Baan Jompra
ชื่อกระทู้:
~ หลวงปู่จูม พนฺธุโล วัดโพธิสมภรณ์ (พระอารามหลวง) ~
[สั่งพิมพ์]
โดย:
kit007
เวลา:
2013-11-18 11:55
ชื่อกระทู้:
~ หลวงปู่จูม พนฺธุโล วัดโพธิสมภรณ์ (พระอารามหลวง) ~
[attach]5487[/attach]
ประวัติและปฏิปทา
พระธรรมเจดีย์ (หลวงปู่จูม พนฺธุโล)
วัดโพธิสมภรณ์ (พระอารามหลวง)
ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี
๏ ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย
พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล)
มีนามเดิมว่า จูม จันทรวงศ์ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 เมษายน พุทธศักราช 2431 ตรงกับวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 6 ปีชวด สัมฤทธิศก จุลศักราช 2450 เป็นบุตรคนที่ 3 (ในจำนวนทั้งหมด 9 คน) ของนายคำสิงห์ และนางเขียว จันทรวงศ์ ครอบครัวมีอาชีพทำนาทำไร่ ท่านมีชาติภูมิอยู่ ณ บ้านท่าอุเทน ตำบลท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
เด็กชายจูม จันทรวงศ์ เป็นผู้มีอุปนิสัยดี เรียบร้อย สนใจใฝ่ในการทำบุญทำกุศลตั้งแต่เป็นเด็ก ชอบติดตามโยมบิดา-โยมมารดา หรือโยมคุณตา-โยมคุณยายไปวัดสม่ำเสมอ จึงได้มีโอกาสพบเห็นพระภิกษุสงฆ์เป็นประจำ เมื่ออายุครบเกณฑ์เข้าเรียนหนังสือ ก็ไปเข้าโรงเรียนวัดศรีเทพประดิษฐาราม (วัดศรีขุนเมือง) ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม จนจบหลักสูตรประถมศึกษาบริบรูณ์ในสมัยนั้น
โดย:
kit007
เวลา:
2013-11-18 12:00
๏ ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา
ต่อมาเมื่อเด็กชายจูม จันทรวงศ์ อายุได้ 12 ปี บิดามารดาประสงค์จะให้ลูกชายได้บวชเรียนในพระพุทธศาสนา จึงได้จัดการให้เด็กชายจูมได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดโพนแก้ว ตำบลท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.1442 ตรงกับวันอาทิตย์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 1 (เดือนอ้าย) ปีกุน โดยมี
พระครูขันธ์ ขนฺติโก
วัดโพนแก้ว เป็นพระอุปัชฌาย์,
ท่านพระครูเหลา
วัดโพนแก้ว เป็นพระอาจารย์ผู้ให้ไตรสรณคมน์และศีล และ
ท่านพระครูสีดา
วัดโพนแก้ว เป็นพระอาจารย์ผู้ให้โอวาทและอบรมสั่งสอนความรู้ทางหลักธรรม
เมื่อบวชเป็นสามเณรแล้ว ท่านได้อยู่จำพรรษา ณ วัดโพนแก้ว และได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม รวมทั้งระเบียบปฏิบัติขนบธรรมเนียมประเพณีของวัดโพนแก้วเป็นเวลา 3 ปี
การศึกษาเล่าเรียนของพระสงฆ์ในสมัยนั้นเป็นการเรียนอักษรสมัย คือ อักษรขอม อักษรธรรม และภาษาไทย สามเณรจูม จันทรวงศ์ มีความสนใจในการศึกษาเล่าเรียนสามารถเขียนอ่านได้อย่างคล่องแคล่ว มีสติปัญญาเฉียบแหลม จนเป็นที่รักใคร่ของครูบาอาจารย์ นอกจากนี้ ท่านยังได้ฝึกหัดเทศน์มหาชาติ (เวสสันดรชาดก) เป็นทำนองภาคอีสาน ปรากฏว่าเป็นที่นิยมชมชอบของบรรดาคณะศรัทธาญาติโยมทั้งบ้านใกล้และบ้านไกล
ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนุตสีโล
โดย:
kit007
เวลา:
2013-11-18 12:00
ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต
พระเทพสิทธาจารย์ (พระอาจารย์จันทร์ เขมิโย)
ต่อมาในปี พ.ศ.2445 สามเณรจูม จันทรวงศ์ ได้ย้ายไปอยู่วัดอินทร์แปลง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ และจะได้เป็นปัจจัยสำคัญในการศึกษาหลักธรรมชั้นสูงสืบต่อไป แต่ท่านก็อยู่จำพรรษาที่วัดอินทร์แปลงได้เพียงปีเดียว ในปี พ.ศ.2446
พระอาจารย์จันทร์ เขมิโย
ซึ่งต่อมาดำรงสมณศักดิ์ที่
พระเทพสิทธาจารย์
และเป็นพระอาจารย์สามเณรจูม ท่านมีจิตใจมุ่งมั่นที่จะบำเพ็ญสมณธรรมตามหลักของไตรสิกขาและมีความสนใจเรื่องการปฏิบัติกรรมฐานเป็นพิเศษ
พระเทพสิทธาจารย์ (พระอาจารย์จันทร์ เขมิโย)
จึงปรารภกับหมู่คณะและสานุศิษย์ว่าจะเดินทางไปกราบขออุบายธรรมปฏิบัติจากพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐาน คือ
ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนุตสีโล และท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต
ดังนั้น สามเณรจูม จันทรวงศ์ และหมู่คณะจึงได้ติดตามพระอาจารย์จันทร์ เขมิโย เดินทางออกจากจังหวัดนครพนมมุ่งสู่จังหวัดอุบลราชธานี
