Baan Jompra
ชื่อกระทู้: ใจเขา ใจเรา [สั่งพิมพ์]
โดย: Metha เวลา: 2013-12-30 16:47
ชื่อกระทู้: ใจเขา ใจเรา
เอาใจเขา - มาใส่ใจเรา
การรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา แสดงถึงความเป็นคนรักเพื่อนมนุษย์ ใจกว้าง เป็นคนไม่เอาตนเองเป็นใหญ่ การรู้จักเอาใจเขา มาใส่ใจเรา จึงหมายถึง การรู้จักคิดถึงใจคนอื่น รู้จักเปรียบเทียบ รู้จักเปรียบเทียบดูว่า ถ้าเราเป็นเขาเราจะรู้สึกอย่างไรถ้ามีคนมาปฏิบัติหรือกระทำใดๆใแบบที่เรากำลังจะทำหรือพูดมันออกไป
เช่นเดียวกับความรัก ของคนสองคน ซึ้งต้องรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา เพราะคนเราทุกคนเกิดมาก็ร้อยพ่อร้อยแม่ ต่างมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันออกไป ใครหลายคนอาจคิดว่าก็เรารักกันนิเราคิดอย่างไรเค้าก็ต้องคิดแบบนั้น หรือคิดเหมือนกับเรา แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ใช่ซะทุกอย่างหรือทุกเรื่อง ที่คู่รักของคุณยอมคุณอาจเป็นเพราะคำว่ารักก็ได้ เขาจึงไม่คิดที่จะขัดใจคุณ แต่การทำแบบนั้นบ่อยๆอาจจะเป็นผลร้ายตามมากับรักของคุณก็ได้....
ที่มา http://it-is-a-book.blogspot.com/2012/08/it-is-book.html
โดย: Metha เวลา: 2013-12-30 16:51
เอาใจเขามาใส่ใจเรา
การรู้จัก "เอาใจเขามาใส่ใจเรา" หมายถึง รู้จักคิดถึงใจคนอื่น เห็นใจคนอื่น และคิดเปรียบเทียบดูว่า ถ้าเราเป็นเขา เราจะรู้สึกอย่างไรถ้ามีคนมาปฏิบัติหรือพูดกับเรา ในแบบที่เรากำลังจะทำหรือพูดออกไป
ในสังคมปัจจุบัน ผู้คนมีความคิดความเห็นแตกต่างกันออกไป จนไม่อาจจะจำแนกแนวความคิดต่างๆได้อย่างชัดเจนอีกต่อไป เพราะต่างคนก็ ต่างพื้นเพ ร้อยพ่อพันแม่ กันมา จะให้ คิดเหมือนๆกันไปหมดคงจะเป็นไปไม่ได้
ถึงแม้ว่าการศึกษาที่พยายามจะปั๊มเด็กและเยาวชนให้เดินไปตามทาง เดินอันแสนสวยงาม ที่เหล่าผู้ใหญ่พากันหวังดีพยายามขีดเส้นให้เดินไป แต่ด้วยระบบการศึกษาที่ยอดเยี่ยมที่สุด(ในการสร้างนกแก้วนกขุนทอง) ตามคำกล่าวอ้างที่เวลาปฏิรูปการศึกษาหนึ่งครั้งก็มักจะได้ยินเสมอๆ นั้น กลับได้เหล่าเด็กและเยาวชนที่มีบางคน บางส่วนคิดแตกต่างกันออกไป โดยรวมส่วนใหญ่อาจจะได้ บุคลากรที่มีคุณภาพ(ตามสายตาเหล่าผู้ใหญ่) แต่นั่นก็ไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันว่า ส่วนใหญ่นั้นๆ จะไร้ซึ่งความคิดไปซะทีเดียว และแน่นอนด้วยว่าย่อมมีความคิดที่แตกต่างกันออกไป
