Baan Jompra

ชื่อกระทู้: สถานที่ท่องเที่ยวน่าไปเกี่ยวกับพญานาค [สั่งพิมพ์]

โดย: AUD    เวลา: 2013-9-8 05:56
ชื่อกระทู้: สถานที่ท่องเที่ยวน่าไปเกี่ยวกับพญานาค
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย AUD เมื่อ 2013-9-11 22:29

[attach]4565[/attach]

ที่มาของรูปภาพ http://group.wunjun.com
โดย: AUD    เวลา: 2013-9-8 05:57
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย AUD เมื่อ 2013-9-11 22:29

[attach]4566[/attach]

ที่มาของรูปภาพ http://group.wunjun.com
โดย: AUD    เวลา: 2013-9-8 19:58
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย AUD เมื่อ 2013-9-8 20:02

ศาลเจ้าพ่อนาคราช     (นครสวรรค์ / อำเภอตาคลี)

ศาลเจ้าพ่อนาคราชถือเป็นศาสนสถานที่สำคัญยิ่งของชาวบ้านและคนใกล้เคียง เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่มีผู้คนหลั่งไหลกันมากราบไหว้ขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง ภายในศาลเจ้าพ่อนาคราชนั้นมีความงดงามด้วยประติมากรรมซึ่งเมื่อได้พบเห็นแล้วจะต้องตื่นตาตื่นใจกับความสวยงามจนต้องถ่ายรูปเก็บไว้เป็นที่ระลึก




[youtube]WMz7OUOlGzM[/youtube]


ไหว้ขอพรศาลเจ้าพ่อนาคราช จังหวัดนครสวรรค์

ศาลเจ้าพ่อนาคราช อยู่ใกล้วัดจันเสนเพียงบึงน้ำกั้น เป็นศาลเจ้าแบบจีนหลายหลัง เช่น ศาลเจ้าพ่อนาคราช ศาลเจ้าแม่กวนอิมพันกร ศาลพระยูไลอรหันต์ เป็นต้น ปัจจุบันพื้นที่หลายส่วนกำลังก่อสร้าง ตกแต่งอยู่ แต่ก็สัมผัสได้ถึงความสวยงามอลังการได้แล้ว

[attach]4579[/attach]
[attach]4578[/attach][attach]4577[/attach][attach]4573[/attach][attach]4574[/attach][attach]4575[/attach][attach]4576[/attach]







โดย: sriyan3    เวลา: 2013-9-9 08:57
ขอบคุณครับ น่าไปทุกแห่งเลย
โดย: Nujeab    เวลา: 2013-9-9 17:12
ขอบคุณครับ
โดย: AUD    เวลา: 2013-9-11 22:27
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย AUD เมื่อ 2013-9-11 22:29

รอยพญานาค วัดพระพุทธบาทหนองด้วง


[attach]4638[/attach][attach]4637[/attach]

พิกัด วัดพระพุทธบาทหนองด้วง ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี
N:17.67208
E:102.34521

ที่มาของรูปภาพ http://group.wunjun.com






โดย: AUD    เวลา: 2013-9-11 22:37
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย AUD เมื่อ 2013-9-14 07:30

ถ้ำพญานาค วัดพระพุทธบัวบก อุดรธานี
[attach]4640[/attach][attach]4639[/attach]

วัดพระพุทธบาทบัวบก ตั้งอยู่กลางเทือกเขาภูพระบาท บ้านติ้ว ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จากตัวอำเภอบ้านผือ เป็นถนนลาดยางระยะทางประมาณ ๑๖ กิโลเมตร เป็น ที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทที่มีตำนานเล่าขานว่า ราวปี 2460 พระสงฆ์รูปหนึ่งได้เกิดนิมิตรอัศจรรย์เห็นพระบรมสารีริกธาตุสีขาวในอุโมงค์ ในพื้นที่วัดจึงชักชวนชาวบ้านรื้ออุโมงค์นั้นออก แล้วสร้างเจดีย์ครอบไว้แทนพระบรมสารีริกธาตุ มีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อันน่าอัศจรรย์ทั้งก้อนหินธรรมชาติ สรรสร้าง ประหนึ่งศิลปินนำมาจัดวางเป็นงานศิลปะ อีกถ้ำพญานาคซึ่งเล่าขานแต่อดีตว่าทางเดินภายในสามารถทะลุไปถึงแม่น้ำโขง พุทธศาสนิกชนชาวไทย ลาว สองฝั่งโขงต่างเดินทางมาสักการะด้วยความเลื่อมใสศรัทธาสืบมาจนกาลปัจจุบัน วัดพระพุทธบาทบัวบกยังเป็นสถานที่เงียบสงบเหมาะแก่การนั่งสมาธิปฏิบัติธรรม หลบหนีความวุ่นวายจากสถานการณ์บ้านเมืองได้




ที่มาของรูปภาพ http://group.wunjun.com
และ https://www.facebook.com/pages/In-Love-Udonthani




โดย: AUD    เวลา: 2013-9-14 07:33
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย AUD เมื่อ 2013-9-14 07:43

บ่อน้ำทิพย์ (บาดาล) พระฤาษีและพญานาค วัดพระธาตุจอมมอญ

วัดพระธาตุจอมมอญ ตั้งอยู่ในเขตบริเวณหมู่บ้านพะมอลอ หมู่ที่ ๙ ตำบลบ้านกาศ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีเนื้อที่ทั้งหมด ๑๖ ไร่ ไม่ปรากฏสร้างขึ้นเมื่อใด แต่หลักฐานค้นพบที่ กู่คำ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัย พระเจ้าแสนเมืองมา กษัตริย์แห่งนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๗ ราชวงศ์มังราย โดยให้อุปราช เจ้าแสนคำ เป็นผู้สร้าง ประมาณ พ.ศ. ๑๙๓๕ อัฐิ เจ้าแสนคำ ได้บรรจุไว้ที่กู่คำ หรือกู่แสนคำ ตั้งอยู่บริเวณ อุโบสถในปัจจุบันนี้ พ.ศ. ๒๑๔๓ ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้กอบกู้บ้านเมืองได้เกลี้ยกล่อมชาวไทย ไทยใหญ่ มอญ กะเหรี่ยง ละว้า จากพม่าเป็นสมัครพรรคพวกให้มาขึ้นกับไทย ประกอบกับกษัตริย์มอญได้หนีข้าศึกทางพม่านุ่งห่มขาวลี้ภัยพร้อมด้วยบริวาร มาตั้งรกรากอยู่บริเวณนี้ จึงได้ช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุจอมมอญ กาลล่วงไปพระเจดีย์ ได้ชำรุดทรุดโทรม เหลือแต่ซากปรักหักพังเป็นหลุม คล้ายปลักควาย ลุถึง พ.ศ. ๒๔๕๓ โดยการนำของตระกูลกะเหรี่ยง พ่อเฒ่าหม่อนจอนุ แม่หม่อนโยแฮ พิกุล" สร้างครอบองค์เก่า ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ทางวัดจึงได้สร้างครอบองค์เดิมให้ใหญ่และสูงขึ้น เดิมบรรจุพระบรมธาตุพระหนุ(ส่วนคาง) และพระอูรุงคธาตุ มีการบรรจุพระธาตุเพิ่มโดยคุณรัตนาภร จงจิตรนันท์ ผู้อันเชิญพระธาตุแก้วเสด็จมาที่ห้องพระแล้วนำมาถวาย บรรจุในเจดีย์นี้ด้วย ๑๐๐๐ องค์ ..."ก่อนการบูรณปฏิสังขรณ์ วัดพระธาตุจอมมอญจัดเป็นวัดร้างอยู่ในเขตป่ารกชัฏ มีสถานะเป็นเพียงสำนักสงฆ์ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ เมื่อชาวบ้านพะมอลอได้อารธนาพระภิกษุึมาจำพรรษาจากวัดพระพุทธบาทตากผ้า อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ซึ่งเป็นศิษย์ของ พระสุพรหมยานเถร (พรหมมา พฺรหฺมจกฺโก) หรือครูบาพรหมมา พระภิกษุที่มาจำพรรษาในครั้งนั้นมีด้วยกัน ๒ รูป คือ พระอธิการสวัสดิ์ นริสฺสโร และ พระอาจารย์พิมล ชาตวีโร จากนั้นก็มีหลวงพ่อตาคำ สํวโร จากวัดน้ำจำ อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ มาสมทบ พระภิกษุทั้ง ๓ รูปนี้ถือเป็นกำลังสำคัญในการบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระธาตุจอมมอญการร่วมแรงร่วมใจกันทั้งทางฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์ในการบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระธาตุจอมมอญ ทำให้เสนาสนะ ถาวรวัตถุ มีอยู่อย่างสัปปายะ พระอาจารย์สวัสดิ์ นริสฺสโร ได้ทำเรื่องไปยังกรมการศาสนาเพื่อยกวัดร้างขึ้นเป็นวัดมีพระสงฆ์อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และกรมการศาสนาเห็นชอบได้ประกาศให้วัดพระธาตุจอมมอญขึ้นทะเบียนเป็นวัด เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่งตั้งให้พระอธิการสวัสดิ์ นริสฺสโร เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ ๑ ณ วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๓ พร้อมกันนั้นทางวัดพระธาตุจอมมอญยังได้รับการคัดเลือกให้เป็นอุทยานการศึกษา ในปีเดียวกัน คือ วันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ชาวอำเภอแม่สะเรียง เรียกขานชื่อวัดพระธาตุจอมมอญ ว่า วัดจอมมอญ และเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วัดพะมอลอ ตามชื่อหมู่บ้าน หลักฐานอะไรที่ทำให้เรียกชื่อวัดว่า วัดจอมมอญ เหตุเพราะศิลปะภายในวัดแทบจะไม่มีร่องรอยของ ศิลปะมอญอยู่เลย และบริเวณวัดก็เป็นชุมชนของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง จึงอนุมานว่า สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้กอบกู้บ้านเมืองได้เกลี้ยกล่อมชาวไทย ไทยใหญ่ มอญ กะเหรี่ยง ละว้า จากพม่าเป็นสมัครพรรคพวก ให้มาขึ้นกับไทย ประกอบกับกษัตริย์มอญได้หนีข้าศึกทางพม่านุ่งห่มขาวลี้ภัยพร้อมด้วยบริวาร มาตั้งรกรากอยู่บริเวณนี้ ได้ช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุจอมมอญ เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานระลึกถึง กาลต่อมาวัดจอมมอญถูกทิ้งให้ร้างเป็นป่ารกชัฏเป็นเวลายาวนาน จนมาถึงการบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่อีกครั้งทางวัดจึงมีการทำเรื่องถึงกรมการศาสนา ยกวัดร้างขึ้นทะเบีัยนเป็นวัดถูกต้องตามกฎหมาย แล้วมีการเปลี่ยนชื่อวัด โดยการเพิ่มคำว่า "พระธาตุ"จาก วัดจอมมอญ เป็น วัดพระธาตุจอมมอญ เหตุที่เพิ่มคำว่าพระธาตุขึ้นมา ด้วยเชื่อว่าองค์เจดีย์มีการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ


[attach]4672[/attach][attach]4673[/attach]

โดย: AUD    เวลา: 2013-9-14 22:32
จุดชุมนุมพญานาค อ.เชียงคาน จ.เลย

[attach]4682[/attach][attach]4681[/attach]

โดย: AUD    เวลา: 2013-9-14 22:38
พิพิธภัณฑ์  ถ้ำเมืองบาดาล  วัดไทย อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

[attach]4684[/attach][attach]4685[/attach][attach]4687[/attach][attach]4688[/attach][attach]4683[/attach]

โดย: Metha    เวลา: 2013-9-15 00:06
พี่อู๊ด. น่าจัดทริปสักทริปน่ะครับ
โดย: AUD    เวลา: 2013-9-18 20:56
อัศจรรย์พญานาค โรงแรมพลอย

[attach]4724[/attach][attach]4723[/attach][attach]4725[/attach]

ที่มา http://group.wunjun.com/nagacity

โดย: AUD    เวลา: 2013-9-18 21:04
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย AUD เมื่อ 2013-9-18 21:05

วัดถ้ำเพชรนาคา อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี

[attach]4727[/attach][attach]4726[/attach]



ที่มา http://group.wunjun.com/nagacity



โดย: AUD    เวลา: 2013-9-22 07:15
[attach]4757[/attach]

บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ แห่งเมืองสกลนคร ตั้งอยู่วัดพระธาตุเชิงชุม ฤากันว่าเป็นทางเชื่อมระกว่างเมืองมนุษย์กับเมืองพญานาคที่จมอยู่ใต้หนองหาร สกลนคร

ที่ตั้ง
วัดพระธาตุเชิงชุมตั้งอยู่ริมหนองหารในเขต เทศบาลสกลนคร มีพื้นที่ 18 ไร่ 1 งาน 27 ตารางวา อยู่ปลายสุดของถนนเจริญเมือง มี อาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือและทิศตะวันออก ติดกับหนองหารหลวงและบ้านเรือนชาวคุ้มทิศ ตะวันตก ติดกับถนนเรืองสวัสดิ์ ทิศใต้ ติดกับ ถนนเจริญเมือง
ประวัติความเป็นมา
ตามอุรังค นิทาน กล่าวว่า วัดพระธาตุเชิงชุม เป็นสถานที่ พระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาโปรดชาวเมืองหนองหาร หลวง และกล่าวว่าบริเวณนี้เป็นที่บรรจุพระบาท ของพระพุทธเจ้า 4 พระองค์ คือ พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า กุกสันโธ โกนาคมโน กัส สะโป และโคตมะ ซึ่งก่อนจะเสด็จดับขันธ์ ปรินิพพาน ต้องไปประทับรอยพระบาทไว้ที่นั่นทุก พระองค์ นับว่าพระพุทธเจ้าพระนามว่า ศรี อาริยเมตตรัย องค์ที่ 5 ในภัทกัปป์นี้ ก็จะประทับรอยพระบาทไว้เช่นกัน ด้วยเห ตะนี้จึงถือกันว่าวัดพระธาตุเชิงชุม จึงเป็นวัดแรกที่พระยาสุวรรณภิงคาระ พระะ นางนารายณ์เจงเวง และเจ้าคำแดง อนุชาพระยา สิวรรณภิงคาร มาสร้างวัดขึ้นเมื่อย้ายราชธานี จากบริเวณซ่งน้ำพุและท่านางอายฝั่งตรงข้าม หนองหาร เมื่อครั้งหนองหารล่มเพราะการกระทำของ พญานาค
อย่างไรก็ตาม จากหลักฐานเสมา หินที่พบอยู่รอบ ๆ วัดพระธาตุเชิงชุม และหลักฐานแท่านบูชารูปเคารพ ตลอดยนศิลาจารึกตัว อักษรขอมในพุทธศตวรรษที่ 15 - 16 ซึ่งอยู่ ติดผนังทางเข้าภายในอุโมงค์พระธาตุเชิงชุม (ชั้นใน) ซึ่งก่อเป็นพระธานุหรือ สถูปขนาดเล็ก หลักฐานเหล่านี้บ่งบอกว่า บริเวณ วัดพระธาตุเชิงชุมได้มีชุมชนเกิดขึ้น ต่อเนื่องกันมา โดยเฉพาะศิลาจารึกที่กรอบประตู ทางเข้าปรางค์ขอมหรือสถูป ซึ่งมีความกว้าง 49 ซ.ม. ยาว 52 ซ.ม. เขียน เป็นตัวอักษรขอมโบราณ เนื้อความกล่าวถึงบุคคลจำนวน หนึ่ง ได้พากันไปชี้แจงแก่โขลญพล หัว หน้าหมู่บ้าน พระนุรพิเนาตามคำแนะนำ ของกำแสดงว่าที่ดินที่ราษฎรหมู่บ้านพะ นุรนิเนามอบให้โบลูญพลนี้มี 2 ส่วน ส่วนหนึ่งเป็นที่ดินในหลักเขต ให้ขึ้น กับหัวหน้าหมู่บ้านพะนุรพิเนา นอกจาก เรื่องการมอบที่ดินแล้ว ข้อความตอนท้ายของ จารึกได้กล่าวถึงการกัลปนาของโขลญพลที่ได้ อุทิศตน สิ่งของที่นา แด่เทวสถานและสงกรานต์
กล่าวโดยสรุปในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15 - 16 บริเวณวัดพระธาตุเชิงชุมคงถูกปกครอง โดยคนกลุ่มขอมที่พากันสร้างวัด โดยอุทิศ ที่ดิน บริวาร ข้าทาส ให้ดูแลวัด หรือศา สนสถานแห่งนี้ ซึ่งอาจเป็นศาสนสถานตาม คติพราหมณ์หรือพุทธมหายานก็ได้
ความสำคัญต่อชุมชน
หลักฐานการตั้งชุมชนบริเวณวัดพระ ธาตุเชิงชุมในสมัยรัตนโกสินทร์ค่อนข้างเด่น ชัด โดยเฉพาะพงศาวดาร ฉบับพระยาประจันตประเทศธานี ( โง่นคำ) กล่าวว่าในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดผ้าจุ)าโลกมหาคาช โปรด เกล้าฯ ให้อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์ พร้อมไพร่พลตัวเลก มาตั้งเมืองรักษาพระธาตุเชิงชุม เมื่อมีผู้ คนมากขึ้นก็โปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านธาตุ เชิงชุม ขึ้นเป็นเมืองสกลทวาปี เมื่อปี พ .ศ.2329 อย่างไรก็ตามเมื่อเกิดศึก เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์เป็นกบฏใน พ.ศ .2370 เมืองสกลนครต้องโทษเป็นกบฎขัดขืนอาญา ศึก เจ้าเมืองฝักใฝ่กับเจ้าอนุวงค์ไม่ได้เตรียม กำลังไพร่พล กระสุนดินดำ เว้ให้ทัพหลวงตาม คำสั่ง พระธานีเจ้าเมืองสกลทวาปีถูกประหาร ชีวิต ญาติพี่น้องเจ้าเมืองถูกกวาดต้อนไปอยู่ เมืองกบิลประจันตคาม จึงทำให้บริเวณวัดพระธาตุ เชิงชุม ซึ่งเป็นศูนย์กลางของเมืองถูกทิ้งร้าง ชั่วคราวปล่อยให้หมู่บ้านรอบ ๆ 10 หมู่บ้าน เป็นข้าพระธาตุดูแลวัดแห่งนี้
หลังการกบฎของเจ้าอนุวงศ์ ราชวงศ์ (คำ) แห่งเมือง มหาชัยกองแก้วได้เข้ามาพึ่งบราโพธิสมภาร โปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็นพระประเทศธานี(คำ ) เจ้าเมืองและให้ราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์มาดำรงตำแหน่ง อุปฮาด ให้ท้าวอินน้องชายราชวงศ์(คำ)เป็น ราชวงศ์ ให้ท้าวบุตรเมืองกาฬสินธุ์เป็นราชวงศ์ มีการสร้าง กุฏิ ศาลาการเปรียญตั้งแต่นั้นมาวัดพระธาตุ เชิงชุมก็เจริญขึ้นตามลำดับ
จึงถือว่าวัดพระธาตุเชิงชุมเป็นศูนย์กลางของเมืองสกลนคร มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของพระธาตุเชิงชุม
วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร มีโบราณสถาน โบราณวัตถุสำคัญ ๆ นับแต่องค์พระธาตุเชิงชุม หลวงพ่อพระ พุทธองค์แสน พระอุโบสถ พระวิหาร หอจำศีล ( สิมหลังเล็ก) 90 ไตร ฯลฯ ในที่นี้ขอ อธิบายเฉพาะตัวสถาปัตยกรรมขององค์พระธาตุเท่านั้น
พระธาตุเชิงชุมเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนสี่ เหลี่ยม สูง 24 เมตรเศษ มีซุ้มประตู 4 ด้าน คือ ด้านตะวันตก ด้านเหนือ ด้านใต้ ลักษณะประตูเป็นประตู ปิด - เปิด ได้แต่เปิดไม่ได้มากเพราะติด องค์สถูปภายใน ซึ่งเจดีย์องค์ใหม่สร้างครอบไว้ ส่วนด้านตะวันออกเป็นประตูทางเข้าสถูปภายใน วิหาร
ทรวดทรงของพระธาตุเชิงชุม เป็นทรงเจดีย์ สี่เหลี่ยมลดชั้นจากฐานขึ้นไปสู่ยอดเป็น ช่วง ๆ 3 ช่วง จึงถึงเต้าระฆัง และรับด้วย ดวงปลีที่ทำเป็นทรงบัวเหลี่ยมปักยอดฉัตร ทองคำ ลักษณะการลดชั้นเจดีย์รับด้วยดวงปลี ทรงบัวเหลี่ยม ทำให้องค์พระธาตุเชิงชุมมี ความสวยงามกระทัดรัดไม่เทอะทะ เช่น เจดีย์ทรง ฐานกว้างเตี้ย นอกจากนี้สถาปนิกยังสร้างให้ซุ้ม ประตู 3 ด้าน เพื่อให้ประชาชนเห็นองค์พระธาตุ (สถูป) เดิมภายใน ต่อมาได้มีการ นำพระพุทธรูปปางห้ามญาติ อิทธิพลล้านช้าง มาติดไว้ในซุ้มทั้ง 3 ด้าน นับว่าเป็น ส่วนประกอบองค์สถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ และเป็นประติมากรรม แบบล้านช้างที่แท้จริง
องค์ประกอบสำคัญขององค์พระธาตุเชิงชุมคือ ซุ้มประตูโขงทรงหอแก้วดอ เป็นลักษณะหอแก้วเฟื่อง คือ มีขนาดพองาม และ ในพื้นที่ครึ่งหนึ่งของปริมณฑล ทำให้พื้นที่ บริเวณฐานเจดีย์องค์พระธาตุสวยงาม ในส่วนราย ละเอียดของซุ้มประตูนั้นเป็นงานสถาปัตยกรรมฝีมือช่าง ชั้นครู โดยเฉพาะลายของก้นหอยซึ่งทำขนาด ใหญ่น้อยเรียงกันไป เพียงแต่มีปูนขาวทาบ ทับนนหนาปิดบังความคมชัดของลายก้นหอย อันวิจิตรบรรจง  