คณะพระอาจารย์จันทร์และลูกศิษย์ออกเดินทางรอนแรมไปตามป่าดงพงไพร พักไปเรื่อยๆ เมื่อผ่านหมู่บ้าน เนื่องจากการเดินทางในสมัยนั้นยาก ลำบากเต็มทน นอกจากต้องเดินทางด้วยเท้าเปล่าแล้ว ยังต้องผ่านป่าดงหนาทึบ และบางตอนเป็นภูเขาสูงชันบางตอนเป็นหุบเหวลึกต้องหาทางหลีกเลี่ยงวกไปวนมา จึงทำให้การเดินทางล่าช้าเมื่อไปถึงจังหวัดอุบลราชธานี พระอาจารย์จันทร์ เขมิโย ได้นำคณะศิษย์เข้ากราบนมัสการพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล และพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ณ สำนักวัดเลียบ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี และได้ฝากถวายตัวเป็นศิษย์ เพื่อศึกษาข้อวัตรปฏิบัติและแนวกรรมฐาน
โดย:
kit007
เวลา:
2013-11-18 12:01
แถวหน้า
จากซ้าย : หลวงปู่ขาว อนาลโย,
พระธรรมเจดีย์ (หลวงปู่จูม พนฺธุโล)
หลวงปู่บุญมา ฐิตเปโม, หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ
แถวหลัง
จากซ้าย : หลวงปู่มหาทองสุก สุจิตฺโต (พระครูอุดมธรรมคุณ),
พระธรรมไตรโลกาจารย์ (หลวงปู่รักษ์ เรวโต), พระครูศรีภูมานุรักษ์ (คำมี สุวณฺณสิริ),
หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน, หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ, หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ
ตลอดเวลา 3 ปี ที่อยู่จำพรรษา ณ วัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานี สามเณรจูม จันทรวงศ์ ได้รับการอบรมสั่งสอนจากพระอาจารย์ใหญ่ทั้งสองท่านเป็นอย่างดี จนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องวัตรปฏิบัติและแนวทางเจริญกรรมฐานเป็นที่น่าพอใจ เพราะอาศัยเมตตาจิตและโอวาทานุสาสนีจากพระอาจารย์ใหญ่ทั้งสอง จึงทำให้อุปนิสัยของสามเณรจูม จันทรวงศ์ ยึดมั่นในพระธรรมวินัยประพฤติดีปฏิบัติชอบสร้างสมบารมีเรื่อยมา จนได้เป็นพระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังและเป็นปูชนียบุคคลของชาวอีสานในกาลต่อมา
ภายหลังจากที่ได้ศึกษาธรรมปฏิบัติกรรมฐานกับท่านพระอาจารย์เสาร์ กนุตสีโล และท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต เป็นเวลา 3 ปีแล้ว ในปี พ.ศ.2449 พระเทพสิทธาจารย์ (พระอาจารย์จันทร์ เขมิโย) จึงได้กราบลาพระอาจารย์ใหญ่ทั้งสอง แล้วนำพาคณะพระภิกษุและสามเณรเดินทางกลับไปยังจังหวัดนครพนมอันเป็นถิ่นมาตุภูมิ ในการเดินทางกลับนั้น ก็มีความยากลำบากเหมือนกับตอนเดินทางมา คือ ต้องเดินทางด้วยเท้า ไม่มียานพาหนะใดๆ ถนนก็ยังไม่มีคงมีแต่หนทางและทางเกวียนที่ลัดเลาะไปตามป่าตามดง เมื่อผ่านหมู่บ้านก็ปักกลดพักแรมเป็นระยะๆ หมู่บ้านละ 2 คืนบ้าง 3 คืนบ้าง ชาวบ้านญาติโยมรู้ข่าวก็พากันมาฟังธรรม โดยพระอาจารย์จันทร์ เขมิโย เป็นผู้แสดงธรรมโปรดคณะศรัทธาญาติโยมทุกหมู่บ้านที่ผ่านเข้าไป ทำให้ประชาชนเกิดศรัทธาปสาทะเป็นอย่างยิ่ง บางแห่งถึงกับนิมนต์คณะของพระอาจารย์จันทร์ให้พักอยู่หลายๆ วันก็มี
ต่อมาในปี พ.ศ.2450 พระเทพสิทธาจารย์ (พระอาจารย์จันทร์ เขมิโย) ได้พิจารณาเห็นว่าลูกศิษย์ทั้ง 7 คนของท่าน คือ สามเณรจูม จันทรวงศ์, สามเณรสังข์, สามเณรเกต, สามเณรคำ, นายสาร, นายสอน และนายอินทร์ ทั้งหมดนี้เป็นผู้มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ สมควรจะทำการอุปสมบทได้แล้ว ท่านพระอาจารย์จันทร์จึงจัดเตรียมบริขารเครื่องใช้ที่จำเป็นแก่ศิษย์ แล้วพาคณะศิษย์ทั้ง 7 คนเดินทางจากเมืองนครพนมไปยังเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี ในขณะนั้น เพื่อเข้ารับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุสืบต่อไป
ในการเดินทางครั้งนั้น ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) ได้เล่าไว้ว่า
“เดินทางด้วยเท้าเปล่าจากเมืองนครพนมถึงหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี เป็นเวลา 15 วันเต็มๆ
ไปถึงแล้วก็พักผ่อนกันพอสมควร”
โดย:
kit007
เวลา:
2013-11-18 12:02
วันอุปสมบท
คือ วันที่ 9 เดือนมีนาคม พุทธศักราช 2450 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 4 ปีมะแม ณ พัทธสีมาวัดมหาชัย ตำบลหนองบัวลำภู อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี (ตำบลลำภู อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู ในปัจจุบัน) โดยมี
ท่านพระครูแสง ธมฺมธโร
วัดมหาชัย เป็นพระอุปัชฌาย์,
ท่านพระครูสีมา สีลสมฺปนฺโน
วัดจันทราราม (เมืองเก่า) อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ
พระเทพสิทธาจารย์ (พระอาจารย์จันทร์ เขมิโย)
เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ท่านได้รับนามฉายาว่า
“พนฺธุโล”
อันมีความหมายเป็นมงคลว่า
“ผู้ปรารภความเพียร”
การอุปสมบทเสร็จสิ้นเมื่อเวลา 17.10 น.
