Baan Jompra
ชื่อกระทู้:
ทหารเสือพระเจ้าตาก คนดีที่ไม่เคยรู้
[สั่งพิมพ์]
โดย:
AUD
เวลา:
2017-1-12 22:00
ชื่อกระทู้:
ทหารเสือพระเจ้าตาก คนดีที่ไม่เคยรู้
[attach]14144[/attach]
ทหารคู่พระทัยทั้งสี่มีใครรู้จักบ้าง...............ยกมือขึ้นหน่อยเป็นไร
ผมเชื่อว่ามีฅนรู้น้อยแทบจะนับนิ้วได้ เพราะบ้านเมืองเราไม่ค่อยเชิดชูบุคคลที่ทำประโยชน์ให้ฅนในชาติกันเท่าใดนัก เชิดชูกันอยู่ได้ก็เพียงแค่ฅนที่มีเงินมีทองเป็นหมื่นล้านเป็นพันล้านบาท แถมยังเชิดชูกันแบบถวายหัว มันเป็นเสียอย่างนี้แหละเมืองไทยเรา มีเงินก็เรียกน้อง มีทองก็เรียกพี่ ทำความดีข้าไม่รู้จัก และไม่สนใจ.....
คุณๆ ลองควักธนบัตรใบ ๒๐ ออกมาดูซิครับ จะเห็นบรรพบุรุษที่เป็นทหารหาญ ที่ปกบ้านป้องเมืองคุ้มเหย้า เสียเลือดเสียเนื้อมิใช่เบา หน้าที่เรารักษาสืบไป.... ทหารหาญทั้งสี่ที่เป็นขุนศึกคู่พระทัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ๔ หน่อ หนึ่งคือ "พระเชียงเงิน" ปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุกรมหลวงนรินทรเทวีว่า มิได้หนีมาพร้อมกับพระเจ้าตากสินฯ แต่เสด็จมาพบในภายหลัง และได้ให้ "พลายแหวนกับพังหมอนทรง" แสดงว่าพระเชียงเงินน่าจะมีบริวารอยู่พอสมควร ถึงกับมีช้างที่จะถวายได้ อีกทั้งบรรดาศักดิ์ที่เป็น "พระ" ก็สูงกว่าบริวารทั้งหมดที่ออกชื่อไว้ในพระราชพงศาวดาร เข้าใจว่าเชียงเงินจะเป็นชุมชนหรือเมืองเล็กๆ แถบเมืองตาก-ระแหง เพราะแถบนั้นปรากฏชื่อเมือง "เชียงทอง" อยู่ด้วย (พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม ๒, พระนคร, โอเดียนสโตร์, ๒๕๐๕, หน้า ๓๖๒) ถ้าเช่นนั้นก็พอเดาได้ว่า พระเชียงเงินก็คงเป็นเจ้าเมืองเชียงเงิน ซึ่งเป็นเมืองจัตวาขึ้นกับเมืองตาก-ระแหง มาก่อน และด้วยเหตุนี้ เมื่อได้พบพระเจ้าตากสินฯ จึงได้เข้าสวามิภักดิ์ด้วยแต่ต้น
ต่อมา พระเชียงเงิน ได้รับโปรดเกล้าฯ จากพระเจ้าตากสินฯ ให้รับตำแหน่งของขุนนางส่วนกลางในระหว่างทางเดินทัพออกจากกรุงศรีอยุธยาไปเมืองระยอง ซึ่งตอนนี้ พระเจ้าตากสินฯ ได้ประกาศพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ของราชอาณาจักรอยุธยาหลังจากหนีออกจากอยุธยาแล้ว พระราชพงศาวดารกล่าวไว้ในคราวที่ทรงต่อสู้เหล่าร้ายที่เมืองระยอง พระเชียงเงินได้รับตำแหน่งที่ "ท้ายน้ำ" ไปแล้ว พระราชพงศาวดารเรียกว่า "พระเชียงเงินท้ายน้ำ" ครั้นเมื่อปราบเมืองเหนือได้เรียบร้อยแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเชียงเงินท้ายน้ำผู้นี้รั้งเมืองสุโขทัย จึงปรากฏชื่อว่าเป็น "พระยาสุโขทัย" จนถึงแก่อนิจกรรมเมื่อก่อน พ.ศ. ๒๓๒๐
พระเชียงเงินท้ายน้ำหรือพระยาสุโขทัยนั้น เป็นเจ้าเมืองฅนหนึ่งที่ พระเจ้าตากสินฯ โปรดให้มาเฝ้า เพื่อทรงสั่งสอนวิชาการต่อสู้ข้าศึก เพราะฉะนั้น พระยาสุโขทัยผู้นี้ จึงเป็นข้าราชการที่ได้รับความไว้วางพระทัยอย่างสูงจากพระเจ้าตากสินฯ ผู้หนึ่ง (จากหนังสือ "การเมืองไทย สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี" โดย ศ. ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์)
ฅนต่อมาคือ หลวงราชเสนา ซึ่งต่อมาก็คือ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท หลังจากพระยาตากสินที่รวบรวมไพร่พลตั้งอยู่ที่จันทบุรี เข้าตีพม่าข้าศึกที่ตีกรุงศรีอยุธยาแตกไปแล้ว และเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็น สมเด็จพระเจ้าตากสิน สถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี เมื่อปีชวด สัมฤทธิศก พ.ศ. ๒๓๑๑ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทในขณะนั้นทรงได้รับการสถาปนาบรรดาศักดิ์เป็น "พระมหามนตรี" เจ้าพระตำรวจในขวา
