Baan Jompra
ชื่อกระทู้: พระบารมี 10 ทัศน์ [สั่งพิมพ์]
โดย: Sornpraram เวลา: 2018-5-11 06:35
ชื่อกระทู้: พระบารมี 10 ทัศน์
ย้อนกลับไปสมัยพุทธกาล
ที่พระพุทธเจ้ายังคงมีพระชนม์อยู่ ท่านได้เคยเล่าให้เหล่าพระสาวกฟังว่า
ก่อนที่ท่านจะตรัสรู้นั้น ท่านเคยเกิดมาหรือเสวยชาติมาแล้วถึง 550 ชาติ
ไม่ว่าจะเป็นเทวดา พรหม มนุษย์ หรือแม้กระทั่งเดรัจฉาน
ซึ่งก่อนจะเป็นพระพุทธเจ้าได้ ต้องเป็นสัพพัญญู คือผู้รู้แจ้งด้วยตนเอง
ทำให้ต้องเสวยชาติ เผื่อจะได้รับรู้ พร้อมทั้งต้องบำเพ็ญธรรมเผื่อบรรลุที่พระพุทธเจ้า
ดังนั้นในโบราณมักจะมีการสร้างพระแผงที่มีพระพุทธเจ้าขนาดเล็กเรียงกัน
เพื่อแสดงถึงพระพุทธเจ้าขณะเสวยชาตินั่นเอง
(ต่อมามีการตัดแยกกันจากกรุต่าง ที่มีชื่อเสียงคือบรรดาพระกำแพงตัด
แล้วแต่จำนวนองค์พระที่ตัดมา ก็เรียกกันเป็น กำแพงตัด 5 ตัด 10)
โดย: Sornpraram เวลา: 2018-5-11 06:43
วัดเจ้าชายธรรมราชา (วัดกระชาย)
อ้างอิง http://3ascom.rta.mi.th/ab_AekaHis09.php
วัดเจ้าชายธรรมราชา หรือวัดเจ้าชาย กล่าวกันในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาว่า เป็นวัดที่สร้างโดยสมเด็จพระเอกาทศรถ ที่ชื่อวัดเจ้าชายนั้น สันนิษฐานว่า น่าจะสร้างตอนที่พระองค์ ยังไม่ได้เป็นพระมหากษัตริย์ วัดเจ้าชายธรรมราชา เป็นวัดร้าง ตั้งอยู่กลางทุ่งปากกราน หรือบ้านกลางคลองตะเคียน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อยู่ด้านใต้วัดวรเชษฐ์ ต.บ้านป้อม อ.พระนครศรีอยุธยา เป็นวัดที่อยู่บนเนิน รายรอบด้านเหนือด้วยสระบัวหลวง ซึ่งปัจจุบันยังพอเห็นอาณาเขตวัดได้อยู่บ้าง วัดเจ้าชายถูกขโมยขุดเอาของมีค่าไปหมด เช่น พระพิมพ์ปางสิบทัศน์(พระเจ้าสิบชาติ) ก็ปรากฏว่าขุดได้จากที่วัดเจ้าชายแห่งนี้ ปัจจุบันคงปรากฏเพียงเจดีย์ใหญ่ เหลืออยู่เพียงองค์เดียว ซึ่งทรุดเอียง ใกล้จะล้มพังแล้ว นอกจากนี้ยังปรากฏร่องรอยกุฏิหลังหนึ่ง ซึ่งสันนิษฐานว่า อาจเป็นกุฏิเจ้าอาวาส หรืออาจเป็นตำหนัก กรรมฐานของสมเด็จพระเอกาทศรถ ในคราวที่พระองค์มาปฏิบัติกรรมฐาน ณ วัดของพระองค์ แห่งนี้ ก็อาจเป็นได้ .....
เสริมจากข้อมูลของแอดมินวัดนี้จริงๆน่าจะสร้างสมัยอยุธยาตอนต้นหรืออาจเก่ากว่านั้นในสมัยอโยธยา ด้วยศิลปะขององค์เจดีย์ที่อยู่ร่วมสมัยนั้น และมีการบูรณะทับซ้อนกันจนถึงอยุธยาตอนปลาย แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของวัด วัดนี้น่าจะถูกบูรณะโดยสมเด็จพระเอกาทศรถ เพื่ออุทิศให้ใครสักคน(เป็นข้อสันนิษฐาน) หนึ่งในนั้นก็มีพระนามของพระมหาธรรมราชา ผู้นำทัพโจมตีเขมรร่วมกับพระราชมนู ซึ่งพระมหาธรรมราชาผู้นี้ มีอีกพระนามคือพระเจ้าฝ่ายหน้า ซึ่งก็น่าจะเป็นพระราชโอรสองค์หนึ่งของ
สมเด็จพระนเรศวร วัดนี้ยังปรากฏในพงศาวดารในแผ่นดินพระนารายณ์ ที่ใช้สถานที่แห่งนี้สังหารพระศรีศิลป์ พระราชนัดดาของพระองค์เอง ที่คิดลอบปลงพระชนม์พระองค์ถึง 2 ครา วัดนี้เป็นหนึ่งในสามวัดที่ใช้ในการสวดคุ้มครองอาณาจักร ประกอบด้วยวัดวรเชษฐ์ วัดลอดช่อง(มหาเถรคันฉ่อง) วัดเจ้าชาย ซึ่งสามวัดตั้งในตำแหน่งเป็นรูปสามเหลี่ยม เมื่อสวดมนตร์จากทั้งสามที่พร้อมกันจะเกิดพลังครอบคุมเมืองให้แคล้วคลาดปลอดภัย (เป็นความเชื่อส่วนบุคคล) ช่วงเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310 แถบวัดเจ้าชาย วัดเต่า วัดสุเรนทร์ เป็นที่ตั้งทัพของพม่า ในการโจมตีพระนครด้วย
โดย: Sornpraram เวลา: 2018-5-11 06:51
ตามตํานานของอยุธยา เล่าสืบต่อกันมาว่า “สมเด็จพระเอกาทศรถ” ท่านได้สร้างวัดประจําพระองค์วัดหนึ่ง อยู่ใต้วัดวรเชษฐ์นอกเกาะ วัดแห่งนี้ชื่อว่า “วัดเจ้าชายธรรมราชา” เรียกสั้น ๆ ว่า “วัดเจ้าชาย” และเพี้ยนเสียงมาเป็น “วัดกระชาย” มีชาวบ้านแถบวัดกลางทุ่งปากกราน ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก ของวัดเจ้าชาย เคยเข้ามาขุดกรุที่องค์เจดีย์ได้โบราณวัตถุเป็นพระพิมพ์ดินเผา ลักษณะของพระพิมพ์เป็นพระพุทธรูป “ปางสมาธิ” และ “ปางมารวิชัย” พระพิมพ์วัดกระชายนี้ชาวบ้านแถบนั้นมีความเคารพนับถือว่า มีความศักดิ์สิทธิ์มาก และมักจะเรียกพระพิมพ์ลักษณะนี้ว่า "พระเจ้าสิบชาติ" ซึ่งหมายถึง “ชาติทั้งสิบของพระพุทธเจ้า” สมเด็จพระเอกาทศรถ ท่านมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ท่านได้สร้างพระและสร้างวัดมากมาย จึงไม่แปลกใจที่แต่ละวัดที่ท่านสร้างจะมีพระดีบรรจุไว้ในเจดีย์แทบทุกวัด สาเหตุที่พระองค์ทรงสร้างพระกรุวัดกระชาย
(สันนิษฐานได้ว่า พระองค์ท่านอาจปรารถนาพระโพธิญาณ
เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตต่อไป จึงได้สร้างพระพิมพ์นี้ไว้)
เคยมีคนนำไปทดลองยิง “พระกรุวัดกระชาย” โดยเอาไปวางไว้ที่โค่นต้นกล้วยแล้วเหนี่ยวไกปืนยิงในระยะใกล้ๆ ผลปรากฏออกมาว่า ลูกกระสุนไม่เคยโดนพระกรุวัดกระชายเลยแม้แต่นิดเดียว ทำให้เป็นที่ฮือฮากันอย่างมาก ข่าวดังกล่าวได้บอกต่อๆ กันไป และไปถึงค่ายทหารแห่งหนึ่งในเมืองลพบุรี ทหารจึงพากันเดินทางมาขอแบ่งบูชากันไปเป็นจำนวนพอสมควรทีเดียว และได้ยิงทดสอบกันตรงนั้นเลย ผลปรากฏออกมาเหมือนเดิมคือ ไม่โดนองค์พระใดเลย แม้จะนั่งยองๆเข้ามาใกล้มากถึงแค่หนึ่งคืบ ลูกกระสุนก็ยังเบี่ยงไปไม่เคยโดนพระกรุวัดกระชายเลยแม้แต่นิดเดียว
และยังมีประสบการณ์จริง แบบโคตรเหนียวหนึบ ที่เล่ากันแบบไม่รู้จบ ต่อมาก็คือ นักเรียนเทคนิคอยุธยาคนหนึ่ง ถูกคู่อริจ่อยิงซึ่งๆหน้า (ไม่เกินหนึ่งวา) 3 นัดซ้อน ปรากฏว่าไม่มีดังซักนัด มีเพียงแต่เสียงสับไกปืนดังแชะๆๆ 3 นัดซ้อน คนถูกยิงยืนตะลึง อ้าปาก ตาค้าง สติแตก แต่พอได้สติ ก็วิ่งโกยหน้าตั้งแบบวิ่ง 100 เมตร เสียงปืนดังตามหลังปังๆๆๆมาอีก 3 นัดไม่มีโดนซักนัด (ผู้เล่าคือ นักเรียนเทคนิคอยุธยาผู้ที่ถูกยิง ยังมีชีวิตอยู่ เล่าให้ฟังแบบสยองขวัญ รอดตายเพราะพระกรุวัดกระชาย ที่เลี่ยมคล้องคออยูเพียงองค์เดียวแท้ๆ เหนียวจริงๆ เหนียวที่สุด แถมแคล้วคลาดที่สุดอีกด้วย
และมีความเชื่อสืบทอดกันมาว่า “พระกรุวัดกระชาย” มีพระพุทธคุณโดดเด่นด้านทางด้านรับราชการทุกประเภท เมตตาแรงมากๆๆๆ ปากวาจาสิต เสริมธุรกิจพันล้าน เลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง มหาอำนาจ เสริมบารมี เสริมอำนาจวาสนาชั้นสูง เพิ่มฤทธิ์เดช เพิ่มบารมี คงกระพันชาตรี แคล้วคลาด มหาอุตฆ์ เรียกเงินทองขั้นสูง เดินทางต่างประเทศ และป้องกันภัยพิบัติทั้งปวง นักเลงโบราณรุ่นคุณปู่ คุณตา จะพกพา “พระกรุวัดกระชาย” ติดตัวเป็นประจำ ปัจจุบันนับว่าเป็นพระกรุที่ค่อนข้างหายาก เนื่องจากพระเก่าพระโบราณที่แตกกรุออกมานานแล้ว นับวันจะหายากขึ้นทุกที
พุทธคุณจึงแรงมากๆๆๆ และมีประสบการณ์สูงมาก เหมาะมากสำหรับผู้ที่อยากให้ตำแหน่งหน้าที่การงานเจริญเติบโตก้าวหน้า ควรมีไว้บูชาพกพาติดตัวไว้เป็นอย่างเนืองนิจ ทั้งผู้ที่นิยม และศรัทธา รวมไปถึงผู้นำ นักการเมือง นักการปกครอง ผู้บังคับบัญชา หรือ นักบริหารทุกระดับชั้น ข้าราชการทุกตำแหน่ง ทุกประเภทไม่ว่าชั้นผู้ใหญ่ ชั้นผู้น้อย นายทหารทุกเหล่าทัพ (โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติภารกิจอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้) ตำรวจ ครูบาอาจารย์ นักพูด นักขาย (ที่ต้องหยอดลูกค้า) นักเดินทางรอบโลก นักเจรจา ดารา นักร้อง นักแสดง เด็กเสี่ย ผู้ที่ต้องปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นทุกประเภท นักกีฬาทุกประเภท นักทำมาหากินทุกอาชีพ มนุษย์เงินเดือน ผู้ที่ต้องเดินทางไปต่างประเทศบ่อยๆ ผู้ที่ต้องแข่งขันกับผู้อื่น ไม่ว่าทั้งโดยตรง หรือโดยอ้อม ผู้มีอิทธิพล ผู้ที่มีศัตรูมากคอยจ้องคิดจะทำร้ายเราอยู่เสมอๆๆๆ พ่อค้า แม่ค้า ประชาชนทั่วไป ก็ไม่ควรพลาดเช่นกัน ควรมีไว้บูชาเป็นอย่างยิ่ง
พุทธคุณแรงเกินราคา คุ้มค่ามากๆๆๆ กับความปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน การมีชื่อเสียง ตำแหน่งที่สูงขึ้น การมีโชคลาภขั้นสูง มหาเสน่ห์ มหานิยมที่รุนแรงต่อเพศตรงข้าม การชนะเหนือคู่แข่งขันทั้งหลาย ฯลฯ เป็นต้น
โดย: Nujeab เวลา: 2018-5-11 10:51
สาธุ สาธุ สาธุ
โดย: Sornpraram เวลา: 2018-5-15 12:32
โดย: Nujeab เวลา: 2018-5-16 10:07
พระบารมี 10 ทัศน์ ดีใจที่ได้มีส่วนร่วมครับ โอกาสดีๆที่หาได้ยาก
โดย: oustayutt เวลา: 2018-5-16 20:34
ขอบคุณครับ
โดย: Sornpraram เวลา: 2018-5-17 06:19
การสร้างบารมีใน ๑๐ พระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์เจ้า ซึ่งเป็นการสร้างบารมีที่ยิ่งใหญ่ เรียกอีกประการหนึ่งว่าบารมี ๑๐ ทัศ คือ ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมะบารมี ปัญญาบารมี วิริยะบารมี ขันติบารมี สัจจะบารมี อธิฐานบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี และจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งการสร้างบารมีทั้ง ๑๐ พระชาติสุดท้ายนั้น ทรงจุติหรือมาเกิดเป็นมนุษย์ในแต่ละพระชาติดังมีพระนามและการบำเพ็ญพระบารมีดังนี้
พระเจ้าสิบชาติ
พระเตมีย์ ผู้ทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี
พระมหาชนก ผู้ทรงบำเพ็ญวิริยบารมี
สุวรรณสาม ผู้บำเพ็ญเมตตาบารมี
พระเนมิราช ผู้ทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมี
มโหสถบัณฑิต ผู้ทรงบำเพ็ญปัญญาบารมี
พระภูริทัต ผู้ทรงบำเพ็ญศีลบารมี
พระจันทกุมาร ผู้ทรงบำเพ็ญขันติบารมี
พระมหานารทกัสสปะ ผู้ทรงบำเพ็ญอุเบกขาบารมี
วิธุรบัณฑิต ผู้บำเพ็ญสัจบารมี
พระเวสสันดร ผู้ทรงบำเพ็ญทานบารมี
โดย: Sornpraram เวลา: 2018-5-17 06:19
ทศชาติชาดก
"เปิดกรุพุทธตำนาน" เสียงบรรยายโดย อาจารย์บรรเจิด สังข์สวน
ฟัง-เปิดกรุพุทธตำนานโดย อาจารย์บรรเจิด สังข์สวน
ชาดก คือ ?
