รามเทพ โพสต์ 2023-8-15 16:45

ศิรทิ ไสบาบา

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย รามเทพ เมื่อ 2023-8-15 16:47

ศิรทิ ไสบาบา : จงมองมายังฉัน แล้วฉันจะเฝ้ามองเธอ



https://www.matichonweekly.com/wp-content/uploads/2016/07/%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%8A-%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%87-150x150.jpgคมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง


https://www.matichonweekly.com/wp-content/uploads/2023/03/%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%8A-2223-696x365.jpg

ที่มามติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 24 - 30 มีนาคม 2566
คอลัมน์ผี-พราหมณ์-พุทธ
ผู้เขียนคมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง
เผยแพร่วันอาทิตย์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2566


“หากเธอร่ำรวยจงอ่อนน้อม ต้นไม้เมื่อมีผลก็โน้มลง, จงใช้เงินเพื่อกิจกุศล จงมีน้ำใจและเอื้อเฟื้อกว้างขวางแต่อย่าฟุ่มเฟือย, หากมีสิ่งสร้างใดของพระเจ้ามาสู่เธอไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสิ่งอื่น ให้ปฏิบัติอย่างอาทร จงมองให้เห็นทิพยภาวะในมนุษย์ทั้งปวง”ศิรทิ ไสบาบา
ชายชราคนหนึ่งพำนักอย่างยากจน ณ มุมเล็กๆ ของมัสยิดในหมู่บ้านศิรทิ (Shirdi) เมืองอหเมดนคร (Ahamednagar) แคว้นมหาราษฏร์ไม่มีใครรู้หัวนอนปลายเท้าของชายคนนี้ ไม่มีใครทราบแม้แต่ชื่อของเขา ไม่มีใครรู้ว่าเขาเป็นมุสลิมหรือฮินดูกันแน่แต่แรกชาวบ้านคิดว่าเขาเป็นคนบ้า คนบ้าผู้แต่งตัวด้วยชุดคลุมยาวและใช้ผ้าหุ้มศีรษะเหมือนมุสลิม ริมฝีปากของเขามักจะเอ่ยพระนาม “อัลเลาะห์” อยู่บ่อยๆ แต่กลับตั้งชื่อมัสยิดร้างที่ตนเองอาศัยว่า “ทวารกาไม” (Dvarakamai)ทวารกาคือเมืองแห่งพระกฤษณะ ส่วน “ไม” หมายถึงแม่ในภาษามาราฐี ดังนั้น มัสยิดอิสลามจึงมีชื่ออย่างฮินดูว่านิวาสสถานของพระกฤษณะที่รักสาวกดั่งแม่


ราวปี ค.ศ.1855 ถึง 1858 สามปีแรกที่ปรากฏตัวในศิรทิ ไม่มีใครสนใจนักบวชบ้าคนนี้ แต่ภายหลังเมื่อเริ่มแสดงปาฏิหาริย์และเป็นที่รู้จัก ชาวบ้านจึงเรียกเขาว่า “ไสบาบา” (Sai Baba) ด้วยความเคารพไสหรือสาอี (Sai) แผลงมาจากคำสันสกฤตว่า “สวามี” อันหมายถึงนายหรือผู้ควรเคารพ ส่วนบาบาเป็นการเขียนตามเสียง (พาพา) แปลว่า พ่อหรือปู่ชาวอินเดียมักเรียกผู้ศักดิ์สิทธิ์อย่างลำลองด้วยคำว่าบาบา ทำนองเดียวกับคนไทยมีคำเรียกว่า พ่อปู่ หลวงปู่ หรือพ่อท่านอะไรทำนองนั้น