ทหารหาญต่อมาคือ หลวงพิชัยอาสา ซึ่งก็คือพระยาพิชัยดาบหักนั่นแหละ พระยาพิชัยดาบหักนั้นเดิมชื่อ "จ้อย" และชอบชกมวยก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น "นายทองดี ฟันขาว" นายทองดี ฟันขาว นั้น ถือว่ามีฝีมือในการชกมวยมาก เท้าไว เตะขากรรไกรครูมวยหลายฅนสลบไสลไปหลายครั้งหลายครา และได้ชกมวยต่อหน้าพระยาตากเสียด้วย เจ้าเมืองตากจึงชักชวนให้อยู่ด้วย นายทองดี ฟันขาว จึงได้ถวายตัวเป็นทหารของเจ้าเมืองตาก (พระเจ้าตากสินฯ) ตั้งแต่บัดนั้น รับใช้เจ้าเมืองตาก เป็นที่โปรดปรานมาก ได้รับยศเป็น "หลวงพิชัยอาสา"
เมื่อเจ้าเมืองตากได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ (จากสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ หรือ พระเจ้าเอกทัศน์) ให้เป็นพระยาวชิรปราการ ครองเมืองกำแพงเพชร หลวงพิชัยอาสาได้ติดตามไปรับใช้อย่างใกล้ชิด และเป็นเวลาเดียวที่พม่ายกทัพล้อมกรุงศรีอยุธยา พระยาวชิรปราการ พร้อมด้วยหลวงพิชัยอาสา และทหารหาญ ได้เข้าปะทะต่อสู้จนชนะ ได้ช้างม้าอาหารพอสมควร ได้เข้าสู้รบกับทัพพม่าหลายคราวจนได้รับชัยชนะ พระเจ้าตากสินฯ ได้รับการต้อนรับจากประชาชนและยกย่องขึ้นเป็นผู้นำ เมื่อกอบกู้เอกราชได้แล้ว พระเจ้าตากสินฯ ขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองกรุงธนบุรี และได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้หลวงพิชัยอาสาเป็น "เจ้าหมื่นไวยวรนารถ" เป็นทหารเอกราชองครักษ์ในพระองค์
และฅนสุดท้ายก็คือ "หลวงพรหมเสนา" ซึ่งถือทหารชั้นประทวน มียศเป็นจ่าเมือง รับใช้ใกล้ชิดพระยาตากมาแต่ครั้งอยู่เมืองตาก เป็นฅนที่ชอบทางด้านไสยศาสตร์ วิชาอาคม เก่งในเรื่องการใช้ธนู เป็นหมอสักยันต์ให้แก่บรรดาทหาร
ธนบัตรรุ่นนี้นำเอาภาพสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ผู้ทรงพระปรีชาด้านการรบ และสามารถกอบกู้อิสรภาพของฅนไทยให้กลับคืนมาจากพม่า จนทางราชการประกาศให้วันที่ ๒๘ ธ.ค. ของทุกปีเป็น "วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" มาบันทึกไว้ให้อนุชนฅนรุ่นหลังได้ศึกษา และระลึกถึงผ่านทางธนบัตร
แต่เชื่อว่าหลายฅนไม่เคยรับรู้
ที่มา
http://www.posttoday.com
โดย:
AUD
เวลา:
2017-1-12 22:02
[attach]14145[/attach]
"มือซ้ายถือดาบอยู่ในฝักดาบ มือขวาชี้ไปข้างหน้า" คือ พระเชียงเงิน (พระยาสุโขทัย)
"แบมือ ไม่ถือดาบ" คือ หลวงพิชัยอาสา (พระยาพิชัยดาบหัก)
"มือขวาถือปืน แอบอยู่ข้างอาชา" คือ หลวงราชเสนา (กรมพระราชวังบวรมหาสุร
สิงหนาท)
"ชักดาบเตรียมสู้ เหลียวระวังหลัง" คือ หลวงพรหมเสนา
ขอขอบพระคุณ คุณ Burapha ในเว็บไซต์
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=2e1b51295d9e4eed
ด้วยนะครับ
โดย:
AUD
เวลา:
2017-1-12 22:03
นอกจาก หลวงพิชัยอาสา พระเชียงเงิน หลวงพรหมเสนา หลวงราชเสนา และขุนอภัยภักดี ยังมีนายทหารเอกคู่พระทัยพระเจ้าตากสินฯ อีก ดังมีรายนามตามลำดับดังนี้
๑. พระยาศรีสิทธิสงคราม (นายจันหนวดเขี้ยว)
๒. พระยาปราบอริราชศัตรู (เสริม)
๓. พระยาศัตรูพินาศ (ประชา)
๔. พระยาองอาจราชสงคราม
๕. พระยาสามเมืองระย่อ
๖. พระยาพนอราชบาท
๗. พระยาไพรีพินาศ
๘. พระยาปราบราชปัจจามิตร
๙. พระยาราชมิตรราชา
๑๐. พระยามหาพิชัยสงคราม
โดย:
AUD
เวลา:
2017-1-12 22:10
หลวงพรหมเสนา หรือ เจ้าพระยานครสวรรค์
[attach]14146[/attach]
หลวงพรหมเสนา
เกิดเมื่อวันอังคาร เดือน 6 ปีมะโรง พุทธศักราช 2279 ณ บ้านเชียงของ (ปัจจุบันคือบ้านเชียงทอง) จ.ตาก บิดาท่านสืบเชื้อสายมาจากเมืองเชียงของ หลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. มารดาท่านเป็นญาติใกล้ชิดกับ
พระเชียงเงิน (ธงชัย)
.
ท่านได้ไปเติบโตที่ฝั่งลาว และได้กลับมาเป็นเจ้าคุ้มเชียงทอง ท่านจึงมีอีกนามหนึ่งว่า
"เจ้าฟ้าเชียงทอง"
และคุ้มของท่านอยู่บานเนินเขาเตี้ย ๆ ริมฝั่งแม่น้ำปิง (ปัจจุบันคือวัดเชียงทอง จ.ตาก) จากนั้นท่านได้ติดตาม
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
มาเป็นทหารเอกคู่พระทัย อาทิ
พระเชียงเงิน (ธงชัย)
หลวงพิชัยอาสา (จ้อย)
หลวงราชเสน่หา
ขุนอภัยภักดี
.