เมื่อความคิดติด ตัวที่มีความหลากหลายและแตกต่างกัน ย่อมเกิดการถกเถียง โต้แย้ง ไม่มากก็น้อย ไม่แยกแยะสถานที่ไม่ว่าจะตามสภาสูง สภาล่าง ยันสภาโจ๊ก และสภากาแฟ
คำพูดหนึ่งที่กล่าวคือ เอาใจเขามาใส่ใจเรา จะทำให้ เข้าใจอะไรได้ ดีขึ้น แต่ทว่าแท้ที่จริง การที่คนๆหนึ่งพยายามที่จะบอกว่า เอาใจซึ่งในที่นี้หมายถึงความคิดความรู้สึก ของคนอีกคนหนึ่งมาคิดนั้น ผลลัพธ์มันย่อมได้ไม่เท่ากันแน่นอนด้วยปัจจัยต่างๆ
คำกล่าวนี้ อาจจะใช้ได้ ในช่วงหนึ่งๆ ที่คนเรามีความคิดแบบเดียวกัน สังคมที่มีความหลากหลายน้อย ผู้คนมองภาพแล้วเห็นเป็นภาพเดียวกัน และย่อมนำไปสู่ผลลัพธ์เดียวกันได้ เกิดเป็นความเห็นอกเห็นใจกันเพราะ มีจุดร่วมความคิดความรู้สึกเดียวกัน
แต่เมื่อยุคสมัยใหม่ที่ผู้ คนเต็มไปด้วยความหลากหลายทางความคิด ความรู้ รูปแบบการใช้ชีวิต คำกล่าวนี้อาจจะต้องปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย
ในสมัยใหม่นี้ ด้วยปัจจัยที่แตกต่างกันที่กล่าวมาข้างต้น ถึงแม้ว่าเราจะเอาใจของคนอื่นมาคิด มาใส่เท่าไรก็ตาม แต่เราไม่ได้ ขจัดใจหรือความคิดของเราออกไป นั่นย่อมหมายถึงการพาไปสู่การพยายามคิดว่าถ้าเป็นเขา เราจะรู้สึกเช่นไร ด้วยความคิด ความรู้สึกและเหตุผลของเรามากกว่า และนั้นก็มีให้เห็นอยู่เสมอๆ เพราะคนมัก เอาใจ(ความคิด)เราไปใส่ตัวเขา มากกว่า ซึ่งมันไม่เหมือนกัน
และเมื่อเราเอาใจเราไปใส่ตัวเขาแล้ว มันก็ จะเป็นเรื่องของการคิดแทน คิดเอง เออเอง ว่าสิ่งนี้เราว่าดี ในสายตาเรา
เรากระทำแบบนี้เราก็เห็นว่าดี ดังนั้นเขาก็ต้องคิด ต้องรู้สึกเช่นเดียวกับเรา กลายเป็นอีหรอบนั้นไปมากกว่า
เหล่าผู้มีการศึกษามักจะคิดด้วยห้วงความคิดของเขา การจะเอาใจชาวบ้านมาใส่แล้วให้คิดเหมือนกันคงเป็นไปไม่ได้
มุมกลับกันชาวบ้านจะเอาใจนักศึกษามาคิดก็ไม่มีทางเหมือนกันได้
เหล่า นักการเมือง อำมาตย์ ผู้ปกครองประเทศ ก็ มักจะคิดแทนและไม่เคยเลยที่จะคิด เอาใจเขามาใส่ใจเรา ก็จะมีเพียงแค่การเอาใจเราไปใส่ตัวเขาบ้างเป็นครั้งคราว แต่ด้วยความรู้ความสามารถ ความมีคุณธรรมอันสูงส่งของคนเหล่านั้น
เราก็จะได้เพียง ความคิดของเขามากกว่าที่จะได้รับ ความคิดที่ส่งผ่านจากความต้องการของประชาชน
