Baan Jompra

ชื่อกระทู้: ถนนในกรุงเทพ [สั่งพิมพ์]

โดย: Metha    เวลา: 2013-12-8 11:27
ชื่อกระทู้: ถนนในกรุงเทพ
ถนนวิทยุ
  

            ถนนวิทยุ เป็นถนนเชื่อมถนนเพลินจิตกับถนนพระราม ๔ ชื่อถนนมาจากสถานที่สำคัญที่ถนนตัดผ่านคือ สถานีวิทยุแห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของสวนลุมพินี ปัจจุบันอยูในบริเวณโรงเรียนเตรียมทหาร เหลือเพียงเสาอากาศ เป็นเสาเหล็กสามเหลี่ยมโปร่ง สูงประมาณ ๖๐ เมตร และอาคารสถานีซึ่งเป็นตึกชั้นเดียว
            ก่อนการตั้งสถานีวิทยุแห่งแรกในประเทศไทยขึ้นนั้น เคยมีสถานีวิทยุเฉพาะส่วนราชการทหารเรือ ซึ่งจอมพลเรือ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ผู้บัญชาการทหารเรือเป็นผู้ขอพระบรมราชานุญาตจัดตั้งขึ้น โดยใช้เครื่องรับส่งของบริษัทเทเลฟุงเก้น แบบประกายไฟฟ้า (Spark) โปรดเรียกเครื่องรับส่งนี้ว่า ราดิโอเทเลกราฟ (Radiotelegraph) ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ บัญญัติศัพท์ภาไทยให้ใหม่ว่า “วิทยุ”
            ต่อมา พลเอกพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ขณะทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมได้ทรงริเริ่มกิจการวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศขึ้นเป็นครั้งแรกโดยเริ่มทดลองส่งกระจายเสียง ณ ตึกทำการไปรษณีย์ ปากคลองโอ่งอ่าง ชื่อ “สถานีวิทยุ ๔ พีเจ” และในพ.ศ. ๒๔๗๑ ได้ย้ายสถานที่ทำการส่งกระจายเสียงมาตั้งเป็นการถาวร ณ สถานีวิทยุ ตำบลศาลาแดง ให้ชื่อว่า “สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่สาลาแดง ๗ พีเจ” พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงทำพิธีเปิดสถานีวิทยุกรุงเทพฯ ณ ตำบลศาลาแดง เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๑
และเมื่อมีการตัดถนนเชื่อมถนนเพลินจิตกับถนนพระราม ๔ ผ่านสถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่ศาลาแดง ๗ พีเจ จึงให้นามถนนตามสถานที่สำคัญแห่งนี้ว่า “ถนนวิทยุ”


แหล่งอ้างอิง:
ข้อมูลดีๆ จากหนังสือ "ชื่อบ้าน นามเมือง" โดยคุณศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย ในเครือสำนักพิมพ์มติชน /รูปภาพจาก http://www.dektube.com/files/articles/64a08e5f1e6c39fL.jpg และ http://www.oknation.net/blog/hom ... on/trafficsign2.jpg