1
เดิมท่านเป็นเพียงทหารชั้นประทวน มียศเป็นจ่าเมือง รับใช้ใกล้ชิดพระยาตาก มาแต่ครั้งอยู่เมืองตาก เป็นคนที่ชอบทางด้านไสยศาสตร์ วิชาอาคม เก่งในเรื่องการใช้ธนู เป็นหมอสักยันต์ให้แก่บรรดาทหาร.
2
หลวงพรหมเสนา
รับราชการเป็นสามารถและได้ใกล้ชิด
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
เช่นเดียวกับนายทหารทั้งหลายที่ร่วมรบกันมาตั้งแต่แหกค่าย
หลวงพรหมเสนา
เป็นนักรบที่มีความสามารถสูงและไม่ย่อท้อในการศึก จึงได้รับโปรดเกล้าตำแหน่งจนถึงพระยาอนุรักษ์ภูธร เมื่อก่อนศึกเจ้าพระฝาง.
ต่อมาท่านได้บรรพชาอุปสมบทที่
วัดตูม จ.พระนครศรีอยุธยา
ท่านก็ได้ศึกษาความรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ จากวัดแห่งนี้ ภายหลังสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี ก็ทรงพระราชทานยศบรรดาศักดิ์ให้เป็น "
พระพรหมเสนา
"
เมื่อเสร็จศึกเจ้าพระฝาง บ้านเมืองเริ่มเป็นปึกแผ่น
สมเด็จพระเจ้าตากสินสินมหาราช
ได้เสด็จพระราชดำเนินกลับลงมายังเมือง
พิษณุโลก
ทรงได้จัดพิธีสมโภช
พระมหาธาตุ
และ
พระพุทธชินราช
พระพุทธชินสีห์
ร่วมสามวัน แล้วจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งข้าหลวงเดิมซึ่งมีความชอบในการสงคราม ให้อยู่ครองหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งปวง.
บรรดาหัวเมืองใหญ่นั้น โปรดให้
พระยายมราช
เป็น
เจ้าพระยาสุรสีห์
ครองเมือง
พิษณุโลก
ถือไพร่พลหมื่นห้าพัน ให้
พระยาพิชัยราชา
เป็นเจ้าเมือง
สวรรคโลก
ถือไพร่พลเจ็ดพัน ให้
พระยาสีหราชเดโช
เป็น
พระยาพิชัย
ถือไพร่พลเก้าพัน ให้
พระยาท้ายน้ำ
เป็น
พระยาสุโขทัย
ถือไพร่พลห้าพัน ให้
พระยาสุรบดินทร์
เป็น
พระยากำแพงเพ็ชร
ให้
พระยาอนุรักษ์ภูธร
เป็น
พระยานครสวรรค์
ทั้งสองเมืองนั้นถือไพร่พล เมืองละสามพันเศษ.
[attach]14147[/attach]
เมื่อแต่งตั้งข้าหลวงเดิมไว้ครองหัวเมืองฝ่ายเหนือแล้ว โปรดมีรับสั่งให้บรรดาผู้ครองหัวเมืองฝ่ายเหนือนั้นลงมาเฝ้าที่เมืองหลวง เพื่อสั่งสอนอบรมการปกครองและการยุทธอยู่เสมอ
พระยานครสวรรค์
เป็นขุนนางที่ลงมาเฝ้ามิได้ขาด จึงเป็นที่โปรดปรานมาก (
พระยาพิชัย
ไม่ลงมาเฝ้า 1 ครั้ง - โปรดให้เฆี่ยนมิให้เป็นเยี่ยงอย่าง) ประกอบกับ
พระยานครสวรรค์
เป็นผู้มีความเด็ดขาดในการรบมาก ในคราวศึกบางแก้ว ก่อนที่
พระยานครสวรรค์
จะไปช่วยหนุน
พระยาธิเบศบดี
ในวันนั้น
เจ้าพระยานครสวรรค์
ยกไปถึงโคกกระต่าย ทรงพระกรุณาให้หามาเฝ้า แล้วพระราชทานพระราชอาญาสิทธิและพระแสงดาบข้างหนึ่งให้
เจ้าพระยานครสวรรค์
ๆ สามารถถือพระราชอาญาสิทธิ หากผู้ใดย่อหย่อนให้ลงพระราชอาชญาตามกำหนดพิชัยสงคราม. แล้วพระราชทานเกนหัดถือปืน 40 คน ลูกหาบ 40 คน ม้าต้นม้าหนึ่ง แก่
เจ้าพระยานครสวรรค์
แล้วพระราชทานทหารกองนอก ถือปืน 150 ลูกหาบ 150 คน ให้
หลวงอภัยสรเพลิง
ไปเข้ากอง
เจ้าพระยานครสวรรค์
แล้วถอกพระธำมรงค์เพ็ชร์องค์หนึ่งพระราชทาน
เจ้าพระยานครสวรรค์
ทรงพระราชทานพรว่า
ชะยะตุภวัง สัพพะศัตรู วินาสสันติ
3 ในทันใดนั้นเป็นอัศจรรย์ มหาเมฆยัง ฝอยฝนให้ตกลงมาหน่อยหนึ่ง.
ท่านเป็นผู้รอบรู้หลากหลายทั้งการเจรจาติดต่อการฑูต วางแผนต่าง ๆ ทั้งหลักศาสนพิธีกรรมในพระพุทธศาสนา และไสยเวทย์ รวมทั้งโหราศาสตร์พระเวทย์ต่าง ๆ แต่ท่านมีอุปนิสัยดุ เจ้าระเบียบแบบแผน ไม่ยอมใคร จะยอมให้แต่เจ้านายเพียงองค์เดียว.