ที่มา  http://group.wunjun.com/nagacity







โดย: AUD    เวลา: 2013-9-22 07:29
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย AUD เมื่อ 2014-10-7 20:13


ข้อมูลเบื้องต้น ชื่อวัดถ้ำเสาหิน ตั้งอยู่ หมู่ 4 ตำบลโป่งงาม อำเภอแม่สาย ตั้งตามชื่อของถ้ำที่อยู่ทางทิศตะวันตก ซึ่งในถ้ำนั้นมีลักษณะเป็นหินย้อยลงมาจรดเบื้องล่าง มีสันฐานคล้ายเสาบ้านมีหลายๆต้น ในถ้ำนั้นลึกเข้าไปประมาณ 50-70 เมตร(เคยเป็นที่เก็บวัตถุโบราณ)ที่สุดของถ้ำเป็นที่โล่งกว้าง ณ ที่ตรงนี้จะเรียก ว่า ลาน(ข่วง)พญานาค อันเป็นที่มาของคำว่า"ถ้ำเสาหินพญานาค"
[attach]4759[/attach][attach]4758[/attach]

ประวัติวัดถ้ำเสาหินพญานาค สภาพวัดแต่เดิมก่อนสร้างวัด มีลักษณะเป็นเนิดินมีคูน้ำล้อมรอบบริเวณ คล้ายกับที่ตั้งของเมือง(เวียง)ในสมัยก่อนๆ ด้านทิศตะวันตกติดกับภูเขา

มีลำห้วยเล็กมีน้ำไหลออกจากรูใต้ถ้ำ ไหลมารวมที่เดียวกันกับลำน้ำที่มาจากถ้ำปลาและถ้ำน้อย แล้วไหลออกไปสู่ในหมู่บ้าน เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ หลวงพ่อนิรมล สุทธิญาโณ ได้ย้ายมาจากพุทธสถานถ้ำปลามาพัฒนาที่นี่ ตอนแรกนั้นยังไม่มีประชาอุปถัมภ์ ต่อมาภายหลังเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๕๑๙ ชาวบ้านที่เคยอุปถัมภ์พุทธสถานถ้ำปลาได้แยก หมู่บ้าน มาขออุปถัมภ์บำรุงกับหลวงพ่อ ท่านจึงอนุญาตให้มาบำเพ็ญบุญได้ ต่อจากนั้นก็ได้เริ่มสร้างเสนาสนะขึ้นหลายอย่าง อาทิเช่น กุฏิ วิหาร ศาสนา และห้องน้ำ เป็นต้น

ชื่อวัดถ้ำเสาหิน ตั้งตามชื่อของถ้ำที่อยู่ทางทิศตะวันตก ซึ่งในถ้ำนั้นมีลักษณะเป็นหินย้อยลงมาจรดเบื้องล่าง มีสันฐานคล้ายเสาบ้านมีหลายๆต้น ในถ้ำนั้นลึกเข้าไปประมาณ ๕๐-๗๐ เมตร(เคยเป็นที่เก็บวัตถุโบราณ)ที่สุดของถ้ำเป็นที่โล่งกว้าง ณ ที่ตรงนี้จะเรียก ว่า ลาน(ข่วง)พญานาค อันเป็นที่มาของคำว่า"ถ้ำเสาหินพญานาค"ดังกล่าว ปัจจุบันนี้เนื้อที่ของวัดมีอยู่ ๘๐ ไร่ ๓ งาน ๖๐ ตารางวา มีพระครูประภัสร์จิตสังวร เป็นเจ้าอาวาส

มาดูสะพานข้ามไปชมถ้ำเสาหิน ใจไม่ถึงห้ามข้ามไป ถ้ำอยู่ตรงเขาที่เห็นนั่นแหละครับ

[attach]9035[/attach][attach]9036[/attach][attach]9037[/attach][attach]9038[/attach][attach]9039[/attach][attach]9040[/attach][attach]9041[/attach][attach]9042[/attach][attach]9043[/attach][attach]9044[/attach][attach]9045[/attach][attach]9046[/attach][attach]9047[/attach]


ที่มา http://group.wunjun.com/nagacity




โดย: AUD    เวลา: 2013-10-26 06:56
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย AUD เมื่อ 2014-10-7 20:15

พลานุภาพ นาคเมืองน่าน (พญานาคทรงพลังวัดภูมินทร์)


[attach]9049[/attach]
พญานาค2 ตัวบนบันไดหน้าวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน


น่าน เป็นเมืองชายแดนเล็กๆอันสงบงามแห่งล้านนาตะวันออก

แต่สำหรับผมน่านจัดเป็นเมืองเล็กประเภท Small is Beautiful หรือประเภทเล็กดีรสโตที่มีพยัคฆ์ซุ่ม มังกรซ่อน ด้านสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติ วิถีชีวิตและศิลปวัฒนธรรมอยู่มากมาย

แต่ประทานโทษ!?! ถ้าใครอยากไปท่องเที่ยวเชิงแสงสีหรือท่องเที่ยวเชิงโลกีย์ ผมแนะนำว่ากรุณาไปเที่ยวที่อื่นเหอะ อย่านำมลพิษทางการท่องเที่ยวไปยังเมืองน่านเลย

อนึ่งการไปน่านหนนี้ เป็นที่น่าเสียดาย(สำหรับตัวผม)ว่ามีเวลาอยู่น่านเพียงไม่นาน งานนี้ผมจึงทำได้แค่เพียงเลือกเที่ยวชมน่านชมโน่นชมนี่อยู่เฉพาะแค่ในเขตเมืองเท่านั้น โดยหลังชมงาช้างดำหนึ่งเดียวในเมืองไทยที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติน่านแล้ว ผมเดินทอดหุ่ยต่อไปยังวัดภูมินทร์ ที่อยู่ห่างจากพิพิธภัณฑ์ฯเพียงแค่ข้ามถนน

วัดภูมินทร์ เป็นวัดเก่าแก่กลางเมืองอายุกว่า 400 ปี ตามพงศาวดารเมืองน่านระบุว่า สร้างในปี พ.ศ. 2139 โดยพระเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์หลังขึ้นครองเมืองน่านได้ 6 ปี เดิมชื่อ“วัดพรหมมินทร์” ก่อนจะเพี้ยนเป็นวัดภูมินทร์ในภายหลัง สำหรับวัดแห่งนี้มีของดีให้ชมกันเพียบ แต่ที่ถือเป็นระดับสุดยอดของเมืองไทยนั้นมีให้ชม 4 อย่างด้วยกัน

อย่างแรกคือ สถาปัตยกรรมทรงจตุรมุข (ที่กรมศิลปากรสันนิษฐานว่าเป็นหลังแรกของเมืองไทย)ที่เป็นอาคารเดียวแต่มีหลายฟังชั่นก์ในตัว เป็นทั้งโบสถ์ วิหาร และพระเจดีย์ประธานของวัด

อย่างที่สองคือ พระประธานจตุรทิศ ที่หันพระพักตร์(หน้า)ออกไปทั้ง 4 ทิศ และหันพระปฤษฎางค์(หลัง)ชนกัน พระประธานองค์นี้เป็นหนึ่งอันซีนไทยแลนด์อันเลื่องชื่อ

อย่างที่สาม ภาพจิตรกรรมฝาผนัง(พื้นบ้าน)อันสวยงามมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

