[size=0.8em]จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จำนวนผู้ชุมนุมเมื่อมองจากมุมสูงที่ถนนราชดำเนิน
นักศึกษาช่างกลรวมตัวกำลังเดินเผชิญหน้ากับฝ่ายทหาร
การจลาจล
การปราบผู้ชุมนุมโดยทหาร
การชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
เหตุการณ์ 14 ตุลา หรือ
วันมหาวิปโยค เป็นเหตุการณ์ที่นักศึกษาและประชาชนใน
ประเทศไทย มากกว่า 5 แสนคน ได้รวมตัวกันเพื่อเรียกร้อง
รัฐธรรมนูญจากรัฐบาลเผด็จการ
จอมพลถนอม กิตติขจร โดยในเหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิต 77 ราย บาดเจ็บ 857 ราย และสูญหายอีกจำนวนมาก ในวันที่ 14 ตุลาคม
พ.ศ. 2516
สาเหตุ[แก้]เหตุการณ์เริ่มมาจากการที่จอมพลถนอม กิตติขจร ทำการ
รัฐประหารตัวเองในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 โดยนักศึกษาและประชาชนมองว่าเป็นการสืบทอดอำนาจตนเองจากจอมพล
สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งในขณะนั้นจอมพลถนอมจะต้องเกษียณอายุราชการเนื่องจากอายุครบ 60 ปี แต่กลับต่ออายุราชการตนเองในตำแหน่้งผู้บัญชาการทหารสูงสุดออกไป อีกทั้งพลเอก
ประภาส จารุเสถียร บุคคลสำคัญในรัฐบาล ก็มิได้รับการยอมรับเหมือนจอมพลถนอม ก็จะได้รับยศ
จอมพล และตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ประกอบกับข่าวคราวเรื่องทุจริตคอร์รัปชั่นในวงราชการต่าง ๆ สร้างความไม่พอใจในหมู่ประชาชนอย่างมาก
พ.ศ. 2516[แก้]29 เมษายน พ.ศ. 2516 เฮลิคอปเตอร์ทหารหมายเลข ทบ.6102 เกิดอุบัติเหตุตกกลางทุ่งนาที่
อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม มีนักแสดงหญิงชื่อดังในขณะนั้นคือ
เมตตา รุ่งรัตน์ โดยสารไปด้วย มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 6 คน ในซากเฮลิคอปเตอร์นั้นพบซากสัตว์เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นซาก
กระทิง ที่ทางผู้ที่ใช้ล่ามาจาก
ทุ่งใหญ่นเรศวรซึ่งเป็นพื้นที่ป่าสงวน สร้างกระแสไม่พอใจในหมู่นิสิต
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และประชาชนทั่วไปเป็นอย่างมาก หลังจากนั้นปลายเดือน
พฤษภาคมและต้นเดือน
มิถุนายน นิสิตนักศึกษากลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติฯ 4 มหาวิทยาลัยได้ออกหนังสือชื่อ "บันทึกลับจากทุ่งใหญ่" จำหน่ายราคา 5 บาท จำนวน 5,000 เล่ม
[1] เปิดโปงเกี่ยวกับกรณีนี้ ผลการตอบรับออกมาดีมาก จนขายหมดในเพียงเวลาไม่กี่ชั่วโมง และได้รับการขยายผลโดยนักศึกษา
มหาวิทยาลัยรามคำแหงในชมรมคนรุ่นใหม่ออกหนังสือชื่อ "มหาวิทยาลัยที่ไม่มีคำตอบ" ที่มีเนื้อหาตอนท้ายเสียดสีนายกรัฐมนตรี เป็นผลให้ ดร.