ต่อมาเมื่อสิ้นราชวงศ์ธนบุรีแล้ว ท่านได้พา
กรมขุนอินทรพิทักษ์ (เจ้าฟ้าจุ้ย)
หนีไปทางภาคอีสาน เพื่อหวังจะพาพระราชโอรสองค์โตของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีให้รอดพ้นจากอุปัทวภัย ไปขอพักอาศัยกับญาติของท่านทางฝั่งลาว. แต่ทว่า
เจ้าฟ้าจุ้ย
ทรงสิ้นพระชนม์เสียก่อนที่
บ้านลานสะกา
(
ปัจจุบันบ้านหนองไฮน้อย ด้านหลังเขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร
) ท่านจึงได้ไปตั้งถิ่นฐานบ้านพักที่ริมฝั่งแม่น้ำโขง บริเวณ
บ้านจอมมณี จ.หนองคาย
.
ณ สถานที่นี้ ท่านได้เป็นที่พึ่งให้กับบุคคลทั้งหลายเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล แนะนำสั่งสอนการดำเนินชีวิต และรับขึ้นครูกลุ่มลูกศิษย์ด้านพระเวทย์อาคม สุดท้าย
พระพรหมเสนา
ได้ปลีกวิเวก และได้เดินทางไปพบ
พระเชียงเงิน
ที่
เขาธงชัย จ.เพชรบุรี
แต่
พระเชียงเงิน
ได้ถึงแก่มรณภาพแล้ว โดยการนั่งสมาธิจนลูกนัยน์ตากลับ แล้วจึงสิ้นลม ท้ายที่สุด
พระพรหมเสนา
ได้กลับมาถึงแก่กรรม ณ
จ.หนองคาย
อย่างสงบ.2
ขอสดุดีวีรกรรม
หลวงพรหมเสนา
ที่ท่านเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญของประวัติศาสตร์ชาติไทยในการปกปักษ์รักษาสยามประเทศไว้ ณ ที่นี้.
เทิดทูนและเคารพยิ่ง
อภิรักษ์ กาญจนคงคา และบรรดาชนรุ่นหลังที่ซาบซึ้งในพระคุณของท่าน.
31 พฤษภาคม 2557
ที่มาและคำอธิบาย:
1.
ปรับปรุงจาก
. เว็บไซต์ kingthonburi.myreadyweb.com/webborad/topic16547.html, วันที่สืบค้น 30 พฤษภาคม 2557.
2.
ปรับปรุงจาก
. เว็บไซต์ druthit.com/detailhtip.asp?tip=14, วันที่สืบค้น 31 พฤษภาคม 2557.
3.
ที่มา
. หนังสือพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ.
โดย:
AUD
เวลา:
2017-1-12 22:14
หลวงราชเสน่หา
[attach]14148[/attach]
ต่อมาก็คือ
กรมพระราชวังบวงมหาสุรสีหนาท
หลังจาก
พระยาตากสิน
ได้รวบรวมไพร่พลตั้งอยู่ที่
จันทบุรี
เข้าตีพม่าข้าศึกที่รักษากรุงศรีอยุธยาแตกพ่ายไป และได้ทรงเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็น
สมเด็จพระเจ้าตากสิน
สถาปนา
กรุงธนบุรี
เป็นราชธานี เมื่อปีชวด สัมฤทธิศก พ.ศ.2311
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
ในขณะนั้นทรงได้รับการสถาปนาบรรดาศักดิ์เป็น
พระมหามนตรี เจ้าพระตำรวจในขวา
.
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
ในรัชกาลที่ 1 เป็นสมเด็จพระอนุชาธิราชใน
สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ประสูติในรัชกาล
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 1 ค่ำ ปีกุน จ.ศ.1105 (พ.ศ.2286).
มีพระนามเดิมว่า "
บุญมา
" ต่อมาได้ทรงรับราชการในรัชกาล
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสุริยามรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ)
ตำแหน่ง
นายสุจินดาหุ้มแพร
(ได้รู้จักกับ
พระยาตาก
มาก่อน เมื่อครั้นรับราชการอยู่นั้น) เมื่อ พ.ศ.2310 กรุงศรีอยุธยาใกล้จะเสียกรุงแก่พม่า
นายสุจินดา
กับเพื่อน ๆ ได้ลอบหนีออกจากเมือง ได้มาอาศัยอยู่กับพี่สาวที่บางกอก (คงจะเมื่อกรุงแตกแล้วหรือใกล้จะแตกแล้ว) และได้ข่าวเกี่ยวกับ
พระยาตาก
ไปตั้งตัวที่
จันทบูร
มีกำลังมากจะยกทัพมาตีอยุธยาคืน
นายสุดจินดาหุ้มแพร
ได้ฝากภรรยาและทรัพย์สมบัติไว้กับพี่สาว แล้วพาพรรคพวกบางคนเดินทางไป
จันทบูร
ทางบกโดยผ่าน
บางปลาสร้อย
พระเจ้าตาก
ได้รับนายบุญมาเข้าไว้เป็นพรรคพวก.
ด้วยความสามารถส่วนตัวของ
นายบุญมา
เด่นมาก จนทำให้ได้รับความไว้วางพระทัยสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และไปสมัครรับราชการอยู่กับ
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น
พระมหามนตรี
เจ้ากรมพระตำรวจในขวา.
ที่มาและคำอธิบาย:
1.
จาก
.
www.kkbook.tha.im/ch4.html.
, วันที่สืบค้น 5 มิถุนายน 2557.
2.
จาก
. นิธิ เอียวศรีวงศ์, การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี, พิมพ์ครั้งที่ 3, 2536.
