีลักษณะขรุขระและเป็นสีน้ำตาลกิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยมสี่เหลี่ยม และมีขนแข็งสากมือ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง หรือการปักชำกิ่งเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่ระบายน้ำได้ดี มีความชื้นปานกลาง แสงแดดแบบเต็มวันและครึ่งวัน หากปลูกในที่แห้งแล้งจะออกดอกน้อย โดยจะออกดอกในช่วงประมาณเดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายน แต่สามารถออกดอกได้ตลอดปีหากมีฝน หรือได้รับการตัดแต่งและมีการให้น้ำอย่างเหมาะสม[1],[2],[5],[6],[7]


- ใบกรรณิการ์ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ มีความกว้างประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นบางใบจะหยักแบบห่างๆ กัน และจามขอบใบอาจมีขนแข็งๆ หลังใบมีขนแข็งสากมือ ส่วนท้องใบมีขนแข็งสั้นๆ มีเส้นแขนงของใบข้างละ 3-4 เส้น ปลายเส้นจรดกันก่อนถึงขอบใบ และมีก้านใบสั้น ยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร[1],[4]

- ดอกกรรณิการ์ ออกดอกเป็นช่อ ออกตามซอกใบหรือง่ามใบ ก้านช่อดอกยาวประมาณ 1.2-2 เซนติเมตร มีใบประดับรูปคล้ายใบเล็กๆ อยู่ 1 คู่ที่ก้านช่อดอก ในแต่ละช่อดอกจะมีดอกอยู่ประมาณ 3-7 ดอก ดอกเป็นดอกย่อยสีขาว และมีกลิ่นหอม ดอกจะบานในช่วงเย็นและจะร่วงในช่วงเช้าวันรุ่งขึ้น ไม่มีก้านดอก ในแต่ละดอกจะมีใบประดับอยู่ 1 ใบ ดอกตูมมีกลีบดอกเรียงซ้อนกันและบิดเป็นเกลียว กลีบดอกมีประมาณ 5-8 กลีบ ปลายกลีบดอกเว้า ส่วนโคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดแบบสีแสดสั้นๆ ยาวประมาณ 1.1-1.3 เซนติเมตรด้านในมีขนยาวๆ สีขาวที่โคนหลอด ส่วนด้านนอกเกลี้ยง ที่ปลายหลอดแยกเป็นกลีบสีเขียว หรือที่เรียกว่ากลีบดอก ประมาณ 5-8 กลีบ ในแต่ละกลีบจะมีความยาวประมาณ 0.1-1.1 เซนติเมตร โคนกลีบแคบ ปลายกลีบกว้างและเว้าลึก ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวน 2 อัน ติดอยู่ภายในหลอด กลีบดอกบริเวณปากหันด้านหน้าเข้าหากัน มีก้านชูอับเรณูเชื่อมติดเป็นเนื้อเดียวกันกับหลอดดอก ส่วนรังไข่จะอยู่เหนือวงกลีบ มีลักษณะกลม มีอยู่ 2 ช่อง และมีออวุลช่องละ 1 เม็ด ส่วนเกสรเพศเมียจะมีแค่ 1 อัน ยอดเกสรเพศเมียมีลักษณะเป็นตุ่มมีขน และยังมีกลีบเลี้ยงดอกสีเขียวอ่อนอยู่ 4 กลีบ ติดกันเป็นหลอดรูปกรวยปลายติดหรือหยักตื้นๆ 5 หยัก ด้านในเกลี้ยง ส่วนด้านนอกมีขน[1],[2],[4]


- ผลกรรณิการ์ ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่กลับหรือมีลักษณะเป็นรูปทรงกลมค่อนข้างแบน ปลายผลเป็นมนและมีติ่งแหลม ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ผิวผลเรียบผลอ่อนเป็นสีเขียว ผลเมื่อแก่จะแตกอ้าออกเป็น 2 ซีก ข้างในผลมีเมล็ดซีกละหนึ่งเมล็ด เมล็ดมีลักษณะกลมแบนและเป็นสีน้ำตาล[1],[5],[8]