ขอยกคำอธิบายด้วยข้อมูลในพระไตรปิฏก ดังนี้
...
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ สุตตันตปิฎกที่ ๑๙ ขุททกนิกายชาดก ภาค ๑
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ เป็นภาคแรกของชาดก ได้กล่าวถึงคำสอนทางพระพุทธศาสนา อันมีลักษณะเป็นนิทานสุภาษิต แต่ในตัวพระไตรปิฎกไม่มีเล่าเรื่องไว้ มีแต่คำสุภาษิต รวมทั้งคำโต้ตอบในนิทานเรื่องละเอียดมีเล่าไว้ในอรรถกถา คือหนังสือที่แต่งขึ้นอธิบายพระไตรปิฎกอีกต่อหนึ่ง
คำว่า ชาตก หรือ ชาดก แปลว่า ผู้เกิด คือเล่าถึงการที่พระพุทธเจ้าทรงเวียนว่ายตายเกิด ถือเอากำเนิดในชาติต่างๆ ได้พบปะผจญกับเหตุการณ์ดีบ้างชั่วบ้าง แต่ก็ได้พยายามทำความดีติดต่อกันมากบ้างน้อยบ้างตลอดมา จนเป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย
กล่าวอีกอย่างหนึ่ง จะถือว่า เรื่องชาดกเป็นวิวัฒนาการแห่งการบำเพ็ญคุณงามความดี ของพระพุทธเจ้า ตั้งแต่ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ก็ได้
ในอรรถกถาแสดงด้วยว่า ผู้นั้นผู้นี้กลับชาติมาเกิดเป็นใครในสมัยพระพุทธเจ้า แต่ในบาลีพระไตรปิฎกกล่าวถึงเพียงบางเรื่อง เพราะฉะนั้น สาระสำคัญจึงอยู่ที่คุณงามความดีและอยู่ที่คติธรรมในนิทานนั้นๆ
อนึ่ง เป็นที่ทราบกันว่าชาดกทั้งหมดมี ๕๕๐ เรื่อง แต่เท่าที่ได้ลองนับดูแล้วปรากฏว่า ในเล่มที่ ๒๗ มี ๕๒๕ เรื่อง, ในเล่มที่ ๒๘ มี ๒๒ เรื่อง รวมทั้งสิ้นจึงเป็น ๕๔๗ เรื่อง ขาดไป ๓ เรื่อง แต่การขาดไปนั้น น่าจะเป็นด้วยในบางเรื่องมีนิทานซ้อนนิทาน และไม่ได้นับเรื่องซ้อนแยกออกไปก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม จำนวนที่นับได้ จัดว่าใกล้เคียงมาก
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ สุตตันตปิฎกที่ ๒๐ ขุททกนิกาย ชาดกภาค ๒
ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ เป็นเล่มที่รวมเรื่องชาดกที่เล็กๆน้อยๆรวมกันถึง ๕๒๕ เรื่อง แต่ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ นี้มีเพียง ๒๒ เรื่อง เพราะเป็นเรื่องยาวๆทั้งนั้น โดย ๑๒ เรื่องแรกเป็นเรื่องที่มีคำฉันท์ ส่วน ๑๐ เรื่องหลัง คือเรื่องที่เรียกว่า มหานิบาตชาดก แปลว่า ชาดกที่ชุมนุมเรื่องใหญ่ หรือที่โบราณเรียกว่า ทศชาติ
...
ข้อมูลจาก : พระไตรปิฎกฉบับประชาชน อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ
ดังนั้นเนื้อเรื่อง ทศชาติชาดก ทั้งสิบเรื่องที่เว็บธรรมะไทย มีให้ผู้อ่านได้อ่าน ได้แก่
โดย: Sornpraram เวลา: 2018-5-17 06:21
๑ เตมีย์ชาดก (พระเตมีย์)
ดาวน์โหลดเสียงธรรมะนิทานเรื่อง พระเตมีย์
พระราชาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระเจ้ากาสิกราช ครองเมืองชื่อว่า พาราณสี มีพระมเหสี พระนามว่า จันทรเทวี พระราชาไม่มีพระราชโอรสที่จะครองเมืองต่อจากพระองค์ จึงโปรดให้พระนางจันทรเทวีทำพิธีขอพระโอรสจากเทพเจ้า พระนางจันทรเทวีจึงทรงอธิษฐานว่า
"ข้าพเจ้าได้รักษาศีล บริสุทธิ์ตลอดมา ขอให้บุญกุศลนี้บันดาลให้ข้าพเจ้ามีโอรสเถิด"
ด้วยอานุภาพแห่งศีลบริสุทธิ์ พระนางจันทรเทวีทรงครรภ์ และประสูติพระโอรสสมดังความปราถนา พระโอรส มีรูปโฉม งดงามยิ่งนัก ทั้งพระราชาพระมเหสี และประชาชนทั้งหลาย มีความยินดีเป็นที่สุด พระราชาจึงตั้งพระนามโอรสว่า เตมีย์ แปลว่า เป็นที่ยินดีของคนทั้งหลาย บรรดาพราหมณ์ผู้รู้วิชาทำนายลักษณะบุคคล ได้กราบทูล พระราชาว่า พระโอรสองค์นี้มีลักษณะประเสริฐ เมื่อเติบโตขึ้น จะได้เป็นพระราชาธิราชของมหาทวีปทั้งสี่ พระราชาทรงยินดี เป็นอย่างยิ่ง และทรงเลือกแม่นมที่มีลักษณะดีเลิศตามตำรา จำนวน 64 คน เป็นผู้ปรนนิบัติเลี้ยงดูพระเตมีย์กุมาร
วันหนึ่ง พระราชาทรงอุ้มพระเตมีย์ไว้บนตักขณะที่กำลังพิพากษาโทษผู้ร้าย 4 คน พระราชาตรัสสั่งให้เอาหวาย ที่มีหนามแหลมคมมาเฆี่ยนผู้ร้ายคนหนึ่ง แล้วส่งไปขังคุกให้เอาฉมวกแทงศีรษะผู้ร้ายคนที่สาม และให้ใช้หลาว เสียบผู้ร้ายคนสุดท้าย พระเตมีย์ซึ่งอยู่บนตักพระบิดาได้ยินคำพิพากษาดังนั้น ก็มีความตกใจหวาดกลัว ทรงคิดว่า
"ถ้าเราโต ขึ้นได้เป็นพระราชา เราก็คงต้องตัดสินโทษผู้ร้ายบ้างและคงต้องทำบาป เช่นเดียวกันนี้ เมื่อเราตายไป ก็จะต้องตกนรกอย่างแน่นอน"
เนื่องจากพระเตมีย์เป็นผู้มีบุญจึงรำลึกชาติได้และทรงทราบว่าในชาติก่อนได้เคยเป็นพระราชาครองเมืองและได้ตัดสินโทษผู้ร้ายอย่างเดียวกันนี้ พระองค์ได้เสวยราชสมบัติในกาลนั้น 20 ปี แล้ว ต้องหมกไหม้อยู่ในนรก 80000 ปี ได้รับความทุกข์ทรมาณเป็นอันมาก พระเตมีย์ทรงมีความหวาดกลัวอย่างยิ่ง ทรงรำพึงว่า
"ทำอย่างไร หนอ เราจึงจะไม่ต้องทำบาป และไม่ต้องตกนรกอีก"
ขณะนั้นเทพธิดาที่รักษาเศวตฉัตรได้ยินคำรำพึงของพระเตมีย์จึงปรากฏกายให้พระองค์เห็นและแนะนำพระเตมีย์ว่า
"หากพระองค์ทรงหวั่นที่จะกระทำบาป ทรงหวั่นเกรงว่าจะตกนรก ก็จงทำเป็น หูหนวก เป็นใบ้ และเป็นง่อยเปลี้ย อย่าให้ชนทั้งหลาย รู้ว่าพระองค์เป็นคนฉลาด เป็นคนมีบุญ พระองค์ จะต้องมีความอดทน ไม่ว่าจะได้รับความเดือดร้อนอย่างใดก็ต้องแข็งพระทัย ต้องทรงต่อสู้ กับพระทัย ตนเองให้จงได้ อย่ายอมให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดมาชักจูงใจ พระองค์ไปจากหนทางที่พระองค์ตั้งพระทัยไว้"
พระเตมีย์กุมารได้ยินเทพธิดาว่าดังนั้นก็ดีพระทัยเป็นอย่างยิ่งจึงทรงตั้งจิตอธิษฐานว่า
"ต่อไปนี้ เราจะทำตนเป็นคนใบ้ หูหนวก และง่อยเปลี้ย ไม่ว่าจะมีเรื่องอันใดเกิดขึ้น เราก็จะไม่ละความตั้งใจเป็นอันขาด"
นับแต่นั้นมา พระเตมีย์ก็ทำพระองค์เป็นคนหูหนวกเป็นใบ้ และเป็นง่อย ไม่ร้อง ไม่พูด ไม่หัวเราะ และไม่เคลื่อนไหว ร่างกายเลย พระราชาและพระมเหสีทรงมีความวิตกกังวลในอาการของพระโอรส ตรัสสั่งให้พี่เลี้ยงและแม่นมทดลอง ด้วยอุบายต่างๆ เช่น ให้อดนม พระเตมีย์ก็ทรงอดทน ไม่ร้องไห้ ไม่แสดงความหิวโหย ครั้นพระราชาให้พี่เลี้ยง เอาขนมล่อ พระเตมีย์ก็ไม่สนพระทัย นิ่งเฉยตลอดเวลา พระราชาทรงมีความหวังว่า พระโอรสคงไม่ได้หูหนวก เป็นใบ้ และง่อยเปลี้ยจริง จึงโปรดให้ทดลอง ด้วยวิธีต่างๆ เป็นลำดับ เมื่ออายุ 2 ขวบ เอาผลไม้มาล่อ พระกุมารก็ไม่สนพระทัย อายุ 4 ขวบ เอาของเสวยรสอร่อยมาล่อ พระกุมารก็ไม่สนพระทัย อายุ 5 ขวบ พระราชาให้เอาไฟมาขู่ พระเตมีย์ก็ไม่แสดงความ ตกใจกลัว อายุ 6 ขวบ เอาช้างมาขู่ อายุ 7 ขวบ เอางูมาขู่ พระเตมีย์ก็ไม่หวาดกลัว ไม่ถอยหนีเหมือนเด็กอื่นๆ พระราชาทรงทดลองด้วยวิธีการต่างๆเรื่อยมา จนพระเตมีย์ อายุได้ 16 พรรษา ก็ไม่ได้ผล พระเตมีย์ยังทรงทำเป็นหูหนวก ทำเป็นใบ้ และไม่เคลื่อนไหวเลย ตลอดเวลา 16 ปี
ในที่สุด พระราชาก็ให้หาบรรดาพราหมณ์และที่ปรึกษาทั้งหลายมาและตรัสถามว่า
"พวกเจ้าเคยทำนายว่า ลูกเราจะเป็น ผู้มีบุญ เป็นพระราชาผู้ยิ่งใหญ่ เมื่อลูกเรามีอาการเหมือนคน หูหนวก เป็นใบ้ และเป็น ง่อยเช่นนี้ เราจะทำอย่างไรดี"