ที่มา:
Topicstock.pantip.com/library/topicstock/2011/11/K11341792/K11341792.html
[attach]14149[/attach]
ภาพบน รูปทางซ้ายมือเป็นพระยาพิชัย ขวามือเป็นพระเชียงเงิน
ภาพด้านล่าง ซ้ายมือเป็นหลวงราชเสน่หา และทางขวามือที่ถือปืน คือ หลวงพรหมเสนา.
[attach]14150[/attach]
เป็นภาพจากพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ สวนสาธารณะทุ่งนาเชย จ.จันทบุรี อยู่บนธนบัตรแบบที่ 12 ราคา 20 บาท ออกพิมพ์และใช้ในปี พ.ศ.2524 ใช้กันมาจนถึงปี พ.ศ.2546.
ที่มา
http://huexonline.com/knowledge/18/60/
โดย:
AUD
เวลา:
2017-1-12 22:15
[youtube]6DtUU-Rr2gI[/youtube]
ฟังเพลงก่อนครับ
โดย:
AUD
เวลา:
2017-1-12 22:18
[youtube]6Ge_e31JYQI[/youtube]
โดย:
AUD
เวลา:
2017-1-12 22:23
[youtube]DD43ODsfVM8[/youtube]
โดย:
AUD
เวลา:
2017-1-12 22:24
ยังไม่จบครับ ไว้ค่อยมาต่อ
โดย:
AUD
เวลา:
2017-1-12 22:26
[youtube]CCE-Oiopt2E[/youtube]
โดย:
Sornpraram
เวลา:
2017-1-13 06:59
ขอบคุงครับ
โดย:
AUD
เวลา:
2017-1-16 21:33
พระเชียงเงิน
[attach]14167[/attach]
พระยาท้ายน้ำ (พระเชียงเงิน)
1 เดิมเป็นเจ้าเมืองเชียงเงิน หัวเมืองชั้นจัตวาขึ้นกับเมืองระแหง (ในพระราชพงศาวดารกล่าวชัดเจนซึ่งแย้งกับบางแหล่งข้อมูลว่า หลวงพรหมเสนามีเชื้อสายจีน) เข้ามาสวามิภักดิ์
พระยาตาก
และร่วมรบตั้งแต่ครั้งตีฝ่าทัพพม่าออกมาจนถึง
จันทบุรี
พระเชียงเงิน
ไม่มีชื่อเสียงในด้านการทัพเป็นพิเศษ และออกจะอ่อนแอในบางครั้งด้วยซ้ำ จนเกือบจะถูกประหารชีวิตไปแล้ว แต่ก็เป็นข้าราชบริพารที่
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ทรงพระเมตตาเป็นพิเศษ. และเป็นเจ้าเมืองคนหนึ่งที่โปรดปรานให้มาเฝ้าเพื่อทรงสั่งสอน "วิธีการ" ต่อสู้กับริปู.
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่า ในคราวที่ทรงต่อสู้กับอริราชศัตรูที่เมืองระยองนั้น ได้มีบันทึกว่า "
พระยาเชียงเงิน
" เป็น "
พระยาท้ายน้ำ
". ครั้นเมื่อปราบปรามก๊กต่าง ๆ ทางเมืองเหนือได้ราบคาบแล้ว ทรงมีพระกรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้พระยาท้ายน้ำรั้งเมือง
สุโขทัย
. ท่านเป็นทหารหาญคนสนิทที่ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยยิ่ง (
ที่มา. มูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถาน, 2546: 51-52
).
พระเชียงเงิน
ไม่ได้หนีออกจากกรุงศรีฯ มาพร้อมกับ
พระเจ้าตาก
แต่มาพบในภายหลัง, พระเชียงเงินน่าจะมีทรัพย์สินศฤงคารและบริวารมากพอสมควร มีช้างมาถวย
พระเจ้าตาก
มีบรรดาศักดิ์เป็น "
พระ
" ก็สูงกว่าบริวารทั้งหมดของพระเจ้าตาก.
มีหลักฐานว่า
พระเจ้าตาก
เลื่อนยศตำแหน่งข้าราชบริพารการเดินทางตลอดแม้แต่ก่อนที่ไปถึงเมืองระยอง. ระหว่างต่อสู้กับเหล่าร้ายที่เมืองระยอง
พระเชียงเงิน
ได้กลายเป็นท้ายน้ำไปแล้ว.
ที่มาและคำอธิบาย:
1.
ปรับปรุงจาก
. 3king.lib.kmutt.ac.th/KingTarksinCD/chapter19/page5.html., วันที่สืบค้น 4 มิถุนายน 2557.
โดย:
AUD
เวลา:
2017-1-16 21:36
พระยาพิชัยดาบหัก
[attach]14168[/attach]
พระยาพิชัยดาบหัก
เดิมชื่อ "
จ้อย
" เกิดที่บ้านห้วยคา อำเภอพิชัย (หรือในภาษาพม่าเรียก "เปกแซ")
๘
จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๒๘๔ (
ท่านมีอายุน้อยกว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ๗ ปี - สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมีพระราชสมภพเมื่อ ๗ เมษายน ๒๒๗๗
) ในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา (
ซึ่งตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
) ท่าน
มีพี่น้อง ๔ คน แต่เสียชีวิตไป ๓ คน
. ท่านได้ศึกษาอยู่กับพระครูวัดมหาธาตุหรือวัดใหญ่ เมืองพิชัย ภายหลังท่านได้เปลี่ยนชื่อใหม่ จาก "
จ้อย
" เป็น "
ทองดี
" หรือ "
ทองดีฟันขาว
" มีความสามารถทั้งทางเชิงมวยและเชิงดาบ.
