Baan Jompra

ชื่อกระทู้: ตำนาน ๔ ทหารเอกแห่ง“สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” [สั่งพิมพ์]

โดย: oustayutt    เวลา: 2019-1-16 19:39
ชื่อกระทู้: ตำนาน ๔ ทหารเอกแห่ง“สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช”
ข้ารองบาทสมเด็จพระเจ้าตากสิน เปิดประวัติ ๔ ทหารเอกคู่พระทัย “พระเจ้าตากฯ” วีรบุรุษผู้ร่วมกอบกู้เอกราช
[attach]15166[/attach]

โดย: oustayutt    เวลา: 2019-1-16 19:42
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชพระองค์มีความสำคัญที่ชาวไทยไม่สามารถจะลืมในพระคุณงามความดีที่ทรงกอบกู้เอกราช เริ่มแต่ในวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ.๒๓๐๙ ซึ่งตรงกับวันเสาร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือนยี่ จุลศักราช ๑๑๒๘ ปีจอ อัฐศกพระยาวชิรปราการ (ยศในขณะนั้น) เห็นว่ากรุงศรีอยุธยาคงต้องเสียทีแก่พม่า จึงตัดสินใจรวบรวมทหารกล้าราว ๕๐๐ คน ตีฝ่าวงล้อมทหารพม่า โดยตั้งใจว่าจะกลับมากู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนให้ได้โดยเร็ว





โดย: oustayutt    เวลา: 2019-1-16 19:43
ทรงเข้ายึดเมืองจันทบุรี เริ่มสะสมเสบียงอาหาร อาวุธ กำลังทหาร เพื่อเข้าทำการกอบกู้กรุงศรีอยุธยา กรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อวันอังคาร ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๘ ปีกุน นพศก จุลศักราช ๑๑๒๙ ตรงกับ พ.ศ.๒๓๑๐ และสมเด็จพระเจ้าตากสิน สามารถกู้กลับคืนมาได้ เมื่อวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ จุลศักราช ๑๑๒๙ ปีกุน นพศก ซึ่งตรงกับวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๓๑๐ รวมใช้เวลารวบรวมผู้คนจนเป็นทัพใหญ่กลับมากู้ชาติด้วยระยะเวลาเพียง ๗ เดือนเท่านั้น

ในการกอบกู้เอกราชของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระองค์ทรงมีทหารเอกคู่พระทัย อยู่ ๔ ท่าน ที่ปรากฏร่วมกับพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ สวนสาธารณะทุ่งนาเชย จ.จันทบุรี นั่นก็คือ หลวงราชเสน่หา (กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท) , หลวงพิชัยอาสา (พระยาพิชัยดาบหัก) , พระยาเชียงเงิน , หลวงพรหมเสนา (เจ้าพระยานครสวรรค์)

โดย: oustayutt    เวลา: 2019-1-16 19:46
[attach]15168[/attach]

สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท หรือ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท พระนามเดิม บุญมา เป็นพระราชอนุชาร่วมพระราชชนกชนนีกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ มีพระนามเดิมว่า “บุญมา” ต่อมาได้ทรงรับราชการในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสุริยามรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) ตำแหน่ง นายสุจินดาหุ้มแพร (ได้รู้จักกับพระยาตากมาก่อน เมื่อครั้นรับราชการอยู่นั้น) เมื่อ พ.ศ.๒๓๑๐ กรุงศรีอยุธยาใกล้จะเสียกรุงแก่พม่า นายสุจินดากับเพื่อนๆ ได้ลอบหนีออกจากเมืองได้มาอาศัยอยู่กับพี่สาวที่บางกอก (คงจะเมื่อกรุงแตกแล้วหรือใกล้จะแตกแล้ว) และได้ข่าวเกี่ยวกับพระยาตากไปตั้งตัวที่จันทบูร มีกำลังมากจะยกทัพมาตีอยุธยาคืน นายสุดจินดาหุ้มแพรได้ฝากภรรยาและทรัพย์สมบัติไว้กับพี่สาว แล้วพาพรรคพวกบางคนเดินทางไปจันทบูรทางบกโดยผ่านบางปลาสร้อย พระเจ้าตากได้รับนายบุญมาเข้าไว้เป็นพรรคพวก
ด้วยความสามารถส่วนตัวของนายบุญมาเด่นมาก จนทำให้ได้รับความไว้วางพระทัยสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และไปสมัครรับราชการอยู่กับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระมหามนตรี เจ้ากรมพระตำรวจในขวา พระเกียรติคุณแห่งสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคลนั้นนับว่าเป็นที่เลื่องลือไปทั่วทั้งสิบทิศ พระองค์ได้ทรงร่วมศึกรบขับไล่อริราชศัตรูปกป้องพระราชอาณาจักรตลอดพระชนมชีพของพระองค์ ได้เสด็จไปในรบทั้งทางบกและทางเรือ ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ถึง ๑๖ ครั้ง และในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชต่อมาอีกหลายครั้ง

โดย: oustayutt    เวลา: 2019-1-16 19:49
[attach]15169[/attach]

พระยาพิชัยดาบหักขุนนางในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย มีชื่อเสียงอย่างยิ่งในชั้นเชิงการต่อสู้ ทั้งมือเปล่าแบบมวยไทยและอาวุธแบบกระบี่ กระบอง เดิมชื่อ จ้อย เกิดที่บ้าน ห้วยคา อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๘๔ ในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา ศึกษาอยู่กับท่านพระครูวัดมหาธาตุหรือวัดใหญ่ เมืองพิชัย ภายหลัง จ้อยได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นทองดี หรือ ทองดีฟันขาว มีความสามารถทั้งทางเชิงมวยและเชิงดาบ

จากนั้นได้เข้ารับราชการกับสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ตั้งแต่ครั้งดำรงตำแหน่งเป็นพระยาตาก ต่อมานายทองดีได้รับแต่งตั้งเป็นองครักษ์มีบรรดาศักดิ์เป็น “หลวงพิชัยอาสา” เมื่อรับราชการมีความดีความชอบจึงได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าหมื่นไวยวรนาถ พระยาสีหราชเดโช และพระยาพิชัยผู้สำเร็จราชการครองเมืองพิชัย ซึ่งรับพระราชทานเครื่องยศเสมอเจ้าพระยาสุรสีห์ตามลำดับ ภายหลังข้าศึกยกทัพมาเมืองพิชัย ๒ ครั้ง ในการรบครั้งที่ ๒ พระยาพิชัยถือดาบสองมือออกต่อสู้จนดาบหักไปข้างหนึ่ง และรักษาเมืองไว้ได้ ดังนั้นจึงไดัรับสมญานามว่า “พระยาพิชัยดาบหัก”

พระยาพิชัยดาบหัก ได้สร้างวีรกรรมอันควรเป็นเยี่ยงอย่าง อันควรแก่การยกย่องสรรเสริญให้สืบทอดมาถึงปัจจุบันได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริต ความกตัญญูกตเวที ความเด็ดเดี่ยวเฉียบขาดกล้าหาญ รวมถึงความรักชาติ ต้องการให้ชาติเจริญรุ่งเรืองมั่นคงต่อไป

โดย: oustayutt    เวลา: 2019-1-16 19:53
[attach]15170[/attach]