พราหมณ์และที่ปรึกษาพากันกราบทูลว่า
"เมื่อตอนที่ประสูตินั้นพระโอรส มีลักษณะเป็นผู้มีบุญ แต่บัดนี้ เมื่อได้กลับกลายเป็นคนหูหนวก เป็นใบ้ เป็นง่อย ก็กลายเป็นกาลกิณีจะ ทำให้บ้านเมืองและประชาชนเดือดร้อน ขอให้พระองค์สั่งให้นำพระโอรสไปฝังที่ป่าช้าเถิดพะย่ะค่ะ จะได้สิ้นอันตราย"
พระราชาได้ยินดังนั้นก็ทรงเศร้าพระทัยด้วยความรักพระโอรส แต่ก็ไม่อาจแก้ไขอย่างไรได้เพราะเป็นห่วงบ้านเมืองและ ประชาชน จึงต้องทรงทำตามคำกราบของพราหมณ์และที่ปรึกษาทั้งหลาย พระนางจันทเทวีทรงทราบว่าพระราชาให้นำ พระโอรสไปฝังที่ป่าช้าก็ทรงร้องไห้คร่ำครวญว่า
"พ่อเตมีย์ลูกรัก ของแม่ แม่รู้ว่าลูกไม่ใช่คนง่อยเปลี้ย ไม่ใช่คนหูหนวก ไม่ใช่คนใบ้ ลูกอย่าทำอย่างนี้เลย แม่เศร้าโศกมา ตลอดเวลา 16 ปีแล้ว ถ้าลูกถูกนำไปฝัง แม่คงเศร้าโศกจนถึงตายได้นะลูกรัก"
พระเตมีย์ได้ยินดังนั้นก็ทรงสงสารพระมารดาเป็นอันมาก ทรงสำนึกในพระคุณของพระมารดา แต่ในขณะเดียวกันก็ทรงรำลึกว่า พระองค์ตั้งพระทัยไว้ว่า จะไม่ทำการใดที่จะทำให้ต้องไปสู่นรกอีก จะไม่ทรงยอมละความตั้งใจที่จะทำเป็นใบ้ หูหนวก และเป็นง่อย จะไม่ยอมให้สิ่งใดมาชักจูงใจพระองค์ ไปจากหนทางที่ทรงวางไว้แล้วนั้นเป็นอันขาด
พระราชาจึงตรัสสั่งให้นายสารถีชื่อ สุนันทะ นำพระเตมีย์ขึ้นรถเทียมม้าพาไปที่ป่าช้าผีดิบ ให้ขุดหลุมแล้วเอาพระเตมีย์โยนลงไปในหลุมเอาดินกลบเสียให้ตาย นายสุนันทะจึงทรงอุ้มพระเตมีย์ขึ้นรถเทียมม้าพาไปที่ป่าช้าผีดิบเมื่อไปถึงป่าช้านายสุนันทะก็เตรียม ขุดหลุมจะฝังพระเตมีย์ พระเตมีย์กุมารประทับอยู่บนราชรถ ทรงรำพึงว่า
"บัดนี้เราพ้นจากความทุกข์ ว่าจะต้องเป็นพระราชา พ้นความทุกข์ว่า จะต้องทำบาป เราได้อดทนมาตลอดเวลา 16 ปี ไม่เคยเคลื่อน ไหวร่างกายเลย เราจะลองดูว่า เรายังคงเคลื่อนไหวได้หรือไม่ มีกำลังร่างกายสมบูรณ์หรือไม่"
รำพึงแล้ว พระเตมีย์ก็เสด็จลงจากราชรถ ทรงเคลื่อนไหว ร่างกาย ทดลองเดินไปมา ก็ทราบว่า ยังคงมีกำลังร่างกาย สมบูรณ์เหมือนคนปกติ จึงทดลองยกราชรถ ก็ปรากฏว่าทรงมีกำลังยกราชรถขึ้นกวัดแกว่ง ได้อย่างง่ายดาย จึงทรงเดินไปหา นายสุนันทะที่กำลังก้มหน้าก้มตาขุดหลุมอยู่ พระเตมีย์ตรัสถาม นายสุนันทะว่า
"ท่านเร่งรีบขุดหลุมไปทำไม"
นายสุนันทะตอบ คำถามโดยไม่ได้เงยหน้าขึ้นดูว่า
"เราขุดหลุมจะฝังพระโอรส ของพระราชา เพราะพระโอรสเป็นง่อย เป็นใบ้ และหูหนวก พระราชาตรัสสั่งให้ฝัง เสีย จะได้ไม่เป็นอันตรายแก่บ้านเมือง"
โดย: Sornpraram เวลา: 2018-5-17 06:21
พระเตมีย์จึงตรัสว่า
"เราไม่ได้เป็นใบ้ ไม่ได้หูหนวก และไม่ง่อยเปลี้ย จงเงยขึ้นดูเราเถิด ถ้าท่านฝังเราเสีย ท่านก็จะประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นธรรม"
นายสารถีเงยขึ้นดู เห็นพระเตมีย์ก็จำไม่ได้ จึงถามว่า
"ท่านเป็นใคร ท่านมีรูปร่าง งามราวกับเทวดา ท่านเป็นเทวดาหรือ หรือว่าเป็นมนุษย์ ท่านเป็นลูกใคร ทำอย่างไร เราจึงจะรู้จักท่าน"
พระเตมีย์ตอบว่า
"เราคือเตมีย์กุมาร โอรสพระราชา ผู้เป็นนายของท่าน ถ้าท่านฝังเราเสียท่านก็จะได้ชื่อว่า ทำสิ่งที่ไม่เป็นธรรม พระราชาเปรียบเหมือนต้นไม้ ตัวเราเปรียบเหมือนกิ่งไม้ ท่านได้อาศัยร่มเงาไม้ ถ้าท่านฝังเราเสีย ท่านก็ได้ชื่อว่า ทำสิ่งที่ไม่เป็นธรรม"
นายสารถียังไม่เชื่อว่าเป็นพระกุมารที่ตนพามา พระเตมีย์ทรงประสงค์จะให้นายสารถีเชื่อจึงตรัสอธิบายทรงอธิบายว่า
"ผู้ไม่ทำร้ายมิตร จะไปที่ได ก็มีคนคบหามาก จะไม่อดอยาก ไปที่ใดก็มีผู้สรรเสริญบูชา โจรจะไม่ข่มเหง พระราชาไม่ดูหมิ่น จะเอาชนะศัตรูทั้งปวงได้ ผู้ไม่ทำร้ายมิตร เมื่อมาถึงบ้านเรือนของตน หมู่ญาติและประชาชน จะพากันชื่นชมยกย่อง ผู้ไม่ทำร้ายมิตร ย่อมได้รับการสักการะ เพราะเมื่อสักการะท่านแล้ว ย่อมได้รับการสักการะตอบ เมื่อเคารพบูชาท่านแล้ว ย่อมได้รับการเคารพตอบ ผู้ไม่ทำร้ายมิตร ย่อมรุ่งเรืองเหมือนกองไฟรุ่งโรจน์ ดังเทวดา เป็นผู้มีมิ่งขวัญสิริมงคลประจำตนอยู่เสมอ ผู้ไม่ทำร้ายมิตร จะทำการใดก็สำเร็จผล โคจะมีลูกมาก หว่านพืชลงในนา ก็จะงอกงาม แม้จะพลัดตกเหว ตกจากภูเขา ตกจากต้นไม้ ก็จะไม่เป็นอันตราย ผู้ไม่ทำร้ายมิตร ศัตรูไม่อาจข่มเหงได้ เพราะเป็นผู้มีมิตรมาก เปรียบเหมือนต้นไทรใหญ่ที่มีราก ติดต่อพัวพัน ลมแรงก็ไม่อาจทำร้ายได้ "
นายสารถีได้ยินพระเตมีย์ตรัสยิ่งเกิดความสงสัยจึงเดินมาดูที่ราชรถก็ไม่เห็นพระกุมารที่ตนพามา ครั้นเดิน กลับมาพินิจพิจารณาพระเตมีย์อีกครั้งก็จำได้จึงทูลว่า
"ข้าพเจ้าจะพาพระองค์กลับวัง ขอเชิญเสด็จกลับไป ครองพระนครเถิด"
พระเตมีย์ตรัสตอบว่า
" เราไม่กลับไปวังอีกแล้ว เราได้ตัดขาดจากความยินดีในสมบัติทั้งหลาย เราได้ตั้งความอดทนมาเป็นเวลาถึง 16 ปี อันราชสมบัติทั้งพระนครและความสุข ความรื่นเริงต่างๆ เป็นของน่าเพลิดเพลิน แต่าเราไม่ปรารถนาจะหลงอยู่ในความเพลิดเพลินนั้น ไม่ปรารถนาจะกระทำบาปอีก เราจะไม่ก่อเวรให้เกิดขึ้นอีกแล้ว บัดนี้เราพ้นจากภาระนั้นแล้ว เพราะพระบิดาพระมารดา ปล่อยเราให้พ้นจากราชสมบัติมาแล้ว เราพ้นจากความหลงใหล ในกิเลสทั้งหลาย เราจะขอบวชอยู่ในป่านี้แต่ลำพัง เราต่อสู้ได้ชัยชนะในจิตใจของเราแล้ว"
เมื่อตรัสดังนั้น พระเตมีย์กุมารมีความชื่นชมยินดีอย่างยิ่ง รำพึงกับพระองค์เองว่า
"ผู้ที่ไม่ใจเร็วด่วนได้ ผู้ที่มีความอดทน ย่อมได้รับผลสำเร็จด้วยดี"
นายสุนันทะสารถีได้ฟังก็เกิดความยินดี ทูลพระเตมีย์ว่า จะขอบวชอยู่กับพระเตมีย์ในป่า แต่พระองค์ เห็นว่า หากนายสารถีไม่กลับไปเมือง จะเกิดความสงสัยว่าพระองค์หายไปไหน ทั้งนายสารถี ราชรถ เครื่องประดับทั้งปวงก็สูญหายไป ควรที่นายสารถีจะนำสิ่งของทั้งหลายกับไปพระราชวัง ทูลเรื่องราวให้พระราชาทรงทราบเสียก่อน แล้วจึงค่อยกลับมา บวชเมื่อหมดภาระ นายสุนันทะจึงกลับไปกราบทูลพระราชาว่า พระเตมีย์กุมาร มิได้วิกลวิการ แต่ทรงมีรูปโฉมงดงามและ ตรัสได้ไพเราะ เหตุที่แสร้งทำเป็นคนพิการก็เพราะไม่ปรารถนาจะครองราชสมบัติ ไม่ปรารถนาจะก่อเวรทำบาปอีกต่อไป
เมื่อพระราชาและพระมเหสีได้ทรงทราบ ก็ทรงปลื้มปิติยินดี โปรดให้จัดกระบวนไปรับพระเตมีย์กลับจากป่า ขณะนั้น พระเตมีย์ทรงผนวชแล้ว ประทับอยู่ในบรรณศาลาซึ่งเทวดา เนรมิตไว้ให้ เมื่อพระบิดา พระมารดาเสด็จไปถึง พระเตมีย์จึงเสด็จมาต้อนรับ ทักทายปราศรัยกันด้วยความยินดี พระราชาเห็นพระโอรสผนวชเป็นฤาษี เสวยใบไม้ลวก เป็นอาหาร และประทับอยู่ลำพังในป่า จึงตรัสถามว่าเหตุใด จึงยังมีผิวพรรณผ่องใส ร่างกายแข็งแรง พระเตมีย์ตรัส ตอบพระบิดาว่า
"อาตมามีร่างกายแข็งแรง ผิวพรรณผ่องใส เพราะไม่ต้องเศร้าโศกถึงอดีต ไม่ต้องรอคอยอนาคต อาตมาใช้ชีวิตให้เป็นไปตามที่สมควรในปัจจุบัน คนพาลนั้นย่อมซูบซีดเพราะมัวโศกเศร้าถึงอดีต เพราะมัวรอคอยอนาคต"
พระราชาตรัสตอบว่า