ท่านได้เข้ารับราชการรับใช้
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
ตั้งแต่ครั้งดำรงตำแหน่งเป็นพระยาตาก ต่อมานายทองดีได้รับแต่งตั้งเป็นองครักษ์ มีบรรดาศักดิ์เป็น "
หลวงพิชัยอาสา
" เมื่อรับราชการมีความดีความชอบ จึงได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าหมื่นไวยวรนาถ พระยาสีหราชเดโช และพระยาพิชัย ผู้สำเร็จราชการครองเมืองพิชัย ซึ่งรับพระราชทานเครื่องยศเสมอเจ้าพระยาสุรสีห์ ตามลำดับ.
ต่อมา พม่ารามัญ ยกทัพมาตีเมืองพิชัย ๒ ครั้ง ในการรบครั้งที่ ๒ พระยาพิชัยถือดาบสองมือ ออกต่อสู้จนดาบหักไปข้างหนึ่ง และรักษาเมืองไว้ได้ ดังนั้นจึงได้รับสมญานามว่า "
พระยาพิชัยดาบหัก
"
โดย:
AUD
เวลา:
2017-1-16 21:38
[attach]14169[/attach]
วัดมหาธาตุ เมืองพิชัยในปัจจุบันได้ซ่อมแซมปรับปรุงไปมากแล้ว อุโบสถหลังเก่า
ได้แปรเปลี่ยนเป็นวิหาร ได้มีการก่อสร้างอุโบสถใหม่ขึ้น
วัยเยาว์
เด็กชายจ้อย มีนิสัยชอบชกมวยมาตั้งแต่เยาว์วัย บิดาได้พร่ำสอนเสมอว่า ถ้าจะชกมวยให้เก่ง ก็ต้องขยันเรียนหนังสือด้วย เมื่อายุได้ ๑๔ ปี บิดาได้นำไปฝากกับท่านพระครูวัดมหาธาตุ เมืองพิชัย. จ้อยสามารถอ่านออกเขียนได้จนแตกฉาน ทั้งนี้เพราะเป็นคนขยันและเอาใจใส่ในตำราเรียน คอยรับใช้อาจารย์และซ้อมมวยไปด้วย ทั้งหมัด เข่าและศอก และสามารถเตะได้สูงถึงสี่ศอก (๑ ศอก เท่ากับ ๐.๕ เมตร) ในขณะที่เป็นเด็กวัดนั้น ท่านมักจะถูกกลั่นแกล้งจากเด็กที่โตกว่าเสมอ แต่ไม่นานนัก ท่านก็สามารถปราบเด็กวัดทุกคนได้ด้วยชั้นเชิงมวย.
ต่อมาเจ้าเมืองพิชัยได้นำบุตร (ชื่อ "
เฉิด
") มาฝากที่วัด เพื่อร่ำเรียนวิชา
เฉิด
กับพวกมักจะหาทางทะเลาะวิวาทกับท่านเสมอ ท่านจึงได้ตัดสินใจหนีออกจากวัดขึ้นไปทางเหนือ โดยมิได้บอกบุพการีและพระอาจารย์ ท่านเดินตามลำน้ำน่านไปเรื่อย ๆ เมื่อเหนื่อยก็หยุดพักตามวัดที่วัดบ้านแก่ง ท่านได้พบกับครูฝึกมวยผู้หนึ่งชื่อ "
เที่ยง
" จึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์ แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่ จาก "
จ้อย
" เป็น "
ทองดี
" ท่านครูเที่ยงรักท่านมาก และมักเรียกท่านว่า "
นายทองดีฟันขาว
" (สันนิษฐานว่า ท่านไม่ได้เคี้ยวหมากพลูเหมือนดั่งคนในสมัยนั้น) ด้วยความสุภาพเรียบร้อย และขยันขันแข็งเอาใจใส่การฝึกมวย ช่วยการงานบ้านครูเที่ยงด้วยดีเสมอมา. ทำให้ลูกหลานครูเที่ยงอิจฉาท่านมาก จนหาทางกลั่นแกล้งต่าง ๆ นานา ท่านจึงเห็นว่า หากอยู่บ้านแก่งต่อไป ชะรอยคงจะลำบาก ประกอบกับครูเที่ยงก็ได้ถ่ายทอดวิชาจนหมดสิ้นแล้ว จึงกราบลาครูขึ้นเหนือต่อไป.
ชื่อเสียงเลื่องลือ
เมื่อเดินถึงบางโพ ท่านได้เข้าไปพักที่
วัดวังเตาหม้อ
(ปัจจุบันคือ
วัดท่าถนน
) กอปรกับเวลานั้น วัดวังเตาหม้อมีการแสดงงิ้ว (อุปรากรจีน) ขึ้น ท่านจึงอยู่ชมการแสดงงิ้วร่วมเจ็ดคืน ท่านสนใจการแสดง ท่าทาง การหกคะเมน ตีลังกา ได้จดจำไปฝึกหัด จนกระทั้งจดจำท่างิ้วได้ทั้งหมด ท่านสามารถกระโดดข้ามศีรษะคนยืนได้อย่างสบาย จากนั้นท่านก็ลาพระสงฆ์ที่วัดวังเตาหม้อขึ้นไป
ท่าเสา
ขอสมัครเป็นลูกศิษฐ์
ครูเมฆ
ซึ่งมีชื่อเสียงในการสอนมวยมาก
ครูเมฆ
ก็รักนิสัยใจคอของท่าน จึงได้ถ่ายทอดวิชาด้านการหมัดมวยจนหมดสิ้น ในขณะนั้นท่านมีอายุได้ ๑๘ ปี.
