Baan Jompra

ชื่อกระทู้: ชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของมนุษย์ [สั่งพิมพ์]

โดย: Metha    เวลา: 2013-11-21 21:49
ชื่อกระทู้: ชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของมนุษย์
หนีไกลกิเลสได้ด้วยปัญญา เมื่อนั้นเป็นชัยชนะ
ชัยชนะทางใจนั้น ทุกคนมีอยู่เสมอ ในเรื่องนั้นบ้าง ในเรื่องนี้บ้าง เป็นชัยชนะเล็กๆ น้อยๆ และชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ต่าง ๆ กัน
เมื่อใดความโลภเข้าใกล้ แม้สามารถหนีไกลความโลภได้ด้วยปัญญา คือ

ด้วยเหตุผล.....เมื่อนั้นเป็นชัยชนะ

เมื่อใดความโกรธเข้าใกล้ แม้สามารถหนีไกลความโกรธได้ด้วยปัญญา คือ

ด้วยเหตุผล.....เมื่อนั้นเป็นชัยชนะ

เมื่อใดความหลงเจ้าใกล้ แม้สามารถหนีไกลความหลงได้ด้วยปัญญา คือ

ด้วยเหตุผล.....เมื่อนั้นเป็นชัยชนะ



โดย: Metha    เวลา: 2013-11-21 21:50
ชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษย์
หนีไกลความโลภ หนีไกลความโกรธ หนีไกลความหลง ได้เพียงในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ด้วยปัญญา คือ ด้วยเหตุผล ก็เป็นชัยชนะเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่แม้หนีไกลความโกรธ หนีไกลความโลภ หนีไกลความหลง ที่ยิ่งใหญ่ได้ด้วยปัญญา คือ ด้วยเหตุผล ก็เป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่
ชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ สามารถไกลกิเลสทั้งความโลภ ทั้งความโกรธ ทั้งความหลง ทั้งน้อยทั้งใหญ่ ได้สิ้นเชิง ได้แน่นอนเด็ดขาด ด้วยปัญญาคือด้วยเหตุผล กิเลสจักไม่กลับเข้าใกล้ให้เกิดความเศร้าหมองจิตใจได้อีกต่อไป ทำได้เมื่อไร เมื่อนั้นเป็นชัยชนะที่ใหญ่ยิ่งจริง ไม่มีชัยชนะใดเสมอเหมือน

ที่มาhttp://www.dhammajak.net/book-somdej3/5.html

โดย: Metha    เวลา: 2013-11-21 21:51
ผู้ต้องการชัยชนะ พึงอบรมปัญญาให้ยิ่ง

เมื่อวาระสุดท้ายของทุกคนมาถึง เมื่อไม่อาจสามารถเป็นผู้มีชัยชนะทางกายได้ แต่ก็สามารถมีชัยชนะทางใจได้ แม้เชื่อฟังและปฏิบัติตามที่สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนไว้ อบรมสติให้ยิ่ง อบรมปัญญาให้ยิ่ง ตั้งแต่บัดนี้ ตั้งแต่วาระสุดท้ายยังมิได้มาถึง


ที่มาhttp://www.dhammajak.net/book-somdej3/5.html
โดย: Metha    เวลา: 2013-11-21 21:51
ผู้มีปัญญา แม้ในความทุกข์ก็หาความสุขได้

สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีพระพุทธานุศาสนีว่า “ปัญญาเป็นเครื่องวินิจฉัยสิ่งที่ฟังแล้ว ปัญญาเป็นเครื่องเพิ่มพูนเกียรติคุณและชื่อเสียง คนผู้ประกอบด้วยปัญญาในโลกนี้ แม้ในความทุกข์ก็หาความสุขได้”


ที่มาhttp://www.dhammajak.net/book-somdej3/5.html
โดย: Metha    เวลา: 2013-11-21 21:54
ปัญญาในธรรมเกิดจากจิตที่บริสุทธิ์สะอาด
ปัญญา หรือสัมมาปัญญา มีคุณสถานเดียว เพราะเมื่อใช้คำว่าปัญญา ย่อมหมายถึงปัญญาในธรรม ซึ่งจะเกิดได้ก็ต่อเมื่ออาศัยจิตบริสุทธิ์ จิตบริสุทธิ์สะอาดระดับใด ปัญญาจะรู้ชัดจริงในระดับนั้น จิตเศร้าหมองขุ่นมัว.....ปัญญาก็จะเป็นเช่นนั้นด้วย คือ เมื่อจิตเศร้าหมอง ปัญญาก็จะหมอง คือ ไม่ใสสว่าง

