Baan Jompra
ชื่อกระทู้: พระพุทธรูปปางนาคปรก [สั่งพิมพ์]
โดย: Metha เวลา: 2014-1-10 18:08
ชื่อกระทู้: พระพุทธรูปปางนาคปรก
พระพุทธรูปปางนาคปรก
ปางนาคปรก เป็นชื่อเรียกพระพุทธรูปลักษณะนั่งสมาธิ และมีพญานาคแผ่หัวเป็นพังพานขึ้นจากไหล่ไปปรกพระเศียรของพระพุทธรูป แต่เดิมทำเป็นรูปพญานาคเป็นมนุษย์ มีรูปงู 7 หัวเป็นพังพานขึ้นจากไหล่ไปปรกพระเศียร (ศีรษะ) ในกิริยาที่พญานาคทำท่านมัสการพระพุทธเจ้า ต่อมาภายหลังทำพญานาคเป็นรูปงูขดตัวเป็นฐานตั้งพระพุทธรูปนั่งสมาธิบนตัวพญานาค และมีพังพานและหัวของพญานาค 7 เศียรปรกอยู่
โดย: Metha เวลา: 2014-1-10 18:08
ประวัติ[แก้]หลังจากที่พระพุทธโคตมได้ทรงตรัสรู้ พระพุทธองค์ได้แปรที่ประทับเพื่อเสวยวิมุติสุขยังสถานที่ต่างๆ ในอาณาบริเวณที่ไม่ห่างจากต้นพระศรีมหาโพธิ์นักโดยประทับแต่ละที่สัปดาห์ละ 7 วัน และในสัปดาห์ที่ 6 ในขณะที่พระพุทธองค์ทรงประทับ ณ ใต้ต้นมุจลินท์ (ต้นจิก) ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ เมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาประทับอยู่ที่นี่ ได้บังเกิดมีฝนและลมหนาวตกพรำตลอดเจ็ดวันไม่ขาดสาย ผู้รจนาปฐมสมโพธิได้แต่งเล่าเรื่องไว้ว่า พญานาคชื่อ มุจลินทร์ ได้ขึ้นจากสระน้ำที่อยู่ในบริเวณแห่งเดียวกันนี้ เข้าไปวงขนด 7 รอบ แล้วแผ่พังพานปกพระพุทธเจ้า เพื่อป้องกันลมฝนมิให้พัดและสาดกระเซ็นมาต้องพระวรกาย ครั้นฝนหาย ฟ้าสาง พญานาคจึงคลายขนดออก แล้วจำแลงเป็นเพศมาณพยืนเฝ้าพระพุทธเจ้าทางเบื้องพระพักตร์ ลำดับนั้นพระพุทธองค์จึงทรงเปล่งอุทานว่า | ความสงัดคือความสุขของบุคคลผู้มีธรรมอันได้สดับแล้วได้รู้เห็นสังขารทั้งปวงตามเป็นจริงอย่างไร ความสำรวมไม่เบียดเบียนในสัตว์ทั้งหลาย และ ความเป็นผู้ปราศจากกำหนัดหรือสามารถก้าวล่วงพ้นซึ่งกามทั้งปวงเสียได้ เป็นสุขอันประเสริฐในโลก ความขาดจากอัสมิมานะหรือการถือตัวตนหากกระทำให้ (การถือตัว) หมดสิ้นไปได้นั้นเป็นความสุขอย่างยิ่ง
| |
— พระพุทธโคตม |
ความสำคัญ[แก้]ครั้นพระพุทธองค์เสด็จประทับเสวยวิมุตติสุข ณ ร่มไม้อชปาลนิโครธสิ้น ๗ วัน แล้วพระองค์ก็เสด็จไปประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขยังร่มไม้จิก อันมีชื่อว่า มุจจลินท์ ซึ่งตั้งอยู่ด้านทิศอาคเนย์ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ วันนั้นเกิดฝนตกพรำอยู่ไม่ขาดสายตลอด ๗ วัน พญานาคมุจจลินท์ ผู้เป็นราชาแห่งนาค ได้ออกจากนาคพิภพ ทำขนดล้อมพระวรกาย ๗ ชั้น แล้วแผ่พังพานใหญ่ปกคลุมเบื้องบน เหมือนกั้นเศวตฉัตรถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยความประสงค์มิให้ฝนและลมหนาวสาดต้องพระวรกาย ทั้งป้องกันเหลือบ ยุง บุ้ง ร่าน ริ้น และสัตว์เลื้อยคลานทั้งมวลด้วย ครั้งฝนหายแล้ว พญามุจจลินท์นาคราช จึงคลายขนดจากที่ล้อมพระวรกาย พระพุทธเจ้า จำแลงเพศเป็นมาณพน้อยยืนทำอัญชลีถวายนมัสการพระพุทธองค์ ในที่เฉพาะพระพักตร์ ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานว่า สุโข วิเวโก ตุฏฺฐัสสะ สุตะธัมมัสสะ ปัสสะโต อัพยาปัชชัง สุขัง โลเก ปาณะภูเตสู สัญญะโม สุขา วิราคะตา โลเก กามานัง สะมะติกฺกะโม อัสมิมานัสสะ วินะโย เอตัง เว ปะระมัง สุขัง ฯ ความว่า ความสงัดเป็นสุขของบุคคลผู้มีธรรมอันได้สดับแล้ว รู้เห็นสังขารทั้งปวงตามเป็นจริงอย่างไร ความเป็นคนไม่เบียดเบียน คือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย และความเป็นคนปราศจากความกำหนัด คือความก้าวล่วงกามทั้งปวงเสียได้ เป็นสุขในโลกความนำออกเสียซึ่งอัสมินมานะ คือความถือตัวตนให้หมดได้นี้เป็นสุขอย่างยิ่ง พระพุทธจริยาที่เสด็จประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข ภายในวงขนดของพญานาคมุจจลินท์นาคราชที่ขดแวดล้อมพระกายอยู่นี้ เป็นเหตุให้สร้างพระพุทธรูปปางนี้ขึ้นมา เรียกว่า ปางนาคปรก เรื่องพระปางนาคปรกนี้ นิยมสร้างเป็นพระนั่งบนขนดตัวพญานาคเหมือนเอานาคเป็นบัลลังก์ดูสง่า องอาจเป็นพระเกียรติอำนาจของพระองค์อย่างหนึ่ง ได้ลักษณะเป็นอย่างพระเจ้าของพราหมณ์ ถ้าจะรักษาลักษณะของพระพุทธรูปตามประวัติ ก็จะเป็นไปอีกในลักษณะหนึ่งคือ พระพุทธรูปจะมีพญานาคพันรอบพระวรกายด้วยขนดตัวพญานาคถึง ๔-๕ ชิ้น จนบังพระวรกายมิดชิด เพื่อป้องกันฝนและลม จะเห็นได้ก็เพียงพระเศียร พระศอ และพระอังสาเป็นอย่างมาก ทั้งเบื้องบนก็มีหัวพญานาคแผ่พังพานปกคลุมอีกด้วย