ที่มา http://www.thaigoodview.com/node/78204



โดย: Metha    เวลา: 2013-12-8 11:29
ถนนสุขุมวิท
                                     
          ถนนสุขุมวิท ชื่อทางหลวงแผ่นดินสายกรุงเทพฯ ตัดผ่านจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี สิ้นสุดที่จังหวัดตราด ชื่อถนนมาจากชื่อบรรดาศักดิ์ พระพิศาลสุขุมวิท
          พระพิศาลสุขุมวิท นามเดิมประสพ สุขุม เป็นบุตรคนที่ ๓ ของเจ้าพระยายมราชและท่านผู้หญิงตลับ เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒
พระพิศาลสุขุมวิทจบการศึกาจากมหาวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ แมสซาชูเสตต์ อินสทิทิว ออฟ เทคโนโลยี หรือที่เรียกว่า  สถาบันเอ็มไอที นับเป็นคนไทยคนแรกที่สำเร็จจากสถาบันแห่งนี้
          ชีวิตราชการของพระพิศาลสุขุมวิทส่วนใหญ่รับผิดชอบเกี่ยวกับการก่อสร้างเส้นทางคมนาคม ของประเทศ นับแต่เริ่มรับราชการครั้งแรกในตำแหน่งนายช่างผู้ช่วย กรมสุขาภิบาล กระทรวงนครบาล จนถึงตำแหน่งสูงสุดคือ อธิบดีกรมทางหลวง
ผลงานสำคัญของพระพิศาลสุขุมวิท คือ โครงการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรไทย นับเป็นการเปิดศักราชการสร้างถนน การขนส่ง และการคมนาคมทางบกแบบใหม่ แทนการใช้เส้นทางรถไฟตามแบบเดิม
          พระพิศาลสุขุมวิททุ่มเททั้งกำลังกายและกำลังความรู้ มุ่งมั่นเพื่อความสำเร็จของงานสร้างทางหลวง แม้จะเผชิญอุปสรรค เช่น ภาวะสงคราม หรือความกันดารของพื้นที่ ผลงานและความสามารถของพระพิศาลสุขุมวิทเป็นที่ประจักษ์แก่คณะรัฐบาลสมัยจอมพลป.พิบูลสงคราม เพื่อเป็นเกียรติและอนุสรณ์แก่ท่าน จึงมีมติตั้งชื่อทางหลวงแผ่นดินสายกรุงเทพฯ – ชลบุรี – ระยอง – จันทบุรี – ตราด ว่า “ถนนสุขุมวิท”


แหล่งอ้างอิง:
ข้อมูลดีๆ จากหนังสือ "ชื่อบ้าน นามเมือง" โดยคุณศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย ในเครือสำนักพิมพ์มติชน / รูปภาพจาก http://i265.photobucket.com/albums/ii227/zhant/Sukum.jpg และ http://hilight.kapook.com/admin_ ... newimages/1_532.jpg


ที่มาhttp://www.thaigoodview.com/node/78204

โดย: Metha    เวลา: 2013-12-8 11:30
ถนนสี่พระยา
                       
                  ถนนสี่พระยา ชื่อถนนที่ตัดเชื่อมระหว่างถนนเจริญกรุงกับถนนพระรามที่ ๔ ชื่อของถนนมาจากชื่อข้าราชการบรรดาศักดิ์เป็นพระยา ๔ ท่าน
                  ในรัชสมัยพระบาทมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บ้านเมืองกำลังอยู่ในช่วงเวลาแห่งการขยายอาณาเขต เมืองหลวง มีผู้มองเห็นการณ์ไกล กว้านซื้อที่ดินชานเมืองเพื่อแบ่งขาย และเพื่อให้ที่ดินได้ราคาดีจึงต้องตัดถนนผ่านที่ดิน อย่างเช่น หลวงสาธรราชายุกติตัดถนนสาธร เจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ตัดถนนสุรวงศ์และถนนเดโชเป็นต้น พระยาทั้ง ๔ ท่าน ได้แก่ พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง พระยาพิพัมน์โกษา พระยานรฤทธิราชหัช และพระยานรนารถ0ภักดี ก็เป็นกลุ่มหนึ่งที่ร่วมทุนกันกว้านซื้อที่สวนระหว่างถนนสุรวงศ์กับคลองผดุงกรุงเกษม พร้อมกับตัดถนนผ่านที่นั้น และน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นถนนหลวง จึงโปรดพระราชทานนามถนนให้มีนัยเป็นอนุสรณ์แก่ผู้ตัดถนนสายนี้ คือ “ถนนสี่พระยา”

แหล่งอ้างอิง:
ข้อมูลดีๆ จากหนังสือ "ชื่อบ้าน นามเมือง" โดยคุณศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย ในเครือสำนักพิมพ์มติชน /รูปภาพจาก http://www.oknation.net/blog/hom ... es/story25/tw07.jpg และ http://www.goldgear2475.com/images/pti/history/cbpti1/cb8.jpg


