Baan Jompra

ชื่อกระทู้: อำนาจเงิน [สั่งพิมพ์]

โดย: รามเทพ    เวลา: 2013-11-1 19:20
ชื่อกระทู้: อำนาจเงิน
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย รามเทพ เมื่อ 2013-11-1 19:32


[youtube]bNTYZgL8qr4[/youtube]



กบนอกกะลา
:

เมื่ออำนาจเป็นสิ่งชั่วร้าย  อำนาจที่ได้มาจากความร่ำรวยเงินทองก็จึงเป็นสิ่งชั่วร้ายด้วย  ในเมื่อเงินเป็นอำนาจอย่างหนึ่งแล้วใคร ๆ  ก็อยากมีเงินด้วยกันทั้งนั้น  แต่ก็มีคนอยู่จำนวนหนึ่งที่มิได้เห็นว่าเงินคืออำนาจ  ผู้เขียนก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วย  แล้วที่ทุกคนอยากได้เงินก็ย่อมปฏิเสธไม่ได้ว่าเงินเป็นสิ่งจำเป็นต้องใช้เพื่อสรรหาอย่างน้อยปัจจัย 4  อันเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต  ในโลกแห่งความเป็นจริงถ้าผู้เขียนไปกินข้าวมันไก่ที่ร้านแล้วไม่จ่ายเงินค่าข้าว  ผู้เขียนอาจจะได้รับอะไรบางอย่างจากคนขายข้าวมันไก่แน่นอน  ผู้เขียนเองก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าผู้เขียนไม่ต้องการใช้เงิน  แต่ความต้องการเงินของผู้เขียนคือขอเพียงมีกินมีใช้ในความจำเป็นพื้นฐาน  หรืออาจจะทำอะไรที่ไม่เกินเลยจนถึงขั้นฟุ่มเฟีอยจนเสียการบำเพ็ญเพียรไป

เมื่อการมีเงินเหมือนการมีอำนาจแฝง  แล้วใครหลายคนก็อยากได้อำนาจ  ลักษณะเช่นนี้จึงทำให้เกิดการจี้ปล้น  ฉกชิงวิ่งราวขึ้น  ซึ่งลักษณะเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ทั้งผู้ร่ำรวยเอารัดเอาเปรียบในเรื่องของฐานะทางการเงิน  คือคนรวยมากย่อมเป็นผู้มีทรัพยากรมากแล้วมีมากเกินจนไม่รู้จะเอาไปทำอะไร  ทำให้คนส่วนใหญ่ซึ่งอาจจะมีฐานะเศรษฐกิจไม่ดีไปจี้ปล้นหรือขโมยเงินหรือทรัพย์สินมีค่าของคนรวยก็ได้  หรืออาจจะเกิดจากคนที่มีอันจะกินอยู่แล้วแต่เกิดความโลภไม่พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่  ก็อาจจะไปจี้ปล้นขโมยเพื่อให้ตนมีมากขึ้นก็ได้  ทั้งคนจนและคนมีอันจะกินจึงอาจจะเป็นโจรได้เสมอตามเหตุปัจจัยที่ผู้เขียนอธิบายมา

ด้วยเหตุนี้ผู้จะมีเงินร่ำรวยได้จึงต้องมีคุณธรรมกำกับการมีเงินด้วย  เหตุที่ว่าเงินคืออำนาจนี่เอง  แล้วในฐานะที่ผู้เขียนเป็นเทพแล้วมีคนมาขอให้ผู้เขียนทำให้เขารวย  จึงเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก  เพราะต้องเสียเวลาทำให้เจ้าตัวกับผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดมีคุณธรรมและศีลธรรมเสียก่อน  มิเช่นนั้นอาจเกิดการทะเลาะเบาะแว้ง  เกิดความริษยา  หรือเกิดการยื้อแย่งทำลายล้างกันในหมู่เครื่อญาติ  จึงต้องเสียเวลานานนับปีจึงจะสามารถทำให้ผู้ขอรวยตามคำขอได้  นี่อาจจะเป็นสิ่งที่เราทั้งหลายก็รู้แต่อาจจะคิดไม่ถึงแล้วอาจจะคิดไม่ถึงจึงขอให้ตนเองรวยไว้ก่อน  คนเราก็เป็นเช่นนี้แหล่ะ





