Baan Jompra

ชื่อกระทู้: ภัยจากยุง ร้ายกว่าที่คิด [สั่งพิมพ์]

โดย: oustayutt    เวลา: 2018-2-15 19:19
ชื่อกระทู้: ภัยจากยุง ร้ายกว่าที่คิด
ในเมืองไทย “ยุง” เยอะ เกาะแขนเกาะขา หรือบินวนๆ อยู่รอบๆ เจ้าตัวร้ายอย่างยุงนั้นจะบินกันว่อนเต็มไปหมด และดูเหมือนจะเพิ่มมากขึ้นมากขั้นทุกวัน และหากเราโดนยุงกัน แน่นอนอาการที่ตามมาก็คืออาการคันบริเวณที่ถูกยุงกัด ซึ่งอาจจะมองว่าเป็นแค่เรื่องรำคาญนิดๆหน่อยๆ แต่อย่าชะล่าใจไป แค่ “ยุงกัด” เนี่ยแหละที่ทำให้เกิดโรคมากมาย
...
วันนี้ Moskitos นำเสนอ 4 โรคร้าย...ที่มาจากยุง
มาให้เพื่อนๆได้ศึกษากันเพื่อเป็นแนวทางในการสังเกตุอาการและป้องกันโรคเหล่านี้จากยุงตัวร้ายกันค่ะ
...
1. ไข้เลือดออก
พาหะ : ยุงลาย ที่ออกหากินตอนกลางวัน (ปัจจุบันพบยุงลายตอนกลางคืน ช่วงโพล้เพล้อยู่บ้าง)
เกิดจากไวรัสเดงกี โดยมียุงลายบ้านเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ โดยยุงตัวเมียซึ่งกัดเวลากลางวันจะดูดเลือดผู้ป่วย จากนั้นเชื้อไวรัสจะเข้าไปอยู่ในเซลล์ที่ผนังกระเพาะยุงและเพิ่มจำนวนขึ้น ก่อนที่จะออกเดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลายพร้อมที่จะเข้าสู่คนที่ถูกกัดในครั้งต่อไป
เมื่อเชื้อดังกล่าวเข้าสู่ร่างกายคนและผ่านระยะฟักตัวนานประมาณ 5 – 8 วัน (สั้นที่สุด 3 วัน – นานที่สุด 15 วัน) ก็จะทำให้เกิดอาการของโรคได้

2. มาลาเรีย
พาหะ : ยุงก้นปล่อง พบได้มากในป่า พื้นที่รกๆ อากาศร้อนชื้น แหล่งน้ำต่างๆ หรือพื้นที่อื่นๆ ทั่วไป
อาการ : มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย ชีพจรเต้นเร็ว หนาวสั่น คลื่นไส้อาเจียน หน้าซีดปากซีดจากการที่เม็ดเลือดแดงถูกทำลาย เริ่มเข้าสู่ภาวะโลหิตจาง ตัวเหลืองเหมือนดีซ่าน และอาจมีปัสสาวะสีเข้มเหมือนสีน้ำปลา
การป้องกัน : ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่จะใช้ในการป้องกันโรคนี้ การป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด เป็นวิธีที่ดีที่สุดในขณะนี้ ประเทศไทยไม่แนะนำให้รับประทานยาป้องกัน เนื่องจากไม่มียาที่มีประสิทธิภาพสูงและก่อให้เกิดปัญหาการดื้อของเชื้อมาลาเลียต่อยาได้ง่าย
...
3. ไข้สมองอักเสบ
พาหะ : ยุงรำคาญ พบในนาข้าว เพราะเป็นแหล่งแพร่พันธุ์ และมีหมูเป็นรังของโรค โดยยุงรำคาญไปกัดหมูที่เป็นโรค และแพร่เชื้อต่อสู่คน และสัตว์อื่นๆ
อาการ : หลังรับเชื้อ 5-15 วัน จะมีไข้สูง อาเจียน ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย หลังจากนั้นจะเริ่มมีอาการผิดปกติทางสมอง เช่น คอแข็ง สติสัมปชัญญะลดลง ซึม หรือ เพ้อ คลั่ง ชัก หมดสติ หรืออาจมือสั่น เป็นอัมพาต ซึ่งหลังจากอาการของโรคหายไป อาจหลงเหลือความผิดปกติของสมองอยู่บ้าง เช่น พูดไม่ชัด เกร็ง ชัก หรือสติไม่ค่อยปกติ
...
4. เท้าช้าง
พาหะ : ยุงหลายชนิด
อาการ : มีไข้สูงเฉียบพลัน หลอดน้ำเหลือง และต่อมน้ำเหลืองอักเสบ โดยอาจพบได้บริเวณอวัยวะต่างๆ เช่น ขา ช่องท้องด้านหลัง ท่อน้ำเชื้ออสุจิ หรือเต้านม ผิวหนังบริเวณที่อับเสบจะบวมแดง มีน้ำเหลืองคั่ง คลำเป็นก้อนขรุขระ แต่ในบางรายอาจไม่แสดงอาการบวมชัดเจน
การป้องกันของโรคก็ง่ายๆ แค่ระวังอย่าให้โดนยุงกัด ไม่ว่าจะเป็นหลีกเลี่ยงแหล่งที่มียุงชุม เช่น ในป่าทึบ แหล่งน้ำนิ่ง ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงรอบบ้าน และใช้ยาป้องกันยุงเมื่อจำเป็น นอกจากนี้หากมีอาการเป็นไข้สูงหลังจากโดนยุงกัดประมาณ 1-2 สัปดาห์ ควรสันนิษฐานว่าอาจจะเป็นโรคเหล่านี้ และรีบพบแพทย์โดยด่วนค่ะ



โดย: Sornpraram    เวลา: 2018-2-16 06:15





ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/) Powered by Discuz! X3.2