ความเชื่อและคตินิยม[แก้]- เป็นพระพุทธรูปประจำวันเกิดของคนเกิดวันเสาร์
- พระคาถาบูชา สวด 10 จบ (องคุลีมาลปริตร) ดังนี้ "ยะโตหัง ภะคินิ อะริยายะ ชาติยา ชาโต นาภิ ชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตา เตนะ สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ โสตถิ คัพภัสสะ"
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/พระพุทธรูปปางนาคปรก
โดย: Metha เวลา: 2014-1-10 18:10
ปางนาคปรก
พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ หงายพระหัตถ์ทั้งสองวางซ้อนกันบนพระเพลา มีพญานาคแผ่พังพานปกคลุมเบื้องบนพระเศียร บางแห่งสร้างเป็นแบบขัดสมาธิเพชร
พระนาคปรกนี้มี ๒ แบบ คือ แบบหนึ่งประทับนั่งสมาธิบนขนดพญานาค แบบหนึ่งประทับนั่งสมาธิภายในวงขนดพญานาค คือพญานาคขดตัวล้อมพระกายไว้ถึงพระอังสา เพื่อป้องกันลมฝนตามตำนาน
พระพุทธรูปปางนี้ มีตำนานดังนี้
เมื่อเสด็จประทับเสวยวิมุติสุข ณ ร่มไม้ อชปาลนิโครธ ๗ วันแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จไปประทับนั่งเสวยวิมุติสุขยังร่มไม้จิก ชื่อว่า มุจจลินท์ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศอาคเนย์ของต้นมหาโพธิ์นั้น.
บังเอิญในวันนั้น เกิดมีฝนตกพรำอยู่ไม่ขาดสายตลอด ๗ วัน พญามุจจลินท์นาคราชออกจากพิภพ ทำขนดล้อมพระวรกาย ๗ ชั้น แล้วแผ่พังพานใหญ่ปกคลุมเบื้องบน เหมือนกั้นเศวตรฉัตรถวายพระผู้มีพระภาคด้วยความประสงค์มิให้ฝนและลมหนาวสาดต้องพระวรกาย ทั้งป้องกันเหลือบยุง บุ้ง ร่านริ้น และสัตว์เลื้อยคลานทั้งมวลด้วย.
ครั้นฝนหายขาดแล้ว พญามุจจลินท์นาคราชจึงคลายขนดจากที่ล้อมพระวรกายพระผู้มีพระภาคเจ้า จำแลงเพศเป็นมาณพน้อย ยืนทำอัญชลีถวายนมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้าในที่เฉพาะพระพักตร์.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงเปล่งอุทานว่า :-
สุโข วิเวโก ตุฏฺฐสฺส สุตธมฺมสฺส ปสฺสโต
อพฺยาปชฺชํ ลุขํ โลเก ปาณภูเตสุ สญฺญโม
สุขา วิราคตา โลเก กามานํ สมติกฺกโม
อสฺมิมานสฺส วินโย เอตํ เว ปรมํ สุขํ.
ความว่า ความสงัดเป็นสุขของบุคคลผู้มีธรรมอันได้สดับแล้ว รู้เห็นสังขารทั้งปวงตามเป็นจริงอย่างไร ความเป็นคนไม่เบียดเบียน คือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย และความเป็นคนปราศจากความกำหนัด คือความก้าวล่วงกามทั้งปวงเสียได้ เป็นสุขในโลก ความนำออกเสียซึ่งอัสมิมานะ คือความถือตัวตนให้หมดได้นี้ เป็นสุขอย่างยิ่ง
พระพุทธจริยาที่เสด็จประทับนั่งเสวยวิมุติสุข ภายในวงขนดของพญามุจจลินท์นาคราชที่ขดแวดวงพระกายอยู่นี้ เป็นเหตุให้สร้างพระพุทธรูปอีกปางนี้ เรียกว่า "ปางนาคปรก" ดังนั้นพระพุทธรูปปางนี้ จึงอยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ หงายพระหัตถ์ทั้งสองวางซ้อนกันบนพระเพลาที่นิยมสร้างชนิดนั่งสมาธิแบบพระมารวิชัยก็มี มีพญานาค ๗ หัว แผ่พังพานปกคลุมเบื้องบนพระเศียรเพื่อป้อง ลม ฝน ตามเรื่อง
เรื่องพระนาคปรกนี้ นิยมสร้างเป็นพระนั่งบนขนดตัวพญานาคเหมือนเอานาคเป็นบัลลังก์ดูสง่า องอาจเป็นพระเกียรติอำนาจของพระพุทธเจ้าอย่างหนึ่ง ได้ลักษณะเป็นอย่างพระเจ้าของพวกพราหมณ์ ลางทีจะเอาแบบลัทธิพราหมณ์มาสร้างก็ได้ แต่ลักษณะนี้ ดูจะป้องกัน ลม ฝน ไม่ได้ ไม่สมกับเรื่องที่พญานาคมาแวดวงขนดรอบพระกายเพื่อป้องกันลมฝนถวาย
ถ้าจะรักษาลักษณะของพระพุทธรูปตามเรื่องนี้ ก็จะเป็นลักษณะอีกอย่างหนึ่งคือ พระพุทธรูปจะมีพญานาคพันรอบพระกายด้วยขนดตัวพญานาค ๔-๕ ชั้น จนบังพระกายมิดชิด เพื่อป้องกัน ลม ฝน จะเห็นแต่พระเศียร พระศอ และพระอังษา เป็นอย่างมาก ทั้งเบื้องบน ก็จะมีหัวพญานาคแผ่พังพานปกคลุมอีกด้วย ขอให้ดูพระพุทธรูปปางนาคปรก ในหนังสือพุทธประวัติทัศนศึกษาที่ถ่ายมาจากโบสถ์พระแก้ว ในพระบรมมหาราชวังเป็นตัวอย่างเถิด จะเห็นเป็นจริงตามลักษณะของเรื่องนี้ มิใช่อย่างที่นิยมสร้างกันอยู่ในบัดนี้ หากแต่รูปแบบนี้ไม่งาม ถ้าคนที่ไม่ทราบเรื่องมาก่อนอาจเห็นไปว่าพระถูกพญานาครัดจะกลืนกินก็ได้ แต่คนไม่รู้แล้วไม่เรียนให้รู้ เราก็จะช่วยอะไรไม่ได้เหมือนกัน.
