Sornpraram โพสต์ 2018-9-10 08:26

ประวัติหลวงพ่อชุ่ม วัดท่ามะเดื่อ

ประวัติหลวงพ่อชุ่ม วัดท่ามะเดื่อ เหรียญหายากจังหวัดราชบุรี




http://www.tumsrivichai.com/images/1195864900/chum.JPG
เหรียญหลวงพ่อชุ่ม วัดท่ามะเดื่อ รุ่นแรก ปี2463
(ขอขอบคุณรูปจาก คุณเม่นวัดดอน)
หลวงพ่อชุ่มวัดท่ามะเดื่อ นับย้อนหลังไปเมื่อปีพ.ศ.2428"หลวงพ่อชุ่ม จันทโชติ" อดีตเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดท่ามะเดื่อต.วนกล้วย อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรีเป็นพระเกจิที่มีพุทธาคมเข้มขลังในสายพระนักปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐานหลวงพ่อชุ่ม วัดท่ามะเดื่อ ผู้สร้างตำนาน "ปาฏิหาริย์ปราบผี"จนมีชาวบ้านให้ความเลื่อมใสศรัทธาตลอดมา

ประวัติหลวงพ่อชุ่มวัดท่ามะเดื่อ จ.ราชบุรี หลวงพ่อชุ่มเป็นคนบ้านดอนยายหอม อ.เมือง จ.นครปฐม เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่ออายุ 23 ปีพ.ศ.2528 อยู่วัดโพธิบัลลังก์ เป็นพระเถราจารย์ยุคเดียวกับหลวงพ่อกล่อม วัดขนอนในพิธีอุปสมบทพระใหม่แต่ละครั้ง หลวงพ่อกล่อมเป็นพระอุปัชฌาย์หลวงพ่อชุ่มกับหลวงพ่อหวาน วัดโพธิ์บัลลังก์ เป็นพระคู่สวด หลวงพ่อชุ่มวัดท่ามะเดื่อ เป็นพระนักปฏิบัติธรรมชอบสมถะ เชี่ยวชาญทางวิปัสสนากัมมัฏฐานตลอดจนรอบรู้วิทยาคม เวทมนตร์อาคมต่างๆสานุศิษย์ทั้งหลายให้ความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างมากวัดท่ามะเดื่อตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลองด้านตะวันออก ที่บ้านสวนกล้วย อ.บ้านโป่งแต่เดิมบริเวณวัดมีต้นมะเดื่อใหญ่อยู่ที่ท่าน้ำ ชาวบ้านจึงเรียกชื่อว่าวัดท่ามะเดื่อ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดอุทุมพราราม แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่าวัดท่ามะเดื่อ จนถึงปัจจุบัน วัดท่ามะเดื่อเป็นวัดที่ตั้งมากว่าร้อยปีไม่ปรากฏนามผู้สร้างเล่ากันว่าบริเวณที่ตั้งวัดแต่เดิมเป็นป่ารกทึบแนวเดียวกับวัดบ้านโป่งมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่มาก มีต้นมะเดื่อใหญ่ริมแม่น้ำแม่กลอง


ประวัติหลวงพ่อชุ่ม วัดท่ามะเดื่อ เหรียญหายากจังหวัดราชบุรี สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2ทหารญี่ปุ่นเข้ามาตั้งฐานทัพในเขตอำเภอบ้านโป่งหลายแห่ง ที่หนองปลาดุกหนองตะแคงได้สร้างทางรถไฟไปจังหวัดกาญจนบุรีทหารอเมริกันทิ้งระเบิดทางเครื่องบินโจมตีทหารญี่ปุ่น 4 ลูกถูกต้นโพธิ์ใหญ่ที่ท่าวัด มีพระภิกษุบาดเจ็บจากแรงระเบิดหลายรูปด้วยกัน ตามประวัติก่อนที่หลวงพ่อชุ่มมาปกครองวัดท่ามะเดื่อ มีพระโยคาวจรผู้ถือธุดงค์ผ่านมาแวะอาศัยเพียงระยะสั้นๆ นอกฤดูพรรษาบางคราวมีพระภิกษุบางรูปอยู่จำพรรษา แต่ที่สุดก็จาริกจากไป สิ่งก่อสร้างทั้งหมดได้เริ่มขึ้นสมัยหลวงพ่อชุ่มมาอยู่วัดท่ามะเดื่อทั้งอุโบสถ กุฏิสงฆ์ หอฉันศาลาการเปรียญหลังเก่า ซึ่งปัจจุบันพระมหาปรีชา สามตถิโกเจ้าคณะตำบลปากแรด และเจ้าอาวาสวัดท่ามะเดื่อรูปปัจจุบันได้ทำการบูรณะในสิ่งที่ชำรุดไปบ้างแล้ว


http://www.tumsrivichai.com/images/1195864900/AmuletLpChum.jpg
เหรียญหลวงพ่อชุ่ม วัดท่ามะเดื่อรุ่นแรก ปี2463



