Baan Jompra

ชื่อกระทู้: เหรียญศาลาล้ม หลวงพ่อสด วัดโพธิ์แตงใต้ อ.บางไทร อันโด่งดัง [สั่งพิมพ์]

โดย: รามเทพ    เวลา: 2019-10-29 10:26
ชื่อกระทู้: เหรียญศาลาล้ม หลวงพ่อสด วัดโพธิ์แตงใต้ อ.บางไทร อันโด่งดัง
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย รามเทพ เมื่อ 2019-10-29 10:36

เหรียญศาลาล้ม หลวงพ่อสด วัดโพธิ์แตงใต้
อ.บางไทร อยุธยา..อันโด่งดัง













เหรียญศาลาล้ม มี2 รุ่น รุ่นแรกเลยด้านหลังยันต์ ลองสังเกตุดูนะครับ จะไม่มีขีดเล็กๆตรงยันต์ รุ่นแรกเป็นรุ่นที่ไม่ได้จำหน่าย ทำแจกชาวบ้าน และช่างที่มาช่วยกันสร้างศาลา จากนั้นก็หมด แล้วหลังจากศาลาล้มลงมาเเล้วไม่มีใครเป็นอะไรเลยเเม้แต่นิดเดียว จากนั้นได้ทำขึ้นมาอีกครั้ง แต่จะมีขีดเล็กๆตรงยันต์ แต่น่าจะเป็นพระที่วัดทำขึ้นมาอีกครั้ง แต่ไม่แน่ใจว่าให้อาจารย์ท่านปลุกเสกหรือไม่ ส่วนอีกรุ่นนึง ด้านหน้าเหมือนกันครับ ด้านหลังยันต์ก็เหมือนกัน แต่ต่างกัน 2 จุด คือ ด้านหลังมีคำว่า นิรันตราย และรุ่นนี้เหรียญจะบางกว่ารุ่น ศาลาล้มมากครับ ผมมีทุกรุ่นครับ ไม่เคยเช่าครับ ได้รับจากมืออาจารย์สดทุกองค์ครับ วัตถุมงคลที่มีชื่อของท่าน จะมี เหรียญ รุ่น 1 - รุ่น6 และยังมีที่หายากก็จะเป็น รูปหล่อเหมือน รุ่น 1 หายากมากครับ และที่ยากกว่านั้น ก็จะเป็น สมเด็จขี้ธูป ครับ มีน้อย และรักษายากมากครับ เนื่องจากทำจากขี้ธูปที่อาจารย์ นั่งภาวนา โดนอากาศ หน่อยก็จะยุ่ยสลายเเล้วครับ จากที่รู้ตอนนี้หาดูจากชาวบ้านแถบนั้นแทบจะเหลือสักองค์นึงหรือป่าว ส่วนอีกรุ่นที่หายากที่สุดในวัตถุมงคลของท่าน จะเป็นเหรียญรุ่นปี2535 เป็นเหรียญ เนื้อทองคำ 100 เปอร์เซนต์ รองเจ้าอาวาสขออาจารย์สดจัดทำขึ้น เพื่อแจกพระเณรในวัดเท่านั้น ที่จำพรรษาอยู่ ณ ขนะนั้นเท่านั้น น่าจะมีอยู่สัก ไม่เกิน 24 องค์ เเละอาจารย์ท่านปลุกเสกน่าจะพรรษา เต็มครับ ตอนนั้นพี่ชายผมบวชอยู่ ได้มา องค์นึงเช่นกัน สวยมากครับ ตอนนี้หาดูไม่ได้ครับ หรือพี่ๆท่านไหนสนใจก็ลองไปหา หรือถามชาวบ้านดูได้ครับ

ส่วนที่บอกรุ่นศาลาล้ม คือ ทางวัดมีการเคลื่อนย้ายศาลาเก่าที่เป็นไม้ ย้ายไปอีกที่ โดยการดีดศาลาขึ้นทั้งศาลา ครับ และที่เดิมก็สร้างศาลา ใหม่ขึ้นมาเป็นศาลาปูน 2 ชั้นที่เห็นอยู่ปัจจุบันนี้อะครับ และศาลาเก่า ย้ายไป แต่ยังไม่ทัน ได้กลบหลุมเสา เกิดมีลมพัดมา เเล้วศาลาก็ล้มลงมา ช่างที่ทำงานอยู่ ถูกไม้ทับ หลายคน แต่ ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ ไม่ว่าจะ ช้ำ หรือ ขีดข่วน เลยแม้แต่นิดเดียวครับ ทางวัดจึงได้ตั้งชื่อว่า ศาลาล้ม