ที่มา http://www.dhammajak.net/book-somdej3/5.html

โดย: Metha    เวลา: 2013-11-21 21:55
เหตุแห่งความมีชัยชนะอันยิ่งใหญ่
จิตที่มีความสงบ มีความบริสุทธิ์ก็ด้วยมีศีลเป็นที่รองรับ หรือเป็นพื้น ท่านจึงเปรียบศีลเป็นเช่นแผ่นดิน อันเป็นที่ดำรงอยู่ของสรรพสัตว์ในโลก และของสิ่งทั้งปวง แม้ปราศจากศีลเป็นแผ่นดินรองรับ กุศลธรรมก็ตั้งขึ้นไม่ได้ ตั้งอยู่ไม่ได้ ต้องมีศีลเป็นแผ่นดินรองรับ กุศลธรรมทั้งหลายจึงจะตั้งขึ้นได้
นอกจากศีล ความบริสุทธิ์ของจิตต้องมีสมาธิเป็นส่วนสำคัญ เพราะสมาธิจักทำให้จิตบริสุทธิ์จากนิวรณ์ทั้งหลาย ความบริสุทธิ์จากนิวรณ์นั้นเป็นบาทของปัญญา เปรียบกับทางร่างกาย สมาธิเป็นส่วนเท้า อันเป็นที่ตั้งของลำตัวและศีรษะ ฉะนั้นจึงต้องมีสมาธิเป็นเท้าหน้า เป็นที่รองรับลำตัว คือปัญญา เพื่อวิมุตติคือความหลุดพ้น อันเปรียบเป็นเช่นศีรษะ
ศีล สมาธิ ปัญญา ทั้งสามนี้เป็นส่วนเหตุ ซึ่งมีวิมุตติ.....ความหลุดพ้นจากกิเลสเป็นส่วนผล จึงต้องอาศัยกัน เหมือนดั่งแผ่นดิน เป็นเท้า เป็นลำตัว เป็นศีรษะ การปฏิบัติจึงต้องปฏิบัติให้มีศีลด้วย มีสมาธิด้วย มีปัญญาด้วยประกอบกัน

ที่มา http://www.dhammajak.net/book-somdej3/5.html

โดย: Metha    เวลา: 2013-11-21 21:56
กิเลสหนาแน่นเพียงไร ตาปัญญามืดมิดเพียงนั้น
ตาปัญญาก็เหมือนตาธรรมดา คือ ตาธรรมดานั้น แม้ไม่มีหมอกมัวม่านฝ้ามาบังกั้น จึงจะแลเห็นสิ่งที่มีอยู่รอบตัวได้ถนัดชัดเจน เช่นตาไม่เป็นต้อก็จะแลเห็นได้ชัดเจนดี แต่ถ้าตาเป็นต้อก็จะแลเห็นพร่ามัวจนถึงมืดมิดในที่สุด ตาปัญญาก็ทำนองเดียวกัน ต้อของตาธรรมดีคือกิเลสของตาปัญญา
แม้มีกิเลสปิดบังอยู่ ตาปัญญาก็หาอาจเห็นสัจธรรมได้ถนัดชัดเจนไม่ กิเลสหนาแน่นมากเพียงไร ตาปัญญาก็ยิ่งมืดมิดแลไม่เห็นสัจธรรมเพียงนั้น แม้กิเลสจะเป็นสิ่งที่ฆ่าไม่ตายทำลายไม่ได้ มีอยู่เต็มโลกทุกหนทุกแห่ง ทุกเวลานาที
เหมือนโรคตาต้องที่มีอยู่ในโลก ที่เกิดแก่ใคร ๆ ทั้งหลายเป็นอันมาก ถ้ารักษาตาไว้ให้ดี ไม่ให้โรคต้องเกิดแก่ตาก็จักเป็นผู้มีตาดี ตาสว่าง เห็นผู้คนสิ่งของถนนหนทางได้ชัดเจน เช่นนี้ฉันใด ถ้ารักษาใจไว้ให้ดี ไม่ให้กิเลสเข้าใกล้ครอบคลุมบดบังจิต ตาปัญญาก็จะสว่างแลเห็นได้ลึกซึ้ง กว้างไกล ชัดเจน ถูกต้องฉะนั้น