"ลูกยังหนุ่มยังแน่นแข็งแรง จะมามัวอยู่ทำอะไรในป่า กลับไปบ้านเมืองเถิดกลับ ไปครองราชสมบัติ มีโอรสธิดา เมื่อชราแล้วจึงค่อยมาบวช"
พระเตมีย์ตรัสตอบว่า
"การบวชของคนหนุ่มย่อมเป็นที่สรรเสริญ ใครเล่าจะนอนใจได้ว่ายังเป็นหนุ่ม ยังอยู่ไกลจากความตาย อายุคนนั้นสั้นนัก เหมือนอายุของปลาในเวลาที่น้ำน้อย"
พระราชาตรัสขอให้พระเตมีย์กลับไปครองราชสมบัติ ทรงกล่าวชักชวนให้นึกถึงความสุขสบายต่างๆ พระเตมีย์จึงตรัสตอบว่า
"วันคืนมีแต่จะล่วงเลยไป ผู้คนมีแต่ จะแก่ เจ็บและตาย จะเอาสมบัติไปทำอะไร ทรัพย์สมบัติและ ความสุขทั้งหลายเอาชนะความตายไม่ได้ อาตมาพ้นจาก ความผูกพันทั้งหลายแล้ว ไม่ต้องการทรัพย์สมบัติอีกแล้ว"
เมื่อพระราชาได้ยินดังนั้น จึงเห็นประโยชน์อันใหญ่ยิ่ง ในการออกบวช ทรงประสงค์ที่จะละทิ้งราชสมบัติออกบวช พระมเหสี และเสนาข้าราชบริพารทั้งปวง รวมทั้งบรรดา ประชาชนทั้งหลายในเมืองพาราณสี ก็พร้อมใจกันออกบวช บำเพ็ญเพียรโดยทั่วหน้ากัน เมื่อตายไปก็ได้ไปเกิดในสวรรค์ พ้นจากความผูกพัน ในโลกมนุษย์ ทั้งนี้เป็นด้วยพระเตมีย์กุมาร ทรงมีความอดทนมีความตั้งใจ อันมั่นคงแน่วแน่ในการที่ไม่ก่อเวร ทำบาป ทรงมุ่งมั่นอดทน จนประสบผลสำเร็จดังที่หวัง เหมือนดังที่ทรงรำพึงว่า
" ผู้ที่ไม่ใจเร็วด่วนได้ ผู้ที่มีความอดทน ย่อมได้รับผลสำเร็จด้วยดี "
คติธรรม : บำเพ็ญเนกขัมมบารมี
"เมื่อมีประสงค์ในสิ่งใดก็สมควรมุ่งมั่นตั้งใจกระทำตามความมุ่งหมายนั้นอย่างหนักแน่น อดทนอย่างเพียรพยายามเป็นที่สุด และความพากเพียรอันเด็ดเดี่ยวแน่วแน่นั้น ย่อมนำบุคคลนั้นไปสู่ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่อย่างแท้จริง"
http://www.dhammathai.org/chadok/legend01.php
โดย: Sornpraram เวลา: 2018-5-17 06:23
๒ ชนกชาดก (พระมหาชนก)
ดาวน์โหลดเสียงธรรมะนิทานเรื่อง พระมหาชนก
ณ เมืองมิถิลาแห่งรัฐวิเทหะ พระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระนามว่า พระเจ้ามหาชนกทรงมีพระโอรสสององค์ คือ เจ้าอริฏฐชนก และ เจ้าโปลชนก เจ้าอริฏฐชนกทรงเป็นอุปราชส่วนเจ้าโปลชนกทรงเป็นเสนาบดี
เมื่อพระราชบิดาสวรรคต เจ้าอริฏฐชนกผู้เป็นอุปราชก็ได้ครองบ้านเมืองต่อมา เจ้าโปลชนกทรงเป็นอุปราช ทรงเอาใจใส่ดูแลบ้านเมืองช่วยเหลือพระเชษฐาอย่างดียิ่ง มีอำมาตย์คนหนึ่งไม่พอใจพระเจ้าโปลชนกจึงหาอุบายให้ พระราชาอริฏฐชนกระแวงพระอนุชา โดยทูลพระราชาว่า เจ้าโปลชนกคิดขบถจะปลงพระชนม์พระราชา พระราชาทรงเชื่อคำอำมาตย์จึงให้จับเจ้าโปลชนกไปขังไว้
เจ้าโปลชนกเสด็จหนีไปจากที่คุมขังได้หลบไปอยู่ที่ชายแดนเมืองมิถิลา เจ้าโปลชนกทรงคิดว่าเมื่อครั้งที่ยังเป็นอุปราชนั้น มิได้เคยคิดร้ายต่อพระราชาผู้เป็นพี่เลยแต่ก็ยังถูกระแวงจนต้องหนีมา ถ้าพระราชาทรงรู้ว่า อยู่ที่ไหนก็คงให้ทหารมาจับไปอีกจนได้ บัดนี้ผู้คนมากมายที่ชายแดนที่เห็นใจและพร้อมที่จะเข้าเป็นพวกด้วย ควรที่จะรวบรวมผู้คนไปโจมตีเมืองมิถิลาเสียก่อนจึงจะดีกว่า
เมื่อคิดดังนั้นแล้วเจ้าโปลชนกก็พาสมัครพรรคพวกยกเป็นกองทัพไปล้อมเมืองมิถิลา บรรดาทหารแห่งเมืองมิถิลาพากัน เข้ากับเจ้าโปลชนกอีกเป็นจำนวนมากเพราะเห็นว่าเจ้าโปลชนกเป็นผู้ซื่อสัตย์และมีความสามารถ แต่กลับถูกพระราชาระแวง และจับไปขังไว้โดยไม่ยุติธรรม
ครั้นเมื่อเจ้าโปลชนกมีผู้คนไพร่พลเข้าสมทบด้วยเป็นจำนวนมากมายเช่นนี้ พระเจ้าอริฏฐชนกทรงเห็นว่าไม่มีทางจะเอาชนะได้จึงตรัสสั่งพระมเหสีซึ่งกำลังทรงครรภ์แก่ให้ทรงหลบหนีเอาตัวรอด ส่วนพระองค์เองทรงออกทำสงครามและสิ้นพระชนม์ในสนามรบ เจ้าโปลชนกจึงทรงได้เป็นกษัตริย์ครองเมืองมิถิลาสืบต่อมา
ฝ่ายพระมเหสีของพระเจ้าอริฏฐชนกเสด็จหนีออกจากเมืองมาตั้งพระทัยจะเสด็จไปอยู่เมืองกาลจัมปากะแต่กำลังทรงครรภ์แก่ เดินทางไม่ไหวด้วยเดชานุภาพแห่งพระโพธิสัตว์ซึ่งอยู่ในพระครรภ์พระอินทร์จึงเสด็จมาช่วย ทรงแปลงกายเป็นชายชราขับเกวียนมาที่ศาลาที่พระนางพักอยู่และถามขึ้นว่า
"มีใครจะไปเมืองกาลจัมปากะบ้าง"
พระนางดีพระทัยรีบตอบว่า "ลุงจ๋า ฉันจะไปจ๊ะ"
พระอินทร์แปลงจึงรับพระนางขึ้นเกวียน พาเดินทางไป เมืองกาลจัมปากะ ด้วยอานุภาพเทวดา แม้ระยะทาง ไกลถึง 60 โยชน์ เกวียนนั้นก็เดินทางไปถึงเมืองในชั่ววันเดียว
พระมเหสีเสด็จไปนั่งพักอยู่ในศาลาแห่งหนึ่งในเมืองนั้น บังเอิญมีพราหมณ์ทิศาปาโมกข์ผู้หนึ่งเดินผ่านมาเห็นพระนางเข้าก็เกิดความเอ็นดูสงสารจึงเข้าไปไต่ถาม พระนางก็ตอบว่าหนีมาจากเมืองมิถิลา และไม่มีญาติพี่น้องอยู่ที่เมืองนี้เลย พราหมาณ์ทิศาปาโมกข์จึงรับพระนางไปอยู่ด้วย ที่บ้านของตนอุปการะเลี้ยงดูพระนางเหมือนเป็นน้องสาว ไม่นานนักพระนางก็ประสูติพระโอรสทรงตั้งพระนามว่า มหาชนกกุมาร ซึ่งเป็นพระนามของพระอัยกาของพระกุมาร มหาชนกกุมารทรงเติบโตขึ้นในเมืองกาลจัมปากะ มีเพื่อนเล่นเด็กๆ วัยเดียวกันเป็นจำนวนมาก
วันหนึ่งมหาชนกกุมารโกรธกับเพื่อนเล่นจึงลากเด็กคนนั้นไปด้วยกำลังมหาศาล เด็กก็ร้องไห้บอกกับคนอื่นๆ ว่าลูกหญิงม่ายรังแกเอา มหาชนกกุมารได้ยินก็แปลกพระทัยจึงไปถามพระมารดาว่า
"ทำไมเพื่อนๆ พูด ว่า ลูกเป็นลูกแม่ม่าย พ่อของลูกไปไหน"
พระมารดาตอบว่า
"ก็ท่านพราหมณ์ทิศา ปาโมกข์นั่นแหล่ะเป็น พ่อของลูก"
เมื่อมหาชนกกุมารไปบอกเพื่อนเล่นทั้งหลายเด็กเหล่านั้นก็หัวเราะเยาะบอกว่า
"ไม่จริง ท่านอาจารย์ทิศาปาโมกข์ไม่ใช่พ่อของเจ้า"
มหาชนกก็กลับมาทูลพระมารดา อ้อนวอนให้บอกความจริง พระมารดาขัดไม่ได้ จึงตรัสเล่าเรื่องทั้งหมดให้พระโอรสทรงทราบ
เมื่อพระกุมารทราบว่าพระองค์ทรงมีความเป็นมาอย่างไรก็ทรงตั้งพระทัยว่าจะร่ำเรียนวิชาการเพื่อให้มีความรู้ความสามารถ จะได้เสด็จไปเอาราชสมบัติเมืองมิถิลาคืนมา
ครั้นมหาชนกกุมารร่ำเรียนวิชาในสำนักพราหมณ์จนเติบใหญ่ พระชนม์ได้ 16 พรรษาจึงทูลพระมารดาว่า
"หม่อมฉันจะเดินทาง ไปค้าขาย เมื่อมีทรัพย์สินมากพอแล้ว จะได้คิดอ่าน เอาบ้านเมืองคืนมา"
พระมารดาทรงนำเอาทรัพย์สินมีค่ามาจากมิถิลา 3 สิ่ง คือ แก้วมณี แก้วมุกดา และแก้ววิเชียร อันมีราคามหาศาล จึงประทานแก้วนั้นให้พระมหาชนกเพื่อนำไปซื้อสินค้า
พระมหาชนกทรงจัดซื้อสินค้าบรรทุกลงเรือร่วมไปกับพ่อค้าชาวสุวรรณภูมิในระหว่างทางเกิดพายุใหญ่โหมกระหน่ำ คลื่นซัดจนเรือจวนจะแตก บรรดาพ่อค้าและลูกเรือพากันตระหนกตกใจบวงสรวงอ้อนวอนเทพยดาขอให้รอดชีวิต
ฝ่ายมหาชนกกุมารเมื่อทรงทราบว่าเรือจะจมแน่แล้วก็เสวยอาหารจนอิ่มหนำทรงนำผ้ามาชุบน้ำมันจนชุ่ม แล้วนุ่งผ้านั้นอย่างแน่นหนา
ครั้นเมื่อเรือจมลงเหล่าพ่อค้ากลาสีเรือทั้งปวงก็จมน้ำกลายเป็นอาหารของสัตว์น้ำไปหมด แต่พระมหาชนกทรงมีกำลังจากอาหารที่เสวยมีผ้าชุบน้ำมันช่วยไล่สัตว์น้ำและช่วยให้ลอยตัวอยู่ในน้ำได้ดี จึงทรงแหวกว่าย อยู่ในทะเลได้นานถึง 7 วัน
ฝ่ายนางมณีเมขลาเทพธิดาผู้รักษามหาสมุทรเห็นพระมหาชนกว่ายน้ำอยู่เช่นนั้นจึงลองพระทัยพระมหาชนก