หลังจากที่พระภิกษุจูม พนฺธุโล ได้อุปสมบทเรียบร้อยแล้ว พระอาจารย์จันทร์ เขมิโย ก็ได้นำคณะพระนวกะที่เป็นลูกศิษย์เดินทางกลับจังหวัดนครพนม โดยผ่านเมืองอุดรธานีมุ่งสู่จังหวัดหนองคาย ลงเรือชะล่าซึ่งพระยาสุนทรเทพสัจจารักษ์ เจ้าเมืองนครพนม จัดให้มารับที่จังหวัดหนองคาย ล่องเรือไปตามแม่น้ำโขงเป็นเวลา 12 วันเต็มๆ ก็ถึงจังหวัดนครพนม แล้วพำนักจำพรรษา ณ วัดศรีเทพประดิษฐาราม (วัดศรีขุนเมือง) 1 พรรษา
ในปี พ.ศ.2451 พระภิกษุสามเณรจำนวน 5 รูป ได้แก่ (1) ท่านพระอาจารย์จันทร์ เขมิโย (2) พระภิกษุจูม พนฺธุโล (3) พระภิกษุสาร สุเมโธ (4) สามเณรจันทร์ มุตตะเวส และ (5) สามเณรทัศน์ ได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม ให้มีความรู้ทางด้านนักธรรมและบาลีให้ดียิ่งขึ้น การเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ในสมัยนั้นเต็มไปด้วยความยากลำบาก ต้องอาศัยพ่อค้าหมูเป็นผู้นำทาง ผ่านจังหวัดสกลนครขึ้นเขาภูพาน และต้องนอนค้างคืนบนสันเขาภูพานถึง 2 คืน ผ่านจังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดขอนแก่น อำเภอชนบท และหมู่บ้านต่างๆ จนกระทั่งถึงจังหวัดนครราชสีมา ใช้เวลาเดินทางทั้งสิ้นรวม 24 วัน
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
(หม่อมเจ้าภุชงค์ ชมพูนุท สิริวฑฺฒโน)
โดย:
kit007
เวลา:
2013-11-18 12:03
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร)
เมื่อเดินทางถึงจังหวัดนครราชสีมา ก็ได้โดยสารรถไฟต่อเพื่อเข้ากรุงเทพฯ เพราะในสมัยนั้นทางรถไฟมาถึงแค่เมืองโคราช ครั้นถึงกรุงเทพฯ แล้วได้ไปพักอยู่วัดเทพศิรินทราวาส ซึ่งมี
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร)
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่
พระสาสนโสภณ
เป็นเจ้าอาวาส ท่านพระอาจารย์จันทร์ เขมิโย ได้นำคณะเข้ากราบเรียน โดยนำจดหมายฝากจาก
พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ (เลื่อง ภูมิรัตน์)
เจ้าเมืองนครพนม เข้าถวาย ครั้นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) ทราบเจตจำนงแล้ว ก็ได้รับพระภิกษุสามเณรทั้ง 5 รูปให้อยู่จำพรรษาที่วัดเทพศิรินทราวาส เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมสืบต่อไป
พระภิกษุจูม พนฺธุโล
ได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมทั้งแผนกนักธรรมและบาลี ณ สำนักวัดเทพศิรินทราวาส เป็นเวลาหลายพรรษา พระภิกษุจูมได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนด้วยความวิริยะและอุตสาหะ แม้จะทุกข์ยากลำบากก็อดทนต่อสู้เพื่อความรู้ความก้าวหน้า ในที่สุดท่านก็สามารถสอบไล่ได้นักธรรมชั้นตรี และชั้นโท ต่อมาก็เรียนบาลีไวยากรณ์และแปลธรรมบท จนสามารถสอบไล่ได้เปรียญธรรม 3 ประโยค จากความสำเร็จทางการศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมนี้ พระมหาจูม พนฺธุโล จึงได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูฐานานุกรม ที่
“พระครูสังฆวุฒิกร”
ซึ่งเป็นฐานานุกรมของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่
พระสาสนโสภณ
ในปี พ.ศ.2448 ปีมะเส็ง ซึ่งเป็นปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ์ เนติโพธิ์) มีศักดิ์เป็นมหาอำมาตย์ตรี ซึ่งเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดรธานี ได้จัดสร้างวัดขึ้นอีกแห่งหนึ่ง (นอกเหนือไปจากวัดมัชฌิมาวาส) ได้นิมนต์
พระครูธรรมวินยานุยุต (หนู)
เจ้าคณะเมืองอุดรธานี จากวัดมัชฌิมาวาสมาเป็นเจ้าอาวาสวัดที่สร้างขึ้นใหม่แห่งนี้ ต่อมา มหาอำมาตย์ตรีพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร ได้เข้ากราบทูลขอชื่อวัดใหม่ต่อ
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า (หม่อมเจ้าภุชงค์ ชมพูนุท สิริวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชเจ้าวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ พระองค์จึงได้ทรงประทานนามว่า
“วัดโพธิสมภรณ์”
ให้เป็นอนุสรณ์แด่
มหาอำมาตย์ตรีพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ์ เนติโพธิ์)
ผู้ก่อตั้งจำเดิมแต่นั้นเป็นต้นมา
นั่งบนพื้น
: พระตั๋น รุวรรณศร
แถวนั่งเก้าอี้
จากซ้าย : หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี, หลวงปู่ขาว อนาลโย,
พระธรรมเจดีย์ (หลวงปู่จูม พนฺธุโล)
, หลวงปู่บุญมา ฐิตเปโม, หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ
แถวยืนหลังสุด
จากซ้าย : หลวงปู่อ่อนสี สุเมโธ, พระศรีรัตนวิมล,
พระธรรมไตรโลกาจารย์ (หลวงปู่รักษ์ เรวโต), พระครูบริหารคณานุกิจ,
หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน, พระอาจารย์จันทร์ เขมปตฺโต
บันทึกภาพเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พุทธศักราช 2503
โดย:
kit007
เวลา:
2013-11-18 12:04
ปกหน้า-หลังของ หนังสือ ๔๗ ปี อมตะธรรม พนฺธุโล ภิกขุ
วัดโพธิสมภรณ์ ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2456 พระยาราชานุกูลวิบูลย์ภักดี (อวบ เปาโรหิตย์) ดำรงตำแหน่งอุปราชมณฆลภาคอีสาน และเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดรธานี ภายหลังได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยามุขมนตรีศรีสมุหพระนครบาล ได้พิจารณาเห็นว่า ภายในเขตเทศบาลอุดรธานียังไม่มีวัดฝ่ายธรรมยุติกนิกาย สมควรจะจัดให้
“วัดโพธิสมภรณ์”
เป็นวัดคณะธรรมยุติ และในขณะเดียวกันก็ขาดพระภิกษุผู้จะมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส เนื่องจากเจ้าอาวาสองค์ก่อนคือ
พระครูธรรมวินยานุยุต (หนู)
ชราภาพมากแล้ว อีกทั้งคณะศรัทธาญาติโยมได้นิมนต์ให้กลับไปอยู่บ้านเกิดเมืองนอนของท่านคือ วัดศรีเมือง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
ท่านพระยามุขมนตรีศรีสมุหพระนครบาล (อวบ เปาโรหิตย์) จึงไปกราบปรึกษาหารือกับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่
พระสาสนโสภณ
เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพฯ และได้นำความขึ้นกราบทูลพพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า (หม่อมเจ้าภุชงค์ ชมพูนุท สิริวฑฺฒโน) เพื่อขอพระเปรียญธรรม 1 รูป จากวัดเทพศิรินทราวาส ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส โดยบัญชาของสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ได้คัดเลือกพระเปรียญธรรมผู้มีความรู้ความสามารถ ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาและจริยา และมีภูมิลำเนาอยู่ภาคอีสาน ปรากฏว่า
พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล)
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่
พระครูสังฆวุฒิกร
นักธรรมโท ป.ธ.3 ได้รับการคัดเลือก นับว่าเป็นผู้เหมาะสมที่สุดและเป็นที่พอใจของพระยามุขมนตรีฯ อีกด้วย เพราะท่านพระยามุขมนตรีฯ มีความสนิทคุ้นเคยและเคยเป็นผู้อุปถัมภ์บำรุงพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) มาก่อน
พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) อยู่จำพรรษาที่วัดเทพศิรินทราวาส เป็นเวลานานถึง 15 ปี เมื่อได้รับพระบัญชาจากสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ และสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) เช่นนั้น ก็มีความเต็มในที่จะสนองพระเดชพระคุณอย่างเต็มที่ จึงอำลาวัดเทพศิรินทราวาสที่ท่านอยู่จำพรรษามานานถึง 15 ปี เดินทางสู่จังหวัดอุดรธานีเพื่อไปเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ อันเป็นวัดของคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ตั้งแต่ปีกุน พ.ศ.2466 เป็นต้นมา เมื่อดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสในฐานะนักปกครองเป็นครั้งแรก พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) ก็ได้เร่งพัฒนาวัดโพธิสมภรณ์ให้เจริญรุ่งเรือง ทั้งทางด้านศาสนสถาน ศาสนศึกษา ศาสนบุคคล และศาสนธรรม
พระธรรมเจดีย์ (หลวงปู่จูม พนฺธุโล) เมื่อครั้งยังมีพรรษาไม่มากนัก
โดย:
kit007
เวลา:
2013-11-18 12:05
พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) มีปฏิปทาอันน่าเลื่อมใสศรัทธา และควรยึดถือเป็นแบบอย่างเป็นเอนกประการ ท่านได้เพียรอุทิศตนเพื่อทำงานเผยแผ่หลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยมิได้เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยแต่อย่างใด
ภาระหน้าที่หลักที่ท่านถือเป็นธุระสำคัญมี 4 อย่างด้วยกัน คือ (1) การปกครอง (2) การศึกษา (3) การเผยแผ่ และ (4) การสาธารณูปการ
ทางด้านการปกครองนั้น
ท่านถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการเป็นผู้นำ จะเห็นได้จากที่ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ (พระอารามหลวง) จังหวัดอุดรธานี เป็นเวลา 39 ปี, เป็นพระอุปัชฌาย์ 39 ปี, เป็นผู้รักษาการเจ้าคณะมณฑลอุดรธานี 3 ปี, เป็นเจ้าคณะมณฑลอุดรธานี 14 ปี, เป็นสมาชิกสังฆสภา 17 ปี และเป็นเจ้าคณะธรรมยุติผู้ช่วยภาค 3, 4 และ 5 รวม 12 ปี ท่านปกครองพระภิกษุ สามเณร อุบาสก และอุบาสิกา ด้วยหลักพรหมวิหารธรรม เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยและกฎระเบียบเป็นอย่างยิ่ง
ส่วนทางด้านการศึกษานั้น พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ก็เอาใจใส่และให้การสนับสนุนด้วยดีตลอดมา ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าท่านได้รับการฝึกอบรมสั่งสอนมาจากสำนักเรียนวัดเทพศิรินทราวาส อันเป็นศูนย์กลางการศึกษาวิชาการทางพระพุทธศาสนา ท่านได้ส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรม ทั้งแผนกนักธรรมและแผนกบาลีและท่านเป็นครูสอนปริยัติด้วยตนเอง นับตั้งแต่สมัยที่ท่านมาเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ใหม่ๆ จนทำให้วัดของท่านมีชื่อเสียงโด่งดัง มีพระภิกษุสามเณรสอบได้ทั้งนักธรรมและเปรียญธรรมปีละมากๆ
นอกจากการเอาใจใส่ในงานส่วนรวมแล้ว
ท่านยังมีปฏิปทาทางด้านวัตรปฏิบัติอันมั่นคงด้วยดีตลอดมา นั่นคือ (1) ฉันภัตตาหารมื้อเดียว หรือ ที่เรียกว่า “เอกาสนิ กังคะ” (2) ถือไตรจีวร คือ ใช้ผ้าเพียง 3 ผืน (3) ปฏิบัติสมถกรรมฐาน กำหนดภาวนา “พุทโธ” เป็นอารมณ์ (4) ปรารภความเพียร ขยันเจริญสมาธิภาวนา และ (5) เมื่อออกพรรษาปวารณาแล้ว ท่านก็ออกตรวจตราโดยการเดินทางไปเยี่ยมเยือนพระภิกษุสามเณรซึ่งอยู่ในเขตปกครอง เป็นลักษณะการไปออกเดินธุดงค์ตลอดหน้าแล้ง
คุณงามความดีที่พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) ได้เพียรบำเพ็ญมาด้วยความวิริยะอุตสาหะ ทำให้พระมหาเถระผู้ใหญ่มองเห็นความสำคัญและความสามารถของท่าน จึงได้ยกย่องเทิดทูนท่านไว้ในตำแหน่งทางสมณศักดิ์ตามลำดับดังนี้
พ.ศ.2463 เป็นพระครูฐานานุกรมของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่
พระสาสนโสภณ
ในตำแหน่งพระครูสังฆวุฒิกร
พ.ศ.2468 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูชินโนวาทธำรง
พ.ศ.2470 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชคณะชั้นสามัญที่ พระญาณดิลก
พ.ศ.2473 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชเวที
พ.ศ.2478 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพกวี
พ.ศ.2488 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่
พระธรรมเจดีย์
แถวหน้า
จากซ้าย : หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ, หลวงปู่อ่อนสี สุเมโธ,
หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ, หลวงปู่บุญมา ฐิตเปโม, หลวงปู่ฝั้น อาจาโร,
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี,
พระธรรมเจดีย์ (หลวงปู่จูม พนฺธุโล)
บันทึกภาพร่วมกัน ณ วัดศรีเมือง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.หนองคาย
โดย:
kit007
เวลา:
2013-11-18 12:06
แถวหน้า
จากซ้าย : พระอุดมญาณโมลี (หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป),