และที่ทราบมา บนศาลาที่ล้มนั้น อาจารย์ ได้ให้นำเอาพระรุ่นนี้บรรจุกรุ โบกปูนไว้ ที่ยอดช่อฟ้าทั้ง 2 ข้างนั้น 2 กระป๋อง แต่ตอนนี้มีศาลาเก่ามาจึงต้องปรับปรุง จึงเปิดกรุออกมา แต่ในกรุนั้นมีแต่กระป๋องและพระศาลาล้มอยู่แค่ 3 - 4 องค์เท่านั้นครับ อาจารย์องค์ปัจจุบัน คิดว่า พวกช่างที่ทำในตอนนั้นน่าจะแบ่งกันเอาไปโดยที่ไม่มีใครรู้ พระจึงเหลือเท่านั้นครับ และจากที่ผมทราบตอนนี้


ของที่บรรจุไว้ มีที่ศาลาใหม่ที่เป็นปูน ที่ช่อฟ้าทั้ง 2 ข้าง และที่ปล่องเมรุ ที่นั่นจะเป็น ตะกรุด 5 ดอก แต่ตรงนั้นก็เก่าครับ ทหารที่มาพักเวลามีงานที่ศูนย์ศิลปาชีพ มีอยู่ปีนึง มีงานศพพระ แต่จ้างพุมาแต่พุไม่มา ทหารจึงยิงปืนให้ หันไปทางเมรุ ยิงไม่ออกครับ ก็ลองยิงอยู่หลายครั้งจนแน่ใจแล้วก็หันปืนไปทางอื่น จึงยิงออก


และอีกที่ เหตุการณเดียวกัน คือ เจดีย์ ก็ยิงไม่ออกเช่นกัน เเต่เจดีย์ไม่มีบอกไว้นะครับว่า อาจารย์ท่านบรรจุกรุไว้ แต่อาจมีพระที่บรรจุไว้เดิมตั้งแต่สมัยต้นอยุธยาครับ ผมถามคนเก่าๆ เขาบอกว่าน่าจะเป็นพระ โคนสมอ เสียส่วนใหญ่ ก็ตอนนนี้น่าจะมีอีก 3 จุดที่น่าจะมีพระดีๆอยู่ ครับ เป็นเรื่องที่ผมทราบนะครับ ผมอยู่ที่นั่นมาตั้งแต่ผมเด็กๆครับ บ้านผมอยู่ไม่ไกลจากวัดครับ ใกล้ๆนั้นเอง ไม่รู้ว่าจะพอเป็นความรู้กับพี่ๆได้หรือไม่นะครับศาลาล้มในตลาดเช่าระวังนิดนะครับ


ส่วนจะหาได้หรือไม่ก็ว่ากันอีกเรื่องครับส่วนหลวงปู่ที่บอกไม่ค่อยดังอะครับ จริงแล้วท่านดังพอดูเชียวนะครับ แต่ได้มีเซียนพระมาขอโปรโมทท่านให้ดัง และมีการขอร่วมทำวัตถุมงคลด้วย แต่ท่านอาจารย์และรองจ้าอาวาสท่านไม่ยอม และไม่ต้องการที่จะมีชื่อเสียงใดๆ จึงไม่ยอมรับข้อเสนอของเซียนพระ ทำให้ไม่มีการโปรโมทใดๆทั้งสิ้น ก็ลองคิดดูนะครับว่าขนาดไม่มีการโปรโมทเลย ยังมีคนรู้ได้ขนาดนี้ แผงพระปทุม บางประอิน อยุธยา ลองไปถามดูครับ ส่วนประสบการณ์ เยอะมากครับ ทหารก็เหมาเช่าไปหมดวัด เรีนยกว่ารุ่นโดดร่ม เพราะไปโดร่มมาอาจารย์ท่าแจกให้ พอไปโดดร่ม ร่มไม่กาง สูง ตั้ง 3000 ฟุต ตกมาจริงแล้วน่าจะตายตั้งแต่ร่มไม่กางเเล้วครับ แต่แค่ ขาหัก และล่าสุด เด็กวัยรุ่นที่ วัดเชียงรากน้อย แทงกัน เสื้อขาดหทดครับ เป็นลอยขาดตามมีดเลยครับ แต่ไม่ได้เห็นเลือดแม้แต่นิดเดียวครับ ส่วนที่ทราบเพราะตำรวจที่ตามจับคนแทงจนจับได้ แล้วก็คู่กรณีไปสอบสวนจึงรู้เรื่องทั้งหมด จึงมาเล่าให้ทางวัดทราบเรื่องครับเหรียญรุ่นนั้น เรียกว่า เหรียญ รุ่น มหาปราบ เป็นรูป หนุมาณเชิญธง


โดย: รามเทพ    เวลา: 2019-10-29 10:30
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย รามเทพ เมื่อ 2019-10-29 10:35