พระพุทธรูปปางนาคปรกนี้ นิยมสร้างเป็นพระพุทธรูปที่สักการบูชาประจำวัน ของคนเกิดวันเสาร์.
ข้อมูลจากหนังสือ "ตำนานพระพุทธรูปปางต่าง ๆ" นิพนธ์ของ พระพิมลธรรม ราชบัณฑิต (ชอบ อนุจารีมหาเถร)
ที่มา http://www.onab.go.th/index.php? ... 5-34&Itemid=279
โดย: Metha เวลา: 2014-1-10 19:34
พระพุทธรูปปางนาคปรก วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ ( นั่ง ) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองวางหงายซ้อนกันบนพระเพลา ( ตัก ) พระหัตถ์ขวาซ้อนทับพระหัตถ์ซ้าย เหมือนปางสมาธิ แต่มีพญานาค ขดร่างเป็นวงกลมเป็นพุทธบัลลังก์ และแผ่พังพานปกคลุมอยู่เหนือพระเศียร
ความเป็นมาของปางนาคปรก
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จออกจากใต้ร่มไทร เสด็จประทับที่ใต้ต้นมุจลินท์ ( ต้นจิก ) ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ ฝนเจือลมหนาวตกพรำอยู่ตลอดเวลา ๗ วันไม่ขาดสาย พญานาคราชชื่อมุจลินท์ ราชาแห่งนาคพิภพได้ขึ้นมาจากบาดาล ขนดกายเป็นพุทธบัลลังก์ แล้วแผ่พังพานเหมือนกั้นเศวตฉัตรถวายพระพุทธองค์ ปกป้องมิให้ลมฝน ยุง เหลือบ ริ้น ไร และสัตว์เลื้อยคลานมาต้องพระวรกาย เมื่อฝนหยุด พญานาคราชจึงจำแลงกายเป็นชายหนุ่มมาถวายนมัสการต่อพระพุทธองค์
ที่มา http://www.itti-patihan.com/พระพุทธรูปปางนาคปรก.html
โดย: Metha เวลา: 2014-1-10 19:36
พระปางนาคปรกปางมหานาค องค์ใหญ่ที่สุดในโลก
พระพุทธรูปปางนาคปรก ปางมหานาคประมาณช่วงฤดูร้อนของปี พ.ศ. ๒๕๔๑ หลวงปู่หลวงได้มีโอกาสไปพักผ่อนภาวนาที่น้ำตกแจ้ซ้อน อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน อ.เมืองปาน จ.ลำปาง โดยไปพักอยู่ที่สวนของลูกศิษย์คนหนึ่ง อากาศที่แจ้ซ้อนเย็นสบายมาก วันหนึ่งหลวงปู่บอกว่า “ได้นิมิตว่าเทวดามาบอกให้สร้างพระพุทธรูปปางนาคปรกองค์ใหญ่ โดยเอาเลข ๙ ขึ้นหน้า ให้สร้างไว้บนภูเขาใน จ.ลำปาง เมื่อสร้างเสร็จแล้วเมืองลำปางจะอุดมสมบูรณ์”
ด้วยเหตุนี้หลวงปู่หลวง กตปุญโญ จึงมีดำริโครงการที่จะสร้าง “พระพุทธรูปปางนาคปรก” องค์ใหญ่ ขนาดหน้าตักกว้าง ๙.๙๙ เมตร สูง ๒๘ เมตร เพื่อปกป้องคุ้มครอง แล้วนำไปประดิษฐานไว้ ณวัดคีรีสุบรรพต (วัดสามัคคีบุญญาราม) บ้านทุ่งสามัคคี ต.พระบาท อ.เมือง จ.ลำปาง
ปัจจุบัน สำนักสงฆ์คีรีสุบรรพต ได้รับการยกฐานะขึ้นให้เป็นวัดอย่างถูกต้องสมบูรณ์แล้ว ต่อมา วัดคีรีสุบรรพต ได้เปลี่ยนชื่อวัดใหม่โดยมีชื่อทางราชการว่า วัดสามัคคีบุญญาราม
เมื่อออกพรรษาในปี พ.ศ. ๒๕๔๑ แล้ว จึงได้ปรับปรุงเตรียมพื้นที่และได้ทำการประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เพื่อทำการก่อสร้างพระพุทธรูปปางนาคปรกองค์ใหญ่ โดยหลวงปู่หลวงได้มอบหมายงานทุกอย่างให้กับ พระเทพวิสุทธิญาณ (ท่านพระอาจารย์ไพบูลย์ สุมงฺคโล) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระปัญญาพิศาลเถร แห่งวัดอนาลโยทิพยาราม ต.สันป่าม่วง อ.เมือง จ.พะเยา เป็นผู้ควบคุมดูแลทั้งในเรื่องการเขียนแบบแปลน การจัดหาช่างมาก่อสร้าง ซึ่งงานนี้เป็นงานที่สำคัญมาก โครงสร้างจะต้องแข็งแรงมั่นคงทำให้คำนวณแบบแปลนยาก กระทั่งเป็นเหตุทำให้งานก่อสร้างได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕๔๕ นี้เอง ซึ่งการก่อสร้างได้ดำเนินการไปเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง โดยใช้งบประมาณกว่า ๒๐ ล้านบาทโดยประมาณ ในที่สุดการดำเนินการก่อสร้างก็สำเร็จสมบูรณ์เป็นที่เรียบร้อย และได้มีการจัดงานฉลองสมโภช “พระพุทธรูปปางนาคปรก” องค์นี้ขึ้นเมื่อวันเสาร์-วันอาทิตย์ที่ ๒๔-๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นเวลา ๒ วัน ณ วัดคีรีสุบรรพตhttp://www.facebook.com/#!/profile.php?id=100003726340235
เขียนโดย วัดสามัคคีบุญญาราม (วัดดอยหลวงปู่หลวง)ที่ 22:00
ที่มา http://watsamakeeboonyaram.blogspot.com/2012/04/blog-post.html
โดย: Metha เวลา: 2014-1-10 19:59
พระพุทธรูปปางนาคปรกแบบศิลปะไทย เดินกลับเข้าทางเดินอีกครั้งหลังจากเข้าวิหารพระหมื่นปี เห็นพระพุทธรูปปางนาคปรกขนาดใหญ่มากองค์หนึ่งในวัดอนาลโยทิพยาราม สร้างด้วยศิลปะแบบไทยและใช้สีสันที่สวยงาม
ที่มา http://www.touronthai.com/วัดอนาลโยทิพยาราม-7000017.html#.Us_uakQ1OYA