ซึ่งของดีทั้ง 3 อย่างนั้น ผมจะขอหยิบยกไปเล่าแบบขยายรายละเอียดกันอีกทีในโอกาสเหมาะๆ ส่วนตอนนี้ผมจะขอพูดถึงของดีระดับสุดยอดอย่างสุดท้ายในวัดภูมินทร์ นั่นก็คือพญานาค 2 ตัวบนบันไดทางเข้าวิหารที่ถือเป็นพญานาคในระดับไม่ธรรมดา

เพราะในสมัยรัชกาลที่ 8 (พ.ศ.2485) ได้มีการพิมพ์รูปวิหารด้านหน้าของวัดภูมินทร์ลงในธนบัตรใบละ 1 บาท มองเห็นพญานาค 2 ตัว(คล้าย)เลื้อยออกมาอย่างเด่นชัด นับได้ว่าพญานาคคู่นี้ได้รับเกียรติไม่น้อยเลย

ไม่เพียงเท่านั้นพญานาคบนราวบันไดวิหารวัดภูมินทร์ยังมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากวัดทั่วๆไปนั่นก็คือ ปกติตามวัดทั่วๆไปพญานาคราวบันไดโบสถ์-วิหารจะมีเฉพาะส่วนหัวเลื้อยโผล่ออกมาเท่านั้น แต่พญานาค 2 ตัวนี้ ช่างโบราณได้สร้างให้มันมีทั้งส่วนหัวและส่วนหาง(ดูเหมือน)เลื้อยทะลุออกมาจากวิหารยังไงยังงั้น (ในขณะที่บางคนก็ว่าดูเหมือนพญานาค 2 ตัวนี้เลื้อยหนุนวิหารหลังนี้ไว้) แถมพญานาคคู่นี้ ยังดูหน้าตาใจดี ร่างอวบอ้วน ดูมีชีวิตชีวา ปานประหนึ่งว่ามันกำลังเลื้อยอยู่จริงๆ โดยสังเกตได้จากช่วงอกต้นคอก่อนยกหัวขึ้นช่างเขาปั้นได้มีกล้ามอกดูละม้ายคล้ายงูใหญ่กำลังเลื้อย(จริงๆ)ชะมัดเลย

ที่พิเศษก็คือ ใต้ตัวพญานาคคู่นี้ทั้งส่วนหน้า-ส่วนหลังจะมีช่องเอาไว้ให้เดินลอด โดยบางคนเชื่อว่าถ้าใครได้ไปเดินลอดท้องพญานาคแล้วจะได้กลับมาเยือนจังหวัดน่านอีกครั้ง(หรือหลายครั้ง) บ้างก็ว่าถ้าใครไร้คู่แล้วได้เดินลอดใต้ตัวพญานาคก็จะประสบพบเนื้อคู่ ส่วนบางคนว่าเชื่อว่าถ้าได้ลอดตัวพญานาคทั้ง 4 ช่องแล้ว จะเป็นทางรอดนำไปสู่หนทางหลุดพ้น

งานนี้ใครใครเชื่อด้านใดก็สุดแท้แต่ศรัทธา แต่ที่แน่ชัดก็คือพญานาค 2 ตัวนี้สื่อนัยยะทางพุทธศาสนาออกมาอย่างชัดเจน ซึ่งผู้คนแถบนี้เขาเชื่อว่า พญานาคเปรียบเสมือนสะพาน(สายรุ้ง) ที่เชื่อมโลกมนุษย์กับสวรรค์ โดยเมื่อคราวที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พระองค์ได้เสด็จผ่านบันไดแก้วมณีสีรุ้งที่เทวดาเนรมิตขึ้นและมีพญานาคจำนวน 2 ตัว(ตน)เอาหลังหนุนบันไดไว้

ในขณะที่นักวิชาการบางคนยังตั้งข้อสังเกตว่า นี่เป็นการแสดงคติความเชื่อในเรื่องน้ำของคนโบราณโดยใช้พญานาคเป็นสัญลักษณ์เลื้อยผ่านตลอดวิหาร ส่วนบริเวณพื้นนั้นเปรียบดังสระน้ำสี่เหลี่ยมที่มีโบสถ์-วิหารวัดภูมินทร์ตั้งอยู่

นอกจากนี้หากมองตามคติพุทธทั่วๆไปแล้ว พญานาคทั้ง 2 เปรียบเสมือนผู้ปกป้องศาสนาพุทธ ซึ่งน่านถือเป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีการแสดงออกทางความเชื่อในเรื่องของพญานาคอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากคนเมืองน่านเขาเชื่อว่าบรรพบุรุษของตนคือเจ้าขุนนุ่น ขุนฟอง เกิดมาจากไข่พญานาคนั่นเอง

โดยนอกจากตามวัดวาอารามแล้ว สัญลักษณ์พญานาคที่ปรากฏชัดก็คือ เรือแข่งเมืองน่าน ที่ทำเป็นรูปพญานาคเพื่อแสดงถึงการบูชารู้คุณต่อพญานาคผู้เป็นเจ้าแห่งน้ำบรรพบุรุษของชาวน่าน

เรือแข่งเมืองน่าน หัวเรือเป็นรูปหัวพญานาค เอกลักษณ์เฉพาะตัว

[attach]9048[/attach]


เรือแข่งเมืองน่าน หัวเรือจะแกะสลักเป็นรูปหัวพญานาคชูคออย่างสง่า แถมยังลงสีสันอย่างสวยงาม ส่วนตัวเรือก็เปรียบดังตัวพญานาค ไล่ยาวไปจนถึงที่ทำเป็นหางพญานาคชูงอนสูง

นับเป็นเรือแข่งที่สวยงามมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แถมยังโด่งดังไม่เป็นสองรองใคร ถึงขนาดปรากฏเป็นวลีแรกของคำขวัญจังหวัดนั่นก็คือ “แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำ จิตรกรรมวัดภูมินทร์ แดนดินส้มสีทอง เรืองรองพระธาตุแช่แห้ง” ซึ่งทุกๆปีชาวน่านจะมีการจัดแข่งเรือพญานาคอย่างยิ่งใหญ่ในช่วงราวเดือน ต.ค.- พ.ย. หลังออกพรรษา โดยถือเอาวันเปิดสนามแข่งเรือตามวันถวายสลากภัตของวัดช้างค้ำ

ไม่เพียงเท่านั้นความโดดเด่นของเรือแข่งพญานาคเมืองน่าน ยังถูกใช้นำไปใช้ประดับบนหัวเสาป้ายชื่อถนน บนหัวเสาไฟจราจร ที่ดูแล้วเท่และมีเสน่ห์ไม่น้อยเลย เช่นเดียวกับพญานาควัดภูมินทร์ที่นอกจากจะมีเสน่ห์แล้วยังเป็นพญานาคที่ อ.ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินนามอุโฆษบอกว่าดูทรงพลังที่สุดในประเทศไทย

สำหรับพญานาคนาค 2 ตัวนี้จะดูทรงพลังแค่ไหน ผมว่ามันขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน แต่กับคำพูดของ อ.ถวัลย์น่ะ ดูจะทรงพลังต่อผมไม่น้อยเลย เพราะนี่คือหนึ่งในอิทธิพลสำคัญที่ทำให้ผมอยากมาชมพญานาคคู่นี้ใจแทบขาด และก็ไม่ทำให้ผิดหวังเสียด้วย



โดย: AUD    เวลา: 2013-10-26 06:57
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย AUD เมื่อ 2014-10-7 20:18

ถ้ำพญานาค วัดเขาสมโภชน์


[attach]9051[/attach]

[attach]9052[/attach]

1.ถ้ำอรหันต์(ถ้ำใหญ่)

เป็นถ้ำขนาดใหญ่ภายในมีบริเวณกว้าง

ขวาง มีปล่องอยู่ด้านบนปล่องเป็นทาง

ลงของแสงช่วยให้สภาพภายในสว่างพอ

สมควร และมีซอกและหลืบ เกิดเป็นห้อง

ปฏิบัติธรรมโดยธรรมชาติ มีปล่องเป็น

ช่องลึก เป็นทางลงไปสู่เมืองบาดาล

ภายในถ้ำมีแผ่นหินเป็นรูปพญานาคที่มี

ส่วนประกอบชัดเจน เช่น หงอน เกล็ด

ครีบ และหาง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์บอก

ชัดเจน ที่สำคัญคือ มีอัฐิธาตุของพระ

อรหันต์อยู่ในถ้ำนั้น เป็นที่เคารพกราบ

ไหว้ของผู้เข้าชม และเป็นที่พิสูจน์ของ

ผู้เจริญสมถภาวนา

[attach]9050[/attach][attach]9053[/attach]



เนี้ยะทางเข้าถ้ำอรหันต์ เชื่อหรือไม่ อากาศในถ้ำเย็นสบายหายใจสะดวกมากมีอะไรให้คุณศึกษาเยอะแยะ


2.ถ้ำเจดีย์

จากปากถ้ำพระอรหันต์ไปทางซ้ายมือมี

ทางเดินเข้าไปในป่าประมาณ ๒๐๐ เมตร

จะมีทางแยกเข้าถ้ำเจดีย์ ที่ปากถ้ำจะมี

เจดีย์คอนกรีต ๓ องค์ บรรจุอัฐิธาตุของ

พระอรหันต์ ที่องค์พระเจดีย์จะมีแสง

สะท้อนวาววับเมื่อต้องแสงเทียนและไฟ

ฉาย และอากาศภายในจะเย็นชื้นตลอดปี

ไม่มีแสงจากภายนอกเล็ดลอดเข้าไปได้

มีหินงอกหินย้อยสวยงามมาก และเป็น

รูปร่างที่แปลกตาพอสมควร



3.ถ้ำใต้ดิน

ภายในถ้ำเจดีย์จะมีทางแยกเป็นปล่องลำลงไปใต้ดิน ซึ่งมีความชื้นพอสมควร ข้างล่างจะเป็นโพรง กว้างบ้างแคบบ้าง ติดต่อกันหลายถ้ำ บางแห่งก็มีแสงจากข้างบนส่งลงไปถึง บางแห่งก็มืดสนิท ต้องอาศัยไฟฉายหรือแสงเทียนช่วยในการชมความแปลกมหัศจรรย์ของหินงอกหินย้อยและธรรมชาติของถ้ำเมื่อเดินชมไปถึงที่สุดที่จะมีทางขึ้นสูงชันขึ้นเรื่อยๆและโผล่สู่ออกภายนอกอีกทางหนึ่ง