นั่นหมายความว่าหากพิจารณาให้ดี  เงินจึงมีโทษมากกว่าประโยชน์  แล้วทำให้ผู้มีเงินมากจึงทุกข์มากกว่าคนที่มีเงินน้อย  เพราะยิ่งมีเงินมากความเสี่ยงในการถูกจี้ปล้นก็มีมากตามไปด้วย  ฉะนั้นคนที่มีกรรมร่ำรวยจึงมีกรรมอย่างหนึ่ง  แล้วที่ไม่มีใครหนีพ้นก็คือการขัดแย้งกันทางธุระกิจ  แล้วอาจเป็นเหตุให้คนรวยอาจจบชีวิตได้เร็วกว่าคนธรรมดา  ไม่ว่าจะเป็นการถูกลอบสังหาร  หรือป่วยเป็นโรคตายได้ง่ายกว่าคนธรรมดา  หากจะไม่ให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นกับคนทีขอให้ผู้เขียนทำให้เขารวย  ก็จำเป็นต้องสร้างบารมีในทางธรรมให้เกิดขึ้นอย่างมหาศาล  แล้วธรรมชาติของผู้มีกรรมอันเป็นบาปมักจะมองเห็นว่า  สิ่งที่นำประโยชน์สุขอย่างแท้จริงคือสิ่งที่นำทุกข์มาสู่ตน  แล้วสิ่งที่นำโทษมาสู่ตนมากกว่าประโยชน์ตนเองจะเห็นประโยชน์ในสิ่งนั้น  ทั้งนี้เพื่อให้สิ่งนั้นก่อทุกข์ให้ตนเองต่อไปอย่างไม่รู้จักจบจนชีวิตจะหาไม่

เงินหากเรามีน้อยไปก็ก่อทุกข์มีมากไปก็ก่อทุกข์  เงินทองจึงเป็นสิ่งที่ขอเพียงพอมีพอใช้แล้วจะไม่ก่อทุกข์  หรือหากจะมีเงินร่ำรวยมหาศาลจะต้องมีคุณธรรมและศีลธรรมที่สูงขึ้นตามความร่ำรวยที่เพิ่มขึ้นด้วยแล้วจะไม่ก่อทุกข์  เราทั้งหลายพึงรู้เท่าทันว่าเงินนั้นก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้มีอย่างไร  แต่คนส่วนมากมักจะไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วมีเงินมากความสุขยิ่งลดลง  ฉะนั้นเงินจึงไม่อาจซื้อความสุขได้  เงินซื้อความสะดวกสบายได้แต่เงินที่มีมากเกินความจำเป็น  เงินส่วนเกินจะทำลายความสุขที่ตนมีมากขึ้นเรื่อย ๆ  ตามความมั่งคั่งที่มีมากขึ้น  อีกทั้งตายไปแล้วก็เอาเงินไปได้แม้แต่บาทเดียว




http://www.dhumma.net/index.php?option=com

โดย: รามเทพ    เวลา: 2013-11-1 19:27



มีเรื่องเล่าอยู่ในหนังสือ “เกร็ดธรรมะจากเกร็ดชีวิตของพุทธทาสภิกขุ” ว่ามีภริยาของผู้มีอำนาจวาสนาในสมัยที่ท่านอาจารย์พุทธทาสยังมีชีวิตอยู่คนหนึ่ง ไปสวนโมกข์พร้อมผู้ติดตาม และเข้าไปกราบท่านอาจารย์พร้อมกับถามว่า จำเธอได้หรือไม่ ท่านอาจารย์ตอบตามตรง แบบสั้น ๆ เรียบ ๆ แล้วก็นิ่งเฉยตามปกติของท่านว่า “จำไม่ได้” ผลคือสตรีผู้นั้นโกรธ ลุกกลับออกมา พร้อมพูดกับผู้ติดตามว่า เธอได้ถวายเงินทำบุญบำรุงวัดไปเป็นจำนวนมากเมื่อคราวพบกันครั้งแรก (ควรจะจำเธอได้นี่นา) แถมทิ้งท้ายเสียงดังพอที่คนอยู่ละแวกหน้ากุฏิจะได้ยินว่า ในเมื่อจำไม่ได้ คราวนี้จะไม่ถวายแล้ว โดยนัยคือ การจำความสำคัญของเธอไม่ได้ ทำให้ท่านอาจารย์อดได้เงินทำบุญจากเธอผู้นั้น



แม้เรื่องที่เกิดขึ้นนี้จะชวนให้ “ขำกลิ้ง” ในวิธีคิดของสตรีผู้นั้น แก่ผู้ฟังที่รู้จักธรรมะและวัตรปฏิบัติของท่านอาจารย์พุทธทาส แต่เรื่องนี้ก็สะท้อนให้เราเห็นว่า คนในสังคมปัจจุบัน มักคิดและเชื่อมั่นว่า “เงิน” เป็นอำนาจซึ่งทำให้คนทั่วไปต้องสยบยอม เอาใจอย่างปราศจากข้อแม้ ไม่เข้าใจว่า แท้ที่จริงนั้น เงินมีอำนาจอยู่บนฐานความคิดความเชื่อบางอย่าง ดังนั้น ผู้ที่ปฏิเสธหรือมิได้สมาทานความเชื่อดังกล่าว เงินจึงมีความหมายน้อยและมีอย่างจำกัดขอบเขตด้วย ในกรณีของท่านอาจารย์พุทธทาสที่เล่ามานั้น อำนาจเงินมีความหมายน้อยอย่างยิ่ง เพราะความสุขของท่าน ไม่ต้องใช้เงินซื้อและมีความหมายอันกว้างขวาง หลายมิติ มิได้ผูกติดอยู่กับเงื่อนไขทางวัตถุแต่เพียงอย่างเดียว คือ เมื่อมีปัจจัยสี่เพียงพอแก่การยังชีวิต มิให้ลำบากขาดแคลนแล้ว ท่านก็แสวงหา–สร้างและมีความสุขอันละเอียดประณีตจากการพัฒนาจิตวิญญาณ ด้วยการอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ศึกษาเรียนรู้กฎแห่งธรรมชาติ เพื่อจะมีความสุขอย่างอิสระ โดยอาศัยปัจจัยภายนอกไม่ว่าเงินหรือวัตถุอื่นให้น้อยที่สุด ตามคติของชาวพุทธ แล้วปันส่วนที่เกินให้แก่ผู้อื่น อีกทั้งกิจการภายในวัดเอง ก็มิได้ตั้งอยู่บนฐานคิดของการใช้เงินเป็นหลัก หากขยายตัวไปตามปัจจัยที่มีอยู่ จึงไม่มีการเรี่ยไร ตั้งกล่องบริจาค ฯลฯ การไม่ให้ความสำคัญกับหาเงินหรือเติบโตบนเงื่อนไขพึ่งพาเงินใครนี้ ทำให้ไม่มีผู้ใดมีอำนาจพิเศษ ไม่ว่าเศรษฐี ตาสีตาสา นักศึกษา พระลูกชาวบ้าน ฯลฯ มาพบท่านอาจารย์ได้ตลอดเวลาหน้ากุฏิ


อำนาจเงินนั้น ทำงานและมีพลังบนฐานความเชื่อเกี่ยวกับ “ความสุข” ของบุคคล คือมีอิทธิพลต่อผู้ที่เชื่อว่า เงินเป็น “คำตอบสุดท้าย” หรือ-เป็นคำตอบเดียวของ “ความสุข” หมายความว่าต้องมีเงินจึงมีความสุข ถ้าไม่มีเงินก็ไม่มีความสุข เมื่อ “ความสุข” ถูกสรุปด้านเดียวแบบหยาบ ๆ จากคนในสังคมสมัยใหม่โดยไม่ต้องถามไม่ต้องคิดดังนี้ เงินจึงมีอำนาจมหาศาลเหนือผู้คนทุกวงการในปัจจุบัน เพราะมนุษย์ล้วนปรารถนา “ความสุข” และแสวงหาความสุขตามความเชื่อนั้น และดูว่าจะมีพลังมากกว่าอำนาจอาวุธ–เผด็จการทหาร ซึ่งใช้ความกลัวเป็นตัวบังคับข่มขู่ให้คนทำตามด้วย การต่อต้านอำนาจอย่างหลังนี้เกิดขึ้นได้ง่าย แต่อำนาจเงินใช้ “ความสุข”เป็นตัวล่อ ตัวหลอก การสยบยอมต่ออำนาจเงินและอำนาจอื่นที่พ่วงตามมากับเงิน จึงมักเป็นไปด้วยความสมัครใจ เต็มใจ อำนาจเงินจึงสามารถกวาดซื้อทุกอย่างที่ขวางทางได้โดยไม่ยากในทุกวงการ แม้ในวงการที่มีหลักการยุติธรรม ความดีงามเป็นหัวใจ ไม่ว่าตุลาการ ตำรวจ แพทย์ ครู ผู้บวช รวมไปถึงการซื้ออุดมการณ์ใส่ลิ้นชัก