โดย: oustayutt เวลา: 2014-1-10 20:08
metha ตอบกลับเมื่อ 2014-1-10 19:59
พระพุทธรูปปางนาคปรกแบบศิลปะไทย เดินกลับเข้าทางเดิ ...
สวยงาม
โดย: Metha เวลา: 2014-1-10 20:10
พระปางนาคปรก ..เมืองลาว
ที่มา http://talongirls.blogspot.com/2005/12/3012_30.html
โดย: Metha เวลา: 2014-1-10 20:25
กฟผ.ลำตะคอง
ที่มาhttp://www.bloggang.com/m/viewdi ... oup=13&gblog=23
โดย: Metha เวลา: 2014-1-10 20:37
พระพุทธรูปปางนาคปรก ด้านข้างพระอุโบสถ
วัดพระศรีมหาธาตุ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร สร้างเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๘๓ ตั้งอยู่ริมถนนพหลโยธิน ตรงหลักกิโลเมตรที่ ๑๘ ตำบลอนุสาวรีย์ (เดิมชื่อตำบลกูบแดง) อำเภอบางเขน กรุงเทพมหานคร
ที่มาhttp://moohin.in.th/trips/bangkok/watphrasri/
โดย: Metha เวลา: 2014-1-10 21:29
วัดป่าภูผาสวรรค์ ต.นาสีนวน อ.เมือง จ.มุกดาหาร
โทร ๐๘-๗๙๔๕-๔๖๒๒
ที่มา http://www.pranippan.com/new/board/index.php?showtopic=1370
โดย: Metha เวลา: 2014-1-12 01:05
ประวัติความเป็นมาของ หลวงพ่อนาคปรก พระประธานในวิหาร วัดนาคปรก
ประวัติความเป็นมาของวัดนาคปรกนั้น เป็นวัดที่ตั้งอยู่ ณ ถนนเทอดไทย ตำบลปากคลอง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร เป็นวัดราษฎร์ สร้างขึ้นในช่วงรัตนกสินทร์ตอนต้น ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 มีเนื้อที่วัดประมาณ 12 ไร่เศษ ผู้สร้างคือ เจ้าสัวพุก ชาวจีนพ่อค้าสำเภา ซึ่งตามพระยาโชฎึกราชเศษฐี เข้ามาทำมาค้าขายโดยจอดท่าเรือสำเภาไว้ที่คลองสานใกล้ๆ สุเหร่าแขก และต่อมาได้ภรรยาเป็นคนไทยเจ้าสัวพุกเป็นผู้มีความเลื่อมใสในบวรพุทธศาสนา มีศรัทธาแรงกล้าในการจะสร้างวัดขึ้น ณ ที่ใกล้วัดนางชีอันเป็นพระอารามหลวง ซึ่งพระยาโชฎึกราชเศรษฐีเป็นผู้ถวายการบูรณะปฏิสังขรณ์ตามพระราชประสงค์ของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 สำหรับนามของวัดนี้ มาจากพระนามของพระพุทธรูปหนึ่งในจำนวน 2 องค์
โดย: Metha เวลา: 2014-1-12 01:06
ซึ่งเป็นพระประธานประจำพระวิหาร พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก อันปรากฏในพระพุทธประวัติว่า เมื่อครั้งเสด็จนั่งเสวยวิมุติสุขยังร่มไม้จิก ได้บังเกิดฝนตกพรำอยู่ตลอด 7 วันในครั้งนั้นพญามุจลินท์นาคราชออกจากนาคภพมาทำขนดล้อมพระวรกาย 7 ชั้น แล้วแผ่พังพานปกคลุมเบื้องบนเพื่อป้องกันลมและพายุฝนไม่ให้ซัดสาดมาต้องพระวรกายพระพุทธรูปปางนาคปรกนี้ นิยมสร้างเป็นพระประจำวันของผู้ที่เกิดวันเสาร์ เข้าใจว่าภรรยา ของเจ้าสัวพุกคงจะเกิดในวันนี้ นอกจากนั้นภาพจิตรกรรมภายในวิหารยังเป็นลายไทย ส่วนภายในพระอุโบสถมีภาพเขียนสีเป็นลายจีน และท่านผู้สร้างก็เป็นผู้ที่มีปฏิสัมภิทาและบุคลาธิษฐาน ซึ่งหยิบยกสิ่งที่เป็นรูปธรรมขึ้นมาเป็นหลักในการอธิบายสังเกตได้จากการที่สร้างพระวิหารไว้ทางทิศเหนือ และพระอุโบสถไว้ทางทิศใต้ องค์พระหันไปทางทิศตะวันออก เปรียบเสมือนผู้หญิงอยู่ทางซ้าย ผู้ชายอยู่ทางขวาวัดนาคปรก
โดย: Metha เวลา: 2014-1-12 01:14
วัดศรีคุณเมือง
ประวัติความเป็นมา
วัดศรีคุณเมือง ตั้งวัด เมื่อ พ.ศ. ๒๑๙๙ โดยมีหัวครูบุตรดีเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ร่วมกันพระยาอุนุพินาก เป็นประธานฝ่ายฆราวาส นำชาวบ้านสร้างวัดขึ้นพร้อมการตั้งบ้านเมือง จึงเป็นวัดเก่าแก่ชาวบ้านเรียกว่าวัดใหญ่ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๒๒๐ การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ พระครูสิริกัลยาณวัตร ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๑ เป็นต้นมาการศึกษามีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอน พ.ศ. ๒๔๘๐ ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เปิดสอน พ.ศ. ๒๕๓๕
ที่ตั้ง
วัดศรีคุณเมือง ตั้งอยู่เลขที ๓๗๕ บ้านเชียงคาน ถนนชายโขง หมู่ที่ ๑ ตำบลเชียงคาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๕ ไร่ ๑ งาน ๑๒ ตารางวา โฉนด เลขที่ ๓๒๙ อาณาเขต ทิศเหนือประมาณ ๒ เส้น ๒ วา ๒ ศอก จดถนนชายโขง ทิศใต้ประมาณ ๒ เส้น ๘ วา ๒ ศอก จดที่ประชาชน ทิศตะวันออกประมาณ ๒ เส้น ๑๐ วา ๒ ศอก จดทางสาธารณประโยชน์ ทิศตะวันตก ประมาณ ๒ เส้น ๙ วา ๑ ศอก จดทางสาธารณประโยชน์ มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน ๓ แปลง โฉนด เลขที่ ๙๗๘๑๑๙๗๔๑๓๖