ต่อมาท่านได้มีโอกาสชกมวยในงานไหว้
พระแท่นศิลาอาสน์
กับนายถึก ศิษย์เอกของครูนิล นายถึกสู้ท่านไม่ได้เลย ถูกเตะสลบไปนานชั่วนาฬิกากะลาเจาะรูจมน้ำไปสองครั้ง (
ร่วม ๑๐ นาที
) ครูนิลรู้สึกอับอายมาก จึงได้ท้าครูเมฆมาชกกัน ท่านจะได้กราบอ้อนวอนขอเป็นผู้ชกแทนครูเมฆ ๆ ก็ยินยอม ท่านได้ตลุยเตะต่อยจนครูนิลฟันหลุดถึงสี่ซี่ เลือดกลบปาก สลบไปครู่หนึ่ง ชื่อเสียงของท่าน "
นายทองดี ฟันขาว
" ได้กระฉ่อนไปทั่วทั้งเมืองทุ่งยั้ง ลับแล พิชัย และเมืองฝาง.
ท่านได้อยู่เป็นศิษฐ์กับครูเมฆได้สองปี ก็กราบลาไปศึกษาการฟันดาบที่เมือง
สวรรคโลก
ด้วยการที่ท่านฉลาดมีไหวพริบ ท่านได้ใช้เวลาเพียงสามเดือน ก็สำเร็จวิชาการฟันดาบ เป็นที่พิศวงของครูผู้สอนมาก หลังจากนั้น ท่านก็ท่องไปเมืองสุโขทัย และเมืองตาก ระหว่างที่เดินทางอยู่นั้น ท่านได้รับศิษย์ไว้คนหนึ่ง ชื่อ
บุญเกิด
(หมื่นหาญณรงค์)
โดยเมื่อครั้งที่บุญเกิดถูกเสือคาบไปนั้น ท่านได้ช่วยบุญเกิดไว้ ด้วยการแทงมีดเข้าปากเสือ จนเป็นที่ร่ำลือไปทั่ว.
โดย:
AUD
เวลา:
2017-1-16 21:38
[attach]14170[/attach]
รับราชการ ทหารเอกพระเจ้าตาก
เมื่อท่านได้เดินทางมาถึงเมืองตาก ขณะนั้นได้มี
พิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา
ที่
วัดใหญ่
เจ้าเมืองตาก (สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี)
จัดให้มีมวยฉลองด้วย ท่านดีใจมาก ได้เข้าไปเปรียบมวยกับ
ครูห้าว
ซึ่งเป็นครูมวยมือดีของเจ้าเมืองตาก และมีอิทธิพลมาก ท่านได้ใช้ความว่องไวด้วย หมัด ศอก และเตะขากรรไกร จน
ครูห้าว
สลบไป
เจ้าเมืองตาก
จึงถามว่า สามารถชกนักมวยอื่นอีกได้หรือไม่ ท่านก็ตอบว่าสามารถชกได้อีก
เจ้าเมืองตาก
จึงให้ชกกับ
ครูหมึก
ครูมวยร่างสูงใหญ่ ผิวดำ ท่านได้เตะซ้ายเตะขวา บริเวณขากรรไกร จน
ครูหมึก
ล้มลงสลบไป.
เจ้าเมืองตากพอใจมากให้เงิน 3 ตำลึง และชักชวนให้อยู่ด้วย ท่าน(นายทองดี ฟันขาว) จึงได้ถวายตัวเป็นทหารของ
เจ้าเมืองตาก (สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี)
ตั้งแต่บัดนั้น ท่านรับใช้จนเป็นที่โปรดปรานมาก ได้รับยศเป็น
"หลวงพิชัยอาสา"
เมื่อ
เจ้าเมืองตาก
ได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ ให้เป็น
พระยาวชิรปราการ
ครองเมือง
กำแพงเพชร
หลวงพิชัยอาสาได้ติดตามไปรับใช้อย่างใกล้ชิด และเป็นเวลาเดียวที่พม่ายกทัพล้อมกรุงศรีอยุธยา.
พระยาวชิรปราการ
พร้อมด้วย
หลวงพิชัยอาสา
และทหารหาญ ได้เข้าปะทะต่อสู้จนได้ชัยชนะ ได้ช้างม้าอาหารพอสมควร เข้าสู้รบกับทัพพม่า มีชัยชนะหลายครั้งหลายคราว พระเจ้ากรุงธนบุรีได้รับการต้อนรับจากประชาชน และได้รับการยกย่องขึ้นเป็นผู้นำ เมื่อกอบกู้เอกราชได้แล้ว
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองกรุงธนบุรี
และได้โปรดเกล้าฯ ให้
หลวงพิชัยอาสา
เป็น
จมื่นไวยวรนาถ
เป็นทหารเอกราชองครักษ์ในพระองค์.
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๑๑ พม่าได้ยกทัพมาอีกหนึ่งหมื่น
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
พร้อมด้วย
จมื่นไวยวรนาถ
ได้เข้าโจมตีจนตะเลงแตกพ่ายไป และได้มีการสู้รบปราบก๊กต่าง ๆ อีกหลายคราว เมื่อ
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
เสด็จกลับกรุงธนบุรี พระองค์ได้โปรดตั้ง
จมื่นไวยวรนาถ
เป็น
"พระยาสีหราชเดโช"
มีตำแหน่งเป็นนายทหารเอกราชองครักษ์ตามเดิม สุดท้ายเมื่อปราบก๊ก
พระเจ้าฝาง
ได้แล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงปูนบำเหน็จความชอบให้ทหารของพระองค์โดยทั่วหน้า ส่วนพระยาสีหราชเดโช (จ้อย หรือ ทองดี ฟันขาว) นั้น ได้โปรดเกล้าฯ บำเหน็จความชอบให้เป็น
พระยาพิชัย
ปกครองเมืองพิชัย อันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนแต่เยาว์วัย.