อย่างไรก็ตาม พลังอำนาจของเงินในสังคมสมัยใหม่ ก็มิได้ครอบครองเหนือบุคคลและกลุ่มคนทั้งหมดอย่างสิ้นเชิง จนไร้ความหวัง ที่จะไปพ้นจากสังคมที่อำนาจเงินเป็นใหญ่ หากเข้าใจว่าสังคมที่ว่านี้ เกิดและเติบโตได้มากภายใต้อุดมการณ์เศรษฐกิจแบบ “จำเริญเติบโต” (growth) คือมุ่งการเพิ่มและขยายรายได้(เงิน)ไม่ว่าในระดับปัจเจกบุคคลหรือของรัฐ การพัฒนาของรัฐที่ผ่านมากว่า ๔๐ ปี ได้สร้างมายาคติทำให้การมีชีวิตรอด ไม่ว่าในเมืองหรือชนบทมีอยู่ทางเดียว


    คือปัจเจกบุคคลจะต้องหาเงินให้มาก ๆ แล้วเอาเงินไปบันดาล “สุข” อันหมายถึง ความสุขทางวัตถุ ด้วยสูตร “งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข” (ซึ่งเวลาต่อมาเปลี่ยนไปเป็นว่า งานไม่ต้องทำก็มีเงินได้ หรือทำอย่างไรก็ได้ให้ได้เงิน) ความสุขในรูปแบบ-อื่น ๆ ที่เคยมีอยู่ในสังคมไทย เช่น ความสุขจากการมีน้ำใจ เอื้อเฟื้อแบ่งปันให้กัน ความอบอุ่นในครอบครัว–ชุมชน การสร้างสรรค์งานศิลปะ ฯลฯ ได้ถูกทำลายราบด้วยสูตร “ความสุข” ของรัฐ ซึ่งเป็นนายหน้าให้แก่ทุนนิยมโลกและวัฒนธรรมบริโภคนิยม–วัตถุนิยม สร้างตลาดซื้อขาย “ความสุข” ที่ต้องใช้เงินซื้อทั้งสิ้น คนเป็นอันมากเชื่อและวิ่งล่าหาความรวยเพื่อมาสร้างความสุขตามสูตรของรัฐ จนกระทั่งสูญสิ้นไร่นา ป่าเขาถูกทำลาย ครอบครัวแตกแยกเพราะพ่อแม่เอาแต่หาเงิน อบายมุข ยาเสพติด คอร์รัปชั่น ฯลฯ ล้วนขยายตัวบนพื้นฐานความแร้นแค้นและความโลภอยากรวย


ความอยุติธรรมทางเศรษฐกิจ ปัญหาสังคม และความทุกข์ในชีวิตปัจจุบัน จึงผูกโยงอยู่กับโลกทัศน์และค่านิยมเกี่ยวกับชีวิตและความสุขของบุคคลในสังคมด้วย การจะลดทอนอำนาจเงินและอำนาจรัฐในสังคมไทย ทางหนึ่งคือการส่งเสริมและเปิดทางให้ชุมชนได้นิยามและสร้าง “ความสุข–ความเจริญ” ตามแบบของตนเอง ซึ่งไม่จำเป็นต้องเหมือนรัฐ เพราะตราบใดที่ยังต้องวิ่งไล่ตามสูตรการพัฒนาของรัฐ(การตลาด) ก็จะยิ่งจนและอำนาจเงินก็จะยิ่งแผ่อิทธิพลมากยิ่งขึ้นบนความยากจนนั้น ในส่วนของปัจเจกบุคคล การต่อสู้กับอำนาจเงิน แท้จริงก็คือ การต่อสู้กับความโลภภายในใจของเราเอง ซึ่งจุดติดง่ายท่ามกลางแรงโฆษณา “ความสุข” ที่ชี้นำแต่ความสุขแบบหยาบ ๆ จะสู้ชนะหรือแพ้ ขึ้นอยู่กับการฝึกฝนตนเองที่จะใช้เงินบันดาลสุขแต่เพียงพอดี ที่สำคัญที่สุดคือ รู้จักการสร้างและมีความสุขในมิติอื่นด้วย การดูวิถีชีวิตและความสุขของกัลยาณมิตรเช่น ท่านอาจารย์พุทธทาส ก็เป็นทางหนึ่งของการสร้างกำลังใจ และความรู้เท่าทันในการต่อสู้กับอำนาจ-เงิน