"ใครหนอ ว่ายน้ำอยู่ได้ถึง 7 วัน ทั้งๆ ที่มองไม่เห็นฝั่ง จะทนว่ายไปทำไมกัน"
พระมหาชนกทรงตอบว่า
"ความเพียรย่อมมีประโยชน์ แม้จะมองไม่เห็นฝั่ง เราก็จะว่ายไปจนกว่าจะถึง ฝั่งเข้าสักวันหนึ่ง"
นางมณีเมขลากล่าวว่า
"มหาสมุทรนี้กว้างใหญ่นัก ท่านจะพยายามว่ายสักเท่าไรก็คงไม่ถึงฝั่ง ท่านคงจะ ตายเสียก่อนเป็นแน่"
พระมหาชนกตรัสตอบว่า
"คนที่ทำความเพียรนั้น แม้จะต้องตายไปในขณะกำลังทำ ความเพียรพยายามอยู่ ก็จะไม่มีผู้ใดมาตำหนิติเตียนได้ เพราะได้ทำหน้าที่เต็มกำลังแล้ว "
โดย: Sornpraram เวลา: 2018-5-17 06:24
นางมณีเมขลาถามต่อว่า
"การทำความพยายามโดยมองไม่เห็น ทางบรรลุเป้าหมายนั้น มีแต่ความยากลำบาก อาจถึงตายได้ จะต้องเพียรพยายามไปทำไมกัน"
พระมหาชนกตรัสตอบว่า
"แม้จะรู้ว่าสิ่งที่เรา กำลังกระทำนั้นอาจไม่สำเร็จก็ตาม ถ้าไม่เพียรพยายามแต่กลับหมดมานะเสียแต่ต้นมือ ย่อมได้รับ ผลร้ายของความเกียจคร้านอย่างแน่นอน ย่อมไม่มีวัน บรรลุถึงเป้าหมายที่ต้องการ บุคคลควรตั้งความเพียรพยายาม แม้การนั้นอาจไม่สำเร็จก็ตาม เพราะเรามีความพยายาม ไม่ละความตั้งใจ เราจึงยังมีชีวิตอยู่ได้ ในทะเลนี้ เมื่อคนอื่นได้ตายกันไปหมดแล้ว เราจะพยายามสุดกำลัง เพื่อไปให้ถึงฝั่งให้จงได้"
นางมณีเมขลาได้ยินดังนั้นก็เอ่ยสรรเสริญความเพียรของมหาชนกกุมารและช่วยอุ้มพามหาชนกกุมารไปจนถึงฝั่งเมืองมิถิลา วางพระองค์ไว้ที่ศาลาในสวนแห่งหนึ่ง
ในเมืองมิถิลา พระราชาโปลชนกไม่มีพระโอรสทรงมีแต่พระธิดาผู้ฉลาดเฉลียวเป็นอย่างยิ่ง พระนามว่าเจ้าหญิงสิวลี ครั้นเมื่อพระองค์ประชวรหนักใกล้จะสวรรคตบรรดาเสนาทั้งปวงจึงทูลถามขึ้นว่า เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์แล้วราชสมบัติ ควรจะตกเป็นของผู้ใดในเมื่อไม่ทรงมีพระโอรส พระเจ้าโปลชนกตรัสสั่งเสนาว่า
"ท่านทั้งหลายจงมอบราชสมบัติให้แก่ผู้มีความสามารถดังต่อไปนี้
ประการแรก เป็นผู้ที่ทำให้พระราชธิดาของเราพอพระทัยได้
ประการที่สอง สามารถรู้ว่าด้านไหนเป็นด้านหัวนอนของบัลลังก์รูปสี่เหลี่ยม
ประการที่สาม สามารถยกธนูใหญ่ซึ่งต้องใช้แรงคนธรรมดาถึงพันคนจึงจะยกขึ้นได้ ป
ระการที่สี่ สามารถชี้บอกขุมทรัพย์มหาศาลทั้ง 13 แห่งได้"
แล้วจึงตรัสบอกปัญหาของขุมทรัพย์ทั้ง 13 แห่งแก่เหล่าอำมาตย์ เช่น ขุมทรัพย์ที่ดวงอาทิตย์ขึ้น ขุมทรัพย์ที่ดวงอาทิตย์ตก ขุมทรัพย์ที่อยู่ภายใน ขุมทรัพย์ที่อยู่ภายนอก ขุมทรัพย์ที่ไม่ใช่ภายในและภายนอก ขุมทรัพย์ที่ปลายไม้ ขุมทรัพย์ที่ปลายงา ขุมทรัพย์ที่ปลายหาง เป็นต้น
เมื่อพระราชาสิ้นพระชนม์ บรรดาเสนาบดีทหารพลเรือนและประชาราษฎร์ทั้งหลายต่างพยายามที่จะเป็นผู้สืบราชสมบัติ แต่ก็ไม่มีผู้ใดสามารถทำให้เจ้าหญิงสีวลีพอพระทัยได้ เพราะล้วนแต่พยายามเอาพระทัยเจ้าหญิงมากเกินไป จนเสียลักษณะของผู้ที่จะปกครองบ้านเมือง ไม่มีผู้ใดสามารถยกมหาธนูใหญ่ได้ ไม่มีผู้ใดรู้ทิศหัวนอนของบัลลังก์สี่เหลี่ยม และไม่มีผู้ใดไขปริศนาขุมทรัพย์ได้
ในที่สุดบรรดาเสนาข้าราชบริพารจึงควรตั้งพิธีเสี่ยงราชรถเพื่อหาตัวบุคคลผู้มีบุญญาธิการสมควรครองเมือง บุษยราชรถเสี่ยงทายนั้นก็แล่นออกจากพระราชวัง ตรงไปที่สวนแล้วหยุดอยู่หน้าศาลาที่พระมหาชนกทรงนอนอยู่ ปุโรหิตที่ตามราชรถจึงให้ประโคมดนตรีขึ้น พระมหาชนกได้ยินเสียงประโคม จึงลืมพระเนตรขึ้นเห็นราชรถก็ทรงดำริว่า คงเป็นราชรถเสี่ยงทายพระราชาผู้มีบุญเป็นแน่ แต่ก็มิได้แสดงอาการอย่างใดกลับบรรทมต่อไป
ปุโรหิตเห็นดังนั้น ก็คิดว่าบุรุษผู้นี้เป็นผู้มีสติปัญญาไม่ตื่นเต้นตกใจกับสิ่งใดโดยง่ายจึงเข้าไปตรวจดูพระบาทพระมหาชนก เห็นลักษณะต้องตามคำโบราณว่าเป็นผู้มีบุญจึงให้ประโคมดนตรีขึ้นอีกครั้งแล้วเข้าไปทูลอัญเชิญ พระมหาชนกให้ทรงเป็นพระราชาเมืองมิถิลา พระมหาชนกตรัสถามว่า
"พระราชาไปไหนเสีย"
ปุโรหิตก็กราบทูลว่า
"พระราชาสวรรคต ไม่มีพระโอรสมีแต่พระธิดาคือเจ้าหญิงสิวลี แต่องค์เดียว "
พระมหาชนกจึงทรงรับเป็นกษัตริย์ครองมิถิลา
ฝ่ายเจ้าหญิงสิวลีได้ทรงทราบว่าพระมหาชนกได้ราชสมบัติก็ประสงค์จะทดลองว่าพระมหาชนกสมควรเป็นกษัตริย์หรือไม่ จึงให้ราชบุรุษไปทูลเชิญเสด็จมาที่ปราสาทของพระองค์ พระมหาชนกก็เฉยเสียมิได้ไปตามคำทูล เจ้าหญิงให้คนไปทูลถึง 3 ครั้ง พระมหาชนกก็ไม่สนพระทัย จนถึงเวลาหนึ่งก็เสด็จไปที่ปราสาทของเจ้าหญิงเองโดยไม่ทรงบอกล่วงหน้า เจ้าหญิงตกพระทัยรีบเสด็จมาต้อนรับเชิญไปประทับบนบัลลังก์
พระมหาชนกจึงตรัสถามอำมาตย์ว่าพระราชาที่สิ้นพระชนม์ ตรัสสั่งอะไรไว้บ้าง อำมาตย์ก็ทูลตอบ
พระมหาชนกจึงตรัสสั่งว่า ข้อที่ 1
"ที่ว่าทำให้เจ้าหญิงพอพระทัย เจ้าหญิงได้ แสดงแล้วว่าพอพระทัยเราจึงได้เสด็จมาต้อนรับเรา"
ข้อที่ 2 เรื่องปริศนาทิศหัวนอนบัลลังก์นั้น พระมหาชนกทรงคิดอยู่ครู่หนึ่งแล้วถอดเข็มทองคำที่กลัดผ้าโพกพระเศียรออก ส่งให้เจ้าหญิงให้วางเข็มทองคำไว้ เจ้าหญิงทรงรับเข็มไปวางไว้บนบัลลังก์สี่เหลี่ยม พระมหาชนกจึงทรงชี้บอกว่าตรงที่เข็มวาง อยู่นั้นแหละคือทิศหัวนอนของบัลลังก์ โดยสังเกต จากการที่เจ้าหญิงทรงวางเข็มทองคำจากพระเศียรไว้
ข้อที่ 3 นั้นก็ตรัสสั่งให้นำมหาธนูมาทรงยกขึ้นและน้าวอย่างง่ายดาย
ข้อที่ 4 เมื่ออำมาตย์กราบทูลถึงปัญหาของขุมทรัพย์ทั้ง 13 แห่ง พระมหาชนกทรงคิดอยู่ครู่หนึ่ง แล้วก็ ตรัสบอกคำแก้ปริศนา ขุมทรัพย์ทั้ง 13 แห่งได้หมด เมื่อสั่งให้คนไปขุดดู ก็พบขุมทรัพย์ ตามที่ตรัสบอกไว้ทุกแห่ง ผู้คนจึงพากันสรรเสริญปัญญาของ พระมหาชนกกันทั่วทุกแห่งหน
โดย: Sornpraram เวลา: 2018-5-17 06:24
พระมหาชนกโปรดให้เชิญพระมารดาและพราหมณ์ทิศาปาโมกข์จากเมืองกาลจัมปากะ ทรงอุปถัมภ์ บำรุงให้สุขสบาย ตลอดมา จากนั้นทรงสร้างโรงทานใหญ่ 6 ทิศในเมืองมิถิลา ทรงบริจาคมหาทานเป็นประจำ เมืองมิถิลาจึงมีแต่ความผาสุก สมบูรณ์ เพราะพระราชาทรงอยู่ในทศพิธราชธรรม ต่อมาพระนางสิวลีประสูติพระโอรส ทรงนามว่า ทีฆาวุกุมาร เมื่อเจริญวัยขึ้น พระบิดาโปรดให้ดำรงตำแหน่งอุปราช
อยู่มาวันหนึ่ง พระราชามหาชนกเสด็จอุทยานทอดพระเนตร เห็นมะม่วงต้นหนึ่งกิ่งหัก ใบไม้ร่วง อีกต้นมีใบแน่นหนา ร่มเย็นเขียวชอุ่ม จึงตรัสถาม อำมาตย์กราบทูลว่าต้นมะม่วง ที่มีกิ่งหักนั้น เป็นเพราะรสมีผลอร่อย ผู้คนจึงพากันสอยบ้าง เด็ดกิ่งและขว้างปาเพื่อเอาบ้าง จนมีสภาพเช่นนั้น ส่วนอีกต้น ไม่มีผล จึงไม่มีคนสนใจ ใบและกิ่งจึงสมบูรณ์เรียบร้อยดี พระราชาได้ฟังก็ทรงคิดว่า ราชสมบัติ เปรียบเหมือน ต้นไม้มีผลอาจถูกทำลาย แม้ไม่ถูกทำลายก็ต้องคอย ระแวดระวังรักษา เกิดความกังวล เราจะทำตนเป็นผู้ ไม่มีกังวลเหมือนต้นไม้ไม่มีผล เราจะออกบรรพชา สละราชสมบัติเสีย มิให้เกิดกังวล
พระราชาเสด็จกลับมาปราสาท ปลงพระเกศาพระมัสสุ ครองผ้ากาสาวพัสตร์ ครองอัฏฐบริขารครบถ้วน แล้วเสด็จออกจากมหาปราสาทไป
