รามเทพ โพสต์ 2020-11-28 16:53

พระกริ่งบาเก็ง วัดเอี่ยมวรนุช ปี 2506.


https://scontent.fbkk12-1.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/67082391_906464586353272_6122974427366817792_n.jpg?_nc_cat=106&ccb=2&_nc_sid=110474&_nc_ohc=VX1xD8GWcuQAX-llDQp&_nc_ht=scontent.fbkk12-1.fna&oh=19fa891ef6e1fc6c13eda96d052ca62c&oe=5FE959FE
https://scontent.fbkk12-1.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/67091983_906464669686597_5536936348964880384_n.jpg?_nc_cat=106&ccb=2&_nc_sid=110474&_nc_ohc=gC2ydj3koYQAX_P4Ur1&_nc_ht=scontent.fbkk12-1.fna&oh=4495a6dd56e93c520f05b34ca7a37f5d&oe=5FE7F71F



พระกริ่งบาเก็ง วัดเอี่ยมวรนุช ปี 2506 เนื้อปลอกกระสุนปืนใหญ่ผสมทองคำ

เมื่อครั้งท่าน ม.ล.ถาวรวรคุณ เจ้าอาวาสวัดเอี่ยมวรนุช ได้พบและสนทนากับท่านอาจารย์ทิม ธมมธโร วัดช้างให้ ณ.ที่วัดเอียมฯในครั้งนั้น อยู่ในราวพ.ศ.2505-06 ท่าน ม.ล.ถาวรวรคุณ ได้กล่าวปรารภขึ้นในขณะที่สนทนากันว่า "ท่านตั้งใจจะบูรณะพระอุโบสถ ของวัดที่ชำรุดและเสื่อมโทรมนี้ขึ้นใหม่" ท่านอาจารย์ทิม เมื่อได้ทราบความดังนั้นจึงเอ่ยถามขึ้นว่า "ท่านไม่คิดจะสร้างวัตถุมงคลไว้เพื่อตอบแทนแก่ผู้บริจาคทรัพย์ในการบูรณะพระอุโบสถหรือ" ท่านม.ล.ถาวรวรคุณ จึงกล่าวตอบขึ้นว่า "คิดอยู่เหมือนกัน" ท่านอาจารย์ทิมจึงกล่าวว่า "ถ้าเช่นนั้นท่านจะรับเป็นธุระทำพิธีปลุกเสกให้ โดยใช้พระอุโบสถหลังเก่านั้นเป็นสถานที่ประกอบพิธี ส่วนรูปแบบและวัสดุนั้นให้ทางวัดเอี่ยมจัดหาตามประสงค์" เมื่อความข้อนี้ได้ทราบถึงท่านจอมพลประภาส จารุเสถียร ร.ม.ต.ว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น ท่านก็รับเป็นประธานฝ่ายฆารวาสและได้จัดหาปลอกกระสุนปืนใหญ่มาให้เพื่อใช้ในการหล่อพระและยังได้มอบพระกริ่งบาเก็งนอกของเก่าที่ท่านใช้ประจำตัวมาให้ทางวัดถอดพิมพ์อีกด้วย เมื่อถึงกำหนดพิธีเททองหล่อพระกริ่งนี้ ท่านอาจารย์ทิมได้นำทองคำแท่งน้ำหนักโดยประมาณ 20-50 บาท(ประมาณน้ำหนักทองคำจากภาพถ่าย ขณะท่านใส่ลงในเบ้าหลอมทอง)หย่อนลงในเบ้าหลอมทอง และเมื่อสำเร็จเป็นองพระแล้วช่างได้ตัดพระกริ่งออกจากช่อเพื่อบรรจุกริ่งและเก็บงานจนเป็นที่เรียบร้อยได้พระกริ่งจำนวน 3,000 องค์ และได้นำพระกริ่งทั้งหมดรวมถึงพระสมเด็จเนื้อผงพระนางพญาเนื้อผงที่ผสมเนื้อพระสมเด็จบางขุนพรหมเมื่อครั้งวัดบางขุนพรหมเปิดกรุอย่างเป็นทางการเมื่อปี2500 