แน่นอนว่า ผู้มีชีวิตครองเรือน คงทำเหมือนบรรพชิตมิได้ทั้งหมด แต่คฤหัสถ์ก็สามารถมีความสุขจากวิถีชีวิตที่ “ไม่รวย” ได้เช่นกัน ดูดังชีวิตของ อ.ป๋วยและอีกหลาย ๆ ท่านเป็นตัวอย่าง หรือให้ใกล้เข้ามาอีก ก็ดูความสุขของเด็ก ๆ เมื่อเขาจับกลุ่มเล่นกัน หัวเราะเอิ๊กอ๊ากโดยไม่ต้องใช้เงินสักบาท...

ข้อมูลจาก..http://www.buddhadasa.in.th/html/articles/in_mem/power_Money.html

โดย: รามเทพ    เวลา: 2013-11-1 19:34

โดย: รามเทพ    เวลา: 2013-11-1 19:39



10 อันดับ สุดยอดความคิด(เมื่ออยาก)รวยล้นฟ้า   



คนปกติคิดว่าการใช้เงินฟุ่มเฟือยเป็นเรื่องไม่ดี แต่คนรวยมองว่า เงินช่วยให้มีความสุขขึ้นได้
เหล่าเศรษฐีมักจะออกไปหาความสุขใส่ตัวให้เต็มที่และก็มีความสุขกับสิ่งที่ทำ ส่วนคนทั่วไป อาจจะมองว่าเอาเงินไปทำอย่างอื่น ใช้เงินอยู่กินให้พ้นไปวันๆ ยังดีกว่า


         






คนธรรมดามักโตมากับการเอาตัวรอด แต่ คนรวยมักโตมากับความคิดที่ว่าฉันจะต้องประสบความสำเร็จ
คนธรรมดามักที่จะคิดว่าการที่จะเอาตัวรอดไปวันๆก็เป็นเรื่องที่เพียงพอแล้ว แต่คนรวยมักจะคิดและวางแผนให้กับชีวิตตัวเองเพื่อ ให้ตนเองประสบความสำเร็จในอาชีพและชีวิตในอนาคต




คนธรรมดามักกดดันกับเงินตรา แต่ คนรวยมักเข้าใจในการหมุนเวียนของเงิน
คนรวยมักจะเข้าใจการหมุนเวียนของเงินอยู่แล้วจึงไม่มีความกดดันกับเงินค่าต่างๆที่ต้องเสียไป แต่คนธรรมดามักจะให้อำนาจเงินตรา อยู่เหนือตนเองและเป็นสิ่งที่ครอบครองความคิด




คนธรรมดามักมุ่งไปที่การเก็บเงินอย่างเดียว แต่ คนรวยมักมุ่งไปที่การได้รับเงินด้วย
การที่ได้รับเงินนั้นเป็นวิธีที่ทำให้เราได้หลักทรัพย์มากขึ้นคนรวยมักจะหาวิธีที่ทำให้ตัวเองได้สิ่งนี้มาเพิ่ม โดยนำสิ่งที่ตัวเองสนใจ มาสร้างโอกาสในขณะที่เก็บเงินอยู่ด้วย



คนธรรมดามักคิดว่าอยากรวย แต่ คนรวยมักคิดว่าต้องเป็นอะไรซักอย่างถึงทำให้ตัวเองรวย
คนที่รวยมักจะนำสิ่งที่ตัวเองเป็นมาเป็นจุดขายให้กับตัวเองในการทำงานหรือธุรกิจต่างๆ แต่คนปกติมักจะคิดว่าตัวเองต้องทำอะไรซักอย่าง โดยไม่สนว่าต้องทำอะไรซึ่งบางที่อาจจะทำให้ตัวเองไม่มีความสุขกับสิ่งที่ทำ




คนธรรมดามักจะตั้งเป้าหมายเอาไว้ต่ำเพื่อที่จะไม่เจ็บตัว แต่คนรวยนั้นมักพร้อมสำหรับการท้าทายใหม่ๆเสมอ
อย่างที่เล่าไปคนธรรมดามักจะตั้งเป้าหมายเอาไว้ต่ำเพื่อที่จะไม่เจ็บตัวซึ่งต่างกับคนรวยที่มักที่จะกล้าเสี่ยงกับอะไรใหม่ๆ ซี่งทำให้ตัวเองได้ผลประโยชน์ที่ดีกว่า