ที่มา http://www.dhammajak.net/book-somdej3/5.html

โดย: Metha    เวลา: 2013-11-21 21:57
เมื่อใดเห็นสัจธรรม เมื่อนั้นถึงวิมุตติ....ได้เป็นสุข
จิตมีสมาธิ คือ มีความสงบเพียงไร ย่อมมีสติเพียงนั้น สติย่อมสามารถกั้นกระแสแห่งกิเลสไม่ให้เข้าใกล้จิตได้เพียงนั้น เห็นสัจธรรมเพียงนั้น เมื่อใดเห็นสัจธรรมอันเป็นความรู้จริง รู้ถูก รู้พร้อม เมื่อนั้นก็ย่อมวางความยึดถือ ถึงวิมุตติ.....หลุดพ้น ได้เป็นสุข
การฟังพระธรรมคำสอน ของ สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ท่านสอนมิให้ฟังเพื่อจดจำเท่านั้น แต่สอนให้ฟังเพื่อขัดเกลาจิตใจให้บริสุทธิ์สะอาด เพื่อให้เป็นที่เที่ยวไปของใจอย่างสบาย เพื่อให้บังเกิดความหน่ายความสิ้นติดใจยินดี เพื่อดับตัณหาความดิ้นรนทะยานอยาก เพื่อความรู้พร้อม เพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อที่จะหนีไกลกิเลสให้อย่างยิ่ง ท่านจึงสอนให้ปฏิบัติไปพร้อมกับการอ่านหรือการฟังธรรม ให้เกิดปัญญา คือแก้ไขจิตใจตนไปให้เกิดผล พร้อมกับการฟังหรือการอ่านทีเดียว มิใช่พยายามจดจำไว้เท่านั้น

ที่มา http://www.dhammajak.net/book-somdej3/5.html

โดย: Metha    เวลา: 2013-11-21 21:58
ผู้ปรารถนาชัยชนะ พึงเป็นผู้ไม่ประมาท
มีพุทธศาสนสุภาษิตบทหนึ่งกล่าวไว้ว่า “ไม่ควรสมคบด้วยความประมาท” นั่นก็คือไม่ควรประมาท เพราะความประมาทเป็นเหตุแห่งความตาย หรือความประมาทเป็นทางแห่งความตาย คำเต็มสมบูรณ์ของความประมาท คือ ความประมาทปัญญา ซึ่งหมายความว่าไม่เห็นความสำคัญของปัญญา หรือไม่เห็นความสำคัญของเหตุผลนั่นเอง
เหตุผล คือ ปัญญา เป็นเหตุให้พ้นทุกข์ได้ ตั้งแต่พ้นทุกข์น้อย พ้นทุกข์ใหญ่ จนถึงพ้นทุกข์สิ้นเชิง ซึ่งสมเด็จพระบรมศาสดาได้ทรงถึงแล้ว เหตุด้วยทรงถึงพร้อมด้วยพระปัญญาคุณ ทั้งทรงยังพระอรหันตสาวกทั้งหลายผู้มีปัญญาให้ได้ ให้ถึงตามสมเด็จพระพุทธองค์ด้วย
ผู้มีปัญญามากหลายที่กำลังดำเนินตามทางที่ทรงชี้แสดงไว้เพื่อไปสู่ความพ้นทุกข์ ต่างก็ได้พบความพ้นทุกข์มากน้อยเป็นลำดับ ตามกำลังแห่งสติปัญญาของตน