ครั้นพระนางสิวลีทรงทราบ ก็รีบติดตามมา ทรงอ้อนวอนให้ พระราชาเสด็จกลับ พระองค์ก็ไม่ยินยอม พระนางสิวลีจึงทำอุบายให้อำมาตย์ เผาโรงเรือนเก่าๆ และ กองหญ้า กองใบไม้ เพื่อให้พระราชา เข้าพระทัยว่าไฟไหม้พระคลังจะได้เสด็จกลับ
พระราชาตรัสว่า พระองค์เป็นผู้ไม่มีสมบัติแล้ว สมบัติที่แท้จริงของพระองค์ คือความสุขสงบจากการบรรพชานั้นยังคงอยู่กับพระองค์ ไม่มีผู้ใดทำลายได้ พระนางสิวลีทรงทำอุบายสักเท่าไร พระราชาก็มิได้สนพระทัย และตรัสให้ประชาชนอภิเษก พระทีฆาวุราชกุมารขึ้นเป็นกษัตริย์ เพื่อปกครองมิถิลาต่อไป
พระนางสิวลีไม่ทรงละความเพียร พยายามติดตาม พระมหาชนกต่อไปอีก
วันรุ่งขึ้นมีสุนัขคาบเนื้อที่เจ้าของเผลอ วิ่งหนีมาพบผู้คนเข้าก็ตกใจทิ้งชิ้นเนื้อไว้ พระมหาชนกคิดว่า ก้อนเนื้อนี้เป็นของไม่มีเจ้าของ สมควรที่จะเป็นอาหารของเราได้ จึงเสวยก้อนเนื้อนั้น พระนางสิวลีทรงเห็นดังนั้น ก็เสียพระทัยอย่างยิ่ง ที่พระสวามีเสวยเนื้อที่สุนัขทิ้งแล้ว แต่พระมหาชนกว่า นี่แหล่ะเป็นอาหารพิเศษ
ต่อมาทั้งสองพระองค์ทรงพบเด็กหญิงสวมกำไลข้อมือ ข้างหนึ่งมีกำไลสองอัน อีกข้างมีอันเดียว
พระราชาตรัสถามว่า
"ทำไมกำไลข้างที่มีสองอันจึงมีเสียงดัง"
เด็กหญิงตอบว่า
"เพราะกำไลสองอันนั้น กระทบกันจึงเกิดเสียงดัง ส่วนที่มี ข้างเดียวนั้นไม่ได้กระทบกับอะไรจึงไม่มีเสียง"
พระราชาจึง ตรัสแนะให้ พระนางคิดพิจารณาถ้อยคำของเด็กหญิง กำไลนั้นเปรียบเหมือนคนที่อยู่สองคน ย่อมกระทบกระทั่งกัน ถ้าอยู่คนเดียวก็จะสงบสุข แต่พระนางสิวลียังคงติดตามพระราชาไปอีก จนมาพบนายช่างทำลูกศร
นายช่างทูลตอบคำถามพระราชาว่า
"การที่ต้องหลับตาข้างหนึ่งเวลาดัด ลูกศรนั้น ก็เพราะถ้าลืมตาสอง ข้างจะไม่เห็นว่าข้างไหนคด ข้างไหนตรง เหมือนคนอยู่สองคนก็จะขัดแย้งกัน ถ้าอยู่คนเดียวก็ไม่ขัดแย้ง กับใคร"
พระราชาตรัสเตือนพระนางสิวลีอีกครั้งหนึ่งว่า พระองค์ประสงค์จะเดินทางไปตามลำพัง เพื่อแสวงหา ความสงบไม่ประสงค์จะมีเรื่องขัดแย้งกระทบกระทั่ง หรือความไม่สงบอันเกิดจากการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น อีกต่อไป
พระนางสิวลีได้ฟังพระวาจาดังนั้นก็น้อยพระทัยจึงตรัสว่า
"ต่อไปนี้หม่อมฉันหมดวาสนาจะได้อยู่ร่วมกับ พระองค์อีกแล้ว"
พระราชาจึงเสด็จไปสู่ป่าใหญ่แต่ลำพังเพื่อบำเพ็ญสมาบัติ มิได้กลับมาสู่พระนครอีก
ส่วนพระนางสิวลีเสด็จกลับเข้าสู่ พระราชวัง อภิเษกพระทีฆาวุกุมารขึ้นเป็นพระราชา แล้วพระนางโปรดให้สร้างเจดีย์ขึ้นในที่ต่างๆ เพื่อรำลึกถึง พระราชามหาชนก ผู้ทรงมีพระสติปัญญา และที่ยิ่งกว่าสิ่งอื่นใด คือ ทรงมีความ เพียรพยายามเป็นเลิศ มิได้เคยเสื่อมถอย จากความเพียร ทรงตั้งพระทัยที่จะกระทำการโดยเต็มกำลัง ความสามารถ เพราะทรงยึดมั่นว่า บุคคลควรตั้งความเพียรพยายามไม่ว่ากิจการนั้น จะยากสักเพียงใด ก็ตาม คนมีปัญญาแม้ได้รับทุกข์ ก็จะไม่สิ้นหวัง ไม่สิ้นความเพียรที่จะพาตนให้พ้นจากความทุกข์นั้นให้ ได้ในที่สุด
คติธรรม : บำเพ็ญวิริยบารมี
"เกิดเป็นคนควรมีความพากเพียรให้ถึงที่สุด เพื่อให้ถึงแก่สิ่งที่มุ่งหวัง เพียรสุดกำลังจนชีวิตหาไม่ก็จงเพียร แล้วความสำเร็จจะมาเยือน"
http://www.dhammathai.org/chadok/legend02.php
โดย: Nujeab เวลา: 2018-5-17 11:47
สาธุ สาธุ สาธุ
โดย: Sornpraram เวลา: 2018-5-18 06:44
หัวใจทศชาติ หรือหัวใจพระเจ้าสิบชาติ
บทพระคาถาหัวใจทศชาติหรือพระเจ้าสิบชาติ แท้จริงคือ ชื่อย่อของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน คือสมเด็จพระพุทธโคตะมะ ศรีศากยะมุนี เมื่อครั้งที่พระองค์ยังเป็นพระโพธิสัตว์ โดย คำสิบคำอันได้แก่ “เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว”
นั้นคือชื่อย่อเริ่มต้นของแต่ละชาติที่พระองค์เสวยชาติบำเพ็ญบารมี จนกระทั่งบารมีทั้งสิบนั้นได้เต็มครบถ้วนบริบูรณ์เป็นบารมีสามสิบทัศน์
เต ย่อมาจาก พระเตเมีย์ = เนกขัมมะบารมี
ชะ ย่อมาจาก พระมหาชนก = วิริยะบารมี
สุ ย่อมาจาก พระสุวรรณสาม = เมตตาบารมี
เน ย่อมาจาก พระเนมีราชย์ = อธิษฐานะบารมี
มะ ย่อมาจาก พระมโหสถ = ปัญญาบารมี
ภู ย่อมาจาก พระภูริทัต = ศีละบารมี
จะ ย่อมาจาก พระจันทกุมาร = ขันติบารมี
นา ย่อมาจาก พระนารทพรหม = อุเบกขาบารมี
วิ ย่อมาจาก พระวิฑูรย์บัณฑิต = สัจจะบารมี
เว ย่อมาจาก พระเวสสันดร = ทานะบารมี
= เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว
บทสวด ภาวนานี้ทางโบราณจารย์ได้กล่าวสรรเสริญคุณไว้มากมายมาก จัดเป็นหนึ่งในพระคาถาศักดิ์สิทธิ์ เป็นพระคาถาแห่งความสำเร็จทุกประการ ผู้ใดได้หมั่นสวดมนต์ เจริญภาวนาบทพระคาถานี้จนกระทั่งจิตสงบ ตั้งมั่นเป็นสมาธิฌานคือความสว่าง โล่ง โปร่ง สบาย
มีจิตที่เป็นกุศล มีสติระลึกรู้อยู่ในกาย ในจิตได้ คนเหล่านั้นจะเกิดมีแต่ความเจริญรุ่งเรือง ปลอดภัยจากภยันตรายทั้งหลายทั้งปวง เมื่อเจริญอยู่เป็นนิจจะทำให้ไม่ขาดแคลนในเครื่องอุปโภค บริโภค มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด จากคนจนจะเริ่มมีกินมีใช้และร่ำรวยขึ้น จากคนรวยจะยิ่งร่ำรวยทั้งทางโลกและทางธรรม หากแม้นผู้ใดตกอยู่ในเคราะห์กรรมที่หนักร้าย
ก็จะสามารถช่วยสลายภัยแห่งเคราะห์กรรมนั้นให้กลายเป็นดีขึ้นมาได้อย่างรวดเร็วขึ้น
พระคาถานี้ยังช่วยทำให้จิตใจของผู้หมั่นเจริญสวดมนต์ ภาวนาอยู่นั้นเกิดมีจิตที่มีเมตตายิ่งขึ้นไป เกิดกลายเป็นเสน่ห์เป็นเมตตามหานิยม อีกทั้งสามารถถอดถอนคุณไสยดำคุณคนจากพาลชนทั้งหลายได้ ถอนอาถรรพ์แผ่นดิน หรือช่วยสลายบาปธรรมคำสาปร้ายทั้งหลายให้หายสิ้นไปได้ สามารถป้องกันภัยจากภยันตรายทั้งน้อยและใหญ่ทั้งปวง
ทั้งเป็นแก้วสารพัดนึกแก่ผู้ท่องบ่นเจริญภาวนา และเมื่อนำมาร่วมกับการเจริญวิปัสนากรรมฐานแล้วจะทำให้เกิดเป็นตบะบารมีก้าวเข้าสู่ห้วงแห่งฝั่งปรมัตถ์
ทั้งฝั่งโพธิญาณสำหรับคนที่ปรารถนาพุทธภูมิ และ การเข้าถึง มรรค ถึง ผล ของผู้ปรารถนาแห่งการพ้นทุกข์เข้าสู่พระนิพพานในชาติปัจจุบัน
หากแม้นยังไม่สามารถเข้าถึงฝั่งนิพพานได้ในทันที ก็จะเป็นปัจจัยให้เขาเหล่านั้นได้เสวยสุขอยู่บนสรวงสวรรค์ชั้นฟ้า และพรหม
รอวันที่จะเกิดพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในอนาคตกาลและบรรลุมรรคผลไปตามพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ในอนาคตกาลนั้นแล
โดย: Sornpraram เวลา: 2018-5-18 06:49
พระคาถา เนื่องด้วยพระโพธิสัตว์
.....ต้นทุนแห่งบุญกุศลที่พระโพธิสัตว์ท่านสั่งสมไว้นั้นไม่ได้หายไปไหน ยังมีให้ชาวพุทธเราพึ่งพาได้อยู่ตลอด..... ...เมื่อยามที่เราอยู่โดดเดี่ยวสู้ปัญหาอยู่เพียงลำพังก็อย่าเพิ่งคิดว่าไม่มีใคร แม้ผืนแผ่นดินที่ว่ากว้างใหญ่ไพศาลนี้ก็ยังเต็มไปด้วยซากสังขารที่พระโพธิสัตว์เคยสละชีวิตเพื่อสรรพสัตว์มาแล้วนับไม่ถ้วน แล้วจะกลัวไปไย.....