ที่มา http://www.thaigoodview.com/node/78242



โดย: Metha    เวลา: 2013-12-8 11:31
ถนนอังรี ดูนังต์
                                                       
                 ถนนผ่านระหว่างสถานเสาวภาและโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ชื่อถนนได้มาจากชื่อ อังรี ดูนังต์ (Henri Dunant) นักธุรกิจชาวสวิตเซอร์แลนด์
                 อังรี ดูนังต์เป็นผู้ริเริ่มกิจการสภากาชาด เพื่อช่วยเหลือ บรรเทาทุกข์เพื่อนมนุษย์ทั่วไป ทั้งยามสงครามและยามสงบโดยมิคำนึงถึงเชื้อชาติและความแตกต่างด้านลัทธิการเมือง
                 กิจการสภากาชาดเจริญก้าวหน้า ขยายงานตั้งเป็นสันนิบาตสภากาชาด มีสมาชิกทั่วโลก ประเทศไทยสมัครเข้าเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ ๒๔๔๙  มีที่ทำการอยู่บริเวณโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
                 ส่วนถนนอังรี ดูนังต์ เดิมเรียกกันว่า  ”ถนนสนามม้า” เพราะตัดผ่านสนามม้าปทุมวัน (ราชกรีฑาสโมสร) จนถึง พ.ศ ๒๕๐๘ ซึ่งเป็นวาระครบ ๑๐๐ ปี สภากาชาด สันนิบาตสภากาชาดเสนอให้ประเทศสมาชิกจัดทำอนุสรณ์รำลึกถึงอังรี ดูนังต์ สภากาชาดแห่งประเทศไทยพิจารณาเห็นว่า อังรี ดูนังต์ น่าจะเป็นชื่อสาธารณสมบัติที่เป็นประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใดแก่สาธารณชน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์แห่งสันนิบาตสภากาชาด และเห็นว่าถนนสนามม้าเป็นถนนที่อยู่ใกล้บริเวณสภากาชาดไทยมากที่สุด อีกทั้งยังเป็นสาธารณสมบัติที่อำนวยประโยชน์แก่สาธารณชน ประกอบกับเห็นว่าชื่อถนนสนามม้ามิใช่ชื่อที่ให้ความรู้สึกที่ดีงาม
                 ด้วยเหตุดังกล่าว เทศบาลนครกรุงเทพฯ  จึงประกาศเปลี่ยนนามถนนสนามม้าเมื่อวันที่ ๓ พฤกษภาคม พ.ศ ๒๕๐๘ เป็น “ถนนอังรี ดูนังต์”
แหล่งอ้างอิง:
ข้อมูลดีๆ จากหนังสือ "ชื่อบ้าน นามเมือง" โดยคุณศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย ในเครือสำนักพิมพ์มติชน / รูปภาพจาก http://www.vcharkarn.com/uploads/109/110104.jpg และ http://learners.in.th/file/anna_karenina/Ro.jp


ที่มา http://www.thaigoodview.com/node/78253



โดย: Metha    เวลา: 2013-12-8 11:32
ถนนเจริญกรุง ถนนบำรุงเมือง ถนนเฟื่องนคร
                              
              ถนนทั้งสามสายเป็นถนนรุ่นแรกที่ใช้เทคนิคการสร้างตามแบบยุโรป ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้น เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมนานาอารยประเทศ
              ถนนเจริญกรุง แบ่งเป็น ๒ ตอน คือ ถนนเจริญกรุงในเขตกำแพงเมือง เริ่มจากบริเวณหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามจนถึงสะพานดำรงสถิตย์ ต่อกับถนนเจริญกรุงตอนนอกกำแพงเมืองจนถึงตำบลดาวคะนอง
              ถนนบำรุงเมือง ตั้งต้นแต่ถนนสนามไชยจนถึงเสาชิงช้า
              ถนนเฟื่องนคร เริ่มต้นจากสี่กั๊กพระยาศรี บรรจบกับถนนบำรุงเมืองที่เสาชิงช้า
              ถนนทั้งสามสายเมื่อสร้างสำเร็จแล้วนับเป็นเส้นทางคมนาคมที่ทันสมัยสะดวกสบาย และเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าจึงโปรดพระราชทานนามถนนทั้งสามสายนี้ให้มีความหมายเกี่ยวกับความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองว่า “ถนนเจริญกรุง” “ถนนบำรุงเมือง” และ “ถนนเฟื่องนคร”
แหล่งอ้างอิง:
ข้อมูลดีๆ จากหนังสือ "ชื่อบ้าน นามเมือง" โดยคุณศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย ในเครือสำนักพิมพ์มติชน / รูปภาพจาก http://img822.imageshack.us/img822/3226/whereis.jpg และ http://2.bp.blogspot.com/_vigMj3 ... P3HSL71I/s400/2.jpg


ที่มา http://www.thaigoodview.com/node/78256







ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/) Powered by Discuz! X3.2