ที่มา http://www.dhammajak.net/book-somdej3/5.html

โดย: Metha    เวลา: 2013-11-21 21:59

ผู้ไม่ประมาททางปัญญา เป็นผู้มีความเห็นชอบ
สัมมาทิฐิ.....ความเห็นชอบ อันเป็นองค์สำคัญของมรรคมีองค์ ๘ ทางไปสู่ความพ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิง เกิดได้ด้วยปัญญา ประมาทปัญญาก็พ้นทุกข์ไม่ได้ เพราะเมื่อประมาทปัญญา ไม่ใช้ปัญญา
สัมมาทิฐิ.....ความเห็นชอบจะไม่มี เมื่อไม่มีความเห็นชอบ สิ่งที่ตามมาตลอดสายย่อมเป็นสิ่งไม่ชอบ สิ่งใดเป็นสิ่งไม่ชอบ สิ้นนั้นจะเป็นเหตุให้เกิดผลดีผลชอบไม่ได้ แต่จะให้เกิดผลร้ายเป็นโทษเป็นทุกข์ ดังนั้นทุกข์โทษทั้งปวงจึงเกิดแต่เหตุสำคัญเหตุเดียว คือความไม่ใช้ปัญญา หรือความประมาทปัญญานั่นเอง
ความไม่ใช้ปัญญา กับความประมาทปัญญา เกี่ยวเนื่องเช่นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ด้วยเหตุผลดังนี้ คือเมื่อประมาทปัญญาไม่เห็นความสำคัญของปัญญา ย่อมไม่ใช้ปัญญา ไม่อบรมปัญญา ปัญญาย่อมน้อย ปัญญาย่อมไม่เจริญ

ที่มา http://www.dhammajak.net/book-somdej3/5.html

โดย: Metha    เวลา: 2013-11-21 22:00
O ความไม่ประมาทปัญญา
ความไม่ประมาทปัญญา ต้องเป็นความไม่ประมาทพร้อมทั้งกาย วาจา ใจ คือไม่ประมาทในการคิด ไม่ประมาทในการพูด ไม่ประมาทในการดู ไม่ประมาทในการฟัง และไม่ประมาทในการทำ
O ความไม่ประมาทความคิด เป็นต้นสายของความไม่ประมาททั้งปวง
ในบรรดาความไม่ประมาททั้งหลาย ความไม่ประมาทความคิดเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เป็นต้นสายของความไม่ประมาททั้งปวง ความคิดเป็นเรื่องของใจ และใจนั้นท่านก็แสดงไว้แจ้งชัดว่าเป็นใหญ่ เป็นประธาน ทุกสิ่งสำเร็จด้วยใจ การพูด การดู การฟัง การทำ เป็นไปตามที่ใจคิดทั้งนั้น
ความคิดให้เกิดความเห็นชอบ คือ ความคิดด้วยอาศัยเหตุผล อาศัยปัญญา ให้ตรงให้ถูกตามจริง ความจริงเป็นอย่างไร ต้องอาศัยปัญญา ต้องไม่ประมาทปัญญา คิดให้เห็นตามความจริงนั้น ไม่คิดให้เห็นผิดจากความจริง

ที่มา http://www.dhammajak.net/book-somdej3/5.html

โดย: Metha    เวลา: 2013-11-21 22:00
O ความคิดเห็นชอบ...ปัญญาก็เห็นชอบ
ความคิดให้เห็นชอบในเรื่องทั่วไปทั้งหลาย ก็คิดให้เห็นผิดเป็นผิด
ไม่คิดให้เห็นผิดเป็นชอบ
คิดให้เห็นชอบเป็นชอบ ไม่คิดให้เห็นชอบเป็นผิด
คิดให้เห็นถูกเป็นถูก ไม่คิดให้เห็นถูกเป็นผิด
คิดให้เห็นคุณเป็นคุณ ไม่คิดให้เห็นคุณเป็นโทษ
คิดให้เป็นโทษเป็นโทษ ไม่คิดให้เห็นโทษเป็นคุณ
คิดให้เห็นเหตุแห่งคุณเป็นเหตุแห่งคุณ ไม่คิดให้เห็นเหตุแห่งคุณเป็นเหตุแห่งโทษ
คิดให้เป็นบาปเป็นบาป ไม่คิดให้เห็นบาปเป็นบุญ
คิดให้เห็นบุญเป็นบุญ ไม่คิดให้เห็นบุญเป็นบาป
คิดให้เห็นดีเป็นดี ไม่คิดให้เห็นดีเป็นชั่ว
คิดให้เห็นชั่วเป็นชั่ว ไม่คิดให้เห็นชั่วเป็นดี
คิดให้เห็นบัณฑิตเป็นบัณฑิต ไม่คิดให้เห็นบัณฑิตเป็นพาล
คิดให้เห็นพาลเป็นพาล ไม่คิดให้เห็นพาลเป็นบัณฑิต
คิดให้เห็นมิตรเป็นมิตร ไม่คิดให้เห็นมิตรเป็นศัตรู
คิดให้เห็นศัตรูเป็นศัตรู ไม่คิดให้เห็นศัตรูเป็นมิตร
ดังนี้เป็นต้น คือ “ปัญญาเห็นชอบ”
ที่มา http://www.dhammajak.net/book-somdej3/5.html