อาคารเสนาสนะ
อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ อาการก่ออิฐถือปูน สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๐ ศาลาการเปรียญ อาคารไม้ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗ กุฎิสงฆ์ ๕ หลัง ศาลาอเนกประสงค์ อาคารไม้สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓ ปูชนียวัตถุมีพระประธาน หน้าบันพระอุโบสถและลวดลายไม้งดงาม ฝาผนังเขียนด้วยช่างสมัยโบราณเป็นศิลปะลาว พระพุทธรูปยืนชนิดไม้ทาน้ำทอง ธรรมาสน์ไม้สักแกะสลักลายประดับกระจกสี พระพุทธรูปไม้ปางประทานพร หินศิลาจารึก พระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์
ที่มา http://202.12.97.23/main/esanart ... %20Srikunmaung.html
โดย: Metha เวลา: 2014-1-12 01:16
ที่มา http://m.touronthai.com/placeview.php?place_id=15000002
โดย: Metha เวลา: 2014-1-12 01:18
พระพุทธปฏิมากรนาคปรกขนาดใหญ่ ในซุ้มมณฑปรูปทรงสูง ภายในวัดพราหมณ์ไปรลอเวง
ที่มา http://www.oknation.net/blog/voranai/2012/07/18/entry-1
โดย: Metha เวลา: 2014-1-12 01:20
หลวงพ่อศิลาเป็นชื่อของพระพุทธรูปปางนาคปรก ที่น่าจะมีชื่อเรียกมาจากวัสดุที่ใช้ทำองค์พระซึ่งแกะสลักมาจากหินทรายสีขาวนวล ในทางพุทธศิลปแล้วถ้าได้มีโอกาสไปนั่งเพ่งดูหรือจะพิศดู ก็จะได้เห็นถึงความงดงามขององค์พระ มีอายุอยู่ในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 – 17 หรือเมื่อประมาณ 800 กว่าปีก่อนนั้น
ที่มาhttp://www.oknation.net/blog/exit/2010/01/08/entry-1
โดย: Metha เวลา: 2014-1-12 01:22
พระพุทธรูปอุทิศพระราชกุศลถวายเจ้าทองจันทร์
(ปางนาคปรก)
ศิลปะ : แบบรัตนโกสินทร์ รัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พุทธศักราช ๒๓๖๗-๒๓๙๔
ขนาด : หน้าตักกว้าง ๘ เซนติเมตร สูงเฉพาะองค์พระ ๑๐.๙๐ เซนติเมตร
สูงจากฐานถึงยอดเศียรนาค ๒๐ เซนติเมตร
วัสดุ : ทองแดง
ปัจจุบัน : ประดิษฐานภายใน หอราชกรมานุสร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
พุทธลักษณะ : เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งแบบวีราสนะ แสดงปางนาคปรกโดยพระหัตถ์ทั้งข้างวางหงายช้อนบนพระเพลา กับทั้งมีรูปพญานาค ๕ เศียรขดล้อมองค์พระพุทธรูปเกือบถึงระดับพระอุระและแผ่พังพานเหนือพระเศียร พระพุทธรูปมีพักตร์ค่อนข้างเป็นวงรี พระนลาฏค่อนข้างแคบ พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์เรียว พระกรรณยาว พระเศียรประกอบด้วยเม็ดพระศกเป็นตุ่มแหลมมีเกตุมาลาและรัศมีเป็นรูปเปลวไฟ องค์พระพุทธรูปครองอุตราสงค์ห่มเฉียงเรียบเปิด พระอังสาขวามีชายอุตรสงค์ช้อนทับเหนือพระอังสาซ้ายห้อยยาวจรดพระนาภี ปลายเป็นลายเขี้ยวตะขาบ พระพุทธรูปประทับนั่งเหนือปัทมาสน์รูปกลมมีขนดนาคสามชั้นล้อมรอบสูงจนถึงระดับพระอุระ บริเวณคอของนาคด้านหน้าแต่ละเศียรเป็นลายดอกไม้หกกลีบ ส่วนด้านหลังเป็นลายดอกจันทน์ขนาดใหญ่เพียงดอกเดียว
ประวัติ : พระพุทธรูปทางนาคปรกองค์นี้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างขึ้น ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้หล่อฐานชั้นล่างแล้วให้กาไหล่ทอง เมื่อสำเร็จแล้วจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จารึกข้อความเพื่อทรงอุทิศพระราชกุศลถวายเจ้าทองจันทร์ (สมเด็จพระเจ้าทองลัน) * สยามรัชกาลที่ ๓ พระราชโอรสในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ ซึ่งได้ครอบครองราชสมบัติในกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยามหานคร แต่เพียง ๗ วันในจุลศักราช ๗๔๔ ปีจอ จัตวาศก (พุทธศักราช ๑๙๒๕)
สำหรับคติทางประติมานวิทยาของพระพุทธรูปปางนาคปรกในพุทธประวัติ กล่าวความว่าภายหลังที่ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ๔๒ วัน สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จไปประทับบำเพ็ญสมาบัติ เสวยวิมุตติสุขซึ่งเกิดแต่ความพ้นจากกิเลสวะอยู่ ณ ร่มไม้จิก (มุจลินทพฤกษ์) เป็นต้นอันอยู่ทางทิศตะวันออกของมหาโพธิพฤกษ์เป็นเวลา ๗ วัน มีพญานาคตนหนึ่งชื่อ มุจลินทนาคราช อาศัยอยู่ในสระใหญ่ใกล้ๆที่นั่น ขึ้นมาแสดงอิทธิฤทธิ์แผ่พังพานและวงขนดกายเป็น ๖ รอบ ล้อมพระพุทธองค์ไม่ให้ถูกต้องลมและฝนจนกระทั่งฝนหายจึงแปลงร่างเป็นมนุษย์เข้าไปเฝ้าสมเด็จพระบรมศาสดา ต่อจากนั้นพระพุทธเจ้าออกจากสมาบัติเสด็จดำเนินไปสู่ร่มไม้เกด (ราชายตนพฤกษ์) อันมีอยู่ทางทิศใต้ของไม้จิกต้นนั้น..