4.ถ้ำรำวง

เหนือปากถ้ำเจดีย์ขึ้นไปเล็กน้อย มีถ้ำที่กว้างพอสมควร ปากถ้ำเปิดรับแสงเข้าไปได้เต็มที่ เป็นสถานที่คนโบราณใช้รำถวายเทพเทวา พญานาค เพื่อขอให้ฝนตกตามต้องฤดูกาล

5.ถ้ำสิงห์โต

ถัดถ้ำรำวงไปทางขวาเป็นถ้ำเล็กๆตื้นๆ มีแท่นหินเป็นเชิงชั้นสวยงามมีหินรูปสิงห์โต ซึ่งเป็นธรรมชาติอยู่ภายใน ปากถ้ำเป็นกว้างรับแสงได้เต็มที่ ด้านก้นของถ้ำมีปล่องอากาศจากอีกถ้ำหนึ่งมาเปิดร่วมกันทำให้อากาศถ่ายเทได้ดีมาก และมีซอกหินใหญ่เป็นห้อง สำหรับหลบหลีกไปภาวนาได้ดีอีกด้วย

6.ถ้ำเทวดา

ลงไปตามปล่องอากาศจากถ้ำสิงห์โตจะพบถ้ำขนาดย่อมๆ ซึ่งภายในยังมีการแบ่งออกเป็น ๒ คูหาเล็กตามธรรมชาติเหมาะแก่การปฏิบัติธรรมมาก แต่ถ้ำนี้จะไม่มีแสงจากภายนอกเข้าได้เลย ผู้อยู่ภายในถ้ำจะไม่สามารถรู้เวลาเช้า สาย บ่าย เย็นเลย นอกจากอาศัยจากนาฬิกา

7.ถ้ำฤาษี

มีช่องทางจากถ้ำเทวดาเข้าไปและมีช่องทางออกสู่ภายนอก ซึ่งกว้างใหญ่กว่าภายใน ถ้ำฤาษีจะมืดสนิทและบ่อยาธรรมชาติ ซึ่งมีคนนำยาไปอธิษฐานกิน อธิษฐานรักษาโรคบางอย่างหายได้อย่างอัศจรรย์ และในถ้ำนี้จะรู้สึกอบอุ่นอยู่ตลอดปี มีผู้เจริญสมถภาวนาพบว่ามีฤาษีอยู่ในถ้ำนี้มากมาย

8.ถ้ำบ่อน้ำทิพย์

จากถ้ำใหญ่แยกขึ้นไปทางขวามือขึ้นไปเรื่อยๆจนถึงยอดเขา จะมีขนดพอจุคนได้ประมาณ๑๐คน แต่ตรงกลางมีบ่อน้ำขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง๒เมตร ลึก๒เมตร มีน้ำขังอยู่ ซึ่งบางครั้งก็เต็ม บางครั้งก็มีเล็กน้อย บางครั้งก็เหือดแห้งไป ให้อัศจรรย์ในเวลาที่ใกล้เคียงกันโดยไม่ขึ้นอยู่กับฤดูกาล และมีผู้ใช้น้ำในบ่อนี้รักษา โรคหายหลายราย ขอบบ่อซึ่งเป็นหิน มีรอยเท้าขนาดรอยผู้ใหญ่ปรากฎอยู่อย่างเด่นชัด

9.ถ้ำภาชี

อยู่ต่ำลงมาจากถ้ำบ่อน้ำทิพย์จนเกือบจะถึงเชิงเขา ที่ปากถ้ำมีก้อนหินรูปม้าหมากรุกอยู่หนึ่งก้อนเป็นสัญลักษณ์ ภายในเห็นห้องโถงใหญ่มีแท่นหินคล้ายหีบศพคลุมด้วยผ้ากำมะหยี่รูปสี่เหลี่ยมขนาด กว้าง ๑ ศอก ยาว ๑ วา และที่ผนังใกล้ๆแท่นดังกล่าวมีรูปนกอินทรีขนาดใหญ่กางปีกทั้ง ๒ ติดกับผนังมีจงอยปากยื่นออกมาจากผนัง มีริ้วของปีก หาง อย่างชัดเจน ลึกเข้าไปจะมีห้องโถง ปีกซ้ายขวา และขึ้นบนสูงขึ้นไปจนถึงที่สุด ต้องออกทางเดิม อากาศภายในถ้ำค่อยข้างอบอ้าว มีแสงบางเล็กน้อย

10.ถ้ำเพชร

จากปากถ้ำเจดีย์แยกไปทางซ้ายมือ จะพบถ้ำขนาดกลางๆมีห้องโถง แยกข้างซ้ายขวาบ้างและมีซอกลึกลงไปเบื้องล่างจะมีหินประหลาดที่สะท้อนแสงวาววับเหมือนเพชรขนาดใหญ่

11.ถ้ำกระโหลก

ลึกเข้าไปจากถ้ำเพชร มีถ้ำขนาดกลางอีกถ้ำหนึ่ง ซึ่งภายในถ้ำมีซากของกระดูก กระโหลกศีรษะมนุษย์ คาดว่าเป็นซากของพระธุดงค์ ท่ีมาทิ้งสังขารไว้

12.เขาวงกต

เป็นหุบเขาเนื้อที่นับร้อยไร่มีภูเขาล้อมรอบเป็นสถานที่หลวงพ่อคงนำคณะศิษย์ฝึกวิชาธุดงค์ อยู่รุกขมูล โดยให้แยกย้ายปักกลดเป็นจุดๆแต่ละจุดห่างๆกันแล้วหลวงพ่ออกเดินตรวจตรา การปฏิบัติโดยทั่วถึงกัน ทั้งกลางวันและกลางคืน

นอกจากนี้ยังมีถ้ำอีกมากมายเหลือกำลังที่จะเที่ยวชมให้หมดในเวลาอันสั้นได้ บางถ้ำก็อยู่สูงและไกลกันการเดินทางลำบาก เพราะเต็มไปด้วยหินหน่อและหินหนาม ที่แหลมและคมมาก จึงขอแนะนำเพียงเท่านี้ ส่วนความมหัศจรรย์สิ่งต่างๆภายในถ้ำนั้นสุดแล้วแต่ท่านจะมีความสามารถสัมผัสรับรู้ได้ เพราะมีหลายอย่างหลายประการที่ไม่สามารถรู้ได้ด้วยเนื้อตาหรือเครื่องมือทางเทคโนโลยีใดๆทั้งสิ้น

13.สัตว์โลกผู้น่ารัก

วัดเขาสมโภชน์ นอกจากจะเป็นที่พึ่งพิงของ

มวลมนุษย์ ผู้ทรงความริสุทธิ์แห่งกาย วาจา

ใจ แล้ว ยังเป็นที่พึ่งอาศัยของฝูงลิงอีกฝูง

ใหญ่ ประมาญ ๔๐๐ ตัวหรือมากกว่าซึ่งอาศัย

อยู่ตามถ้ำและซอกหินบนเขาสมโภชน์

ฝูงลิงเหล่านี้จะอาศัยตามธรรมชาติอันได้แก่

ยอดใบไม้ ผลไม้ ได้เฉพาะแต่หน้าฝนเท่านั้น

แต่กาลเวลาที่เหลือฝูงลิงนับร้อยจะลงมาอาศัย

เศษอาหาร (ข้าวตาก หรือ ผลไม้)เช่น มะละกอ

กล้วย ฯลฯ จากทางวัดโดยการเลี้ยงดูของ

พระภิกษุ-แม่ชี และโดยการเมตตาธรรมจากสาธุชน

ผู้เคยไปเห็นความเป็นอยู่ของฝูงลิงดังกล่าวแล้ว

ซื้ออาหาร ซึ่งส่วยใหญ่ก็คือกล้วยเข้าไปเลี้ยงด้วย

เมตตาเป็นจำนวนมากและมีอยู่เสมอๆ



โดย: AUD    เวลา: 2013-10-26 06:59
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย AUD เมื่อ 2014-10-7 20:21

พระธาตุบังพวน สระมุจลินทร์ หรือ สระพญานาค


พระธาตุบังพวน สระมุจลินทร์ หรือ สระพญานาค

[attach]9055[/attach]


ทุกปีๆช่วงคืนวันออกพรรษา ในแม่น้ำโขงจังหวัดหนองคาย โดยเฉพาะที่ อ.โพนพิสัย จะมีปรากฏการณ์ “บั้งไฟพญานาค”เป็นลูกไฟประหลาดพวยพุ่งขึ้นมาจากใต้ลำน้ำโขง
        
         บ้างก็ว่าบั้งไฟพญานาค เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ บ้างก็ว่าเกิดจากน้ำมือมนุษย์ และบ้างก็(เชื่อ)ว่าเกิดจากการกระทำของพญานาค เพราะจังหวัดหนองคายได้ชื่อว่าเป็น“เมืองพญานาค”
        
         นอกจากบั้งไฟพญานาคแล้ว ในจังหวัดหนองคายยังมีความเชื่อ(ส่วนบุคคล)เกี่ยวกับพญานาคอีกหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ความเชื่อว่า มีเมืองมีวังพญานาคอยู่ที่นี่ มีถ้ำประหลาดที่เชื่อกันว่าเป็นถ้ำพญานาค มีคนเคยเห็นสัตว์ตัวยาวในแม่น้ำโขงที่เชื่อกันว่าเป็นพญานาค มีร่องรอยที่ชาวบ้านเชื่อกันว่าเป็นรอยพญานาค มีวัดที่เกี่ยวพันกับพญานาค รวมไปถึงมีพระธาตุที่มีความเกี่ยวโยงกับพญานาค อย่าง “พระธาตุบังพวน” ประดิษฐานอยู่
        