โดย: Metha    เวลา: 2013-11-21 22:04
O ผู้มีปัญญา ไม่ลำเอียงตามอำนาจของกิเลส
พุทธศาสนสุภาษิตบทหนึ่งกล่าวว่า “คนฉลาดกล่าวว่าปัญญาประเสริฐ เหมือนพระจันทร์ประเสริฐกว่าดาวทั้งหลาย แม้ศีลสิริและธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไปตามผู้มีปัญญา”
ผู้มีปัญญา คือ ผู้มีเหตุผล รู้ถูก รู้ผิด รู้ดีรู้ชั่ว รู้ควรรู้ไม่ควร รู้อย่างถูกตรงจริง มิใช่อย่างประมาณไปตามอำนาจของอคติ คือ โลภ โกรธ หลง แม้ประกอบด้วยอคติ ความลำเอียงเพราะโลภ เพราะโกรธ เพราะหลง เพราะกลัว ย่อมไม่เป็นไปอย่างถูกแท้
O พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาของปัญญา
พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาของปัญญาโดยแท้ สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นยอดของผู้มีปัญญา ซึ่งมีสัจจะรับรองปรากฏอยู่ ทรงสามารถใช้พระปัญญาตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง เสด็จสู่ความพ้นทุกข์พิเศษ คือ พ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิงได้ ไม่ทรงกลับพบทุกข์ใดอีก
เมื่อสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นยอดของผู้มีพระปัญญาเช่นนี้ ศาสนาของพระพุทธองค์จึงเป็นศาสนาที่สมบูรณ์ด้วยคำสอนที่เป็นปัญญายิ่ง ไม่อาจหาเปรียบได้ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน อันจะก้าวสู่อนาคตด้วยเป็นลำดับ

ที่มา http://www.dhammajak.net/book-somdej3/5.html

โดย: Metha    เวลา: 2013-11-21 22:06
O พระธรรมคำสอน เป็นไปเพื่อเสริมส่งปัญญา
พระธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา มิใช่เป็นคำสอนที่เป็นไปเพื่อความขลังความศักดิ์สิทธิ์ มิใช่เพื่อการสวดอ้อนวอน ขอประทานพระเมตตาจากพระพุทธองค์ หรือจากพระอริยสาวก หรือจากพรหมเทพน้อยใหญ่
พระธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนาเป็นไปเพื่ออบรมเสริมส่งปัญญาทั้งสิ้น ปัญญาสูงสุดที่สมเด็จพระบรมศาสดาทรงมุ่งประทานในการแสดงธรรม คือ ปัญญา เพื่อความพ้นทุข์ เป็นลำดับ ตั้งแต่พ้นทุกข์เล็กน้อย ถึงพ้นทุกข์ใหญ่ยิ่ง จนถึงพ้นทุกข์สิ้นเชิง
ความเข้าใจคำสอนคือธรรมะของพระพุทธเจ้าจึงสำคัญนักได้ความเข้าใจเพียงไรก็จะสามารถปฏิบัติได้เพียงนั้น จะได้รับความสงบสุขอันเป็นผลของการปฏิบัติเพียงนั้น ความเข้าใจและปฏิบัติพระธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาจึงสำคัญยิ่งนัก