* ปัจจุบันเชื่อว่าเสวยราชสมบัติ ปีพุทธศักราช ๑๙๓๑
ที่มา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=40716
โดย: Metha เวลา: 2014-1-12 01:24
พระราชศรีสุมังค์หายโศก
ประดิษฐานที่อุโบสถวัดหายโศก บ้านลำภู อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู สันนิษฐานว่า เป็นพระพุทธรูปที่สร้างรุ่นเดียวกันกับ พระไชยเชษฐา วัดถ้ำสุวรรณคูหา และวัดศรีคูณเมือง สร้างประมาณปี พ.ศ. ๒๑๐๖ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่เจ้าเมืองและชาวเมืองเคารพนับถือมาก ใช้เป็นพระประธานในพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาและ ดื่มน้ำสาบาน
ที่มา http://nongbualamphu.go.th/web/data/culture/culture.htm
โดย: Metha เวลา: 2014-1-12 01:25
หลวงพ่อพระมงคลนิมิต พระประธานในวิหารอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก มีนามเป็นมงคล อำนวยอวยพรกับผู้ที่ศรัทธาในเรื่องหน้าที่การงาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเลื่อนขั้นหรือการสอบบรรจุ นอกจากนี้ในเรื่องของปัญหาในชีวิตที่ไม่ใช่เรื่องของวิบากกรรมก็สามารถมาขอหลวงพ่อท่านให้ช่วยบรรเทาได้
วัดมรุกขาราม
หมู่ 10 ตำบลพระกลางทุ่ง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม 48110
ที่มา http://www.marukkharam.com/newss/1740.html
โดย: oustayutt เวลา: 2014-1-12 19:56
สวยงามเจ้า
โดย: Metha เวลา: 2014-1-13 00:20
พระพุทธปฏิมากรนาคปรกในยุคแรกของวัฒนธรรมเขมร
จากจังหวัดพระตะบอง ศิลปะแบบบาปวน จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกัมพูชา
ที่มา http://www.oknation.net/blog/voranai/2012/07/18/entry-1
โดย: Metha เวลา: 2014-1-13 00:20
พระพุทธปฏิมากรนาคปรกในยุคแรกของวัฒนธรรมเขมร
ศิลปะแบบบาปวน จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์กีเมต์ ประเทศฝรั่งเศส
ที่มา http://www.oknation.net/blog/voranai/2012/07/18/entry-1
โดย: Metha เวลา: 2014-1-13 00:21
พระพุทธรูปนาคปรกทรงเครื่อง ศิลปะแบบนครวัด อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17
จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ศิลปะเอเชีย (Asian Art Museum
ที่มา http://www.oknation.net/blog/voranai/2012/07/18/entry-1
โดย: Metha เวลา: 2014-1-13 00:23
พระพุทธรูปนาคปรกทรงเครื่อง ศิลปะแบบนครวัด อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17
พบที่วัดพระราม จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษม
ที่มา http://www.oknation.net/blog/voranai/2012/07/18/entry-1
โดย: Metha เวลา: 2014-1-13 00:25
พระพุทธปฏิมากรนาคปรกแบบมีอุษณีษะ(อุณหิส – พระเกตุมาลา)กลีบบัว
ศิลปะแบบบายน จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกัมพูชา
ที่มา http://www.oknation.net/blog/voranai/2012/07/18/entry-1
โดย: Metha เวลา: 2014-1-13 00:25
พระพุทธปฏิมากรนาคปรกแบบมีอุษณีษะ ตามแบบ”พระชัยพุทธมหานาถ” จากปราสาทบายน
มีลักษณะถูกทุบทำลาย
ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์กีเมต์ ประเทศฝรั่งเศส
ที่มา http://www.oknation.net/blog/voranai/2012/07/18/entry-1
โดย: Metha เวลา: 2014-1-13 00:26
พระพุทธปฏิมากรนาคปรกแบบมีอุษณีษะกลีบบัว
ตามแบบ”พระชัยพุทธมหานาถ” ศิลปะแบบบายน
เป็นรูปสลักที่ถูกทุบทำลายรูปหนึ่งที่ขุดพบจากปราสาทบันทายกุฎี
ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์เจ้านโรดมสีหนุ เมืองเสียมเรียบ
ที่มา http://www.oknation.net/blog/voranai/2012/07/18/entry-1
โดย: Metha เวลา: 2014-1-13 00:27
พระพุทธปฏิมากรนาคปรกศิลปะบายนในรูปแบบของ “พระสุคต”
ที่มีส่วนปลายกระหม่อม (พระเกตุมาลา) ทำเป็นยอดแหลมคล้ายขนมโมทกะ
อาจเป็นรูปประติมากรรมที่ทรงโปรดให้ส่งมาประดิษฐานที่มหาปราสาทนครวัดตั้งแต่แรก
.