คนปกติได้รับเงินจากการทำงานที่ตัวเองไม่ชอบ แต่ คนรวยมักทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ
แล้วได้เงิน คนปกตินั้นดูเหมือนจะทำงานอยู่ตลอดเวลาแต่หลักการที่ฉลาดนั้นคือค้นหาสิ่งที่ตัวเองรักและชอบ และประยุกต์มันให้สามารถทำเงินได้ต่างหาก




คนปกติมองเงินผ่านอารมณ์ แต่ คนรวยมักมองเงินตราผ่านหลักการความเป็นไปได้
คนรวยมักที่จะมีหลักการต่างๆที่จะวางแผนที่จะหาเงินจากโอกาส ที่อยู่ในอาชีพของตน ส่วนคนปกติมักจะคาดฝันเงินที่จะทำได้จากการทำงาน โดยไม่มองหาโอกาสที่จะทำเงินเพิ่มได้




คนปกติมักคิดถึงเรื่องอดีตที่ผ่านมา แต่คนรวยมักคิดถึงเรื่องในอนาคต
คนรวยมักที่จะคิดถึงอนาคตที่รออยู่เผื่อการตัดสินใจต่างๆ จะได้ง่ายขึ้นเพื่อที่จะได้ไปถึงวันที่ดีกว่า ส่วนคนปกติ มักจะคิดว่าวันที่ดีของเขาคืออดีต ซึ่งทำให้จมอยู่กับอดีตแล้วไม่ได้คิดถึงการวางแผนในอนาคต




คนปกติคิดว่าเงินตราคือความชั่วร้าย แต่ คนรวยมองความยากจนเป็นสิ่งชั่วร้าย
เหมือนผู้คนที่มีฐานะปานกลางจะถูกปลูกฝังว่าคนที่เกิดมารวยนั้นโชคดี หรือไม่ก็ฉ้อโกงมา ส่วนเหล่าคนรวยนั้นรู้ว่าเงินไม่อาจซื้อความสุขได้แต่มันทำให้ชีวิตดำเนินไปอย่างง่ายดายมากกว่าจึงปฏิเสธความจนโดยการเลือกที่จะทำงานหนัก


ที่มา: toptenthailand.com
โดย: MorPie    เวลา: 2013-11-1 20:44
ในมุมมองของผมเงินคือความน่าเชื่อถือครับ ถ้าลองอ่านหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การเงินก็จะมีอธิบายไว้เช่นนี้เหมือนกัน คือความน่าเชื่อถือที่อีกฝ่ายได้ให้ไว้กับอีกฝ่าย. สมมุติว่าสมัยโบราณ คนตีเหล็ก บอกว่าถ้าใครให้วัวหนึ่งก็จะตีเหล็กให้ ทีนี่คนที่มาขอตีเหล็กบอกว่าวัวอยู่ไกลยังต้อนมาไม่ถึง งั้นเอาอย่างนี้ ก็เอาเบี้ยไปก่อน แล้วพอวัวมาก็เอาเบี้ยนี้ไปแลกวัวอีกที. สรุปเงินก็พัฒนามาจากตรงนั้น คือตัวแทนของความน่าเชื่อถือที่อีกฝ่ายได้ให้ไว้กับอีกฝ่าย แต่สมัยนี้ระบบเงินมันซับซ้อนมากขึ้น เรื่องราวมันก็เลยซับซ้อนมากขึ้นก็เท่านั้นเองครับ. คนที่ใช้เงินไม่ถูกต้อง คือเอาความน่าเชื่อถือของตนไปแลกกับสิ่งที่ไม่ค่อยจะดีก็แค่นั้นเองครับ. เงินมันไม่มีดีหรือไม่ดีหรอกครับ คนที่ใช้มันต่างหากที่ทำให้มันเป็นเช่นนั้น
โดย: Nujeab    เวลา: 2013-11-5 13:31
ขอบคุณครับ
โดย: Sornpraram    เวลา: 2015-3-10 06:21

โดย: majoy    เวลา: 2015-3-10 08:02
เงินซื้อไม่ได้ทุกอย่าง แต่ซื้อได้แทบทุกอย่างที่เราอยากได้




ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/) Powered by Discuz! X3.2