         พระธาตุบังพวน เป็นพระธาตุศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองหนองคาย ตั้งอยู่ในวัดพระธาตุบังพวน ต.พระธาตุบังพวน อ.เมือง ตามตำนานอุรังคธาตุกล่าวว่า ในสมัยพุทธกาลพื้นที่แห่งนี้คือ“ภูเขาลวง”ริมน้ำบางพวน(หรือภูลวง)เป็นที่อยู่อาศัยของพญานาค ครั้นเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับยังดินแดนแถบลุ่มน้ำโขง พญานาคได้มาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ ทำให้ดินแดนแห่งนี้ถูกยกให้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์


[attach]9056[/attach]


จากนั้นในสมัยของพระเจ้าจันทน์บุรี เจ้าผู้ครองนครเวียงจันทน์(ตามตำนานกล่าวไว้อย่างนั้น แต่ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าคือพระองค์ใด ยุคสมัยใด) ได้มีพระอรหันต์ 5 องค์ เดินทางไปยังเมืองราชคฤห์ อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุกระดูกหัวเหน่ากลับมา แล้วจึงสร้างพระธาตุขึ้นเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่ภูลวง
        
         ส่วนอีกข้อมูลหนึ่งระบุว่ามาจากตำนานอุรังคธาตุเหมือนกัน แต่ที่มาของการกำเนิดพระธาตุไม่เหมือนกัน คือ เชื่อว่า หลังการก่อสร้างพระธาตุพนมเสร็จสิ้น เหล่าพระอรหันต์ 500 องค์ที่ทำการสร้างพระธาตุพนมได้เดินทางไปอินเดีย อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า นำมาประดิษฐานไว้ยังสถานที่ 4 แห่ง ในเมืองหนองคายและเมืองเวียงจันทน์ โดยหนึ่งในนั้นก็คือ พระธาตุบังพวนนั่นเอง
        
         นั่นเป็นที่มาคร่าวๆจากตำนานอุรังคธาตุ ซึ่งแตกต่างไปจากตำนานความเชื่อพื้นบ้านที่แม้จะไม่ได้ระบุยุคสมัยการสร้างพระธาตุบังพวน แต่ได้ระบุว่าคำว่า“บังพวน” แผลงมาจากคำว่า“บังคน” (หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า“ขี้โผ่น”)ที่แปลว่ากระเพาะปัสสาวะ ซึ่งเชื่อว่าพระธาตุองค์นี้ภายในบรรจุพระบังคนหนักของพระพุทธเจ้าเอาไว้


[attach]9057[/attach]


ในขณะที่หลักฐานทางโบราณคดีไม่สามารถระบุชัดเจนได้ว่าพระธาตุบังพวนสร้างขึ้นในสมัยใด แต่สันนิษฐานว่าอย่างน้อยน่าจะสร้างขั้นก่อนสมัยพระเจ้าโพธิสาลราช(กษัตริย์ล้านช้าง) แล้วมีการบูรณะครั้งสำคัญในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช แห่งอาณาจักรล้านช้าง โดยทำการก่อพระธาตุองค์ใหญ่ครอบพระธาตุองค์เดิมไว้ ซึ่งสันนิษฐานว่าพระธาตุองค์เดิมเป็นสถูปแบบอินเดีย
        
         กระทั่ง ปี พ.ศ. 2513 เกิดภัยธรรมชาติจนพระธาตุบังพวนพังทลายลงมา จากนั้นในปี พ.ศ. 2520 ทางกรมศิลปากร ได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุขึ้นมาใหม่ตามแบบรูปทรงเดิม และทางวัดจัดให้มีการเฉลิมฉลองสมโภชองค์พระธาตุกันทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี
        
         พระธาตุบังพวนมีรูปแบบงานศิลปกรรมเป็นธาตุเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมแบ่งเป็นช่วงๆซ้อนชั้น ลดขนาดเรียวแหลมขึ้นไป ดูสวยงามสมส่วน
        
         ในวัดพระธาตุบังพวนนอกจากจะมีพระธาตุบังพวนเป็นศูนย์รวมจิตใจและเป็นเจดีย์ประธานแล้ว ยังมีสิ่งน่าสนใจอีกหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น สถูปเจดีย์เก่าแก่ พระพุทธรูปโบราณศิลปะล้านช้างที่น่าสนใจยิ่ง โบสถ์โบราณที่เหลือเพียงซากอิฐก่อระดับเอว รวมถึงสถานที่เกี่ยวกับพญานาคอีกแห่งหนึ่ง นั่นก็คือ “สระมุจลินท์” หรือ “สระพญานาค” สระน้ำเก่าแก่สุดคลาสสิค ที่มีตำนานเล่าว่า หลังอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าบรรจุไว้ในองค์พระธาตุ ได้เกิดปรากฏการณ์ประหลาด มีสายน้ำพวยพุ่งออกมาจากพื้นดินซึ่งเชื่อว่านี่คือปากปล่องภูพญานาคที่เฝ้าปกปักรักษาพระธาตุบังพวน จึงมีการขุดเป็นสระน้ำขึ้นตามมาในภายหลัง

[attach]9058[/attach]

สระพญานาค มีการสร้างรูปปั้นพญานาค 7 เศียรอันขรึมขลังสวยงามคลาสสิคไว้กลางสระ สระแห่งนี้ถือเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ประจำจังหวัด สมัยโบราณเมื่อมีการแต่งตั้งเจ้าเมืองก็จะมีการนำน้ำจากสระนี้ไปสรงเพื่อความเป็นสิริมงคล ส่วนในปัจจุบันน้ำในสระแห่งนี้ถูกนำไปใช้ในพิธีสรงมูรธราชาภิเษก พิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา และพิธีศักดิ์สิทธิ์สำคัญๆในรัชกาลปัจจุบันเป็นประจำ
        
         ของดีในวัดพระธาตุบังพวนยังไม่หมดเพียงเท่านี้ เพราะในวันที่ผมเข้าไปเที่ยวชมวัด ท่านเจ้าอาวาสแนะนำว่า เมื่อมาที่นี่แล้วต้องอย่าพลาดการชม “สัตตมหาสถาน”โบราณ ที่เป็นของดีระดับโลก หลงเหลือในโลกนี้อยู่เพียงไม่กี่แห่ง ในเมืองไทยมีที่วัดเจดีย์เจ็ดยอด เชียงใหม่ และที่วัดสุทัศน์ กทม.

[attach]9054[/attach]


สัตตมหาสถาน เป็นการจำลองสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า 7 แห่ง(7 สิ่ง) ได้แก่
        
         โพธิบัลลังก์ : สถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับตรัสรู้ใต้ต้นโพธิ์เป็นเวลา 7 วัน ภายหลังการตรัสรู้ในช่วงสัปดาห์แรก จากนั้นจึงเสด็จลงจากวัชรอาสน์
        
         อนิมมิสเจดีย์ : สถานที่ที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับยืนทอดพระเนตรโพธิบัลลังก์ในสัปดาห์ที่ 2 เป็นเวลา 7 วันโดยมิได้กะพริบพระเนตร อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของโพธิบัลลังก์
        
         รัตนจงกรมเจดีย์ : สถานที่ที่พระพุทธเจ้าเสด็จจงกรมในสัปดาห์ที่ 3 อยู่ 7 วัน เพื่อแสดงปาฏิหาริย์ และบรรเทาความกังขาของเทวดา





รัตนฆรเจดีย์ : สถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งพิจารณาพระอภิธรรมปิฎกในสัปดาห์ที่ 4 เป็นเวลา 7 วัน ในเรือนแก้วที่เทพยดานิมิตถวาย
        
         อชาปาลนิโครธเจดีย์ : สถานที่ที่พระพุทธเจ้าเสด็จประทับได้ต้นไทรซึ่งเป็นที่พักของคนเลี้ยงแพะ เป็นเวลา 7 วัน เพื่อเสวยวิมุตติผลสมาบัติในสัปดาห์ที่ 5 โดยทรงมีพุทธฎีกาต่อนางมารว่า พระองค์ทรงละซึ่งกิเลสหมดสิ้นแล้ว
        
         มุจลินทเจดีย์ : สถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ต้นจิกเสวยวิมุตติผลเป็นเวลา 7 วัน ในสัปดาห์ที่ 6 ใกล้สระน้ำ โดยมีพญานาคนาม “มุจจลินท์” ขึ้นมาแผ่พังพานป้องกันลมฝนให้พระพุทธองค์
        
         ราชายตนะเจดีย์ : สถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ต้นเกดเสวยวิมุติผลสมาบัติเป็นเวลา 7 วัน โดยมีพระอินทร์ถวายผลสมอทิพย์ และมี 2 พาณิชย์หนุ่มถวายข้าวสัตตุ จึงเกิดปฐมอุบาสกในพุทธศาสนาขึ้น
         และนั่นก็เป็นสัตตมหาสถาน 7 แห่งในวัดพระธาตุบังพวนที่ชวนยลด้วยความที่เป็นของดีหายากมีไม่กี่แห่งในโลก ซึ่งท่านเจ้าอาวาสกระซิบบอกกับผมว่า
        
         “สัตตมหาสถานที่ยังหลงเหลือซากโบราณมาตั้งแต่ยุคอดีตถึงปัจจุบันครบ 7 สิ่ง มีที่นี่แห่งเดียวในโลกเท่านั้น”




โดย: AUD    เวลา: 2013-10-26 07:00
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย AUD เมื่อ 2014-10-7 20:27

ถ้ำเพียงดิน เมืองบาดาลของพญานาค

[attach]9060[/attach][attach]9061[/attach][attach]9062[/attach][attach]9063[/attach][attach]9064[/attach][attach]9059[/attach]














โดย: AUD    เวลา: 2013-10-26 07:03
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย AUD เมื่อ 2014-10-7 20:30

คำชะโนด

[attach]9065[/attach]









โดย: AUD    เวลา: 2013-10-26 07:04
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย AUD เมื่อ 2014-10-7 20:34