ที่มา http://www.oknation.net/blog/voranai/2012/07/18/entry-1
โดย: Metha เวลา: 2014-1-13 00:28
พระพุทธปฏิมากรนาคปรกศิลปะบายนในรูปแบบของ “พระสุคต”
ที่มีส่วนปลายกระหม่อม (พระเกตุมาลา) ทำเป็นยอดแหลมคล้ายขนมโมทกะ
จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกัมพูชา
ที่มา http://www.oknation.net/blog/voranai/2012/07/18/entry-1
โดย: Metha เวลา: 2014-1-13 00:29
พระพุทธรูปนาคปรกที่กลางอาคารโคปุระด้านหน้าของมหาปราสาทบายน มีการนำพระเศียรของ “พระสุคต” แบบโมทกะหล่อใหม่ เข้ามาซ่อมแซมรูปประติมากรรมเดิมที่ “ถูกทุบทำลาย”
ที่มา http://www.oknation.net/blog/voranai/2012/07/18/entry-1
โดย: Metha เวลา: 2014-1-13 00:30
พระพุทธปฏิมากรนาคปรกแบบมีอุษณีษะตามแบบ ”พระชัยพุทธมหานาถ” ศิลปะแบบบายน
พบที่อำเภอศรีณรงค์ ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุรินทร์
ที่มา http://www.oknation.net/blog/voranai/2012/07/18/entry-1
โดย: Metha เวลา: 2014-1-13 00:31
พระพุทธปฏิมากรนาคปรกแบบมีอุษณีษะ รูปแบบเดียวกันกับ “พระชัยพุทธมหานาถ”
ศิลปะแบบบายน – กลุ่มลวะปุระ สภาพสมบูรณ์
ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์
ที่มา http://www.oknation.net/blog/voranai/2012/07/18/entry-1
โดย: Metha เวลา: 2014-1-13 00:32
พระพุทธปฏิมากรนาคปรกแบบมีอุษณีษะ รูปแบบเดียวกันกับ “พระชัยพุทธมหานาถ”
ศิลปะแบบบายน – กลุ่มลวะปุระ สภาพสมบูรณ์
ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์
ที่มา http://www.oknation.net/blog/voranai/2012/07/18/entry-1
โดย: Metha เวลา: 2014-1-13 00:33
พระนาคปรกแบบมีอุษณีษะ ลักษณะเดียวกับ “พระชัยพุทธมหานาถ” สภาพซ่อมแซมขึ้นมาใหม่ ศิลปะแบบบายน ฝีมือช่างหลวง ที่ยังคงเค้าพระพักตร์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ภายในคูหาของปรางค์ประธาน วันมหาธาตุราชบุรี
ที่มา http://www.oknation.net/blog/voranai/2012/07/18/entry-1
โดย: Metha เวลา: 2014-1-13 00:34
พระนาคปรกแบบมีอุษณีษะ ในรูปแบบของ “พระชัยพุทธมหานาถ” พบที่ปราสาทเมืองสิงห์ศิลปะแบบบายน อาจเป็นฝีมือเลียนแบบช่างหลวง
ที่มา http://www.oknation.net/blog/voranai/2012/07/18/entry-1
โดย: Metha เวลา: 2014-1-13 00:35
“พระชัยพุทธมหานาถ” ศิลปะแบบบายน – กลุ่มสุวรรณปุระ (เนินทางพระ – สุพรรณบุรี)
ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุพรรณบุรี
ที่มา http://www.oknation.net/blog/voranai/2012/07/18/entry-1
โดย: Metha เวลา: 2014-1-13 00:37
พระพุทธปฏิมากรนาคปรกแบบมีอุษณีษะ สวมศิราภรณ์เป็นกะบังหน้า
รูปแบบเดียวกันกับ “พระชัยพุทธมหานาถ” ศิลปะแบบบายน – กลุ่มลวะปุระ
สภาพสมบูรณ์ ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์
ที่มา http://www.oknation.net/blog/voranai/2012/07/18/entry-1
โดย: Metha เวลา: 2014-1-13 00:37
พระพุทธปฏิมากรนาคปรกแบบมีอุษณีษะ
รูปแบบเดียวกันกับ “พระชัยพุทธมหานาถ” ศิลปะแบบบายน
ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์วัดพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม
อาจเคลื่อนย้ายมาจากเมืองโบราณใกล้เคียงหรือาจพบในตัวเมืองโบราณนครปฐมเอง
ที่มา http://www.oknation.net/blog/voranai/2012/07/18/entry-1
โดย: Metha เวลา: 2014-1-13 00:38
พระพุทธรูปนาคปรกหินทรายในรูปแบบของ “พระชัยพุทธมหานาถ” ศิลปะแบบบายน
ฝีมือเลียนแบบโดยช่างในท้องถิ่น ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติปราจีนบุรี
ที่มา http://www.oknation.net/blog/voranai/2012/07/18/entry-1
โดย: Metha เวลา: 2014-1-13 00:39
พระพุทธปฏิมากรนาคปรกแบบมีอุษณีษะขนาดเล็กในรูปแบบของ “พระชัยพุทธมหานาถ”
ศิลปะแบบบายน – ลวะปุระ แบบฝีมือช่างพื้นเมือง มีลายเส้นของจีวรและชายสังฆาฏิเพิ่มขึ้น
ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์