พระยาเชียงเงิน หรือพระยาท้ายน้ำ เดิมเป็นเจ้าเมืองเชียงเงิน หัวเมืองชั้นจัตวาขึ้นกับเมืองระแหง (ในพระราชพงศาวดารกล่าวชัดเจนซึ่งแย้งกับบางแหล่งข้อมูลว่า หลวงพรหมเสนามีเชื้อสายจีน) เข้ามาสวามิภักดิ์กับพระยาตาก และร่วมรบตั้งแต่ครั้งฝ่ายทัพพม่าออกมาจนถึงจันทบุรี พระเชียงเงินไม่มีชื่อเสียงในด้านการทัพเป็นพิเศษและออกจะอ่อนแอในบางครั้งด้วยซ้ำ แต่ก็เป็นข้าราชบริพารที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงพระเมตตาเป็นพิเศษและเป็นเจ้าเมืองคนหนึ่งที่โปรดปรานให้มาเฝ้าเพื่อทรงสั่งสอน “วิธีการ” ต่อสู้กับข้าศึก


หลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่า ในคราวที่ทรงต่อสู้กับอริราชศัตรูที่เมืองระยองนั้นได้มีบันทึกว่า “พระยาเชียงเงิน” เป็น “พระยาท้ายน้ำ” ครั้นเมื่อปราบปรามก๊กต่างๆ ทางเมืองเหนือได้ราบคาบแล้ว ทรงมีพระกรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้พระยาท้ายน้ำรั้งเมืองสุโขทัย ท่านเป็นทหารหาญคนสนิทที่ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยยิ่ง



โดย: oustayutt    เวลา: 2019-1-16 19:57
[attach]15172[/attach]

หลวงพรหมเสนา เกิดเมื่อวันอังคาร เดือน ๖ ปีมะโรง พุทธศักราช ๒๒๗๙ ณ บ้านเชียงของ (ปัจจุบันคือบ้านเชียงทอง) จ.ตาก บิดาท่านสืบเชื้อสายมาจากเมืองเชียงของหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มารดาท่านเป็นญาติใกล้ชิดกับพระเชียงเงิน (ธงชัย) ท่านได้ไปเติบโตที่ฝั่งลาว และได้กลับมาเป็นเจ้าคุ้มเชียงทอง ท่านจึงมีอีกนามหนึ่งว่า “เจ้าฟ้าเชียงทอง” และคุ้มของท่านอยู่บานเนินเขาเตี้ยๆ ริมฝั่งแม่น้ำปิง (ปัจจุบันคือวัดเชียงทอง จ.ตาก) จากนั้นท่านได้ติดตามสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมาเป็นทหารเอกคู่พระทัย อาทิ พระเชียงเงิน (ธงชัย) หลวงพิชัยอาสา (จ้อย) หลวงราชเสน่หา

ต่อมาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระพรมเสนา,พระยาอนุรักษ์ภูธร และพระยานครสวรรค์ ตามลำดับ ท่านได้รับความไว้วางใจเป็นพิเศษจากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีคนหนึ่ง จนได้รับพระราชอาญาสิทธิ์ให้ลงโทษผู้ย่อหย่อยในคราวศึกบางแก้ว ก่อนที่พระยานครสวรรค์จะไปช่วยหนุนพระยาธิเบศบดีนั้นได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีพระองค์ได้ทรงมอบดาบอาญาสิทธิ์ให้ลงโทษทหารผู้ย่อหย่อนในการศึกได้และให้พรแก่พระยานครสวรรค์และทหาร ว่า “ชะยะตุภวัง สัพพะศัตรูวินาสสันติ” อันเป็นที่มาของคาถาบูชาสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีในปัจจุบันคือ “ชะยะตุภะวัง สัพพะศัตรูวินาสสันติ”

ขอสดุดีวีรกรรมของวีรบุรุษที่ท่านเป็นบุคคลสำคัญของประวัติศาสตร์ชาติไทยในการปกปักษ์รักษาสยามประเทศไว้ ณ ที่นี้
http://huexonline.com/knowledge/18/

โดย: Nujeab    เวลา: 2019-1-17 08:30

โดย: Sornpraram    เวลา: 2019-1-21 13:13
Nujeab ตอบกลับเมื่อ 2019-1-17 08:30


โดย: Nujeab    เวลา: 2019-1-22 10:52





ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/) Powered by Discuz! X3.2