เหล่า ผู้เล่นอินเทอร์เน็ต(บางส่วน) ย่อมไม่ค่อยได้คิดถึงคำกล่าวนี้เท่าไหร่ ด้วยภูมิความรู้ที่อัดแน่นอยู่เต็มเปี่ยม ที่พร้อมจะระเบิดออกมาผ่านทางคีย์บอร์ด จึงไม่ค่อยมีเวลาพอที่จะมานั่งใส่ใจถึงความรู้สึกนึกคิดคนอื่นเท่าไหร่ กลายเป็นเรื่องราวของการแข่งขันประชันกันอวดความเก่งกล้าสามารถ ต่อว่า ด่าทอ โดยไม่แยแสใยดีต่อความรู้สึกผู้อื่น
ไม่ใช่ว่า การเอาใจเขาใส่ใจเรา มันผิด แต่ที่กล่าวคือ ในความเป็นจริงแล้วผู้คนทำเพียง เอาใจเราไปใส่ตัวเขา ไม่ได้ ก้าวพ้นกรอบจุดที่ว่าไป
การที่จะเอาใจเขามาใส่ใจเรานั้นไม่ใช่ เรื่องที่ง่ายอย่างที่คิด เพราะว่าต้องอาศัยการเอาใจใส่ไปถึงพื้นฐานทางความคิด การตัดสินใจ พื้นเพการใช้ชีวิต สภาพแวดล้อมที่คนๆนั้นเป็นอยู่ ปัญหาต่างๆที่คนๆนั้นประสบอยู่ ไม่ใช่การมักง่ายเพียงแค่การคิดเอาใจไปคิดแทนแบบหยาบๆ แบบที่ผู้คนใช้กันอยู่ หรือ ในแบบที่คนรู้จักแต่ไม่ใช้และไม่เคยคิดจะใช้
คิด ให้ลึกกว่าแค่ที่ผิวนอก ปอกเปลือกที่เคลือบอยู่ออกไป ทำความเข้าใจถึงแนวความคิด ความรู้สึกความเป็นมาต่างๆของคนที่เราต้องการจะเอาใจของเขามาใส่ ถึงแม้ว่าจะไม่มีทางที่จะเหมือนกันไปได้ แต่ก็น่าที่จะทำให้เข้าใจและเข้าใกล้ความเป็นตัวตนของเขามากขึ้น แล้วถ้าถึงจุดนั้นก็จะนำพาไปสู่ คำว่า
เอาใจ(ทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นของ)เขามาใส่ใจ(ความคิดความเข้าใจในความเป็นเขาของ)เรา
และย่อมทำให้เกิดจุดร่วมทางความคิด ทางความรู้สึกได้ดีขึ้นเป็นลำดับไป
ที่มา http://www.bloggang.com/viewblog ... roup=1&gblog=18
โดย: Metha เวลา: 2013-12-30 16:54
[youtube]YQgZ97Tb3a4[/youtube]
โดย: Metha เวลา: 2013-12-30 17:21
“เอาใจเขาใส่ใจเราเข้าใจเหตุ แยกแยะเภทภัยใดมองให้เห็น ใช่เอาแต่ใจเราเขาก็เป็น รู้ร้อนเย็นเช่นกับเราต้องเข้าใจ .สังคมใดไม่สงบพบภัยทั่วเพราะคนทรามลามชั่วมัวไม่ใสคิดแต่เอาเข้าตัวมั่วนอกในไม่เคยเห็นใจใครใส่ใจจำ.สังคมใดใฝ่แย่งแข่งชิงเด่นคอยเขม่นเล่นลอกหลอกไม่ขำชิงทุกอย่างกร่างทั่วเอาชั่วนำแม้แต่เด็กตาดำๆยังทำลง.เอาใจเขาใส่ใจเราเข้าใจบ้างแม่เขาสร้างทางให้ลูกปลูกเสริมส่งแกล้งแยกลูกแยกแม่แก่ยุยงคนลวงหลงทำลงแลกคอยแดกดัน”
ที่มา http://www.gotoknow.org/posts/431401