ทั้งนี้ ไม่พึงสับสนกับผู้ใช้นามว่าไสบาบาอีกท่านหนึ่ง (สัตยไสบาบา) อันเป็นที่รู้จักแพร่หลายอยู่ในเมืองไทย ดังเราจะเห็นภาพชายผิวคล้ำสวมชุดคลุมยาวสีส้ม ผมหยิกฟูทรงกลม ผู้โด่งดังจากการแสดงปาฏิหาริย์แห่งเมืองปุตตปรติ ซึ่งท่านผู้นี้อ้างว่าเป็นอวตารของไสบาบาแห่งศิรทินี่เอง
เรื่องราวชีวิตของไสบาบามีบันทึกไว้ในหนังสือชื่อ “ศรี ไส สัตจริต” (Shri Sai Satcharit) หรือเรื่องราวอันจริงแท้แห่งไสบาบา ประพันธ์โดย โควินทะ รฆุนาถ ทโภลกร หรือ เหมัทปันต์ (Hemadpant) ผู้มีชีวิตร่วมสมัยกับไสบาบามีบางข้อสันนิษฐานว่าไสบาบา เกิดใกล้ศิรทิในราวปี 1838 บ้างก็ว่าท่านเกิดในตระกูลพราหมณ์แต่ถูกเลี้ยงดูโดยฟากีร์ (Fakir) หรือนักบวชมุสลิมซูฟี ซึ่งเร่ร่อนละทิ้งทรัพย์สมบัติเพื่อแสวงหาพระเจ้า นั่นทำให้ไสบาบาเติบโตมาเป็นฟากีร์เช่นเดียวกันชาวบ้านศิรทิค้นพบบาบาครั้งแรกเมื่อท่านยังเป็นหนุ่มน้อย ทว่าหนุ่มน้อยคนนี้กลับบำเพ็ญตบะทั้งวันทั้งคืนอยู่ใต้ต้นนีมหรือสะเดาแขก ทนต่อความร้อนหนาวนิ่งอยู่ในท่าโยคะ วันหนึ่งเด็กหนุ่มคนนี้ก็หายตัวไป และกลับมาที่ศิรทิในงานแต่งงานของบ้านจันทะ ภาอี ผู้ที่ไสบาบาเคยช่วยทำนายการหายไปของม้าของเขาระหว่างนั้น มหัลษปติเจ้าของไร่ใกล้เคียง พบฟากีร์หนุ่มนั่งอยู่ใต้ต้นไทร เขาจึงเอ่ยเชื้อเชิญว่า “ยา ไส!” ซึ่งหมายความว่า “เชิญเถิดสวามี” จึงเป็นเหตุการณ์ครั้งแรกที่มีผู้เรียกท่านว่าไสแม้จะดูเหมือนฟากีร์และพำนักอยู่ที่มัสยิด แต่ไสบาบาจะสอนชาวฮินดูให้ศึกษาคัมภีร์ของตน ท่านสามารถยกเอาเทวตำนานฮินดูมาเล่าประกอบการสอนได้ ส่วนศิษย์มุสลิมท่านจะยกคำสอนในอัลกุรอ่านมาสาธกได้เช่นเดียวกันที่น่าตลกคือหากใครคิดว่าท่านเป็นฮินดู ท่านจะแสดงตนว่าเป็นมุสลิม หากใครคิดว่าท่านเป็นมุสลิม ท่านจะแสดงตนเป็นฮินดูhttps://www.matichonweekly.com/wp-content/uploads/2023/03/Shirdi_Sai_Baba_3.jpg
ศิรทิ ไสบาบา
แก่นคำสอนของไสบาบาอยู่ที่ให้มีความรักต่อพระเจ้าอย่างจริงใจและปฏิบัติต่อเพื่อนมนุษย์อย่างเท่าเทียม ให้ช่วยเหลือผู้ยากไร้และดำรงตนอยู่ในศีลธรรม ท่านถือว่าทุกๆ ชีวิตล้วนมีสภาวะแห่งพระเจ้าอยู่ภายในจึงควรค่าแก่การเคารพ ดังนั้น ความแตกต่างที่ปรากฏไม่ว่าจะเรื่องชนชั้นวรรณะหรือศาสนา เป็นก็แต่เพียงมายาภาพเท่านั้นไสบาบากล่าวว่า “พระเจ้าทั้งหลายเป็นหนึ่งเดียว ไม่มีความแตกต่างระหว่างฮินดูและมุสลิม เทวสถานหรือมัสยิดก็ล้วนเหมือนๆ กัน”ความพยายามประสานความขัดแย้งระหว่างฮินดูและมุสลิมนี้ เป็นเสมือนเอกลักษณ์อันหนึ่งของนักบุญแห่งอินเดียตั้งแต่สมัยกลางมาเลยทีเดียว และยังคงมีต่อไปจนถึงยุคสมัยของไสบาบาอันใกล้กับยุคสมัยของเรา ที่ซึ่งความขัดแย้งเหล่านี้ดูจะไม่มีวันจบสิ้นไสบาบารวมเอาคุณลักษณะที่น่าสนใจของนักบุญมาไว้ที่ตัวท่าน ท่านไม่มีที่มาที่ไป ดูลึกลับ ท้าทายการแบ่งแยกไม่ว่าจะเรื่องศาสนาหรือวรรณะ มีชีวิตเรียบง่ายในขณะเดียวกันก็เปี่ยมไปด้วยเรื่องเล่าเกี่ยวกับปาฏิหาริย์และความศักดิ์สิทธิ์