[attach]9067[/attach]
วังนาคินทร์คำชะโนด หรือชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า เมืองชะโนด สถานที่ดังกล่าวตั้งอยู่ระหว่างรอยต่อของตำบลวังทอง ตำลบบ้านม่วงและตำบลบ้าน
จันทร์อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานีวังนาคินทร์คำชะโนด หรือ เมืองคำชะโนดมีเรื่องเล่ากันมาว่า เจ้าพ่อพญาศรีสุทโธเป็นพญานาค ครองเมืองหนอง
กระแสครึ่งหนึ่งและอีกครึ่งหนึ่งเป็นพญานาคเช่นเดียวกันปกครองมีชื่อว่าสุวรรณนาค และมีบริวารฝ่ายละ 5,000 เช่นเดียวกัน ทั้งสองฝ่ายอยู่ร่วมกัน
ด้วยความรัก ความสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันมีอาหารการกินก็แบ่งกันกิน มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันเป็นเพื่อนตายกันตลอดมา

[attach]9068[/attach]

แต่มีข้อตกลงกันอยู่ข้อหนึ่งว่า ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดออกไปหากินล่าเนื้อหาอาหารอีกฝ่ายหนึ่งไม่ต้องออกไปล่าเนื้อหาอาหารเพราะเกรงว่าบริวารไพร่พลจะกระทบกระทั่งกัน และอาจจะเกิดรบรากันขึ้นแต่ให้ฝ่ายที่ออกไปล่าเนื้อหาอาหารนำอาหารที่หามาได้แบ่งกันกินฝ่ายละครึ่ง การกระทำโดยวิธีนี้อยู่ด้วยกันอย่างสงบสุขตลอดมา อยู่มาวันหนึ่งสุวรรณนาคพาบริวารไพร่พลออกไปล่าเนื้อหาอาหารได้ช้างมาเป็นอาหาร ได้แบ่งให้สุทโธนาคครึ่งหนึ่งพร้อมกับนำขนของช้างไปให้ดูเพื่อเป็นหลักฐานต่างฝ่ายต่างกินเนื้ออย่างอิ่มหนำสำราญด้วยกันทั้งสองฝ่าย และวันต่อมาอีกวันหนึ่งสุวรรณนาคได้พาบริวารไพร่พลออกไปล่าเนื้อหาอาหารได้เม่นมา สุวรรณนาคได้แบ่งให้สุทโธนาคครึ่งหนึ่งเหมือนเดิม พร้อมทั้งนำขนของเม่นไปให้ดู ปรากฎว่าเม่นตัวเล็กนิดเดียว แต่ขนของเม่นใหญ่เม่นตัวเล็กเมื่อแบ่งเนื้อเม่นให้สุทโธนาคจึงต้องแบ่งให้น้อยสุทโธนาคได้พิจารณาดูขนเม่นเห็นว่าขนาดขนช้างเล็กนิดเดียวตัวยังใหญ่โตขนาดนี้

[attach]9069[/attach]

แต่นี้ขนใหญ่ขนาดนี้ตัวจะใหญ่โตขนาดไหนถึงอย่างไรตัวเม่นจะต้องใหญ่กว่าช้างอย่างแน่นอน คิดได้อย่างนี้จึงให้เสนาอำมาตย์นำเนื้อเม่นที่ได้รับส่วน

แบ่งครึ่งหนึ่งไปคืนให้สุวรรณนาคพร้อมกับฝากบอกไปว่า "ไม่ขอรับอาหารส่วนแบ่งที่ไม่เป็นธรรมจากเพื่อนที่ไม่ซื่อสัตย์" ฝ่ายสุวรรณนาคเมื่อได้ยิน

ดังนั้น จึงได้รีบเดินทางไปพบสุทโธนาคเพื่อชี้แจงให้ทราบว่าเม่นถึงแม้ขนมันจะใหญ่โตแต่ตัวเล็กนิดเดียว ขอให้เพื่อนรับเนื้อเม่นไว้เป็นอาหารเสีย

เถิด สุวรรณนาคพูดเท่าไรสุทโธนาคก็ไม่เชื่อผลสุดท้ายทั้งสองฝ่ายจึงประกาศสงครามกัน ฝ่ายสุทโธนาคซึ่งมีความโกรธเป็นทุนอยู่ตั้งแต่เห็นเนื้อเม่น

อยู่แล้วจึงสั่งบริวาร ไพร่พลทหารรุกรบทันที ฝ่ายสุวรรณนาคจึงรีบเรียกระดมบริวารไพร่พลต่อสู้ทันทีเช่นเดียวกัน ตามการบอกเล่าสู่กันฟังมาว่า

พญานาค ทั้งสองรบกันอยู่ถึง 7 ปีต่างฝ่ายต่างเมื่อยล้า เพราะต่างฝ่ายต่างหวังจะเอาชนะกันให้ได้ เพื่อจะครองความเป็นใหญ่ในหนองกระแสเพียง

คนเดียวจนทำ ให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่บริเวณหนองกระแสและบริเวณรอบ ๆ หนองกระแสเกิดความเสียหายเดือดร้อนไปตามกัน

เมื่อเกิดรบกันรุนแรงที่สุดจนทำให้ พื้นโลกสะเทือนเกิดแผ่นดินไหวทั้งหมด เทวดาน้อยใหญ่ทั้งหลายเกิดความเดือดร้อน ไปทั้งสามภพความ

เดือดร้อนทั้งหลายได้ทราบไปถึง พระ อินทรา ธิราชผู้เป็นใหญ่ เทวดาน้อยใหญ่ทั้งหลายไปเข้าเฝ้าพระอินทร์เพื่อร้องทุกข์และเล่าเหตุการณ์ต่าง ๆ

ให้ฟังเมื่อพระอินทร์ได้ทราบเรื่องตลอดแล้ว จะต้อง หาวิธีการให้พญานาคทั้งสองหยุดรบกันเพื่อความสงบสุขของไตรภพจึงได้เสด็จจากดาวดึงส์ ลงมา ยัง

เมืองมนุษย์โลกที่หนองกระแส แล้วพระอินทร์ตรัส เป็นเทวราชโองการว่า "ให้ท่านทั้งสองหยุดรบกันเดี๋ยวนี้" การทำสงครามครั้งนี้ถือว่าทุกฝ่ายเสมอ

กัน และหนองกระแสให้ถือว่าเป็นเขตปลอดสงคราม ให้พญานาคทั้งสองพากันสร้างแม่น้ำคนละสายออกจากหนองกระแสใครสร้างถึงทะเล ก่อนจะ ให้

ปลา บึก ขึ้นอยู่ในแม่น้ำแห่งนั้น และให้ถือว่าการทำ สงครามครั้งนี้มีความเสมอกัน เพื่อป้องกันการทะเลาะวิวาทของพญานาค ทั้งสอง ให้เอาภูเขา

พญาไฟ เป็น เขตกั้นคนละฝ่าย ใครข้ามไปราวีรุกรานกันขอ ให้ไฟจากภูเขาดงพญาไฟไหม้ฝ่ายนั้นเป็นจุลมหาจุล เมื่อพระอินทร์ตรัสเป็นเทวราชโอง

การ ดัง กล่าวแล้วสุทโธนาคจึงพาบริวารไพร่พลอพยพออก จาก หนองกระแสสร้างแม่น้ำมุ่งไปทางทิศตะวันออกของหนองกระแส เมื่อถึงตรง ไหนเป็น

ภูเขาก็คดโค้ง ไปตามภูเขาหรือ อาจจะลอดภูเขาบ้างตามความยาก ง่ายในการสร้าง เพราะสุทโธนาคเป็นคนใจร้อน แม่น้ำนี้เรียกชื่อว่า "แม่น้ำโขง"

คำว่า "โขง" จึงมาจาคำว่า "โค้ง" ซึ่งหมายถึงไม่ตรง ส่วนทางฝั่งลาว เรียกว่า แม่น้ำของ ด้านสุวรรณนาค เมื่อได้รับเทวราชโองการ ดังกล่าวจึงพาบริวาร

ไพร่พลพลอย อพยพออกจากหนองกระแส สร้างแม่น้ำมุ่งไปทางทิศใต้ ของหนองกระแส สุวรรณนาคเป็นคนตรงพิถีพิถันและเป็นผู้มีใจเย็น การสร้าง

แม่น้ำจึงต้องทำ ให้ตรงและคิดว่าตรง ๆ จะทำให้ถึงจุดหมายปลายทางก่อน ตนจะได้เป็นผู้ชนะ แม่น้ำนี้เรียกชื่อว่า "แม่น้ำน่าน"แม่น้ำน่าน จึงเป็นแม่

น้ำที่มีความตรงกว่า แม่น้ำทุกสายในประเทศไทย



[attach]9070[/attach]


การสร้างแม่น้ำแข่งกันในครั้งนั้น ปรากฎว่าสุทโธนาคสร้างแม่น้ำโขงเสร็จก่อนตามสัญญาของพระอินทร์ สุทโธนาคเป็นผู้ชนะและ
ปลาบึกจึงต้องขึ้นอยู่แม่น้ำโขงแห่งเดียวในโลกตามการบอกเล่าต่อ ๆ กันมาว่า น้ำในแม่น้ำโขงและแม่น้ำในแม่น้ำน่านจะนำมาผสมกันไม่ได้ ถ้าผสม
ใส่ขวดเดียวกันขวดจะแตกทันที ในกรณีนี้ยังไม่เคยเห็นท่านผู้ใดนำน้ำทั้งสองแห่งนี้มาผสมกันสักที สุทโธนาคเมื่อสร้างแม่น้ำโขงเสร็จแล้ว ปลาบึกขึ้น
อยู่แม่น้ำโขงและเป็นผู้ชนะตามสัญญาแล้ว จึงได้แผลงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์เหาะไปเฝ้าพระอินทร์ ณ ดาวดึงส์ ทูลถามพระอินทร์ว่า "ตัวข้าเป็นชาติเชื้อ
พญานาคถ้าจะอยู่บนโลกมนุษย์นานเกินไปก็ไม่ได้ จึงขอทางขึ้นลงระหว่างบาดาลและโลกมนุษย์เอาไว้ 3 แห่ง และทูลถามว่าจะให้ครอบครองอยู่ตรง
แห่งไหนแน่นอน พระอินทร์ผู้เป็นใหญ่จึงอนุญาตให้มีรูพญานาคเอาไว้ 3 แห่ง คือ