โดย: Metha เวลา: 2013-12-30 17:30
อยู่ในสังคมมนุษย์
สิ่งที่ต้องระวังไม่ใช่มนุษย์เสมอไป
ใจที่เห็นแก่ตัวของเรานั่นแหละ
คือสิ่งที่ควรระมัดระวังให้มาก
เมื่อการกระทำต้องเกี่ยวพันกับผู้อื่น
ไม่ต้องเอาใครไปใส่ใจใคร
อย่าเอาเปรียบเขาก็พอ
เมื่อมิได้คำนึงถึงสวัสดิภาพของตนเอง
แต่ก็ต้องระมัดระวังสวัสดิภาพของผู้อื่น
เราไม่โกรธ เราไม่กลัว เราไม่เจ็บ
แต่ผู้อื่นอาจจะโกรธ อาจจะเจ็บ และอาจจะกลัว
ถึงคราวที่จำเป็นต้องกระทำแล้ว
ก็ลงมือกระทำด้วยสติปัญญาเถิด
ไม่ต้องมัวไปคำนึงถึงใจเรา ใจเขา
หรือแม้แต่ใจใครทั้งสิ้น
ที่มาhttp://happyhappiness.monkiezgrove.com/2009/06/30/ใจเขาใจเรา/
โดย: Sornpraram เวลา: 2013-12-30 19:24
โดย: Sornpraram เวลา: 2013-12-30 19:28
ใจเขา ใจเรา
โดย: Metha เวลา: 2013-12-31 08:00
โดนใจผมเลย
โดย: Sornpraram เวลา: 2014-2-4 14:38
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-2-4 14:43
[youtube]dEhuFewY1dw[/youtube]
โดย: Metha เวลา: 2014-2-5 02:38
โดย: Sornpraram เวลา: 2014-2-11 11:51
metha ตอบกลับเมื่อ 2014-2-5 02:38
โดย: Sornpraram เวลา: 2015-8-16 06:25
โดย: Metha เวลา: 2015-8-16 14:59
โดย: majoy เวลา: 2015-8-16 15:58
แล้วเมธเอาใจใครมาใส่ยัง รีบหาเร๊วว
โดย: Metha เวลา: 2015-8-16 16:01
อ่ะน่ะ
โดย: Sornpraram เวลา: 2016-5-29 08:10
โดย: Metha เวลา: 2016-5-29 09:43
โดย: Sornpraram เวลา: 2017-4-29 12:07
อยู่ในสังคมมนุษย์
สิ่งที่ต้องระวังไม่ใช่มนุษย์เสมอไป
ใจที่เห็นแก่ตัวของเรานั่นแหละ
คือสิ่งที่ควรระมัดระวังให้มาก
เมื่อการกระทำต้องเกี่ยวพันกับผู้อื่น
ไม่ต้องเอาใครไปใส่ใจใคร
อย่าเอาเปรียบเขาก็พอ
เมื่อมิได้คำนึงถึงสวัสดิภาพของตนเอง
แต่ก็ต้องระมัดระวังสวัสดิภาพของผู้อื่น
เราไม่โกรธ เราไม่กลัว เราไม่เจ็บ
แต่ผู้อื่นอาจจะโกรธ อาจจะเจ็บ และอาจจะกลัว
ถึงคราวที่จำเป็นต้องกระทำแล้ว
ก็ลงมือกระทำด้วยสติปัญญาที่ถูกต้อง
ที่ชอบ ที่ควร..เถิด
ไม่ต้องมัวไปคำนึงถึงใจเรา ใจเขา
หรือแม้แต่ใจใครทั้งสิ้น
โดย: Metha เวลา: 2017-4-30 14:24
โดย: Sornpraram เวลา: 2017-5-1 06:26
เพราะไว้วางใจภัยจึงตามมา
เพราะไว้วางใจภัยจึงตามมา
