“วัดจุฬามณีมีประตูไปสู่เมืองบาดาล ซึ่งเป็นที่อยู่ของพญานาค”
จังหวัดพิษณุโลกเป็นเมืองใหญ่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง เป็นแหล่งประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และธรรมชาติของสายน้ำ
และป่า หลักฐานการสร้างเมืองพิษณุโลก มีมาแต่พุทธศตวรรษที่ 15 สมัยขอมมีอำนาจปกครองแถบนี้
พิษณุโลกเดิมชื่อเรียกว่า เมืองสองแคว เนื่องจากเมืองนี้ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำน่านและแม่น้ำแควน้อย ประมาณปี พ.ศ.
1900 สมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทแห่งกรุงสุโขทัยได้โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองมาตั้งอยู่ ณ ตัวเมืองปัจจุบัน โดยมี
ฐานะเป็นเมืองลูกหลวง
สมัยอยุธยาเมืองพิษณุโลกทวีความสำคัญมากขึ้นเพราะเป็นเมืองกึ่งกลางระหว่างกรุงศรีอยุธยา และ
อาณาจักรฝ่ายเหนือ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงปฏิรูปการปกครอง และเสด็จมาประทับที่เมืองนี้ ตั้งแต่ พ.ศ.
2006 จนสิ้นรัชกาลในปี พ.ศ. 2301
หลังรัชสมัยของพระองค์พิษณุโลกมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญที่จะสกัดกั้น
กองทัพพม่า เมื่อครั้งพระนเรศวรมหาราชดำรงฐานะเป็นมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลก ระยะนั้นไทยตกเป็นเมืองขึ้น
ของพม่า สมเด็จพระนเรศวรได้รวบรวมชายฉกรรจ์ชาวพิษณุโลกกอบกู้อิสรภาพชาติไทยได้ในปี พ.ศ. 2127
ในสมัยกรุงธนบุรี พิษณุโลกเป็นสถานที่ตั้งมั่นรับศึกพม่า เมื่อครั้งกองทัพของอะแซหวุ่นกี้ มาตีเมือง
พิษณุโลกในปี พ.ศ. 2318 อะแซหวุ่นกี้ต้องเผชิญการต่อสู้อย่างทรหด กับเจ้าพระยาจักรีว่า ต่อไปจะได้เป็นกษัตริย์
ในสมัยรัตนโกสินทร์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงดำริให้รื้อกำแพงเมืองพิษณุโลก
เพื่อไม่ให้ข้าศึกได้ใช้เป็นที่ตั้งมั่น ครั้นเมื่อปี พ.ศ. 2437 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ยก
ฐานะเมืองพิษณุโลกขึ้นเป็นมณฑลเรียกว่ามณฑลพิษณุโลก
ต่อมา เมื่อยกเลิกการปกครองแบบมณฑลแล้ว พิษณุโลกจึงมีฐานะเป็นจังหวัดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
(ข้อมูลการท่องเที่ยวพิษณุโลก)
ผู้คนชาวจังหวัดพิษณุโลก มีความเลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนาสังเกตจากจำนวนวัดวาอารามต่างๆ ใน
จังหวัดพิษณุโลกซึ่งมีจำนวนมาก วัดสำคัญในจังหวัดพิษณุโลกซึ่งคนทั่วไปรู้จักกันดีได้แก่ วัดพระศรีมหาธาตุ
วรมหาวิหาร ชาวบ้านมักเรียกขานกันว่า วัดใหญ่ หรือวัดพระศรีกันจนติดปาก แม้นแต่พระประธานองค์ใหญ่ที่ประดิษฐาน
ในวิหารคือ พระพุทธชินราช ชาวเมืองพิษณุโลกก็ยังเรียกว่าหลวงพ่อใหญ่
วัดใหญ่เป็นพระอารามหลวงที่สำคัญของจังหวัด เป็นศูนย์รวมทางด้านจิตใจของชาวเมืองและชาวไทย
ทั้งประเทศ ภายในวัดมีโบราณสถาน โบราณวัตถุล้ำค่ามากมาย อาทิ พระพุทธชินราช
พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ขนาดหน้าตักกว้าง 5 ศอก 1 คืบ 5
นิ้ว สูง 7 ศอก พระพุทธลักษณะงดงามที่สุดในประเทศ เส้นรอบนอกพระวรกายอ่อนช้อย พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระ
ขนงโก่ง พระเกตุมาลาเป็นรูปเปลวเพลิง มีลักษณะพิเศษที่เรียกว่า ทีฒงคุลี คือ ที่ปลายนิ้วทั้งสี่ยาวเสมอกัน ซุ้ม
เรือนแก้วทำด้วยไม้แกะสลัก สร้างในสมัยอยุธยาแกะสลักเป็นรูปตัวมกร (ลำตัวคล้ายมังกรและมีงวงคล้ายช้าง) อยู่ตรง
ปลายซุ้มและตัวเหลา (คล้ายจระเข้) อยู่ตรงกลางซุ้ม และมีเทพอสุราคอยปกป้ององค์พระอยู่ 2 องค์ คือท้าวเวสสุวัณ
และอารวยักษ์
ตำนานการสร้างพระพุทธชินราช กล่าวว่า สร้างในสมัยพระศรีธรรมไตรปิฎก (พระยาลิไทย) ในครั้งนั้น