[attach]9071[/attach]

1. ที่ธาตุหลวงนครเวียงจันทน์
2. ที่หนองคันแท
3. ที่พรหมประกายโลก (ที่คำชะโนด)

ส่วนที่ 1-2 เป็นทางขึ้นลงสู่เมืองบาดาลของพญานาคเท่านั้น ส่วนสถานที่ 3 ที่ พรหมประกายโลกคือที่พรหมได้กลิ่นไอดิน (ตามตำนานพรหมสร้างโลก)
แล้วพรหมเทวดาลงมากินดินจนหมดฤทธิ์กลายเป็นมนุษย์หรือผู้ให้กำเนิดมนุษย์ให้สุทโธนาคไปตั้งบ้านเมืองครอบครองเฝ้าอยู่ที่นั้น ซึ่งมีต้นชะโนด
ขึ้นเป็นสัญลักษณ์ ลักษณะต้นชะโนดให้เอาต้นมะพร้าว ต้นหมากและต้นตาลมาผสมกัน อย่างละเท่า ๆ กันและให้ถือเป็นต้นไม้บรรพกาลให้สุทโธนาค
มีลักษณะ 31 วันข้างขึ้น 15 วัน ให้สุทโธนาคและบริวารกลายร่างเป็นมนุษย์เรียกชื่อว่า "เจ้าพ่อพญาศรีสุทโธ" มีวังนาคินทร์คำชะโนดเป็นถิ่น และอีก
15 วัน ในข้างแรมให้สุทโธนาคและบริวารกลายร่างเป็นนาค เรียกชื่อว่า "พญานาคราชศรีสุทโธ" ให้อาศัยอยู่เมืองบาดาล

[attach]9072[/attach]

ตั้งแต่บัดนั้นมาถึงกึ่งพุทธกาล นับแต่ปี พ.ศ. 2500 ถอยหลังไป พี่น้องชาวบ้านม่วง บ้านเมืองไพร บ้านวังทอง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี
จะไปพบเห็นชาวเมืองชะโนดไปเที่ยวงานบุญประจำปี หรือบุญมหาชาติที่ชาวบ้านเรียกว่าบุญพระเวท ทั้งผู้หญิงและผู้ชายอยู่บ่อยครั้ง และบางทีจะเป็น
ผู้หญิงไปยืมเครื่องมือทอหูก (ฟืม) ไปทอผ้าอยู่เป็นประจำและปาฏิหาริย์ครั้งล่าสุดคือ ปี พ.ศ.2519 เกิดน้ำท่วมใหญ่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง
(รวมทั้งท้องที่อำเภอบ้านดุง) แต่น้ำไม่ท่วมคำชะโนด

เจ้าพ่อพญาศรีสุทโธได้จัดมีการแข่งเรือและประกวดชายงามที่เมืองชะโนด นายคำตา ทองสีเหลือง ซึ่งเป็นชาวบ้านวังทอง ตำบลวังทอง อำเภอบ้านดุง
ได้บวชอยู่ที่วัดศิริสุทโธ (วัดโนนตูม และได้ถึงแก่มรณภาพเมื่อ พ.ศ.2533) ติดกับเมืองชะโนดได้เป็นผู้ได้รับคัดเลือกจากเจ้าพ่อพญาศรีสุทโธให้ไป
ประกวดชายงาม และบุคคลดังกล่าวเกิดความคลุ้มคลั่งอยู่ประมาณ 1 อาทิตย์ ญาติพี่น้องได้ทำการรักษาโดยใช้หมอเวทมนต์ (อีสานเรียกว่าหมอทำ)
จัดเวรยามอยู่เฝ้ารักษาและในที่สุดได้หายไปนาน ประมาณ 6 ชั่วโมง แล้วได้กลับมาและได้เล่าเรื่องเมืองชะโนดให้พ่อแม่พี่น้องทั้งหลายฟังถึงความ
งามความวิจิตรพิสดารต่าง ๆ ของเมืองบาดาลให้ผู้สนใจฟัง
[attach]9073[/attach]

ปัจจุบันนี้คำชะโนดเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มีชื่อเสียงในระดับประเทศ เรือตรี อนิวรรตน์ พะโยมเยี่ยม อดีตนายอำเภอบ้านดุง ได้ชักชวนข้าราชการทุก
ฝ่ายตลอดทั้ง ตำรวจ อส. พ่อค้าประชาชนได้ทำสะพานทางเข้าเมืองชะโนด ตลอดทั้งปรับปรุงบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ เพื่อให้เป็นสถานที่เคารพสักการะของชาว
อำเภอบ้านดุง และจังหวัดอื่นและจนได้รับการคัดเลือกจากจังหวัดอุดรธานีให้นำน้ำจากบ่อศักดิ์สิทธิ์คำชะโนดไปร่วมงาน พระราชพิธีมหามงคลเฉลิม
พระชนมพรรษา 5 รอบ ณ มณฑลพระราชพิธีท้องสนามหลวงกรุงเทพมหานคร ในวันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม 2530 และในปี พ.ศ.2533 นายมังกร มาเวียง
ปลัดอำเภอบ้านดุง (หัวหน้าฝ่ายกิจการพิเศษ) ได้ชักชวนข้าราชการ พ่อค้าประชาชน ผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันจัดทำบุญทอดผ้าป่าสร้างสะพานคอนกรีต
เสริมเหล็ก เพื่อความมั่นคงแข็งแรงเข้าไปเมืองชะโนด
[attach]9066[/attach]


ที่มา http://group.wunjun.com/nagacity


โดย: Metha    เวลา: 2013-12-14 22:27


โดย: Nujeab    เวลา: 2014-6-29 03:24
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ
โดย: AUD    เวลา: 2014-10-7 20:06
ริ้วรอยแห่งม่านหินที่ ถ้ำพญานาคราช

ขอนแก่น เป็นจังหวัดที่มีสถานที่ท่องเที่ยวหลากหลาย ซึ่ง ~"อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน" ก็เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวนิยมมาเที่ยวด้วยเช่นกัน

     อีกทั้งลักษณะภูมิประเทศรอบๆอุทยานก็ล้วนแต่เป็นเทือกเขาหินปูนที่มีความสูง และมีความชันสลับซับซ้อนกันเป็นแนวยาวสลับกับที่ราบลุ่มเชิงเขา กิจกรรมเดินป่า หรือเที่ยวถ้ำจึงถือว่าเป็นกิจกรรมท่องเที่ยวหลักๆของอุทยานแห่งนี้

[attach]9034[/attach]


     และอีกหนึ่งสถานที่ที่จะไม่ลืมกล่าวถึงก็คือ ถ้ำพญานาคราช ซึ่งเป็นถ้ำที่มีความสวยงามเป็นอันดับ 1 ของอุทยานแห่งชาติภูผาม่าน ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ของ ต.นาหนองทุ่ม อ. ชุมแพ จ. ขอนแก่น

     สำหรับภายในถ้ำมืดสนิท แบ่งออกเป็นห้องๆ แต่ละห้องประกอบหินงอกหินย้อย ที่มีลักษณะเป็นริ้วคล้ายม่านประดับด้วยเกร็ดประกายแวววาวของหินแร่สวยงามมาก

[attach]9032[/attach]

[attach]9033[/attach]


ถ้ำพญานาคราช มีความคดเคี้ยวคล้ายดั่งตัวพญานาค ยาวประมาณ 1 กม. นอกจากนี้แล้วยังมีห้องโถงขนาดใหญ่มีม่านหิน ที่ย้อยลงมาเป็นผืนม่านขนาดใหญ่ห้อยลงมาจากเพดานสูงแล้วแผ่กว้างออกมาอย่างสวยงาม สำหรับการเดินทาง รถยนต์สามารถเข้าถึงเชิงเขาที่เป็นตัวถ้ำได้



โดย: ภคกร    เวลา: 2014-10-8 15:29
ศาลเจ้าพ่อนาคราชจันเสน นครสวรรค์ ผมไปบ่อยครับ ถ้าได้เจออาจาร์ยแห้วคนที่อยู่ในคลิป รับรองสะดุ้งทุกคนครับ เพราะท่านจะรู้และพูดทุกเรื่องเกี่ยวกับต้วเรา รู้ทุกเรื่องเหมือนเป็นคนในบ้าน ใครมีกิ็ก ใครซ่อนเงินแฟน ใครใจง่าย ใครทำแท้ง ใครนอนไม่เก็บที่นอน ใครขี้เหนียว ท่านจะพูดเสียงดังจนคนทั้งหมดได้ยินครับ ท่านดูดวงได้แม่นและเก่งมากๆคนนึงเลยครับ และท่านจะแนะนำช่วยเหลือเราได้ ผมว่าท่านมีบารมีมากสร้างโบสถ์สิบหลัง เมรุสามสิบหหลัง และอื่นๆอีกเยอะขนาดยิ่งลักษณ์ยังมาเลย ถ้าใครว่างลองไปเที่ยวดูครับ ได้กราบปู่นาคราชด้วย
โดย: AUD    เวลา: 2014-10-8 16:54
ภคกร ตอบกลับเมื่อ 2014-10-8 15:29
ศาลเจ้าพ่อนาคราชจันเสน นครสวรรค์ ผมไปบ่อยครับ ถ้าได ...

ผมเอามาลงแต่ยังไม่มีโอกาสได้ไปเลยครับ ขอบคุณครับที่มาเล่าให้ฟังเดี๋ยวถ้าช่วงไหนว่างๆจะแวะไปมั่งครับ
โดย: En130    เวลา: 2014-10-9 07:54
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ




ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/) Powered by Discuz! X3.2