เหรียญหลวงพ่อชุ่ม วัดท่ามะเดื่อรุ่นแรก ปี 2463




จัดสร้างพระเครื่องขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2463เป็นเหรียญรูปไข่ ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปหลวงพ่อชุ่มครึ่งองค์ ซ้อนวงกลม 2 ชั้นด้านในวงกลมล่างเป็นโบซ้อน ระบุ พ.ศ.2463 ขอบเหรียญด้านหน้าเขียนอักขระล้อมรอบวงกลม ส่วนด้านบนมีหูเชื่อม ด้านหลังเหรียญเขียนเป็นอักขระด้านล่างเขียน "ไว้เปนที่ระฎก" เหรียญหลวงพ่อชุ่มดังกล่าวได้รับการยอมรับว่ามี พระเครื่องหลวงพ่อชุ่ม พุทธคุณด้านเมตตา แคล้วคลาด คงกระพันชาตรีเหรียญหายากเป็นที่นิยมของวงการพระเครื่องและชาวราชบุรีเป็นอย่างมาก


เหรียญรุ่นเสมาหลวงพ่อชุ่ม วัดท่ามะเดื่อเท่าที่พบมีน้อยมากว่ากันว่าหลวงพ่อดี วัดบ้านยางสร้างให้เป็นที่ระลึกในงานศพหลวงพ่อชุ่ม ยังมีพระผงผสมดินเผาขนาดย่อมและบางกว่าพระดินเผาขี่สัตว์ของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ลูกอม ตะกรุดเป็นต้น ที่สำคัญเหรียญรูปไข่หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม พ.ศ.2492หลวงพ่อเงินสร้างขึ้นมอบให้วัดท่ามะเดื่อทั้งหมดเพื่อนำออกให้สาธุชนบูชานำรายได้ซ่อมแซมเสนาสนะของวัดท่ามะเดื่อเนื่องจากหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม มีศักดิ์เป็นหลานหลวงพ่อชุ่มและมาบวชเป็นสามเณรอาศัยวัดท่ามะเดื่อ ศึกษาวิทยาอาคมกับหลวงพ่อชุ่มซึ่งเป็นหลวงน้าประสงค์จะแทนคุณทางวัดและ พระอธิการชุ่ม วัดท่ามะเดื่อ เหรียญรุ่นนี้เป็นที่นิยมไม่แพ้รุ่นอื่นๆของท่า


ควายธนูหลวงพ่อชุ่ม วัดท่ามะเดื่อ
ควายธนูเป็นเครื่องรางของขลังของหลวงพ่อชุ่ม วัดท่ามะเดื่อเป็นที่กล่าวขานกันว่าครั้งหนึ่งมีโจรเข้าไปขโมยควายของญาติที่เป็นลูกพี่ลูกน้องกับหลวงพ่อหลวงพ่อชุ่มได้เสกควายธนูไล่จนโจรหนีหายเตลิดเปิดเปิง แม้แต่สัตว์มีพิษ เช่น งูตะขาบ แมงป่อง ยังไปอยู่ร่วมห้อง โดยที่ไม่ทำอันตรายหลวงพ่อแม้แต่น้อยส่วนเรื่องราวการปราบผี ในอดีตบริเวณวัดท่ามะเดื่อเป็นป่ารกร้างน่ากลัวชาวบ้านกล่าวกันว่ามีผีดุ เมื่อเดินผ่านหน้าวัดจะถูกผีหลอกเป็นประจำหลวงพ่อชุ่มใช้วิทยาคมปราบผีปีศาจจนหนีกระเจิง หลวงพ่อชุ่มเป็นพระถือสันโดษเคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีปฏิปทาปฏิบัติน่าเลื่อมใสทำวัตรสวดมนต์ถือครองผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต บิณฑบาตเป็นกิจไม่เคยขาด หลวงพ่อชุ่มวัดท่ามะเดื่อมรณภาพลงด้วยโรคชราเมื่อปี 2465 แม้ท่านจะละสังขารไปแล้วแต่ความเลื่อมใสศรัทธาที่มีหลวงพ่อชุ่ม วัดท่ามะเดื่อยังคงปรากฏอยู่จนถึงทุกวันนี้


ข่าวพระเครื่องที่มา...หนังสือพิมพ์ข่าวสด
หน้า: [1]
ดูในรูปแบบกติ: ประวัติหลวงพ่อชุ่ม วัดท่ามะเดื่อ