โปรดให้สร้างพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ขึ้น 3 องค์ คือ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา
การทำพิธีเททองสัมฤทธิ์ ปรากฏว่า หล่อได้สำเร็จเพียง 2 องค์ คือ พระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดา
เท่านั้น ส่วนพระพุทธชินราชปรากฏว่า ทองแล่นไม่ตลอดจึงชำรุด ต้องทำพิมพ์หล่อใหม่ถึง 3 ครั้ง
ครั้งสุดท้ายพระอินทร์ต้องแปลงองค์เป็นชีปะขาวมาช่วย ได้เททองหล่อพระพุทธรูปเมื่อวันพฤหัสบดีขึ้น
2 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง นพศก จุลศักราช 319 จึงสำเร็จบริบูรณ์ พระพุทธรูปทั้ง 3 องค์
วัดชีปะขาวหาย เป็นวัดโบราณที่มีตำนานเล่าขานสืบมาว่าในครั้งที่มีการหล่อพระพุทธชินราช ในสมัยพระ
มหาธรรมราชาลิไทเพื่อมาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก ได้มีชีปะขาวท่านหนึ่งมาทำการช่วยงาน ใน
การหล่อพระพุทธชินราชตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จพิธี และเมื่อทำการหล่อเป็นองค์พระแล้วก็ได้เดินจากหายตัวไปอย่างไร้
ร่องรอย ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันสร้างวัดขึ้นมาตรงที่ชีปะชาวผู้นั้นเดินหายตัวไป โดยตั้งชื่อว่าวัดชีปะขาวหาย
นอกจากนี้ชาวบ้านยังเชื่ออีกด้วยว่าชีปะขาวท่านนั้นคือพระอินทร์ที่แปลงลงมาช่วยสร้างพระพุทธชินราช
ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
เรื่องที่เล่ามานี้จะเห็นว่าพระอินทร์มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับการสร้างพระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก
คนทั่วไปคุ้นเคยกับชื่อเรียกของพระอินทร์ บางคนรู้ว่ากายของท่านมีสีเขียว แต่รายละเอียดลึกๆ เกี่ยวกับพระอินทร์ เชื่อ
ว่ามีคนจำนวนไม่น้อย ยังไม่ทราบประวัติความเป็นมาของท่าน
พระอินทร์ ท่านเป็นเทวดาผู้เป็นใหญ่ สถิตอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ กายของท่านมีสีเขียว มีพระเนตร
มากมายถึงพันดวง มีวัชระ (สายฟ้า) เป็นอาวุธ มีช้างเอราวัณเป็นพาหนะ พระอินทร์มีมเหสีมาถึง 4 องค์ คือ สุจิตรา สุ
ธรรมา สุนันทา และสุชาดา
หน้าที่ของพระอินทร์ คือผู้ดูแลทุกข์สุขของมนุษย์โลก ยามใดที่มีเรื่องเดือดร้อนเกิดขึ้นบนโลก อาสนะ
ของพระองค์ที่เคยอ่อนนุ่มก็จะแข็งกระด้างในบางครั้งจนไม่สามารถประทับอยู่ได้ ท่านจะรีบลงไปช่วยเป่าความทุกข์ร้อน
นั้นทันที
พระอินทร์มีชื่อเรียกอย่างอื่น เช่น ท้าวสหัสนัยน์ ท้าวโกลีย์ ท้าวสักกะ เทวราชอมรินทร์ ศักรินทร์
มัฆวาน และเพชรปาณีผู้ใดที่กราบไหว้พระอินทร์เป็นประจำ เชื่อกันว่าชีวิตจะได้พบความเจริญ รุ่งเรือง มีโชคลาภและ
เงินทองไหลมาเทมา หน้าที่การงานมีความเจริญก้าวหน้า สำหรับการกราบไหว้บูชาพระอินทร์ สิ่งของที่ผู้คนนำมาถวาย
พระอินทร์คือ ผลไม้ที่มีชื่อและสีเป็นศิริมงคล ซึ่งผลไม้ควรรองด้วยผ้าสีเขียวผู้ที่เกิดวันพุธ (กลางวันและกลางคืน) วัน
ศุกร์ และวันอาทิตย์ หากบูชาพระอินทร์เป็นประจำจะทำให้เกิดพลังอำนาจในตัวเอง
เป็นโบราณสถานที่มีมาก่อนสมัยสุโขทัยเคยเป็นที่ตั้งของเมืองสองแควเก่า ตาม
ประวัติศาสตร์กล่าวว่าสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงสร้างพระวิหารและเสด็จออกผนวชที่วัดนี้ เมื่อ พ.ศ. 2007 เป็น
เวลา 8 เดือน 15 วัน โดยมีข้าราชบริพาร ออกบวชตามเสด็จถึง 2,348 รูป มีโบราณสถานสำคัญคือ ปรางค์แบบขอม
ขนาดย่อม
ตามความเชื่อของคนโบราณ วัดจุฬามณีมีประตูไปสู่เมืองบาดาล ซึ่งเป็นที่อยู่ของพญานาค ตามประวัติ
ยังกล่าวอีกว่า วัดจุฬามณี จังหวัดพิษณุโลก เป็นวัดต้องคำสาป เรื่องนี้จะเท็จจริงอย่างไรไม่ขอยืนยันแต่ในตำนานได้
กล่าวเช่นนั้นจริงๆ
ที่มา จากหนังสือตำนานมหัศจรรย์
ภาพประกอบ จากอินเตอร์เน็ต
ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/) | Powered by Discuz! X3.2 |