พระธรรมเจดีย์ (หลวงปู่จูม พนฺธุโล)
, พระจันโทปมาจารย์ (หลวงปู่จันโท กตปุญฺโญ)
แถวหลัง
จากซ้าย : พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน),
พระอุดรคณาจารย์ (หลวงปู่สวัสดิ์ ขนฺติวิริโย),
พระพ.ต.พักตร์ ญาณิสฺสโร (มีนะกนิษฐ) และจ่าคำมูล สีดาลาด นายทหารคนสนิท
บันทึกภาพร่วมกัน ณ ด้านหน้าพระอุโบสถ วัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี
๏ ธรรมโอวาท
พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) ได้แสดงความจริงในอารมณ์จิตของท่าน และหาวิธีระงับดับอารมณ์นั้น โดยไม่หลงใหลไปกับโลกธรรม อุบายนั้นท่านได้แสดงไว้ว่า
“จิตเป็นธรรมชาติที่กวัดแกว่งดิ้นรน กระสับกระส่าย แส่ไปตามอารมณ์ที่ใคร่ พอใจในเบญจกามคุณ ถึงกระนั้นก็ได้มีทมะ คือความข่มจิตไว้ ไม่ให้ยินดียินร้ายไปตามอารมณ์ พร้อมทั้งมีสติประคับประคองยกย่องจิตตามอนุรูปสมัยนับว่าได้ผล คือจิตสงบระงับจากนิวรณูปกิเลสเป็นการชั่วคราวบ้าง เป็นระยะยาวนานบ้าง แต่ในบางโอกาสก็ควบคุมได้ยาก ซึ่งเป็นของธรรมดาสำหรับปุถุชน ต่อจากนั้นก็ได้บากบั่นทำจิตของตนให้รู้เท่าทันสภาวธรรมนั้นๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ตื่นเต้นไปกับโลกธรรม แต่ว่าระงับได้ในบางขณะเช่น ความรัก ความชัง อันเป็นปฏิปักขธรรมเป็นต้น เหล่านี้ยังปรากฏมีในตนเสมอถึงกระนั้นก็ยังมีปรีชาทราบอยู่เป็นนิตย์ว่า เป็นโลกิยธรรมนำสัตว์ให้ท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงได้ฝึกหัดดัดนิสัยพยายามถอนตนออกจากโลกียธรรมตามความสามารถ รู้สึกว่าสบายกายสบายใจอันแท้จริงธรรมนี้เกิดจากข้อวัตรปฏิบัติในการละ พอใจยินดีอย่างยิ่งในความสงบ”
อีกคราวหนึ่งท่านได้รับนิมนต์ให้ไปเทศน์ โดยมีพระเถระผู้ใหญ่รูปหนึ่งติดตามไปด้วย คือ
พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
วัดป่าบ้านตาด ตำบลบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี วันนั้นท่านได้แสดงธรรมไว้อย่างแยบคาย พอที่จะหยิบยกเอาใจความสำคัญมากล่าวไว้ ณ ที่นี้ ดังต่อไปนี้
จิตของพระอริยเจ้า แยกอาการได้ 4 อาการ คือ
อาการที่ 1 อโสก
จิตของท่านไม่เศร้าโศก ไม่มีปริเทวนา การร้องไห้เสียใจ จิตใจของท่านมีความสุขล้วนๆ ส่วนจิตใจของปุถุชนคนธรรมดายังหนาไปด้วยกิเลสเต็มไปด้วยความรัก ความโศกถูกความทุกข์ครอบงำ ความโศกย่อมเกิดจากความรักเป็นเหตุ เมื่อมีความรักก็มีความโศก ถ้าตัดความรักเสียแล้ว ความโศกจะมีแต่ที่ไหน
อาการที่ 2 วิรช
จิตของพระอริยเจ้าผ่องแผ้ว ปราศจากฝุ่น ไร้ธุลี คือ ปราศจากราคะ โทสะ และโมหะ คงจะมีแต่พุทธะคือ รู้ ตื่น เบิกบาน
อาการที่ 3 เขม
จิตของพระอริยเจ้ามีแต่ความเกษมสำราญ เพราะปราศจากห้วงน้ำไหลมาท่วมท้นห้วงน้ำใหญ่เรียกว่า “โอฆะ” ไม่อาจจะท่วมจิตของพระอริยะเจ้าได้
อาการที่ 4 จิตของพระอริยะไม่หวั่นไหวไปตามอำนาจกิเลส
ไม่ตกอยู่ในห้วงแห่งอวิชชา จิตของพระอริยะมีแต่อาโลโก สว่างไสวแจ่มแจ้ง ธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เคยพบเคยเห็นตั้งแต่ภพก่อนชาติก่อน และไม่เคยฟังจากใครคราวนี้ก็แจ่มแจ้งไปเลยเพราะท่านตัดอวิชชาเสียได้
โดย:
kit007
เวลา:
2013-11-18 12:07
พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
ศาสตราจารย์ นพ.อวย เกตุสิงห์
๏ ปัจฉิมบท
พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นพระมหาเถระผู้มากด้วยบุญบารมีรูปหนึ่ง มีคุณธรรมสูง ทั้งมีวัตรปฏิปทาอันงดงามซึ่งพอที่จะนำมากล่าวได้ ดังนี้
(1)
ธีโร
เป็นนักปราชญ์
(2)
ปญฺโญฺ
มีปัญญาเฉียบแหลม
(3)
พหุสฺสุโต
เป็นผู้คนแก่เรียน
(4)
โธรยฺโห
เป็นผู้เอาจริงเอาจังกับธุระในพระพุทธศาสนา
มี 2 ประการ คือ คันถธุระ และวิปัสสนาธุระ
(5)
สีลวา
เป็นผู้มีศีลวัตรอันดีงาม
(6)
วตวนฺโต
เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งธุดงควัตร
(7)
อริโย
เป็นผู้ห่างไกลจากความชั่ว
(8)
สุเมโธ
เป็นผู้มีปัญญาดี
(9)
ตาทิโส
เป็นผู้มั่นคงในพระธรรมวินัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
(10)
สปฺปุริโส
เป็นผู้มีกาย วาจา และใจ อันสงบเยือกเย็น
เป็นสัตบุรุษ พุทธสาวกผู้ควรค่าแก่การกราบไหว้บูชาได้อย่างสนิทใจโดยแท้
ท่านเริ่มอาพาธมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2504 จนถึงเดือนมีนาคม พ.ศ.2505 คณะแพทย์โรงพยาบาลศิริราชได้ถวายการรักษาโดยการผ่าตัดก้อนนิ่วออก รักษาจนหายเป็นปกติแล้วเดินทางกลับวัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี ครั้นต่อมาปลายเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2505 ท่านก็เริ่มอาพาธอีก คณะแพทย์ซึ่งมี
ศาสตราจารย์ นพ.อวย เกตุสิงห์
เป็นประธาน ได้นิมนต์ท่านเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช ท่านเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2505 โดยมี
พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
ร่วมเดินทางไปด้วย
ศาสตราจารย์ นพ.อวย เกตุสิงห์ ได้ถวายการรักษาด้วยการผ่าตัด ถุงน้ำดีมีก้อนนิ่ว 11 เม็ด อาการดีขึ้นเพียง 3 วัน ต่อจากนั้นอาการก็ทรุดลง ต้องให้ออกซิเจนและน้ำเกลือ วันที่ 9 กรกฎาคม 2505 ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ก็ถูกเวทนาอันแรงกล้าครอบงำ แต่ท่านก็มิได้แสดงอาการใดๆ ให้ปรากฏ
จนกระทั่งเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2505 ท่านก็ถึงแก่มรณภาพด้วยอาการอันสงบ ในเวลา 15.27 น. ณ โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพฯ ท่านได้ละสังขารอันไม่มีแก่นสารนี้ไป สิริรวมอายุได้ 74 ปี 2 เดือน 15 วัน พรรษา 55
ต่อมาคณะสงฆ์ คณะศิษยานุศิษย์ และพุทธศาสนิกชนทั่วไป ได้ร่วมกันบริจาคทรัพย์สร้างเมรุถาวร และศาลาบำเพ็ญกุศลศพ 2 หลัง ได้แก่ ศาลาประจงจิตต์ และศาลาสามพระอาจารย์ เพื่อเป็นอนุสรณ์และเป็นที่พระราชทานเพลิงศพพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) ด้วย
โดย:
kit007
เวลา:
2013-11-18 12:09
แถวหน้า