แบ่งมาให้ เข้าไปภายในพระอุโบสถการปลุกเสกครั้งนี้เป็นความตั้งใจของท่านอาจารย์ทิมเองด้วย ท่านกล่าวว่า"พระอุโบสถของวัดเอี่ยมวรนุชนี้ เป็นโบสถ์มหาอุด ด้วยมีประตูทางเข้าเพียงทางเดียว ไม่มีประตูทางออกด้านหลังพระประธานอย่างของที่อื่น" ท่านอาจารย์ทิมได้ทำพิธีปลุกเสกโดยอัญเชิญดวงวิญญาณ หลวงพ่อทวด มากระทำความศักดิ์สิทธิ์ให้บังเกิดขึ้น จนแล้วเสร็จตลอดพิธี เมื่อเสร็จพิธีแล้วท่านอาจารย์ทิมได้กล่าวขึ้นกับท่านเจ้าอาวาส ม.ล.ถาวรวรคุณว่า "พระนี้อย่าพึ่งเอาออกจำหน่าย ให้นำไปไว้ที่วัดช้างให้ ท่านจะทำพิธีปลุกเสกอีกครั้งที่วัดช้างให้" เมื่อพระเครื่องทั้งหมดมาถึงวัดช้างให้ ท่านอาจารย์ทิมก็ได้ประกอบพิธีปลุกเสกอีกครั้ง ณ.พระอุโบสถของวัดช้างให้ เช่นเดียวกับ เนื้อว่านปี 97 และ หลังเตารีดปี05 เมื่อเสร็จพิธีแล้วก็ได้ส่งพระส่วนใหญ่กลับมาจำหน่ายที่วัดเอี่ยมวรนุชตามเจตนาของท่าน ม.ล.ถาวรวรคุณ เจ้าอาวาสวัดเอี่ยมฯ อีกส่วนหนึ่งจำหน่ายที่วัดช้างให้และท่านอาจารย์ทิมก็นำพระกริ่งนี้ติดย่ามอยู่เสมอ เมื่อพบผู้ใดที่มีเหตุสมควรได้ท่านก็จะนำออกจากย่ามของท่านให้ไป จนคนรุ่นเก่าๆเข้าใจว่านี่เป็นพระกริ่งของวัดช้างให้ ด้วยบางคนได้จากมือท่านอาจารย์ทิม บางคนบูชาไปจากวัดช้างให้ คนรุ่นเก่าจึงเรียกพระกริ่งของวัดเอี่ยมวรนุชนี้ว่า "พระกริ่งหลวงพ่อทวด วัดช้างให้" ด้วยความเข้าใจตามที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าการสร้างพระของวัดเอี่ยมวรนุชในครั้งนี้ ท่านอาจารย์ทิมมีความตั้งใจเป็นอย่างมาก เป็นความสมัครใจของท่านเองโดยแท้โดยไม่มีผู้ใดขอร้อง ท่านกระทำพิธีปลุกเสกให้ถึง2ครั้ง ซึ่งตามประวัติแล้วยังไม่เคยมีวัตถุมงคลใดที่ท่านปลุกเสกให้แบบนี้ เหตุที่ท่านอาจารย์ทิมรับเป็นธุระให้กับทางวัดเอี่ยมฯโดยเต็มใจในครั้งนี้ คงด้วยเหตุที่เมื่อครั้งที่ท่านอาจารย์ทิมได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาส ของวัดช้างให้ใหม่ๆ สภาพวัดช้างให้ชำรุดทรุดโทรมมากแทบเป็นวัดร้าง แม้อณาเขตของวัดก็ไม่มีผู้ใดทราบโดยแน่ชัด ด้วยเป็นวัดเก่าแก่แต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ท่านและท่านอาจารย์นอง วัดทรายขาวที่เคารพนับถือกันเสมือนหนึ่งเป็นพี่น้องได้เดินทางมากรุงเทพเพื่อจะไปเช่าพระสมเด็จที่วัดระฆังมาจำหน่ายเพื่อหาทุนมาบูรณะวัดช้างให้ที่ท่านต้องรับภาระ เมื่อท่านได้มาถึงวัดระฆังแล้วท่านและท่านอาจารย์นอง ได้เกิดเปลี่ยนใจไม่เช่าพระสมเด็จมาจำหน่ายตามความตั้งใจเดิม แต่คิดว่าท่านน่าจะสร้างพระของวัดช้างให้ขึ้นมาเองจะเหมาะสมกว่า การมากรุงเทพฯในครั้งนี้มีโยมคนหนึ่งที่รู้จักกันเป็นคนใต้อาศัยอยู่ที่วัดเอี่ยมวรนุช ก็ได้ชักชวนท่านให้มาพักที่วัดเอี่ยมฯและอาสาจะไปกราบเรียนกับท่านเจ้าอาวาสของวัดเอี่ยมฯ คือท่าน ม.ล.ถาวรวรคุณ เพื่อจะขอจำวัดที่นี่ ท่านอาจารย์ทิมตอบตกลง เพราะขณะนั้นท่านก็ไม่รู้ว่าจะไปจำวัดที่ใหนไม่รู้จักใคร เมื่อมาถึงวัดเอี่ยมฯแล้วท่านได้พบกับท่าน เจาอาวาสและได้สนทนาด้วยดีและอณุญาติให้ท่านอาจารย์ทิมจำวัดที่วัดเอี่ยมฯได้ นับแต่นั้นมาเมื่อท่านอาจารย์ทิมมากรุงเทพฯครั้งใดก็จะมาพักที่วัดเอี่ยมวรนุชเสมอ สันนิษฐานว่าคงด้วยเหตุหนหลังเช่นนี้เองจึงทำให้อาจารย์ทิมตั้งใจที่จะตอบแทนวัดเอี่ยมฯที่ให้ที่พักแก่ท่าน ในสมัยที่ท่านเป็นพระหนุ่มไม่มีชื่อเสียงและไม่มีใครรู้จักแต่ทางวัดเอี่ยมไม่ได้รังเกียจและให้การต้อนรับท่านอย่างดี พระกริ่งรุ่นนี้จึงถือว่าเป็นของที่ยอดเยี่ยมชิ้นหนึ่งของวงการที่เดียว เพราะมีท่านอาจารย์ทิมผู้สร้างหลวงพ่อทวดให้บังเกิดมีขึ้นเป็นตัวตนเป็นครั้งแรกและคงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์อย่างเข้มขลังประสพการณ์เกินกว่าจะบอกเล่าได้เป็นผู้ปลุกเสกให้อย่างเต็มใจและเข้มขลังอย่างที่สุด สำหรับพระกริ่งองค์นี้นอกจากจะเป็นพระสวยดูง่ายแล้ว...........ยังคงความสมบูรณ์ไว้ได้อย่างดีเยี่ยม
https://scontent.fbkk9-2.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/67679511_906464709686593_2544788816032432128_n.jpg?_nc_cat=109&ccb=2&_nc_sid=110474&_nc_ohc=Uz37tQOCPIIAX9C4Tak&_nc_ht=scontent.fbkk9-2.fna&oh=a2978d856ef956b4c9c02d3039be1aa5&oe=5FE88FDE
https://scontent.fbkk12-1.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/67194196_906464779686586_153943920085041152_n.jpg?_nc_cat=101&ccb=2&_nc_sid=110474&_nc_ohc=p4GEtUNpkwkAX-iItXx&_nc_ht=scontent.fbkk12-1.fna&oh=c18441771b836f497a84946258e3e318&oe=5FE801C9
พุทธคุณ - พระกริ่งบาเก็ง วัดเอี่ยมวรนุช ปี 2506... | Facebook
หน้า: [1]
ดูในรูปแบบกติ: พระกริ่งบาเก็ง วัดเอี่ยมวรนุช ปี 2506.