ในอดีตเกี่ยวกับธรรมเนียมการ #โกนหัวไว้ทุกข์ เพื่อแสดงความอาลัย จัดเป็นหนึ่งในโบราณราชประเพณี ที่ถือปฏิบัติกันในพระราชพิธีพระบรมศพ ที่ปฏิบัติสืบกันต่อมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา สืบมาจนถึงยุครัตนะโกสินทร์ ว่าเมื่อพระมหากษัตริย์สวรรคต ข้าราชบริพารตลอดจนอาณาประชาราชหญิงทั้งชาย ต้องโกนศีรษะแทนการไว้ทุกข์แสดงความอาลัยทั่วราชอาณาจักร ความเชื่อนี้สันนิษฐานว่าได้รับมาจากประเทศอินเดีย ผ่านมาทางเหล่าพราหมณาจารย์โบราณ
............
❀❀❀❀❀❀❀❀
............
การโกนหัวไว้ทุกข์นี้จะกระทำเมื่อ พระมหากษัตริย์สวรรคต ชนชั้นตั้งแต่ชั้นพระบรมวงศ์ ลงไปจนถึงประชาชน ต้องโกนหัวติดต่อกันไปทุกเดือน จนกว่าจะถวายพระเพลิงพระบรมศพ ธรรมเนียมโบราณนี้ถือปฏิบัติสืบกันมา จนถึงรัชสมัยของ สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๔) ได้ทรงประกาศให้ประชาชนไม่ต้อง #โกนหัวไว้ทุกข์ให้กับ สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว (น้องของ ร.๔) ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๕) ท่านกล่าวว่า
--
**ควรให้ราษฎร์เลิกโกนศีรษะเพื่อไว้ทุกข์ เนื่องจากเป็นการยากลำบากเกินไป**
--
ด้วยเหตุนี้ในการพระราชพิธีพระบรมศพของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๕) พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๖) จึงทรงให้ยกเลิกธรรมเนียม #การโกนหัวไว้ทุกข์ นับแต่นั้นเป็นต้นมา เช่นเดียวกับพิธีกรรมหรือธรรมเนียมปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับพระราชพิธีพระบรมศพ อีกหลายอย่างที่ถูกยกเลิกไปด้วยเห็นเป็นเรื่องยุ่งยาก ทั้งอารยะธรรมจากต่างชาติก็ได้เข้ามาสู่สังคมไทยุคนั้นมากขึ้น ทำให้รูปแบบการจัดการหลาย ๆ อย่างต้องปรับเปลี่ยนไป เหตุนี้ธรรมเนียมที่ดูเป็นการยุ่งยากไม่สมควรจึงถูกยกเลิกไป
............
❀❀❀❀❀❀❀❀
............
¤ #ความเชื่อเรื่องการตัดผมเมื่อผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน ¤ ในอดีตสมัยที่ข้าพเจ้าได้ใกล้ชิดเรียนรู้ศาสตร์โบราณจาก หลวงพ่อพวง วัดสหกรณ์รังสรรค์ จ.สระบุรี พระสงฆ์ผู้เกิดในวันเสาร์ห้าพญาวัน ผู้รู้กาลนานผ่านมาถึงห้าแผ่นดิน ท่านเคยเล่าถึงสมัยที่พระพุทธเจ้าหลวง ร.๕ สวรรคต เวลานั้นท่านยังเป็นเด็กเล็ก หลวงพ่อพวงเล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า
--
**ก่อนคืนพระพุทธเจ้าหลวงสวรรคต ช่วงค่ำคืนนั้นมีผีพุ่งใต้ลูกใหญ่ (ดาวตก) ตกลงจากฟ้า ชาวบ้านทั่วไปเห็นกันทั่วชัดเจน ต่อเมื่อท่านสวรรคตแล้วจำได้ว่า พวกผู้ใหญ่เขาตัดผมกันโดยทั่วไป**