จากซ้าย : หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี,
พระธรรมเจดีย์ (หลวงปู่จูม พนฺธุโล)
,
หลวงปู่บุญมา ฐิตเปโม, หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ
แถวหลัง
จากซ้าย : หลวงปู่ขาว อนาลโย, หลวงปู่อ่อนสี สุเมโธ,
หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน, พระอาจารย์จันทร์ เขมปตฺโต
ศาสนวัตถุสำคัญภายใน “วัดโพธิสมภรณ์” อ.เมือง จ.อุดรธานี
๏ ประวัติวัดโพธิสมภรณ์
สถานที่ตั้งวัด
วัดโพธิสมภรณ์
ตั้งอยู่บนถนนเพาะนิยม เลขที่ 22 ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี อยู่ทางทิศตะวันตกของหนองประจักษ์ มีเนื้อที่ทั้งหมด 40 ไร่
ความเป็นมา
วัดโพธิสมภรณ์
เริ่มสร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อปี พ.ศ.2449 ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดย
มหาอำมาตย์ตรีพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ์ เนติโพธิ์)
สมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดร ได้พิจารณาเห็นว่าในเขตเทศบาลเมืองอุดรธานี มีเพียง
“วัดมัชฌิมาวาส”
วัดเดียวเท่านั้น สมควรที่จะสร้างวัดขึ้นอีกสักวัดหนึ่ง จึงได้ไปสำรวจดูสถานที่ทางด้านทิศใต้ของ “หนองนาเกลือ” ซึ่งเป็นหนองน้ำกว้างใหญ่อุดมไปด้วยเกลือสินเธาว์ มีปลาและจระเข้ชุกชุม (ต่อมาภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น “หนองประจักษ์” เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ผู้ก่อตั้งเมืองอุดรธานี) เห็นว่าเป็นทำเลที่เหมาะสมควรแก่การสร้างวัดได้เพราะเป็นที่ราบป่าละเมาะเงียบสงบดี ไม่ใกล้ไม่ไกลจากหมู่บ้านมากนักและอยู่ใกล้แหล่งน้ำ
เมื่อตกลงใจเลือกสถานที่ได้แล้ว มหาอำมาตย์ตรีพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ์ เนติโพธิ์) ก็ได้ชักชวนและนำพาราษฎรในหมู่บ้านหมากแข้งมาร่วมกันถากถางป่าจนพอควรแก่การปลูกกุฏิ ศาลาโรงธรรม สำหรับใช้เป็นที่บำเพ็ญบุญ และเป็นที่ประกอบพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาประจำปีของหน่วยราชการ ใช้เวลาสร้างอยู่ประมาณ 1 ปี ในระยะแรกชาวบ้านเรียกว่า “วัดใหม่” เพราะแต่เดิมมีเพียงวัดมัชฌิมาวาสซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “วัดเก่า” ด้วยพบร่องรอยเป็นวัดร้างมาก่อน มีเจดีย์ศิลาแลงเก่าแก่และพระพุทธรูปหินขาวปางนาคปรก และได้กราบอาราธนา
พระครูธรรมวินยานุยุต (หนู)
เจ้าคณะเมืองอุดรธานี จากวัดมัชฌิมาวาสมาเป็นเจ้าอาวาสวัด
โดย:
kit007
เวลา:
2013-11-18 12:10
ตั้งชื่อ
มหาอำมาตย์ตรีพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ์ เนติโพธิ์) ได้นำความขึ้นกราบทูลขอชื่อต่อ
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า (หม่อมเจ้าภุชงค์ ชมพูนุท สิริวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชเจ้าวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ ได้ทรงประทานนามว่า
“วัดโพธิสมภรณ์”
เพื่อให้เป็นอนุสรณ์แก่
มหาอำมาตย์ตรีพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ์ เนติโพธิ์)
ผู้สร้างวัดแห่งนี้
ร่วมใจพัฒนา
ประมาณ 3 ปีต่อมา มหาอำมาตย์ตรีพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ์ เนติโพธิ์) กับพระครูธรรมวินยานุยุต (หนู) เจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ ในขณะนั้น ก็ได้เริ่มสร้างโบสถ์ไม้ขึ้นพอเป็นที่อาศัยทำอุโบสถสังฆกรรม ครั้นต่อมาก็ได้เริ่มสร้างโบสถ์ก่อด้วยอิฐถือปูน โดยใช้ผู้ต้องขังในเรือนจำเป็นแรงงาน โดยมหาอำมาตย์ตรีพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร เป็นช่างผู้ควบคุมการก่อสร้างเอง แต่ยังไม่แล้วเสร็จท่านก็ได้ถึงแก่อนิจกรรมเสียก่อนเมื่อปี พ.ศ.2455
สำหรับพระครูธรรมวินยานุยุต (หนู) ท่านมาอยู่ให้เป็นครั้งคราว บางปีก็มาจำพรรษาเพื่อฉลองศรัทธาของมหาอำมาตย์ตรีพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตรบ้าง มีพระรูปอื่นมาจำพรรษาแทนบ้าง ต่อมาเมื่อท่านชราภาพมากแล้ว คณะศิษยานุศิษย์และลูกหลานทางเมืองหนองคายเห็นพ้องกันว่า ควรอาราธนาท่านไปอยู่จำพรรษาที่วัดศรีเมือง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย เพื่อสะดวกในการปรนนิบัติและได้มรณภาพ ณ ที่นั้น
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
(หม่อมเจ้าภุชงค์ ชมพูนุท สิริวฑฺฒโน)
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร)
โดย:
kit007
เวลา:
2013-11-18 12:11
รูปหล่อสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) ณ วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ
เสาะหาผู้นำ
ในปี พ.ศ.2465
มหาเสวกโทพระยาราชนุกูลวิบูลยภักดี (อวบ เปาโรหิตย์)
ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งอุปราชมณฑลภาคอีสาน และเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดรธานีด้วย (ต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น
เจ้าพระยามุขมนตรี ศรีสมุหพระนครบาล
) ได้มาก่อสร้างวัดโพธิสมภรณ์สืบต่อ โดยขอขยายอาณาเขตของวัดให้กว้างออกไป ตลอดถึงก่อสร้างเสนาสนะเพิ่มเติมอีกหลายหลัง พร้อมกับสร้างอุโบสถต่อจนแล้วเสร็จ และจัดการขอพระราชทานวิสุงคามสีมาให้เป็นหลักฐาน ทั้งเห็นว่าภายในเขตเทศบาลของจังหวัดนี้ยังไม่มีวัดในฝ่ายธรรมยุติกนิกายสักวัด สมควรจะตั้งวัดแห่งนี้ให้เป็นวัดของคณะธรรมยุตโดยแท้
เมื่อกิจการพระศาสนาได้เจริญก้าวหน้าขึ้นโดยลำดับเช่นนี้ แต่ว่ายังขาดพระภิกษุผู้เป็นเจ้าอาวาส เจ้าพระยามุขมนตรีฯ จึงได้ปรึกษาหารือกับ
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส)
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่
พระเทพเมธี
เจ้าคณะมณฑลอุบลราชธานี โดยมีความเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรจัดพระเปรียญเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ เพื่อจะได้บริหารกิจการพระศาสนาฝ่ายปริยัติธรรมและฝ่ายวิปัสสนาธุระให้กว้างขว้างยิ่งขึ้น