โดย: รามเทพ    เวลา: 2019-10-29 10:34



**ประวัติพระครูเอนกสารคุณ**
(หลวงพ่อสด ธัมฺมวโร) มีนามเดิมว่า สด นามสกุล ธรรมประเสริฐ ด.ช.สด เกิด ณ ที่บ้านโพธิ์แตง เลขที่ 20 หมู่ 4 ตำบลโพธิ์แตง อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2442 ตรงกับวันเสาร์ แรม 2 ค่ำ เดือน4 ปี กุน โยมบิดานามว่า เปลี่ยน ธรรมประเสริฐ และโยมมารดานามว่า เล็ก ธรรมประเสริฐ ท่านเคยเล่าให้ฟังว่าในวัยเยาว์นั้นท่านมิได้มีนิสัยซุกซนหรือชอบวิ่งเล่นแบบเด็กทั่วไปในวัยเดียวกันแต่กลับเป็นเด็กเรียบร้อยและชอบติดตามพวกญาติพี่น้องที่เป็นผู้ใหญ่ไปช่วยงานทางวัดอยู่เป็นประจำซึ่งจากการที่ได้มีโอกาสเข้ามาในวัดบ่อยๆ อาจจะเป็นหนึ่งที่ทำให้ ด.ช.สดเกิดความรู้สึกพึงพอใจในเพศบรรพชิตที่ดูสงบ ร่มเย็น ด.ช.สดจึงไดขออนุญาตจากบิดา มารดาเพื่อบวชเป็นสามเณรเพื่อศึกษาพระธรรมวินัย และเรียนหนังสือไปด้วย ทั้งบิดา มารดาดีใจพี่ลูกชายคนเดียวของครอบครัวใฝ่ใส่ในการศึกษาจึงอนุญาตให้เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์สมความตั้งใจ แต่ท่านก็บวชได้ไม่นานโยมบิดา มารดาได้มาขอร้องให้ท่านลาสิกขาจากสามเณร เพื่อกลับไปช่วยทางบ้านในการทำสวน ทำนา ซึ่งเป็นอาชีพหลักของครอบครัว

จนกระทั่งปี พ.ศ. 2460 มีญาติผู้ใหญ่ของท่านคนหนึ่งได้ถึงแก่กรรมลง ซึ่งตามธรรมเนียมไทยที่มีมาแต่โบราณ เมื่อมีการเสียชีวิตของญาติผู้ใหญ่ก็จะให้บุตรหลานบวชเป็นสามเณร หรือที่นิยมเรียกกันว่า บวชหน้าไฟเพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ล่วงลับ และท่านก็ได้เสนอตัวในการบวชสามเณรหน้าไฟในครั้งนี้ และการบวชสามเณรในครั้งนี้ของท่านกลายเป็นจุดเปลี่ยนแปลงชีวิตของท่าน เพราะเมื่อเสร็จสิ้นงานศพแล้วท่านได้ขออนุญาติโยมบิดา มารดาเพื่อขออยู่ในผ้าเหลืองต่อไปอีก ต่อมาในปี พ.ศ. 2462 ท่านมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ท่านก็ได้ทำการบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พระอุโบสถ วัดโพธิ์แตงใต้โดยมีท่านเจ้าคุณพระอริยทัชชะมุนี แห่งวัดสำแล จ.ปทุมธานี ในฐานะเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานีเป็นพระอุปฌาย์ ได้รับฉายา “ธมฺมวโร” สังกัดรามัญนิกาย

ต่อมาในปีพ.ศ. 2489 ภายหลังวัดโพธิ์แตงใต้ ได้ขอโอนย้ายการปกครองมาอยู่ในคณะธรรมยุติ ท่านจึงได้เดินทางไปยังวัดบวรนิเวศวิหาร และได้ทำการอุปสมบทใหม่อีกครั้งโดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ วัดบวรนิเวศวิหารเป็นองค์พระอุปฌาย์ และให้ใช้ฉายาเดิมว่า “ธมฺมวโร” เมื่อได้ทำการอุปสมบทแล้วท่านก็อยู่จำพรรษาและศึกษาพระบาลีอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร ท่านจำพรรษาเรื่อยมาจนกระทั่งถึงปีพุทธศักราช 2507 วัดโพธิ์แตงใต้ก็สิ้นบุญเจ้าอาวาส และขาดเจ้าอาวาสที่จะคอยดูแลเสนาสนะต่างๆ ชาวบ้านจึงได้พร้อมใจกันเดินทางไปนิมนต์ท่านให้กลับไปปกครองวัดโพธิ์แตงใต้ ซึ่งท่านเองก็มิได้ขัดข้องซึ่งก่อนหน้าที่ท่านจะเดินทางกลับมารับตำแหน่งเจ้าอาวาส ท่านก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปฌาย์ (วิสามัญ) ที่พระครูเอนกสารคุณ เมื่อท่านมาปกครองดูแลวัดโพธิ์แตงใต้แล้ว ท่านก็ได้เริ่มบูรณะและปฏิสังขรณ์เสนาสนะในส่วนที่ชำรุดทรุดโทรม จนล่วงมาถึง พุทธศักราช 2514 ท่านก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่ ‘พระครูอเนกสารคุณ” ชาวบ้านจึงได้ประชุมหารือและได้จัดงานเฉลิมฉลองวาระอันเป็นมงคลนี้ในปีถัดไป คือในปี พ.ศ. 2515 เพราะว่าท่านมีอายุครบ 72 ปีหรือ 6 รอบพอดี