โดย:
AUD
เวลา:
2017-1-16 21:39
[attach]14171[/attach]
ภาพในอาคารอนุสรณ์สถานพระยาพิชัยดาบหัก มีภาพวาดแสดงจินตนาการการสู้รบกับตะเลงของพระยาพิชัยฯ
๔
ในปี พ.ศ.2313-2316 ได้เกิดการสู้รบกับกองทัพพม่าอีกหลายคราว และทุกคราวที่กองทัพพม่าแตกพ่ายไป ได้สร้างความอัปยศอดสูแก่แม่ทัพนายกองเป็นทวีคูณ พอสิ้นฤดูฝนปีมะเส็ง พ.ศ. 2316
โปสุพลา
ยกกองทัพมาหมายตีเมืองพิชัยอีก "ศึกครั้งนี้
พระยาพิชัย
จับดาบสองมือคาดด้าย ออกไล่ฟันแทงพม่าอย่างชุลมุน ณ สมรภูมิบริเวณ "
วัดเอกา
" จนเมื่อ
พระยาพิชัย
เสียการทรงตัว ก็ได้ใช้ดาบข้างขวาพยุงตัวไว้ จนดาบข้างขวาหักเป็นสองท่อน" กองทัพ
โปสุพลา
ก็แตกพ่ายไป เมื่อวันอังคาร เดือนยี่ แรม 7 ค่ำ ปีมะเส็ง พ.ศ.2316 (ตรงกับวันที่ 7 มกราคม พ.ศ.2316).
ถวายชีวิตเป็นราชพลี
ในปี พ.ศ. 2325 หลังจาก
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ถูกสำเร็จโทษ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เล็งเห็นว่าพระยาพิชัยเป็นขุนนางคู่พระทัย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีที่มีฝีมือและมีความซื่อสัตย์ จึงชวนพระยาพิชัยเข้ารับราชการในแผ่นดินใหม่ แต่พระยาพิชัยไม่ขอรับตำแหน่ง ด้วยท่านเป็นคนจงรักภักดีและซื่อสัตย์ต่อองค์
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
และถือคติว่า "
ข้าสองเจ้า บ่าวสองนายมิดี
" จึงขอให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก สำเร็จโทษตนเป็นการถวายชีวิตตายตาม
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
.
หลังจากท่านได้ถูกสำเร็จโทษแล้ว สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษก เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เฉลิมพระนามว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์ได้มีรับสั่งให้สร้าง
พระปรางค์
นำอัฐิของท่านไปบรรจุไว้ ณ
วัดราชคฤห์วรวิหาร๕
ซึ่ง
พระปรางค์
นี้ก็ยังปรากฎสืบมาจนปัจจุบัน.
โดย:
AUD
เวลา:
2017-1-16 21:40
[attach]14172[/attach]
พระปรางค์พระยาพิชัยดาบหัก ณ วัดราชคฤห์
๖
พระยาพิชัยดาบหัก
ได้สร้างวีรกรรมอันควรเป็นเยี่ยงอย่าง อันควรแก่การยกย่องสรรเสริญให้สืบทอดมาถึงปัจจุบันได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริต ความกตัญญูกตเวที ความเด็ดเดี่ยวเฉียบขาดกล้าหาญ รวมถึงความรักชาติ ต้องการให้ชาติเจริญรุ่งเรืองมั่นคงต่อไป.
โดย:
AUD
เวลา:
2017-1-16 21:41
[attach]14173[/attach]
ต่อมาลูกหลานของท่านนั้นได้รับพระราชทานนามสกุลว่า
"วิชัยขัทคะ"
บ้างก็เรียก
วิชัยขัธคะ
(อ่านว่า วิ-ไช-ขัด-ทะ-คะ) ซึ่งแปลโดยอนุโลมว่า
"ดาบวิเศษ"
โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พระองค์ทรงให้ไว้ ณ วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๔๕๖.๗
และนอกจากนี้ ท่านยังเป็นต้นตระกูล
วิชัยลักขณา, ศรีศรากร, พิชัยกุล, ศิริปาลกะ, ดิฐานนท์
ฯลฯ (เสทื้อน ศุภโสภณ, 2527: 105).
ที่มาและคำอธิบาย:
๑. ต้นเรื่องประวัติพระยาพิชัยดาบหักนี้เรียบเรียบมาจากเค้าโครงเรื่องที่พระยาศรี สัชนาลัยบดี อดีตเจ้าเมืองพิชัยสมัยหนึ่ง ได้รวบรวมเรียบเรียงเอาไว้ เพิ่มเนื้อหาสาระขึ้นบ้างเท่าที่ค้นคว้าเพิ่มเติมได้.
๒.
ปรับปรุงจาก
. th.wikipedia.org/wiki/พระยาพิชัยดาบหัก, วันที่สืบค้น ๑๔ เมษายน ๒๕๕๗.
๓.
ปรับปรุงจาก
. en.wikipedia.org/wiki/Phraya_Phichai, retrieved date: April 14, 2014.
๔.
จาก
.
www.oknation.net/blog/print.php?id=822699
, วันที่สืบค้น ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗.
๕. วัดราชคฤห์วรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ ๔๓๔ ถนนเทอดไท แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร.
๖.
จาก
.
www.watrajkrueh.com
, วันที่สืบค้น ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๗.
๗.
จาก
. phuengbanhan.blogspot.com/2011/08/blog-post_12.html., วันที่สืบค้น ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๗.
๘.
จาก
. นิธิ เอียวศรีวงศ์, การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี, พิมพ์ครั้งที่ ๓, หน้า ๒๑.
โดย:
Sornpraram
เวลา:
2017-1-17 05:31
โดย:
majoy
เวลา:
2017-1-17 09:13
เหล่าบรรพบุรุษที่ช่วยให้เรายังมีชาติได้ สาธุๆๆ
โดย:
Nujeab
เวลา:
2017-1-17 18:26
โดย:
Sornpraram
เวลา:
2021-1-21 07:48
ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/)
Powered by Discuz! X3.2