สรรพคุณของกรรณิการ์- รากมีรสขมฝาด ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ (ราก)[1],[2],[3],[4],[6]
- แก้วาโยกำเริบเพื่ออากาศธาตุ (ราก)[6]
- ช่วยบำรุงหัวใจ (ดอก)[6]
- รากใช้เป็นยาบำรุงกำลัง (ราก)[1],[2],[3],[4]
- ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย (ราก)[6]
- ช่วยแก้โลหิตตีขึ้น (ดอก)[6]
- ใบมีรสขม ช่วยทำให้เจริญอาหาร ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 1 กำมือ เติมน้ำคั้นลงไปแล้วคั้นเอาแต่น้ำ1 ถ้วยแก้ว ใช้แบ่งรับประทาน 4 ครั้ง ถ้ากินมากจะมีฤทธิ์เป็นยาระบาย (ใบ)[1],[2],[4],[6]
- ช่วยแก้ตานขโมย (ใบ)[6]
- ช่วยบำรุงเส้นผม แก้เส้นผมหงอก ด้วยการใช้ใบ (ไม่แน่ใจว่าใช่ใบหรือไม่) นำไปแช่กับน้ำมันมะพร้าวประมาณ 1-2 คืน ก็จะได้น้ำมันที่มีสีเหลืองอ่อนๆ สำหรับนำมาใช้ทาหมักผมก่อนนอน จะช่วยป้องกันผมหงอกก่อนวัยได้ (ราก)[1],[2],[4],[6]
- ช่วยบำรุงผิวหนังให้สดชื่น (ราก)[1],[2],[4],[6]
- เปลือกมีรสขมเย็น ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปวดศีรษะ ส่วนต้นก็มีสรรพคุณแก้ปวดศีรษะเช่นกัน (ต้น,เปลือก)[1],[2],[3],[4],[6]
- ดอกมีรสขม สรรพคุณช่วยแก้ลมวิงเวียน (ดอก)[1],[2],[4],[5],[6]
- ช่วยแก้ลมและดี (ราก)[4],[6]
- ต้นมีรสหวานเย็นฝาดใช้เป็นยาแก้ไข้ ส่วนใบและดอกก็มีสรรพคุณแก้ไข้เช่นกัน (ต้น,ใบ,ดอก)[1],[2],[3],[4],[5],[6]
- ใบช่วยแก้ไข้เพื่อดี และแก้ไข้จับสั่นชนิดจับวันเว้นวัน (ใบ)[6]
- ดอกใช้เป็นยาแก้ไข้มิรู้สติสมปฤดี เป็นไข้บาดทะจิต แก้ไข้ผอมเหลือง (ดอก)[6]
- รากมีสรรพคุณช่วยแก้อาการไอ (ราก)[1],[2]
- แพทย์ชนบทในสมัยก่อนจะใช้ต้นและรากกรรณิการ์ นำมาต้มหรือฝนรับประทานเป็นยาแก้อาการไอสำหรับสตรีหลังคลอดบุตรใหม่ๆ (ต้น,ราก)[6]
- ช่วยแก้ตาแดง (ดอก)[6]
- ช่วยแก้อาการปวดท้อง (ใบ)[6]
- ช่วยแก้อาการท้องผูก (ราก)[1],[2],[3]
- ใบใช้เป็นยาระบาย (ใบ)[6]
- ช่วยแก้อุจจาระเป็นพรรดึก (ราก)[1],[2],[4],[6]
- ในอินเดียใช้ใบเป็นยาขับพยาธิ (ใบ)[6]
- ในประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ใช้ดอกเป็นยาขับประจำเดือน (ดอก)[6]
- ใบใช้เป็นยาบำรุงน้ำดี ขับน้ำดี (ใบ)[1],[2],[3],[4],[5],[6]
- ช่วยแก้อาการปวดตามข้อ (ต้น,ใบ)[1],[2],[6]
- ดอกใช้เป็นยาแก้พิษทั้งปวง (ดอก)[6]
ที่มา http://www.greenerald.com/กรรณิการ์/
ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/) |
Powered by Discuz! X3.2 |