การที่จะทำให้ใครสักคนเชื่อใจและไว้วางใจนั้นต้องใช้เวลาพอสมควร ต้องแสดงตัวตนที่แท้จริง ต้องคบหารู้จักมักคุ้นกันมานานจนสามารถไว้ใจกันได้ แต่บางครั้งกาลเวลาอาจจะไม่ใช่คำตอบสุดท้าย เพราะบางคนคบหากันมานานแต่ก็ยังถูกหลอกลวงเพราะอาศัยการไว้วางใจกัน โบราณว่าไว้ว่า “ช้างสารงูเห่า ข้าเก่าเมียรัก” ก็ไม่ควรไว้วางใจเกินไป หากประมาทพลาดพลั้งอาจจะมีอันตรายถึงกับหมดเนื้อหมดตัวหรืออาจจะร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
พระพุทธศาสนามีคำสอนที่ว่าด้วยการไว้วางใจผู้ที่ไม่คุ้นเคยกันหรือแม้แต่ผู้ที่คุ้นเคยก็ไม่ควรไว้วางใจเกินไปนัก
ต้องตั้งอยู่ในความไม่ประมาท อย่าเผลอตัวเผลอใจอาจจะได้รับอันตรายได้
ดังที่แสดงไว้ในวิสสาสโภชนชาดก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก (27/93/29) ความว่า...
“บุคคลไม่ควรไว้วางใจผู้ที่ยังไม่คุ้นเคยกัน
แม้ผู้ที่คุ้นเคยกันแล้วก็ไม่ควรไว้วางใจ
ภัยย่อมมาจากผู้ที่คุ้นเคยกัน
เหมือนภัยของราชสีห์เกิดจากแม่เนื้อฉะนั้น”
ความเป็นมาของภาษิตนี้มาจากอรรถกถาวิสสาสโภชนชาดก เล่มที่ 56 หน้า 339-342
ได้นำอดีตนิทานว่าด้วยราชสีห์และแม่เนื้อที่มีความรักความคุ้นเคยกัน แต่ในที่สุดก็ต้องเสียชีวิตเพราะความไว้วางใจเกินไป ดังข้อความในชาดกว่า “ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นเศรษฐีมีสมบัติมาก คนเลี้ยงโคของท่านคนหนึ่ง ต้อนฝูงโคเข้าป่า ในสมัยที่ภูมิภาคแออัดไปด้วยข้าวกล้า ตั้งคอกเลี้ยงโคอยู่ในป่านั้น และนำโครสมาให้ท่านเศรษฐีตามเวลา ก็แลในที่ไม่ห่างคนเลี้ยงโคนั้น สีหะยึดเอาเป็นที่อยู่อาศัย เมื่อพวกโคซูบผอมไป เพราะหวาดหวั่นต่อสีหะ น้ำนมก็ใส
อยู่มาวันหนึ่ง คนเลี้ยงโคนำเอานมมาให้ ท่านเศรษฐีจึงถามว่า สหายโคบาลเป็นอย่างไรหรือ น้ำนมจึงได้ใส เขาแจ้งเหตุนั้น ท่านเศรษฐีถามว่า สหาย ก็ความปฏิพัทธ์ในอะไรๆ ของสีหะนั้นมีบ้างไหม เขาตอบว่า มีครับนาย มันติดพันแม่เนื้อตัวหนึ่ง
ท่านเศรษฐีถามว่า แกสามารถจะจับแม่เนื้อนั้นได้ไหม เขาตอบว่า พอจะทำได้ครับนาย ท่านเศรษฐีกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น เจ้าจงจับมันให้ได้ เอายาพิษย้อมขนที่ตัว ตั้งแต่หน้าผากของมัน ขึ้นไปหลายๆ ครั้ง ทำให้แห้ง กักไว้สองสามวัน ค่อยปล่อยแม่เนื้อนั้นไป สีหะนั้นจักเลียสรีระของแม่เนื้อนั้นด้วยเสน่หา ถึงความสิ้นชีวิตเป็นแน่ เจ้าจงเอาหนังเล็บเขี้ยวและเนื้อของมันมาให้ แล้วมอบยาพิษอย่างแรงให้ส่งตัวไป คนเลี้ยงโควางข่ายจับแม่เนื้อนั้นได้ด้วยอุบายแล้ว ได้กระทำตามสั่ง สีหะเห็นแม่เนื้อนั้นแล้ว เลียสรีระของแม่เนื้อนั้นด้วยเสน่หาอย่างรุนแรง ถึงความสิ้นชีวิต ฝ่ายคนเลี้ยงโคก็เอาหนังเป็นต้น ไปสู่สำนักพระโพธิสัตว์