ที่มา http://www.dhammajak.net/book-somdej3/5.html

โดย: Metha    เวลา: 2013-11-21 22:07
ความเมตตา สามารถชนะความทุกข์ทั้งปวง
พระพุทธศาสนาเกิดแต่พระปัญญาสูงสุด ของสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระปัญญาก็เริ่มแต่พระเมตตาเป็นเหตุที่แท้จริง ทรงมุ่งมั่นอบรมพระปัญญาจนรุ่งเรืองเต็มที่ก็ด้วยทรงมีพระพุทธปรารถนาจะช่วยทุกข์ของสัตว์โลกเท่านั้น มิใช่ทรงมุ่งมั่นเพื่ออะไรอื่น เมตตาจึงสำคัญที่สุด
ทุกคนมีความแตกต่างไม่เสมอกันด้วยปัญญา และถ้าพิจารณาให้ประณีตจริงแล้วน่าจะเห็นได้ว่า เป็นเช่นนั้นเพราะเหตุใด คือ ย่อมจะเห็นได้พอสมควรว่า ผู้มีเมตตามาก มีความเย็นมาก มีความสงบมาก ผู้นั้นจะมีปัญญาปรากฏให้เห็นในเรื่องทั้งหลายมากกว่าผู้อื่น จึงควรคิดได้ว่าเมตตาเป็นเหตุสำคัญ อย่างยิ่งที่จะนำไปสู่ความมีปัญญาได้
สมเด็จพระบรมศาสดา ทรงพระเมตตาคนทั้งโลก สัตว์ทั้งโลก จึงทรงดำเนินถึงจุดหมายสูงส่งเรืองด้วยพระปัญญา สามารถชนะความทุกข์ทั้งปวงได้ ไม่ต้องทรงพบความทุกข์อีกต่อไป แม้ที่เพียงเล็กน้อยเพียงใด และทรงสมพระหฤทัยช่วยสัตว์โลกน้อยใหญ่อีกประมาณมิได้ ให้ห่างไกลทุกข์มากน้อยตามการปฏิบัติ
ที่มา http://www.dhammajak.net/book-somdej3/5.html

โดย: Sornpraram    เวลา: 2013-11-22 08:22
metha ตอบกลับเมื่อ 2013-11-21 22:00
O ความไม่ประมาทปัญญาความไม่ประมาทปัญญา ต้องเป็นความ ...

ต้องอาศัยปัญญา ต้องไม่ประมาทปัญญา



โดย: Nujeab    เวลา: 2013-11-22 10:14
ขอบคุณครับ
โดย: Metha    เวลา: 2013-11-22 15:44
Sornpraram ตอบกลับเมื่อ 2013-11-22 08:22
ต้องอาศัยปัญญา ต้องไม่ประมาทปัญญา

เสี่ย ตา ปัญญา นิรันกุล
โดย: Sornpraram    เวลา: 2013-11-22 16:06
metha ตอบกลับเมื่อ 2013-11-22 15:44
เสี่ย ตา ปัญญา นิรันกุล

[youtube]0v_3RELV0dM[/youtube]
โดย: Metha    เวลา: 2013-11-22 16:29

ปัญญา แปลว่า ความรู้ทั่ว คือรู้ทั่วถึงเหตุถึงผล รู้อย่างชัดเจน, รู้เรื่องบาปบุญคุณโทษ, รู้สิ่งที่ควรทำควรเว้น เป็นต้น เป็นธรรมที่คอยกำกับศรัทธา เพื่อให้เชื่อประกอบด้วยเหตุผล ไม่ให้หลงเชื่ออย่างงมงาย

พระพุทธเจ้าทรงแสดงปัญญาไว้ถึง 3 ระดับ ซึ่งปัญญาทุกประเภทนั้นต้องสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน ไม่มีอะไรสำคัญมากน้อยไปกว่ากัน เนื่องจากการจะข้ามสะพานไปได้ ต้องเดินผ่านตั้งแต่ ต้นสะพาน ผ่านกึ่งกลางสะพาน แล้วจึงจะถึงปลายสะพาน ข้ามฟากได้ ปัญญา 3 ระดับก็เป็นฉันนั้น คือเริ่มจาก เข้าใจว่าอะไรคือ กุศลและอกุศล, เข้าใจกระบวนธรรมชาติ ตั้งแต่กฎแห่งกรรม ถึงไตรลักษณ์, และสุดท้าย จึงตระหนักถึงสภาวะของทุกข์และแนวทางการดับทุกข์ (อริยสัจ)