ในการจัดงานเฉลิมฉลองสมณศักดิ์ และการทำบุญอายุครบ 72 ปีของท่านในครั้งนี้ ทางคณะกรรมการการจัดงานได้จัดสร้างวัตถุมงคลเพื่อให้ท่านนำไปแจกแก่ญาติโยมและศิษยานุศิษย์ และผู้มีจิตศรัทธาที่มาร่วมงานในครั้งนี้ โดยจัดทำเป็นเหรียญโลหะทองแดง ซึ่งท่านได้นั่งปลุกเสกเดี่ยวด้วยตัวท่านเอง ซึ่งต่อมาเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อท่านก็ได้สร้างปาฏิหาริย์ให้กับผู้ที่นำไปบูชาติดตัวในหลายๆ ด้าน ทั้งเรื่องเมตตามหานิยม แคล้วคลาดจนเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว และก็ยังมีวัตถุมงคลของหลวงปู่อีกหลายรุ่นที่แสดงถึงปาฏิหาริย์ ให้หลายต่อหลายท่านประจักษ์มาแล้ว




และด้วยวัยของหลวงปู่ที่สูงอายุมากขึ้น แต่ท่านก็ยังให้การต้อนรับญาติโยมที่เดินทางมาหาอย่างเป็นกันเอง แม้ว่าท่านจะได้รับการทัดทานจากบรรดาศิษยานุศิษย์ที่ต้องการจัดเวลาเข้าพบ เพื่อให้ท่านมีเวลาพักผ่อนมากขึ้น และแล้วข่าวเศร้าที่ทำให้ประชาชนรู้สึกช๊อคไปทั้งประเทศ เมื่อมีข่าวว่าหลวงปู่ล้มป่วยด้วยโรคชรา และมรณภาพลงอย่างสงบยังความเศร้าเสียใจมายังศิษยานุศิษย์และประชาชนทั่วไปอย่างยิ่ง ซึ่งหลังจากที่ท่านละสังขารไปแล้วคณะกรรมการวัดได้นำสังขารของท่านบรรจุไว้ในโลงแก้ว เก็บไว้บนศาลาการเปรียญเพื่อให้ประชาชนผู้เคารพ ศรัทธาในวัตรปฏิบัติของหลวงปู่ได้กราบไหว้เพื่อเป็นสิริมงคลมาตราบจนถึงทุกวันนี้
หลวงพ่อสด ท่านเรียนวิชากับหลวงปู่หล่ำวัด กร่างสุดยอดเกจิของจังหวัดปทุมธานี วัดโพธิ์แตงใต้กับวัดกร่างอยู่คนละฟากแม่น้ำแต่ไม่ไกลกันมากซึ่งสมัยก่อนท่านจะพายเรือไปเรียนวิชากับหลวงปู่หล่ำและท่านยังศึกษาภาษา บาลีสายวัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งท่านได้เป็นศิษรุ่นพี่ ของ สมเด็จพระญาณสังวร พระสังฆราช วัดบวรนิเวศ์ พระสังฆราช นับถือหลวงพ่อสดวัด มาก พระเครื่องรุ่นหลังๆมา สมเด็จพระสังฆราชท่านจะมาเป็นประธานหรือมาร่วมพิธีปลุกเสกตลอดและยังใช้นามย่อ ญสส ของท่านไว้ ที่พระเครื่องด้วย
สำหรับสมเด็จรุ่นแรกของหลวงพ่อสดวัดโพธิ์แตงใต้นี้ ประสบการณ์ เด่นๆทางโชคลาภ อย่างสูง

***ขอ อนุญาติ นำประวัติ หลวงพ่อสดวัดโพธิ์แตงใต้ จากหนังสือที่คณะลูกศิษย์จัดทำ
ฉบับวันที่ 6 เมษายน 2550
มาลงเพื่อศึกษาเป็นความรู้ แก่ลูกศิษย์และคนที่ศรัทธาในตัวหลวงพ่อสด





ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/) Powered by Discuz! X3.2