พระโพธิสัตว์ทราบเหตุนั้นแล้ว กล่าวว่า ขึ้นชื่อว่าเสน่หาในพวกอื่นไม่ควรกระทำ สีหะผู้เป็นมฤคราช ถึงจะสมบูรณ์ด้วยกำลังอย่างนี้ ก็เพราะอาศัยความติดพันด้วยอำนาจกิเลส เลียสรีระของแม่เนื้อ ทำการบริโภคยาพิษ ถึงสิ้นชีวิตไปแล้ว เมื่อจะแสดงธรรมแก่บริษัทที่ประชุมกัน จึงกล่าวคาถาว่า “บุคคลไม่ควรไว้วางใจในผู้ที่ยังไม่คุ้นเคยกัน แม้ผู้ที่คุ้นเคยกันแล้ว ก็ไม่ควรไว้วางใจ ภัยย่อมมาจากผู้ที่คุ้นเคยกัน เหมือนภัยของราชสีห์เกิดจากแม่เนื้อฉะนั้น”
พระโพธิสัตว์แสดงธรรมแก่บริษัทที่มาประชุมกันด้วยประการฉะนี้ ทำบุญทั้งหลายมีให้ทานเป็นต้น แล้วไปตามยถากรรม พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า มหาเศรษฐีในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคตฉะนี้แล
ชาดกเรื่องนี้เป็นอดีตชาติของพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งที่บำเพ็ญบารมีในกำเนิดแห่งเศรษฐี
เป็นสัตว์ผู้จะต้องตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าต่อไปหรือพระโพธิสัตว์
คนที่ไม่เคยรู้จักไม่คุ้นเคยต้องคอยระวังให้มาก
บางครั้งเข้ามาตีสนิทอ้างว่ารู้จักกับญาติคนนั้นคนนี้
จากนั้นก็เริ่มวางแผนในการหลอกลวง
ถ้อยคำของคนลวงมักจะเป็นเหมือนคำพูด
ที่เคลือบด้วยน้ำตาลอ่อนหวานน่าเชื่อถือ
คนจะหลอกคนย่อมหาเหตุผลมาล่อลวงจนได้
แม้คนที่คุ้นเคยก็ไม่ควรไว้วางใจจนเกินไป
เว้นระยะห่างไว้เพื่อการพิจารณาก่อนตัดสินใจ
โบราณว่าอย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน เดี๋ยวจะจนใจตัว
เพราะหากพลาดพลั้งมาอาจจะไม่มีโอกาสได้แก้ตัวอีกเลย
พระมหาบุญไทย ปุญญมโน
09/03/56
โดย: Metha เวลา: 2017-6-5 03:40
โดย: Nujeab เวลา: 2017-6-5 10:17
โดย: Metha เวลา: 2017-11-13 03:09
หัวใจเรื่องบางๆๆๆ
โดย: Sornpraram เวลา: 2017-11-17 05:04
โดย: Metha เวลา: 2017-11-26 19:14
ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/) |
Powered by Discuz! X3.2 |