ศักดิ์ ผาสุขนิรันดร์ อธิการบดีสั่งลบชื่อนักศึกษาแกนนำ 9 คน ซึ่งเป็นผู้จัดทำหนังสือออกจากสถานะนักศึกษา ซึ่งทำให้เกิดการประท้วงจนนำไปสู่การชุมนุมในวันที่ 21-27
มิถุนายน ที่
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ท้ายสุด ดร.ศักดิ์ ต้องยอมคืนสถานะนักศึกษาทั้ง 9 คน และดร.ศักดิ์ ก็ได้ลาออกไปเพื่อแสดงความรับผิดชอบ
เริ่มต้นเหตุการณ์[แก้]6 ตุลาคม มีบุคคลร่วมลงชื่อ 100 คน เพื่อเรียกร้องขอรัฐธรรมนูญ ซึ่งประกอบด้วยบุคคลหลากหลายอาชีพ หลายวงการ เช่น นักวิชาการ นักการเมือง นักคิด นักเขียน นิสิต นักศึกษา เป็นต้น จากนั้น บุคคลเหล่านี้ราว 20 คน นำโดย นาย
ธีรยุทธ บุญมี ได้เดินแจกใบปลิวเรียกร้องรัฐธรรมนูญตามสถานที่ต่าง ๆ ใน
กรุงเทพฯ เช่น
ประตูน้ำ,
สยามสแควร์,
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยอ้างถึงใจความในพระราชหัตถ์เลขาของ
รัชกาลที่ 7 ที่ส่งถึงรัฐบาลถึงสาเหตุที่ทรงสละราชสมบัติ แต่ทาง
ตำรวจนครบาลจับได้เพียง 11 คน และจับขังทั้ง 11 คนนี้ไว้ที่
โรงเรียนตำรวจนครบาลบางเขนและนำไปขังต่อที่
เรือนจำกลางบางเขน พร้อมตั้งข้อหาร้ายแรงว่า เป็นการกระทำอันเป็น
คอมมิวนิสต์ โดยห้ามเยี่ยม ห้ามประกันเด็ดขาด จากนั้นจึงได้มีการประกาศจับ นาย
ก้องเกียรติ คงคา นักศึกษา
มหาวิทยาลัยรามคำแหง และตามจับ นาย
ไขแสง สุกใส อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม (ส.ส.นครพนม) ขึ้นอีก รวมทั้งหมดเป็น 13 คน โดยกล่าวหาว่า นายไขแสงเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังการแจกใบปลิวครั้งนี้ ซึ่งบุคคลทั้ง 13 นี้ ได้ถูกเรียกขานว่าเป็น "13 ขบถรัฐธรรมนูญ" ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้สร้างความไม่พอใจให้เกิดขึ้นครั้งใหญ่แก่มวลนักศึกษาและประชาชนอย่างมาก จนนำไปสู่การชุมนุมใหญ่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งในขณะนั้นเป็นช่วงของการสอบกลางภาคด้วย แต่ทาง
องค์กรนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) ได้ประกาศและติดป้ายขนาดใหญ่ไว้ว่า "งดสอบ" พร้อมทั้งยื่นคำขาดให้ทางรัฐบาลปล่อยตัวทั้งหมดนี้ก่อนเที่ยง
วันเสาร์ที่
13 ตุลาคม แต่เมื่อถึงเวลาแล้วรัฐบาลก็หาได้ยอมกระทำไม่
ซึ่งก่อนหน้านั้น ได้มีนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กลุ่มหนึ่งได้เข้าพบ
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช อดีตผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ถึงบ้านพักที่ย่านเอกมัย เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ในเรื่องนี้ ม.ร.ว.เสนีย์ได้เสนอว่า หากจะจัดการชุมนุมควรจะจัดในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ จะเป็นการดีที่สุด เพราะจะตรงกับวันที่มี
ตลาดนัดที่สนามหลวงด้วย จะทำให้ได้แนวร่วมเพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก
[2] การจลาจล[แก้]การเดินขบวนครั้งใหญ่จึงเริ่มต้นที่
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ออกไปตาม
ถนนราชดำเนิน สู่
ลานพระบรมรูปทรงม้า โดยมีแกนนำเป็นนักศึกษาและมีประชาชนเข้าร่วมด้วยจำนวนมาก (คาดการกันว่ามีราว 500,000 คน) แกนนำนักศึกษาได้เข้าพบเจรจากับรัฐบาลและบางส่วนได้เข้าเฝ้า ฯ จนได้ข้อยุติเพียงพอที่จะสลายตัว แต่ทว่าด้วยอุปสรรคทางการสื่อสารและมวลชนที่มีอยู่เป็นจำนวนมากไม่อาจควบคุมดูแลได้หมด ก็นำไปสู่การนองเลือดในเวลาประมาณ 05.55 น. ของ
วันอาทิตย์ที่
14 ตุลาคม เมื่อเกิดการปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนที่บริเวณหน้า
พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ด้าน
ถนนราชวิถีตัดกับ
ถนนพระราม 5 เมื่อกลุ่มผู้ชุมนุมจะสลายตัวกลับทางนั้น แต่ทางเจ้าหน้าที่ไม่ยอมให้ผ่าน จึงเกิดการปะทะกันจนกลายเป็นการจลาจล และลุกลามไปยังสนามหลวง, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และถนนราชดำเนิน ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เวลาบ่าย พบเฮลิคอปเตอร์ลำหนึ่งบินวนอยู่เหนือเหตุการณ์และมีการยิงปืนลงมาจากเฮลิคอปเตอร์ลำนั้นเพื่อสลายการชุมนุม โดยผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ยืนยันว่าบุคคลที่ยิงปืนลงมานั้นคือ พ.อ.