พุทธการกธรรม ธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า
คนสมัยก่อนเล่าขานพรรณนาตำนานการสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์กันไว้อย่างพิสดารว่า
ไม่ว่าจะเอานิ้วมือหรือเข็ม จิ้มลงไปในผืนแผ่นดิน ณ ที่แห่งใดก็ตาม ไม่มีสักครั้งหรือไม่มีที่สักแห่งเดียวที่จะไม่ใช่เป็นที่ของซากสังขารอันพระโพธิสัตว์ได้เสวยชาติ เกิดแล้วตายเล่า นับไม่ถ้วน อุทิศชีวิตสั่งสมพุทธบารมีเพื่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย
คำเล่าขานพรรณนาจะเกี่ยวเนื่องด้วยข้อเท็จจริงในทางใดบ้างนั้นเราไม่อาจทราบได้ แต่ถ้าหากพรรณนาถึง น้ำใจอันวิเศษสุด ของพระโพธิสัตว์ที่สั่งสม พุทธการกธรรม(ธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า) แล้ว ก็น่าจะทำให้เรารำลึกถึงความเป็นพระโพธิสัตว์และพระคุณอันนั้นได้บ้าง
คนโบราณมีความเชื่อในลักษณะที่ว่า เหล่า เวไนยสัตว์ หรือ สัตว์ที่สั่งสอนได้ ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องและเกิดในร่มพระบารมีของพระพุทธเจ้า ย่อมสามารถจะน้อมเอาพระบารมีพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งและรวมถึงสามารถน้อมเอาพระบารมีของพระองค์ตั้งแต่เมื่อครั้งยังเสวยชาติเป็นพระโพธิสัตว์นั้นมาเป็นที่พึ่งอีกด้วย ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะว่าในแต่ละพระชาตินั้นมีความพิเศษและโดดเด่นที่หลากหลายแตกต่างกันในพระบารมีแต่ละด้าน
พระเจ้าสิบชาติ หมายถึงสิบพระชาติหลังตามลำดับจนถึงสุดท้ายก่อนที่มาถึงชาติที่เป็น พระสิทธัตถะ อันได้แก่ พระเตมีย์ พระมหาชนก พระสุวรรณสาม พระเนมิราช พระมโหสถ พระภูริทัต พระจันทกุมาร พระพรหมนารอท พระวิทูรย์บัณฑิต และ พระเวสสันดร มีความโดดเด่นคือความครบถ้วนบริบูรณ์ในพระบารมีทุกด้าน คนโบราณถอดอักขระออกมาเป็น หัวใจทศชาติ คือ เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว
ต้นทุนบุญกุศล
ถ้าศึกษาพระคาถาโบราณ เรามักจะพบข้อความบรรยายอานุภาพของพระคาถาในทำนองว่า “...กินมิรู้สิ้นแล.....” หรือ “...ใช้ได้สารพัด.....ฝอยท่วมหลังช้าง.....” หากพิจารณาโดยรวมหรือความหมายโดยนัยก็พอจะประมวลได้ว่า คนโบราณท่านน่าจะหมายถึง พระคุณหรืออานุภาพอันไม่มีประมาณนั่นเอง
อันที่จริงก็น่าจะเป็นเช่นนั้น อย่าว่าแต่ความศักดิ์สิทธิ์ของพระคาถาเลย แค่คนเรานึกถึง ความเพียรแหวกว่ายน้ำอยู่กลางมหาสมุทรที่มองไม่เห็นฝั่งของพระมหาชนก หรือ ความเพียรของกระแตโพธิสัตว์ที่เอาหางชุบน้ำไปสลัดบนฝั่งเพื่อค้นหาลูกน้อยที่จมในทะเล ก็เป็นต้นทุนกำลังใจเหลือที่จะกล่าวอยู่แล้ว
กล่าวกันว่า ต้นทุนแห่งบุญกุศลที่พระโพธิสัตว์ท่านสั่งสมไว้นั้นไม่ได้หายไปไหน ยังมีให้ชาวพุทธเราพึ่งพาได้อยู่ตลอด
ฉะนั้น ในยามใดที่คนเรารู้สึกว่าโลกนี้มันช่างขัดสนแล้งเข็ญขาดบุญกุศลเกื้อหนุนเสียเหลือเกิน ก็ลองรำลึกถึงคุณของพระโพธิสัตว์หรือพระคุณแต่อดีตชาติของพระพุทธบิดาของเราดูบ้าง เมื่อยามที่เราอยู่โดดเดี่ยวสู้ปัญหาอยู่เพียงลำพังก็อย่าเพิ่งคิดว่าไม่มีใคร แม้ผืนแผ่นดินที่ว่ากว้างใหญ่ไพศาลนี้ก็ยังเต็มไปด้วยซากสังขารที่พระโพธิสัตว์เคยสละชีวิตเพื่อสรรพสัตว์มาแล้วนับไม่ถ้วน แล้วจะกลัวไปไย
บางที่เราก็อาจพบว่า การที่เรายังมีวิบากกรรมส่งผลอยู่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่มีบุญรอช่วย เพียงแต่สัตว์โลกต้องรับผลแห่งกรรมเป็นธรรมดาเท่านั้น ขอเพียงเราตัดใจละเหตุแห่งบาปอกุศลและสู้อดทนอยู่ในความสุจริตต่อไป บุญเก่าของเราพร้อมทั้งบุญกุศลแห่งพระโพธิสัตว์ที่ท่านสั่งสมไว้ไม่มีประมาณก็พร้อมที่จะไหลหลั่งพร่างพรูเข้ามาช่วยหล่อเลี้ยงอยู่แล้วทุกเวลา
โดย: Sornpraram เวลา: 2018-5-18 06:52
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2018-5-18 06:58
หัวใจทศชาติ
” คือ “เต-ชะ-สุ-เน-มะ-ภู-จะ-นา-วิ-เว”
โบราณาจารย์ท่านกล่าวสรรเสริญคุณพระคาถาไว้มากมาย เพราะจัดเป็นคาถาสำเร็จ
คือทำให้ความปรารถนาทุกประการสำเร็จได้ ผู้ใดหมั่นภาวนา จนจิตเป็นสมาธิจะเจริญศิริสวัสดิ์ทุกประการ ...
ยันต์ห้วใจทศชาติ
โดย: Sornpraram เวลา: 2018-5-18 06:53
มีกินมีใช้
เมื่อครั้งที่ยังทำงานราชการนั้น ผู้เขียนมีเพื่อนร่วมงานท่านหนึ่งซึ่งมีคาถาประจำตัวว่า เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว หรือที่เรียกว่า หัวใจทศชาติ ท่านผู้นี้แม้ว่าจะมีตำแหน่งหน้าที่เป็นผู้น้อยเพราะวุฒิการศึกษาต่ำ แต่ก็เป็นคนมีอยู่มีกินไม่ขาด แถมยังมีแบ่งปันเผื่อแผ่ให้ลูกหลานได้ตลอด เวลามีเรื่องร้ายๆเข้ามาในชีวิตก็สามารถเอาตัวรอดผ่านไปได้ด้วยดี เคยถามว่ามีคาถาอะไรดีขอให้บอกกันบ้างก็ได้รับคำตอบว่าบทนี้ ไม่ว่าจะถามกี่ครั้งๆท่านก็บอกเหมือนเดิมว่ามีอยู่บทเดียวนี่แหละ ตอนที่ท่านเกษียณอายุก็ได้ข่าวว่าได้รับมรดกเป็นที่ดินอีกแล้ว ทั้งที่ตัวท่านเองก็ดูว่าไม่ได้ต้องการไปทวงสิทธิ์ยื้อแย่งแข่งขันกับใคร
อานุภาพพระคาถา
พระคาถาหัวใจทศชาตินี้ ตามอุปเท่ห์วิธีใช้แต่โบราณกล่าวไว้ว่าใช้ได้สารพัดทั้ง เมตตา คงทน แคล้วคลาด ใช้ทำน้ำมนต์ปัดเป่าถอนแก้ ทำน้ำมนต์ปะพรมเรือกสวนไร่นากันสัตว์รบกวนพืชผล บางตำราทำเป็นยันต์มีทั้งแบบใช้ทางด้าน คงทน เมตตา และลาภผล บางตำราระบุว่าผู้ใดหมั่นเจริญภาวนาจะเจริญสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลในชาตินี้และตายไปในภพหน้าจะได้พบพระศรีอาริย์
อัศจรรย์แห่งพระโพธิสัตว์
เนื่องจากพระบรมโพธิสัตว์ย่อมจะบำเพ็ญบารมีไปจนถึงถึงขั้นสุดยอด(ปรมัตถปารมี)ในพุทธการกธรรม อานุภาพอันยอดยิ่งวิเศษสุดจึงดำรงอยู่คู่กัปคู่กัลป์ ดังอานุภาพของ วัฏฏกะปริตร ที่ ลูกนกคุ่ม ทำสัจกิริยาแต่ครั้งอดีตกาล ก็ยังคงมีผลทำให้บริเวณนั้นไฟไม่อาจจะลุกไหม้หรือแม้จุดไฟก็ไม่ติดไปตลอดชั่วกาลนานของภัทรกัป ในสมัยต่อๆมาเมื่อพุทธศาสนิกชนสวดสาธยาย วัฏฏกะปริตร ก็ยังคงมีอานุภาพป้องกันไฟอยู่ตลอดกาล แม้พระคาถา หัวใจนกคุ่ม คือ สุ โป กัญ จะก็มีอานุภาพป้องกันไฟมาตลอด
แม้เมื่อครั้งเสวยชาติเป็น พญาเต่าเรือน ทรงทราบว่าผู้คนเรือแตกมาติดเกาะที่พระองค์จำศีลอยู่ เขาเหล่านั้นอดอยากหิวโหยจนถึงจะฆ่ากันเองเป็นอาหาร ทรงเกิดความสลดสังเวชในพระทัยใคร่จะช่วยหมู่คนเคราะห์ร้ายให้พ้นทุกข์และเพื่อเป็นการบำเพ็ญพระบารมี จึงทรงไต่ขึ้นไปบนยอดเขาปล่อยพระองค์ให้กลิ้งตกลงมาถึงดินทำกาลกิริยาชีพแตกดับ หมู่คนเหล่านั้นก็ได้อาศัยเนื้อพญาเต่าบริโภคพ้นความตายโดยไม่ต้องฆ่ากันเอง จากนั้นยังได้ใช้กระดองเต่า ทำเป็นเรือแล่นใบกลับสู่บ้านเมืองโดยสวัสดี ด้วยพระคุณอันวิเศษยิ่งใหญ่ของพญาเต่าเรือน โบราณาจารย์ในสมัยต่อมาจึงสอนว่าให้ระลึกเอาพระคุณเป็นที่พึ่ง เมื่อยามได้รับเคราะห์กรรม โทษทัณฑ์ เป็นถ้อยร้อยคดีความ ให้ระลึกถึงพระคุณของพญาเต่าเรือนขอบุญบารมีให้ท่านช่วยให้พ้นทุกข์ โดยภาวนาพระคาถาหัวใจพญาเต่าเรือน คือ นา สัง สิ โม หรือ นา สัง สิ โม ภะ คะ วา นา โถ สะ สิ โม พุท โธ ภะ คะ วา ก็จะพ้นจากทุกข์ได้ อนึ่ง พระคาถานี้ยังใช้ภาวนาระงับความโกรธของคนทั้งหลายได้ด้วย แม้ว่าใครจะโกรธเกลียดสักเท่าใด ภาวนาพระคาถานี้เข้าไปหา ความโกรธเกลียดก็จะมลายหายไปสิ้น