รามเทพ โพสต์ 2023-8-15 16:47

ตํานานอันมีชื่อเสียงอันหนึ่งของท่านกล่าวว่า สมัยที่ท่านเริ่มมาอาศัยในมัสยิดทวารกาไมนั้น ไสบาบามีธรรมเนียมที่แตกต่างจากชาวมุสลิมทั่วไปอยู่อย่างหนึ่ง คือจะจุดประทีปและก่อกองไฟไว้ภายในมัสยิดอย่างที่นักบวชชาวฮินดูมักกระทำในเทวสถานหรืออาศรม แม้ในมัสยิดนั้นจะปราศจากรูปเคารพใดก็ตามดังนั้น ไสบาบาผู้ไร้ทรัพย์ จึงต้องภิกขาจารไปขอรับน้ำมันจากร้านค้าในศิรทิ แรกๆ เจ้าของร้านผู้ตระหนี่ก็ยอมแบ่งน้ำมันให้ฟากีร์บ้าคนนี้อยู่บ้าง แต่ด้วยความตระหนี่ คราหนึ่งเขาจึงปฏิเสธพลางโกหกว่าไม่มีน้ำมันเหลืออยู่ในคลังแล้วไสบาบาจากไปอย่างเงียบๆ แม้ไม่มีน้ำมันเลย แต่ด้วยความศรัทธาท่านเอาน้ำเปล่าเติมตะเกียงดินเผาแล้วจุดที่ไส้ ปรากฏว่าประทีปทุกดวงส่องสว่างไปตลอดคืน!รุ่งเช้า หลังเจ้าของร้านทราบข่าวที่เกิดขึ้นก็รีบรุดไปกราบขอขมาบาบา ท่านได้แต่บอกเพียงว่าต่อไปอย่าโกหกและให้ช่วยเหลือผู้คนเท่าที่จะทำได้อีกตำนานหนึ่งเล่าว่า ไสบาบาสามารถห้ามฟ้าห้ามฝนและรักษาโรคให้ผู้คน ครั้งหนึ่งราโอ พาหาฑูร โมเรศวร ฟราธันผู้พิพากษาศาลสูงในมุมไบได้ถามมิตรสหายว่า นับตั้งแต่สวามีสมรรถะแห่งอักกลโกฏจากไป เรายังมีนักบุญที่แท้จริงอีกหรือไม่ สหายคนนั้นตอบว่ายังมีไสบาบาแห่งศิรทิ ได้ยินเช่นนั้นนั้นราโอจึงเดินทางไปยังศิรทิ ขณะนั้นเขาเองก็เจ็บป่วยด้วยอาการหอบหืดแม้ไม่ได้บอก แต่ไสบาบาได้ยื่นกล้องยาสูบของท่านให้เขาสูบ ปรากฏว่าอาการหอบหืดของราโอก็ดีขึ้นและหายไปเองเมื่อราโอและภรรยาจะเดินทางกลับ ฝนได้ตกลงมาอย่างหนักทำให้ทั้งคู่กระวนกระวาย บาบาได้แหงนมองขึ้นฟ้าแล้วกล่าวว่า “โอ้ อัลเลาะห์ ขอให้ฝนหยุดตกด้วยเถิด เพื่อลูกๆ ของข้าพเจ้าจะได้กลับบ้าน” ฝนได้หยุดตกทันทีท่านช่วยแก้ไขทุกข์ภัยแก่ผู้ที่มาหาโดยไม่แบ่งแยก