ณรงค์ กิตติขจร บุตรชายของจอมพลถนอม และบุตรเขยของจอมพลประภาส ซึ่งเป็นผู้ที่ถูกมองว่าจะเป็นผู้สืบทอดอำนาจต่อจากจอมพลถนอม และจอมพลประภาส
ต่อมาในเวลาหัวค่ำ
สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยประกาศว่า จอมพลถนอม ได้ลาออกจากตำแหน่งแล้ว และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นาย
สัญญา ธรรมศักดิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระราชดำรัสแถลงออกโทรทัศน์ด้วยพระองค์เอง แต่ทว่าเหตุการณ์ยังไม่สงบโดยกลุ่มทหารได้เปิดฉากยิงเข้าใส่นักศึกษาและประชาชนอีกครั้งหลังจากพระราชดำรัสทางโทรทัศน์เพียงหนึ่งชั่วโมงเมื่อนักศึกษาพยายามพุ่งรถบัสที่ไม่มีคนขับเข้าใส่สถานีตำรวจ ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเนื่องจากผู้ชุมนุมนับพันยังไม่วางใจในสถานการณ์ได้มีการประกาศท้าทาย
กฎอัยการศึกในเวลา 22.00 น. และ ประกาศว่าจะอยู่ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยทั้งคืนเพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้ถูกหลอกอีกครั้ง จนกระทั่งในเวลาหัวค่ำของวันที่
15 ตุลาคม ได้มีประกาศว่า จอมพลถนอม จอมพลประภาส และ พ.อ.
ณรงค์ ได้เดินทางออกนอกประเทศแล้ว เหตุการณ์จึงค่อยสงบลง และวันที่
16 ตุลาคม ผู้ชุมนุมและประชาชนต่างพากันช่วยทำความสะอาดพื้นถนนและสถานที่ต่าง ๆ ที่ได้รับความเสียหาย
[3] หลังเหตุการณ์[แก้]ภายหลังเหตุการณ์นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ได้เสด็จเยี่ยมผู้ได้รับบาดเจ็บตามโรงพยาบาลต่าง ๆ และสำหรับผู้เสียชีวิตทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการพระราชทานเพลิงศพผู้เสียชีวิตที่ทิศเหนือ
ท้องสนามหลวงด้วย และอัฐินำไปลอยอังคารด้วยเครื่องบินของ
กองทัพอากาศที่ปาก
แม่น้ำเจ้าพระยา อ่าวไทยหลังจากเหตุการณ์ครั้งนี้ มีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ โดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประชาชนต่าง ๆ จากหลายภาคส่วน โดยไม่มีนักการเมืองร่วมอยู่ด้วยเลย และใช้
สนามม้านางเลิ้งเป็นสถานที่ร่าง โดยเรียกกันว่า "สภาสนามม้า" จนนำไปสู่
การเลือกตั้งในต้นปี พ.ศ. 2518 ซึ่งในช่วงระยะเวลานั้น มีคำเรียกว่าเป็นยุค "ฟ้าสีทองผ่องอำไพ" แต่ทว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ ในประเทศยังไม่สงบ มีการเรียกร้องและเดินขบวนของกลุ่มชนชั้นต่าง ๆ ในสังคม ประกอบกับสถานการณ์ความมั่นคงในประเทศรอบด้านจากการรุกคืบของ
ลัทธิคอมมิวนิสต์และผลกระทบจาก
สงครามเวียดนาม แม้รัฐบาลชุดใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งก็ไม่มีเสถียรภาพเพียงพอที่จะแก้ไขสถานการณ์ได้ จนนำไปสู่เหตุนองเลือดอีกครั้งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เมื่อปี
พ.ศ. 2519 คือ
เหตุการณ์ 6 ตุลาพ.ศ. 2546 สภาผู้แทนราษฎรมีมติเอกฉันท์กำหนดให้วันที่ 14 ตุลาคมของทุกปีเป็น "วันประชาธิปไตย" เป็นวันสำคัญของชาติ ในโอกาสครบรอบเหตุการณ์ 30 ปี
[5] ลิงค์ที่นำมา [size=0.8em]http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C_14_%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%B2