ปัญญา 3 ประการที่ว่านี้ ได้แก่

1. สุตมยปัญญา       คือ  ปัญญาที่สำเร็จโดยการฟัง
หมายถึงเอาปัญญา ความรู้ ความเข้าใจจากการอ่านและการฟัง ทบทวนศึกษาซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนกระทั่งมีพื้นฐานความรู้ที่ถูกต้อง และแม่นยำ ในอรรถะและพยัญชนะ

2. จินตามยปัญญา    คือ  ปัญญาที่สำเร็จโดยการคิดพิจารณา
หมายถึงปัญญาที่ได้จากการคิดใคร่ครวญ พินิจพิจารณา ให้เกิดความเข้าใจอย่างตกผลึกตามขั้นตอนของเหตุผล และความสัมพันธ์ต่างๆ โดยมิใช่การ จดจำเฉยๆ แต่สามารถมองสภาพปรมัตถ์ธรรมออกด้วยจินตนาการ เข้าใจถึงเป้าหมาย และรายละเอียดธรรมะได้ตรงทาง ไม่ว่าจะเป็นนัยตรงหรือเชิงประยุกต์ เพียงแต่มิได้อยู่ในฐานะเป็น "ผู้เห็นด้วยตนเอง" ก็เท่านั้น

3. ภาวนามยปัญญา   คือ  ปัญญาที่สำเร็จโดยการภาวนา
หมายถึงปัญญาของผู้ปฏิบัติวิปัสสนาตามแนวทางของมหาสติปัฏฐาน 4 แล้วประจักษ์แจ้งในความมิใช่ ตัวตน สัตว์ บุคคล ของขันธุ์ 5 เพราะประกอบด้วยรูปธรรมและนามธรรมเท่านั้น แม้ 'ใจ' หรือ 'วิญญาณ' ก็ไม่ใช่ตัวตน เมื่อเห็นแล้ว ก็จะไม่เหลือคุณค่าสาระใดๆ ที่จะต้องยึดถือให้เกิดความทุกทรมาน บีบคั้นจิตใจอีกต่อไป


ที่มา http://www.dek-d.com/board/view/2526016/

โดย: lnw    เวลา: 2013-11-27 20:45
metha ตอบกลับเมื่อ 2013-11-22 16:29
ปัญญา แปลว่า ความรู้ทั่ว คือรู้ทั่วถึงเหตุถึงผล รู้อ ...


โดย: Metha    เวลา: 2013-11-27 20:54
ชัยชนะที่ยิ่งใหญ่เริ่มต้นที่ชนะใจตน
โดย: Metha    เวลา: 2013-11-30 10:35
ทุกคนล้วนมี "ปัญหา"และ"อุปสรรค"..ในชีวิต...

ไม่มีใครที่จะมีแต่ความทุกข์ หรือ มีแต่ความสุข...เพียงอย่างเดียว



โดย: Metha    เวลา: 2013-12-4 07:57
ชัยชนะใดใด ย่อมเริ่มต้นที่ชนะใจตนก่อนเสมอ
โดย: Sornpraram    เวลา: 2013-12-4 08:23
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2013-12-4 08:25
metha ตอบกลับเมื่อ 2013-12-4 07:57
ชัยชนะใดใด ย่อมเริ่มต้นที่ชนะใจตนก่อนเสมอ ...


ปล่อยให้หัวใจเป็นอิสระบ้างเถอะค่ะ
อย่าใช้สมองให้มันมากนักเลย


โดย: Metha    เวลา: 2013-12-4 08:28
Sornpraram ตอบกลับเมื่อ 2013-12-4 08:23
ปล่อยให้หัวใจเป็นอิสระบ้างเถอะค่ะ
อย่าใช้สมองให้ม ...



โดย: Sornpraram    เวลา: 2016-1-1 07:00

โดย: oustayutt    เวลา: 2016-1-1 18:01

โดย: Metha    เวลา: 2016-1-2 05:12





ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/) Powered by Discuz! X3.2