พระคาถาพญาไก่เถื่อน
เวทาสากุ กุสาทาเว ทายะสาตะ ตะสายะทา
สาสาทิกุ กุทิสาสา กุตะกุภู ภูกุตะกุ
พระคาถานี้ ได้เมื่อครั้งที่พระโพธิสัตว์เสวยชาติเป็นพญาไก่เถื่อน มีอานุภาพมาก ผู้ใดสวดภาวนาเป็นนิจสิน จะเกิดลาภยศมิรู้ขาด ทำมาค้าขึ้น จะทำไร่ทำสวนก็เจริญงอกงามดี ทั้งทำให้บังเกิดสติปัญญาด้วย ถ้าเดินทางไปทางบกหรือเข้าป่าให้สวดภาวนาไว้ คลาดแคล้วโพยภัยอันตรายดีนักแล
อนึ่ง ในพงศาวดารตอนต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ยังได้จารึกไว้ว่าเป็นพระคาถาประจำตัวของ สมเด็จพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)ด้วย
ผู้เขียนทราบมาว่ามีท่านที่เคยสวดพระคาถานี้เป็นประจำบอกว่า ได้รับผลจนทำให้เชื่อว่า เป็นพระคาถาที่ช่วยทำให้เกิดสติปัญญาเฉลียวฉลาด
คาถาพญากาน้ำ
เทวากานิ นิกาวาเท วาหิกาสุ สุกาหิวา
กากาเรภะ ภะเรกากา นิสุภะยะ ยะภะสุนิ
พระคาถานี้ ได้เมื่อครั้งที่พระโพธิสัตว์เสวยชาติเป็นพญากาน้ำ มีอานุภาพเช่นเดียวกับพระคาถาพญาไก้เถื่อน ผิดกันแต่ว่าถ้าเดินไปทางน้ำให้สวดพระคาถานี้
มิ่งขวัญและจิตวิญญาณแห่งพระศาสนา
พระคาถาโบราณอันเนื่องด้วยพระโพธิสัตว์ คือรากเหง้าอันเปรียบเสมือนส่วนหนึ่งของมิ่งขวัญและจิตวิญญาณแห่งพระศาสนาที่ควรดำรงไว้ ทำให้อนุชนรุ่นหลังได้แยกแยะเข้าใจว่าการนับถือบูชาสัญลักษณ์เกี่ยวกับสัตว์ของชาวพุทธ มิใช่แบบงมงายถือเอาสัตว์เดรัจฉานเป็นที่พึ่ง แต่เป็นการรำลึกบูชาพระคุณแห่งพระโพธิสัตว์อันไม่มีประมาณในพระชาติต่างๆ คือคุณแห่ง พุทธการกธรรม นั้นเป็นสำคัญ #
http://writtenbychalee.blogspot.com/2012/03/blog-post_28.html
โดย: Sornpraram เวลา: 2018-5-18 07:01
10 อักขระศักดิ์สิทธิ์อานุภาพแรง! “คาถาหัวใจพระเจ้าสิบชาติ”
โบราณจารย์ว่าไว้ สวดเป็นประจำ จะไม่ขาดแคลนทรัพย์ ปรารถนาสิ่งใดย่อมสำเร็จ
มนต์คาถาที่ถูกถ่ายทอดมาอย่างยาวนานนั้นมีหลายบทด้วยกัน ซึ่งล้วนแต่ทรงอานุภาพและความศักดิ์สิทธิ์ให้ปรากฎหนึ่งในนั้นคือ คาถาหัวใจทศชาติ หรือ หัวใจพระเจ้าสิบชาติ
ซึ่งเป็นชื่อย่อของพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันทั้ง 10 พระชาติที่บำเพ็ญบารมีในฐานะพระโพธิสัตว์ โดยบำเพ็ญบารมีทั้ง 10 ประการ ใน 10 ชาติ ได้แก่
เต ย่อมาจาก พระเตเมีย์ บำเพ็ญในด้าน เนกขัมมะบารมี
ชะ ย่อมาจาก พระมหาชนก บำเพ็ญด้าน วิริยะบารมี
สุ ย่อมาจาก พระสุวรรณสาม บำเพ็ญด้าน เมตตาบารมี
เน ย่อมาจาก พระเนมีราชย์ บำเพ็ญด้าน อธิษฐานบารมี
มะ ย่อมาจาก พระมโหสถ บำเพ็ญด้าน ปัญญาบารมี
ภู ย่อมาจาก พระภูริทัต บำเพ็ญด้าน ศีลบารมี
จะ ย่อมาจาก พระจันทกุมาร บำเพ็ญด้าน ขันติบารมี
นา ย่อมาจาก พระนารทพรหม บำเพ็ญด้าน อุเบกขาบารมี
วิ ย่อมาจาก พระวิฑูรย์บัณฑิต บำเพ็ญด้าน สัจจะบารมี
เว ย่อมาจาก พระเวสสันดร บำเพ็ญด้าน ทานบารมี
คาถาหัวใจทศชาติ หรือหัวใจพระเจ้าสิบชาติ คือ เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว
เป็นบทสวดภาวนาที่ใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยโบราณจารย์ได้กล่าวถึงอานุภาพไว้มากมายหลายประการ ทั้งเกิดความสำเร็จไม่ว่าจะเป็นด้านโภคทรัพย์ ไ
ม่ขาดแคลนในทรัพย์สินเงินทอง เมตตามหานิยม แคล้วคลาด ปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง
หรืออธิษฐานตามความปรารถนา เนื่องจากเป็นการขอพึ่งบารมีแห่งพระโพธิสัตว์ที่ได้บำเพ็ญมาอย่างยิ่งยวดตลอด 10 ชาติ
สำหรับคาถาหัวใจทศชาติ หรือหัวใจพระเจ้าสิบชาตินั้น ควรหมั่นสวดอยู่เป็นประจำด้วยจิตตั้งมั่นและศรัทธา ใครที่มีอุปสรรคด้านการเงิน การงานและต่างๆ ปรารถนาให้พ้นภัย
ให้ภาวนาคาถานี้ทุกๆวัน เชื่อว่าบารมีของพระโพธิสัตว์ในครั้งที่พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันได้ทรงบำเพ็ญมาอย่างยิ่งยวดแล้วนั้น จะช่วยเหลือเกื้อกูลให้ผู้ศรัทธาได้ตามความปรารถนา
ถือว่าเป็นพระคาถาแห่งความสำเร็จก็เป็นเช่นนั้น
ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก : http://www.baanjompra.com/webboard/thread-810-1-1.html
เครดิตภาพ : Napapawn
โดย: Sornpraram เวลา: 2018-5-18 07:06
ยันต์มหาโภคทรัพย์ ความหมาย ความเชื่อ เอาใส่ไว้ในกระเป๋าเงิน ทำให้เงินพอกพูนเพิ่มขึ้น
เริ่มจากมุมยันต์ด้านขวามือเวียนตามเข็มนาฬิกา
เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว (หัวใจพระเจ้าสิบชาติ)
อิ ติ (หัว - ท้ายของบทพุทธคุณเริ่มจากอักขระตัวแรกคือ อิ ของ อิติปิโส ฯปฯ
จบด้วย ติ ของ ภควาติ)
อัขระตัวเดียวกัน สลับที่ พุทะคุณเปลี่ยน คนละคนคนละสำนักลง อาจคนละความหมาย คนละบาทคาถา
เช่น ตรงกลาง ตัว ปะ ลงเต้มทั้งตัวหลักและตัวสกด
โดยทั่วไปถ้าเป้นด้านเมตตาจะแทน หัวใจมหามนต์
คือ ปิโยเทวะมนุษย์สานัง ปิโยพรหมมานะมุตตะโม ปิโยนาคะสุบรรณณานัง ปิยินทรียัง นะมามิหัง
วงรอบนอกล้อมด้วย หนุนเสริมด้วยบารมีสิบของโพธิสัตว์เจ้า หรือหัวใจบารมีสามสิบทัตน์หรือพระเจ้าสิบชาติ
เต แทน ขันติบารมีของพระเตมี
ชะ แทน วิริยะบารมีของพระชนก
สุ แทนบารมีของ พระสุวรรณสาม
เน=พระเนมิราช
มะ=พระมโหสถ
ภู=พระภูริทัตนาคราช
จะ=พระจันทกุมาร
นา=พระนารถะฤษี
วิ=พระวิทูลบัณฑิต
เว=แทนทานบารมีของพระเวชสันดร
ส่วนอักขระสี่ตัว ใน นะ ภะ นะ ชะ
ถ้าสายเมตตาตัว นะ ถอดจาก นะเมตตาหลวง หรือ
นะเมตตา โมกรุณา พุทปราณี ธายินดี ยะเอ็นดู (หรือนะโมพุทะธายะ)
ส่วนตัวอื่นๆไปค้นตำราดู
(ผู้จะถอดยันต์ของแต่ละสำนักต้องทราบและเรียนในสายสำนักนั้นๆมาเพราะ อักขระตัวนึงหรือจุดๆหนึ่ง แทนคาถาอะไรก้อได้แล้วแต่ครูบาอาจารย์ท่านประสิทธิ์มา ถ้าถอดผิด ลงผิด อักขระวิบัติ ยันต์นั้นไม่เกิดผล )
แต่ถ้าลงแบบไม่เรียกสูตร สวดแบบไม่เรียกนาม ใช้กำลังจิตเหมือนสายธรรมยุติส่วนมาก จุดจุดเดียวที่ลงไปในกระดาน แทนพระคาถาได้ทุกคาถาหรือพระปริตรทุกบทใน สิบสองตำนาน เรียกมาเถอะจะเอาบทใหนก่อนจะจารลงไป
เช่นลงนะตัวเดียว สวดมาทั้งเล่มทุกบทซักเก้าจบก่อนค่อยลงก้อได้
โดย: Nujeab เวลา: 2018-5-18 10:22
เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว
ได้สวดบ้างเป็นครั้งคราวยามที่นึกถึง
อาจารย์ลงบทนี้ไว้ที่กรอบรูปพระลักษณ์หน้าทองด้วย ต้องมีนัยสำคัญแน่ๆ
โดย: Sornpraram เวลา: 2018-5-19 05:59
โดย: Nujeab เวลา: 2018-5-20 19:57
โดย: Sornpraram เวลา: 2018-5-21 05:12
ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/) |
Powered by Discuz! X3.2 |