ที่มา http://www.oknation.net/blog/voranai/2012/07/18/entry-1
โดย: Metha เวลา: 2014-1-13 00:40
พระพุทธรูปนาคปรกหินทรายแดงขนาดเล็ก ฝีมือเลียนแบบโดยช่างในท้องถิ่น
พบที่เมืองดงละคร จังหวัดนครนายก
ที่มา http://www.oknation.net/blog/voranai/2012/07/18/entry-1
โดย: Metha เวลา: 2014-1-13 00:42
พระพุทธปฏิมากรนาคปรกแบบมีอุษณีษะ ศิลปะแบบหลังบายน – กลุ่มลวะปุระ (พุทธศตวรรษที่ 19) มีลายเส้นของจีวรและชายสังฆาฏิเพิ่มขึ้น
ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์
ที่มา http://www.oknation.net/blog/voranai/2012/07/18/entry-1
โดย: Metha เวลา: 2014-1-13 00:44
พระพุทธปฏิมากรนาคปรกแบบมีอุษณีษะทรงศิราภรณ์แบบพระทรงเครื่อง
ศิลปะแบบหลังบายน – กลุ่มลวะปุระ(พุทธศตวรรษที่ 19)
ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์
ที่มา http://www.oknation.net/blog/voranai/2012/07/18/entry-1
โดย: Metha เวลา: 2014-1-13 00:45
พระพุทธปฏิมากรนาคปรกแบบมีอุษณีษะ ศิลปะแบบยุคหลังบายน – ลวะปุระ(พุทธศตวรรษที่ 19) มีลายเส้นของจีวร และชายสังฆาฏิที่อย่างชัดเจนมากขึ้น
แต่ก็ยังคงเค้าพระพักตร์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เอาไว้อยู่มาก
ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์
ที่มา http://www.oknation.net/blog/voranai/2012/07/18/entry-1
โดย: Metha เวลา: 2014-1-13 00:47
กลุ่มพระพุทธรูปนาคปรกในรูปแบบของ “พระชัยพุทธมหานาถ”
ศิลปะแบบบายน – กลุ่มสุวรรณปุระ
ซึ่งอาจเป็นรูปประติมากรรมเลียนแบบของแว่นแคว้นที่เนินทางพระ – ลุ่มน้ำท่าจีน – แม่กลอง ปัจจุบันอยู่ที่วัดบางขันแตก จังหวัดสมุทรสงคราม
ที่มา http://www.oknation.net/blog/voranai/2012/07/18/entry-1
โดย: Metha เวลา: 2014-1-13 00:48
พระพุทธรูปนาคปรกหินทรายแดงในรูปแบบของ “พระชัยพุทธมหานาถ”
ศิลปะแบบบายน – สุวรรณปุระ
เป็นรูปประติมากรรมเลียนแบบช่างหลวงของกลุ่มแว่นแคว้นที่เนินทางพระ – ลุ่มน้ำท่าจีน – แม่กลอง
ปัจจุบันอยู่ที่วัดปู่บัว จังหวัดสุพรรณบุรี
ที่มา http://www.oknation.net/blog/voranai/2012/07/18/entry-1
โดย: Metha เวลา: 2014-1-13 00:49
“พระชัยพุทธมหานาถ” พบที่เนินทางพระ ศิลปะแบบบายน – กลุ่มสุวรรณปุระ
(เนินทางพระ – สุพรรณบุรี) ฝีมือช่างหลวง
ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดวิมลโภคาราม (วัดสามชุก) จังหวัดสุพรรณบุรี
ที่มา http://www.oknation.net/blog/voranai/2012/07/18/entry-1
โดย: Metha เวลา: 2014-1-13 00:50
ใบหน้าของพระพุทธปฏิมากรนาคปรกแบบมีอุษณีษะ รูปแบบเดียวกับ "พระชัยพุทธมหานาถ"
ได้จากปราสาทบันทายกุฎี
ที่มีเค้าหน้าคล้ายคลึงใกล้เคียงกับเค้าพระพักตร์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
ที่มา http://www.oknation.net/blog/voranai/2012/07/18/entry-1
โดย: Metha เวลา: 2014-1-13 00:51
พระนาคปรกแบบมีอุษณีษะ ตามแบบ”พระชัยพุทธมหานาถ” ขนาดเล็ก ศิลปะแบบบายนมีลายเส้นของจีวร สงบและชายสังฆาฏิ
ที่มา http://www.oknation.net/blog/voranai/2012/07/18/entry-1
โดย: Metha เวลา: 2014-1-13 00:57
พระพุทธปฏิมากรนาคปรกขนาดใหญ่
ประดิษฐานในมหาปราสาทนครวัด ศิลปะในยุคหลังสมัยบายน ?
ถูกทุบทำลายที่พระพักตร์ในยุคของพระเจ้าชัยวรมันที่ 8 หรือในยุคของ "เขมรแดง" ?
ที่มา http://www.oknation.net/blog/voranai/2012/07/18/entry-1
โดย: Metha เวลา: 2014-4-7 15:22
วันนี้วันพระ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 5
โดย: Sornpraram เวลา: 2014-11-24 07:05
โดย: Metha เวลา: 2014-11-24 08:23
โดย: Sornpraram เวลา: 2015-7-15 06:38
โดย: Metha เวลา: 2015-7-15 15:37
พระนาคปรก สัตตบงกช
โดย: Sornpraram เวลา: 2015-7-29 11:01
โดย: Metha เวลา: 2015-7-30 07:37
ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/) |
Powered by Discuz! X3.2 |