ดังนั้น เจ้าพระยามุขมนตรีฯ จึงนำความคิดเห็นกราบเรียนต่อ
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร)
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่
พระสาสนโสภณ
เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพฯ ก่อน แล้วจึงนำความขึ้นกราบทูลพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ขอพระเปรียญ 1 รูปจากวัดเทพศิรินทราวาส ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์สืบไป สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ จึงทรงรับสั่งให้เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาสเลือกเฟ้นพระเปรียญ ก็ได้
พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล)
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่
พระครูสังฆวุฒิกร
นักธรรมโท ป.ธ.3 ฐานานุกรมของท่าน ซึ่งได้ศึกษาเล่าเรียนอยู่ในสำนักวัดเทพศิรินทราวาสเป็นเวลาถึง 15 ปี ว่าเป็นผู้เหมาะสม ทั้งยังเป็นที่ชอบใจของเจ้าพระยามุขมนตรีฯ อีกด้วย เพราะท่านเคยเป็นผู้อุปถัมภ์บำรุงอยู่ก่อนแล้ว พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) จึงได้ย้ายจากวัดเทพศิรินทราวาสไปเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ ตั้งแต่ปีกุน พ.ศ.2466
“วัดโพธิสมภรณ์”
จึงเป็นวัดของคณะธรรมยุตตั้งแต่บัดนั้นมาจนถึงปัจจุบัน
โดย:
kit007
เวลา:
2013-11-18 12:12
หลักธรรมเจดีย์
วัดโพธิสมภรณ์ ในระยะนั้นยังมีสภาพเป็นป่าละเมาะอยู่ มีเสนาสนะชั่วคราวพอคุ้มแดดคุ้มฝน บริเวณโดยรอบก็ยังเป็นป่า ไม่ค่อยมีบ้านเรือน เงียบสงบ สงัดวิเวก อาหารบิณฑบาตก็ตามมีตามได้ น้ำใช้ก็ได้จากบ่อบาดาลในวัด ซึ่งพระเณรช่วยกันตักหาบมาใส่ตุ่มใส่โอ่ง พระเณรระยะแรกยังมีน้อย ทั้งอัตคัดกันดารในปัจจยสี่ แต่ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะบริหารกิจการพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) ได้ทุ่มเทพัฒนาวัดในทุกๆ ด้าน ส่วนที่เป็นศาสนวัตถุนั้น ท่านได้บูรณะซ่อมแซมและสร้างเสริมเพิ่มเติมให้มั่นคงถาวร อาทิเช่น กุฏิก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น 3 หลัง, กุฏิไม้ชั้นเดียว 17 หลัง, ศาลาการเปรียญไม้ชั้นเดียว 1 หลัง, โรงเรียนพระปริยัติธรรม 1 หลัง และโรงเรียนภาษาไทย 1 หลัง โดยแต่ละหลังสูง 2 ชั้น ผนังก่ออิฐถือปูน พื้นไม้ตะเคียนทอง หลังคามุงกระเบื้องดินเผา สิ้นเงินค่าก่อสร้างหลังละประมาณ 20,000 บาท เป็นต้น
สำหรับอุโบสถได้ก่อสร้างจนแล้วเสร็จ โดยเจ้าพระยามุขมนตรี ศรีสมุหพระนครบาล (อวบ เปาโรหิตย์) เป็นผู้อุปถัมภ์ มีความกว้าง 12.47 เมตร ยาว 27.85 เมตร สูงจากพื้นถึงอกไก่ 22.30 เมตร มีเสาอยู่ภายใน 16 ต้น ไม่มีช่อฟ้าใบระกา ไม่มีมุขหน้ามุขหลัง ผนังก่ออิฐถือปูนหนา 75 เซนติเมตร โครงหลังคาใช้ไม้เนื้อแข็งทั้งหมด มุงด้วยกระเบื้องดินเผา พื้นปูด้วยกระเบื้องดินเผา สิ้นเงินค่าก่อสร้าง 30,000 บาท
ส่วนที่เป็นศาสนทายาทนั้น พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) ได้เอาใจใส่ทั้งฝ่ายปริยัติและปฏิบัติ โดยได้จัดบริหารการศึกษาพระปริยัติธรรม ได้แก่ นักธรรมชั้นตรี, โท, เอก และแผนกบาลีไวยากรณ์ตั้งแต่เปรียญธรรม 3 ประโยค ถึงเปรียญธรรม 5 ประโยค ซึ่งมีพระภิกษุสามเณรจากจังหวัดต่างๆ ในมณฑลอุดรธานี มาศึกษาเล่าเรียนอยู่ในวัดโพธิสมภรณ์ และสอบไล่ในสนามหลวงได้เป็นจำนวนมาก นับเป็นสำนักเรียนที่มีชื่อเสียงเป็นที่นิยมยกย่อง สำหรับในฝ่ายวิปัสสนาธุระได้จัดให้มีการอบรมกรรมฐานควบคู่กันไปด้วย เพื่อฝึกหัดขัดเกลาบ่มเพาะนิสัยพระภิกษุสามเณรให้มีความประพฤติเรียบร้อยดีงามตามพระธรรมวินัย
เมื่อวันที่ 6-9 เดือนมีนาคม พ.ศ.2467 ได้ประกอบพิธีผูกพัทธสีมาวัดโพธิสมภรณ์ โดยมี
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร)
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่
พระสาสนโสภณ
เจ้าคณะรองคณะธรรมยุต เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพฯ เป็นประธานในการผูกพัทธสีมา สำหรับในวันที่ 6 เดือนมีนาคม พ.ศ.2467 นั้น ได้มี
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส)
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่
พระเทพเมธี
เจ้าคณะมณฑลอุบลราชธานี และ
พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล)
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่
พระครูสังฆวุฒิกร
เจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ พร้อมด้วยคณะพระสงฆ์จำนวน 52 รูป ร่วมในพิธีผูกพัทธสีมาอยู่ด้วย
พ.ศ.2497 เจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต) ทรงมีพระบัญชาให้
พระอุดมญาณโมลี (จันทร์ศรี จนฺททีโป)
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่
พระครูสิริสารสุธี
ไปอยู่วัดโพธิสมภรณ์เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของ
พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล)
เนื่องด้วยชราภาพมากแล้ว
ต่อมา พ.ศ.2501-2505 พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) ได้ให้ช่างต่อเติมมุขหน้ามุขหลังของอุโบสถอีกด้านละ 6 เมตร จึงมีความยาว 40 เมตรพอดี ตลอดถึงได้เปลี่ยนแปลงหลังคาเป็นสามลดสามชั้น มุงด้วยกระเบื้องเคลือบดินเผา มีช่อฟ้าใบระกา โดยมอบหมายให้
พระอุดมญาณโมลี (จันทร์ศรี จนฺททีโป)
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่
พระสิริสารสุธี
เป็นผู้ควบคุม นับเป็นอุโบสถที่สวยงามในภาคอีสานอีกหลังหนึ่ง
ครั้นเมื่อปี พ.ศ.2505 พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) อาพาธด้วยโรคนิ่วในถุงน้ำดี และได้ถึงแก่มรณภาพด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2505 ณ โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพฯ คณะสงฆ์ และคณะศิษยานุศิษย์ได้ร่วมกันบริจาคทรัพย์สร้างเมรุถาวร และศาลาบำเพ็ญกุศลศพ 2 หลัง ได้แก่ ศาลาประจงจิตต์ และศาลาสามพระอาจารย์ เพื่อเป็นอนุสรณ์และเป็นที่พระราชทานเพลิงศพพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) ด้วย