ให้คำสอนง่ายๆ แต่ลึกซึ้ง ท่านมักจะบอกให้ผู้คนระลึกถึงท่านโดยกล่าวว่า “จงมองมายังฉัน แล้วฉันจะเฝ้ามองเธอ” ท่านให้สัญญาว่าท่านจะดูแลสาวกเสมอแม้ไม่มีกายอยู่ในโลกนี้แล้ว ศิรทิ ไสบาบา สิ้นใจในวันที่ 15 ตุลาคม ปี 1918 “สมาธิสถาน” ของท่านได้กลายเป็นที่แสวงบุญสำคัญในแคว้นมหาราษฏร์ ผู้คนนับหมื่นนับแสนเดินทางไปสักการะและขอพรอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันรูปของบาบาจะพบเห็นได้ทั่วไปในอินเดียคู่กับนักบุญคนอื่นๆ ภาพชายชรามีหนวด โพกศีรษะ ใส่ชุดคลุมยาวและนั่งไขว้ห้างอย่างสบายๆ ติดอยู่ตามร้านค้า บนรถเมล์และแม้แต่บนรถมอเตอร์ไซค์ ชาวฮินดูบางคนถือว่าท่านเป็นอวตารของพระทัตตาเตรยะคุรุเช่นเดียวกับสวามีอักกลโกฏ และท่านได้เข้าถึงพรมันอันเป็นสัจธรรมสูงสุดตามคติฮินดูแล้วว่ากันว่า ไสบาบาได้เคยพบศิษย์บางคนของสวามีอักกลโกฏ และเรียกท่านเหล่านั้นว่า “พี่น้อง”ไม่เพียงเพราะปาฏิหาริย์และความศักดิ์สิทธิ์ที่เล่าลือกันที่ทำให้ผู้คนเคารพไสบาบา อันที่จริงเรื่องเล่าของบาบามีจุดร่วมอย่างหนึ่ง คือมักแสดงให้เห็นความรักความเมตตาที่มีให้ทุกคนรวมไปถึงสัตว์ต่างๆ ท่านเอาใจใส่ในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เช่น มักจะทำอาหารเลี้ยงผู้คนหิวโหยที่มาพบด้วยตนเอง ท่านจะมอบคำปลอบโยนและเยียวยาคนเจ็บไข้ มอบพรแก่ผู้ที่ต้องการไม่ว่างเว้น ราวกับมารดาที่รักบุตร“มีกำแพงหนึ่งซึ่งกั้นขวางระหว่างตนเองกับผู้อื่น และระหว่างเธอและฉัน จงทำลายกำแพงนั้นเสีย!”“ฉันมิได้มีความโกรธต่อผู้ใดเลย แม่จะโกรธบุตรของตนได้หรือไฉน”“มหาสมุทรจะผลักน้ำให้ย้อนคืนกลับไปแม่น้ำกระนั้นหรือ” •
ผี พราหมณ์ พุทธ | คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง
หน้า: [1]
ดูในรูปแบบกติ: ศิรทิ ไสบาบา