โดย:
kit007
เวลา:
2013-11-18 12:12
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ)
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)
พระอุดมญาณโมลี (จันทร์ศรี จนฺททีโป)
โดย:
kit007
เวลา:
2013-11-18 12:13
จันทร์ศรีผ่องเพ็ญ
แต่เดิมนั้น
พระอุดมญาณโมลี (จันทร์ศรี จนฺททีโป)
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่
พระสิริสารสุธี
ไม่ได้คิดว่าจะได้มาพักจำพรรษาอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์เป็นเวลานาน ด้วยมาตามพระบัญชาของเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ฯ เมื่อกลับไปเข้าเฝ้าเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ฯ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อกราบทูลขอกลับมาอยู่สำนักเดิม ด้วยมีความประสงค์จะศึกษาเล่าเรียนให้สูงยิ่งๆ ขึ้นไป พระองค์ทรงรับสั่งว่า “ยังหาตัวแทนไม่ได้” ก็เลยต้องอยู่พักจำพรรษาต่อไปจนกระทั่งเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ฯ สิ้นพระชนม์ ก็ยังไม่ละความตั้งใจเดิม อยู่ต่อมาพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) ก็มาถึงแก่มรณภาพลงอีก ท่านก็ได้ย้อนระลึกถึงพระคุณที่ได้รับความอุปถัมภ์บำรุงด้วยเมตตาธรรมตลอดมา ทั้งจากเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ฯ และพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) ตลอดจนบรรดาพระบูรพาจารย์สายพระป่ากรรมฐานทุกท่านทุกองค์ จึงได้ตั้งใจเสียสละรับเอาภารธุระในกิจการพระศาสนาเพื่อสนองพระเดชพระคุณด้วยความยินดีเต็มความสามารถที่จะทำได้
ในเวลาต่อมา วัดโพธิสมภรณ์ได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปจากยุคแรกๆ เป็นอันมาก มีความเจริญก้าวหน้าไปอย่างดี ด้วยบรรดาคณะศิษย์ยานุศิษย์และสัทธิวิหาริกของพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) โดยเฉพาะบรรดาครูบาอาจารย์กรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตฺตมหาเถระ ก็มีเป็นจำนวนมาก ต่างเจริญงอกงามเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระศาสนา ในฝ่ายคฤหัสถ์ก็เจริญก้าวหน้า ในทางบ้านเมือง ตลอดถึงประชาชนต่างก็มีความตื่นตัวสนใจในพระศาสนา ก็ได้ช่วยกันทำนุบำรุงวัดโพธิสมภรณ์ให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อมา
พ.ศ.2506 เป็นศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ โดยมีนักเรียนตามโรงเรียนต่างๆ มาเรียน ตั้งแต่ชั้น ป.5 จนถึงมัธยมต้น เพื่ออบรมให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในพระพุทธศาสนาให้ถูกต้องลึกซึ้งยิ่งขึ้น
วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ.2507 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้
“วัดโพธิสมภรณ์”
เป็น
พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ
วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2507 แต่งตั้งให้พระอุดมญาณโมลี (จันทร์ศรี จนฺททีโป ป.ธ.4) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่
พระราชเมธาจารย์
เป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์
วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2516
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ)
ทรงประทานพัด ย่าม และใบเกียรติบัตรยกย่องวัดโพธิสมภรณ์ให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น
พ.ศ.2517 ได้ตั้งศูนย์ศึกษาบาลีอีสาน (ธรรมยุต) ที่วัดโพธิสมภณ์ โดยความเห็นพ้องต้องกันของพระสังฆาธิการทุกระดับในภาค 8-9-10-11 เป็นต้นมาจนกระทั่งบัดนี้
พ.ศ.2544 ได้ตั้งศูนย์พัฒนาคุณธรรมจริยธรรม จังหวัดอุดรธานี
วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ.2538
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)
ทรงประทานพระบรมสารีริกธาตุจำนวน 9 องค์ ให้กับพระอุดมญาณโมลี (จันทร์ศรี จนฺททีโป) เจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์
วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ.2548 พระอุดมญาณโมลี (จันทร์ศรี จนฺททีโป) วางศิลาฤกษ์
พระบรมธาตุธรรมเจดีย์ วัดโพธิสมภรณ์
ไว้เป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์คู่แผ่นดินไทย
วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2552 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมสารีริกธาตุให้แด่พระอุดมญาณโมลี (จันทร์ศรี จนฺททีโป) เจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ เพื่ออัญเชิญไปประดิษฐาน ณ พระบรมธาตุธรรมเจดีย์ วัดโพธิสมภรณ์
วันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2552 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในงานฉลองสมโภชพระบรมธาตุธรรมเจดีย์ เพื่อน้อมสักการบูชาคุณพระรัตนตรัย และประกอบพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ณ พระบรมธาตุธรรมเจดีย์ วัดโพธิสมภรณ์
ลำดับเจ้าอาวาส
รูปที่ 1 พระครูธรรมวินยานุยุต (หนู) พ.ศ.2450-2465
รูปที่ 2 พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) พ.ศ.2466-2505
รูปที่ 3 พระอุดมญาณโมลี (จันทร์ศรี จนฺททีโป) พ.ศ.2505-ปัจจุบัน
ศาสนวัตถุสำคัญภายใน “วัดโพธิสมภรณ์” อ.เมือง จ.อุดรธานี
.............................................................
♥ รวบรวมและเรียบเรียงมาจาก ::
(1) หนังสือแก้วมณีอีสาน
http://www.manager.co.th/Dhamma
(2)
http://udn.onab.go.th
♥ ขอกราบขอบพระคุณที่มาของรูปภาพทุกแหล่ง
.....................................................
ที่มา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=19461
โดย:
Metha
เวลา:
2013-12-11 00:25
ขอบคุณครับ
ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/)
Powered by Discuz! X3.2